fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การประเมินสมรรถนะการแก้ปัญหาของพนักงาน กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา : วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อประเมินระดับสมรรถนะการ แก้ปัญหาของพนักงาน และทำการเปรียบเทียบกับระดับสมรรถนะการแก้ไข ปัญหาที่บริษัทคาดหวังเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางในการพัฒนา สมรรถนะการแก้ปัญหาของพนักงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามประเมินตนเองในด้านสมรรถนะการแก้ปัญหาและการใช้ เครื่องมือในการแก้ปัญหา โดยศึกษาสมรรถนะการแก้ปัญหา 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การนิยามปัญหา 2. การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา 3. การกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา 4. การดำเนินการแก้ปัญหา 5. การ ติดตามผลและการจัดทำมาตรฐาน จากการศึกษา พบว่า ระดับสมรรถนะการ แก้ปัญหาของพนักงานในภาพรวมพบว่าพนักงานระดับปฏิบัติการมีระดับ สมรรถนะการแก้ไขปัญหามีค่าเฉลี่ย 1.58 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยซึ่งต่ำกว่าระดับ ที่บริษัทคาดหวัง พนักงานระดับหัวหน้างานมีระดับสมรรถนะการแก้ไข ปัญหามีค่าเฉลี่ย 2.28 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางซึ่งต่ำกว่าระดับที่บริษัท คาดหวัง พนักงานระดับผู้จัดการมีระดับสมรรถนะการแก้ไขปัญหามีค่าเฉลี่ย 2.73 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ มากซึ่งต่ำ กว่าระดับที่บริษัทคาดหวังซึ่งระดับ สมรรถนะขั้นตอนการแก้ไขปัญหาที่มีระดับต่ำที่สุด 3 อันดับแรกคือ ขั้นตอน การติดตามประเมินผลและการจัดทำมาตรฐาน รองลงมาคือขั้นตอนการ ดำเนินการปฏิบัติการแก้ไขและการปรับปรุง และขั้นตอนการเลือกปัญหาและ การกำหนดแนวทางการแก้ไขการทดสอบสมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านบุคคลที่ ส่งผลต่อระดับสมรรถนะการแก้ปัญหาที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญคือ อายุ อายุงาน
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
7
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม