fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การปรับปรุงขบวนการการทำงานขนส่งล้อยางของยานพาหนะไปยังจุดรอประกอบ : กรณีศึกษา ของบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด : จากการศึกษาการทำงานของพนักงานขนส่งยางโดยใช้ทฤษฎีการศึกษาการทำงานแผนภาพต่างๆ และปฏิบัติตามขั้นตอนของ Toyota Business Practice เพื่อค้นหาแนวทางในการปรับปรุงเวลาสูญเปล่าในการทำงาน (Muda) และการลดเวลาการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยใช้ TPS Viewpoints เป็นเครื่องมือในการระบุเวลาสูญเปล่า ปรากฎกว่าเวลาสูญเปล่าที่เกิดขึ้นคือปัญหาการทำงานซ้าซ้อนซึ่งเกิดจากการจอดรถไม่แนบสนิทกับจุดเทียบส่งล้อยาง จึงทำการแก้ปัญหานี้โดยทำการปรับแต่งดอลลี่ให้มีตัวสะพานยื่นออกมาจากตัวดอลลี่เพื่อลดปัญหาการทำงานซ้าซ้อนนี้ และปัจจุบันประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทั้ง 2 คนในขบวนการทำงานนี้คือ 69.1% ซึ่งไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงนำงานของพนักงานทั้งสองคนมารวมให้พนักงานหนึ่งคน และทำการปรับวิธีการทำงานให้เร็วขึ้นเพื่อให้พนักงานหนึ่งคนสามารถทำงานได้
จากการปรับปรุงดอลลี่ในขั้นตอนแรกนั้นไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้เนื่องจากทีมผู้รับผิดชอบเรื่องการปรับปรุงดอลลี่มีภารกิจเร่งด่วน ทำให้การปรับปรุงดอลลี่ล่าช้าออกไป ซึ่งถ้าสามารถปรับปรุงดอลลี่ในขั้นตอนแรกนี้ได้สาเร็จจะช่วยลดเวลาการทำงานของพนักงานลงได้ 118 วินาทีต่อรอบการทำงาน จากเวลานาส่งคือ 1410 วินาทีต่อรอบเหลือ 1292 วินาทีต่อรอบ ส่งผลให้ ประสิทธิภาพการทางานของพนักงานที่ถูกรวมงานลดลงตามไปด้วยจาก 138.23% ลดเหลือ 126.67% โดยเป้าหมายคือ 97% ขณะนี้โครงงานดาเนินอยู่ในส่วนของการกำจัดเวลาสูญเปล่าออกจากขบวนการการทำงานโดยงานส่วนที่เหลือนั้นมอบให้ทีมที่เกี่ยวข้องดำเนินต่อไป
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
33 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250