fieldjournalid
![]() | งานวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2015 |
1. | ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลการเรียนวิชาเตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม (PRE-011) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุษกร เหมมาชูเกียรติกุล | ||
การศึกษาพฤติกรรมการเข้าเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่ารงพฤติกรรมการเรียนกับผลการเรียนวชาเตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม (PRE-011) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ จำนวนผู้สอบรายวิชา pre-011 (เตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม) ในภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น จำนวน 292 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างที่ลงทะเบียนรายวิชา PRE-011 (เตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม) ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโบยีไทย-ญีปุ่่น จำนวน 142 บาท โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถสรุปได้ดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา PRE-011 พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 83) มีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ช่วง 2.50-3.00 (ร้อยละ 51) และเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง (ร้อยละ 67)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชา PRE-011 พบว่า พฤติกรรมการเรียนที่ส่งผลต่อวิชา PRE-011 อยู่ในระดับมาก (x̄=4.12) คือ อาจารย์มีเทคนิคการสอนและชี้แจงการให้คะแนนอย่างชัดเจน รองลงมาคือ มีแรงจูงใจในการเรียน (x̄=4.10) และการเรียนวิชานี้มีประโยชน์ต่อการใชัชีวิตประจำวัน (x̄=4.10) แต่อย่างไรก็ตามนักศึกษาจะมีความวิตกกังวลในการเรียน (x̄=3.94) เมื่อผลสอบไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
Full Text : Download! |
||
2. | รานงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนากระบวนการสังเคราะห์คาร์บอนรูพรุน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จินตวัฒน์ ไชยชนะวงศ์ | ||
โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการสังเคราห์คาร์บอนรูพรุนที่ไม่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งงานวิจัยออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบจากวัสดุเหลือใช้หรือผลผลิตจากการเกษตรเพื่อผลผลิตถ่านกัมมันต์ ส่วนที่สองเน้นพัฒนาแนวทางเบื้องต้นในการสังเคราะห์คาร์บอนรูพรุนชิดเม็ดด้วยกระบวนการโซล-เจลพอลิคอนเดนเซซั่นโดยใช้เทคนิคการปั่นกวนอย่างง่าย และส่วนที่สามเป็นการทดลองผลิตภัณฑ์ที่สังเคราะห์ได้ในการประยุกต์ใช้สำหรับการบำบัดน้ำเสีย
จากการศึกษาการผลิตถ่านกัมมันจากเมล็ดมะขามสามารถผลิตได้ด้วยวิธีการคาร์บอไนเซซันภายใต้บรรยากาศของก๊าซไนโตรเจน พบว่าอุณหภูมิการไพโรไลซิสเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลต่อคุณสมัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ และสามารถปรับปรุงคุณสมบัติรูพรุนได้ด้วยการกระตุ้นทางเคมีโดยใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซต์ (KOH)
ในการศึกษาการสังเคราะห์คาร์บอนแอโรเจลไมโครสเฟียร์ โดยใช้วิธีการฉีดอย่างง่าย ให้เกิดเป็นอิมัลซัน ผ่านกระบวนการโซลเจลพอลิคอนเดนเซซันของสารละลายรีซอร์ซินอล-ฟอร์มาลดีไอล์โดยใช้โซเดียมคาร์บอเนตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนตัวทำละลายกับน้ำในรูพรุนโดยใช้อะซิโตน การทำแห้งแบบเหนือวิกฤติโดยใช้คาร์บอนไดออกไซต์เหนือวิกฤตและการทำคาร์บอนไนเซซันในบรรยากาศของก๊าซไนโตรเจนที่อุณภูมิสูง โดยการศึกษาอิทธิพลของเวลาบ่มก่อนการฉีด 1-4 ชั่วโมง อัตราการฉีด 0.25-1.00 ml/h และอัตราการปั่นกวนของเฟสต่อเนื่อง 180-450 rpm ที่มีผลต่อขนาดของอนุภาคและสมบัติรูพรุนของคาร์บอนแอโรเจลไมโครสเฟียร์ที่สังเคราะห์ได้ พบว่าประสบความสำเร็จในการเตรียมคาร์บอนแอโรลเจลที่มีรูปร่างทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของคาร์บอนแอโรเจลไมโครสเฟียร์ได้สังเคราะห์ได้อยู่ในช่วงประมาณ 20 ถึง 55 pm โ
Full Text : Download! |
||
3. | การศึกษาความสัมพันธ์แบบไม่เชิงเส้นระหว่างปัจจัยทางภูมิศาสตร์ และผลผลิตของหญ้าเนเปียร์ และการระบุพื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกเนเปียร์ด้วยวิธีการทางระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐพล ลิ้มจีระจรัส | ||
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานการวิจัย ติดตั้งระบบแสงสว่างด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภาสกร พันธุ์โอภาส | ||
ในการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อศึกษาการเลือกใช้อุปกรณ์ ในการสร้างโคมไฟส่องสว่างพลังงานจากแสงอาทิตย์และการคำนวนหา ความคุ้มค่าในการลงทุน โดยศึกษาจากปริมาณแสงแดดในบริเวณที่จะมีการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณาในการเลือกใช้อุปกรณ์ ซึ่งขนาดของแบตเตอรี่ที่ใช้มีขนาด 12V 45Ah โซล่าเซลล์ขนาด 100 วัตต์ และ อุปกรณ์ควบคุมการชาร์จ 10Ah
พบว่าการชาร์จประจุจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศช่วงเวลาทองฟ้ามีเมฆบดบังและท้องฟ้าไม่มีเมฆบดบัง การชาร์จจะใช้เวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของแสงอาทิตย์ที่กระทบแผงโซล่าเซลล์และสภาพอากาศในช่วงเวลานั้น ระยะเวลาในการทำงานของหลอดแอลอีดีในช่วงกลางคืน 10.5 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการผลิตเสาส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ ระยะเวลาคุ้มทุนประมาณ 41 ปี
Full Text : Download! |
||
5. | รายงานการวิจัย การวิจัยและพัฒนายานยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภาสกร พันธุ์โอภาส, เนร็น ชัยธานี, จิรพงศ์ สุขาทิพย์, สุระ ลาภทวี, วิศิษฐ สองเมือง | ||
ในปัจจุบันการแข่งขันรถฟอร์มูลล่าของมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่นักเรียนจะต้องออกแบบสร้างและแข่งขันกับรถแข่งในการทดสอบแบบคงที่และแบบไดนามิก ตั้งแต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาการแข่งขันครั้งนี้ได้มีการแข่งรถฟอร์มูลล่าไฟฟ้า จึงได้ทำให้ศึกษาเกี่ยวกับกติกาการแข่งขันรถฟอร์มูลล่าไฟฟ้า นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาแก้ไขโครงสร้างรถฟอร์มูลล่าสำหรับใส่ แบตเตอรี่ และ มอเตอร์ เพื่อให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน ดังนั้น การเลือกมอเตอร์เป็นมอเตอร์ blushless Motor แบบ In Wheel และ แบตเตอรี่เป็นแบตเตอรี่ลิเที่ยมโพลิเมอร์ การทดสอบความปลอดภัยจากผู้เชี่ยวชาญสามารถผ่านได้ครบทุกสถานี อาธิเช่น Tilt Test, Brake Test, Static Event, Dynamic Event, Efficiency และสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าการพัฒนารถฟอร์มูลไฟฟ้าล่าจากรถฟอร์มูลล่าน้ามันพบว่า เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อรถน้ามันจึงมีข้อจากัดในการออกแบบการวางแบตเตอรี่และมอเตอร์ไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตามการแข่งขันในครั้งนี้ ก็สามารถร่วมการแข่งขันจนจบการแข่งได้
Full Text : Download! |
||
6. | รายงานการวิจัย การปรับปรุงกระบวนการการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น(ARIZ) ให้สามารถ ใช้งานได้ง่ายโดยการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนผ่านเว็บ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ไตรสิทธิ์ เบญจบุณยสิทธิ์ | ||
ARIZ (กระบวนการการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น) เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์นวัตกรรม
ที่มีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากมีความซับซ้อนเข้าใจยาก จึงไม่ได้ถูกนำมาใช้มากนัก มีความ
พยายามในในปรับปรุง ARIZ เป็นหลายๆรูปแบบ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร การวิจัยนี้มี
เป้าหมายที่จะปรับปรุง ARIZ ให้ง่ายขึ้นโดยจะทำการวิเคราะห์ปัญหาของ ARIZ เพื่อแก้ปัญหา
หลักโดยใช้วิธีการของ ARIZ เอง ผลการวิจัยนี้ได้นาเสนอรูปแบบใหม่ของ ARIZ โดยได้บูรณา
การหลักการ 40 ข้อเชิงประดิษฐ์คิดค้นและตัวดำเนินการ MAR(ปรับ เพิ่ม เปลี่ยน) เข้าไว้ในส่วน
ที่ 1 ของ ARIZ ซึ่งจะช่วยทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ และ สามารถนำไปใช้งานได้สะดวก ARIZ
รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ถูกนำไปลองใช้กับกรณีศึกษาเพื่อแก้ปัญหาระบบบำรุงรักษาท่อส่ง
น้ำมันในอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถสร้างสรรคความคิดเชิงปฏิบัติได้อย่างมากมายทั้งจากส่วนที่ 1
และส่วนหลัง ๆ ของ ARIZ
Full Text : Download! |
||
7. | รายงานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือต่อพฤติกรรม การเข้าเรียนในวิชาปฏิบัติการเคมี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วรางคณา สุขสม, สุรัสสวตี จามิกรณ์, อรอนงค์ สุขใจ | ||
ปัญหาการเข้าชั้นเรียนไม่ตรงต่อเวลา เป็นปัญหามาจากพฤติกรรมของนักศึกษา ซึ่งอาจ
ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน และการเช็คการเข้าเรียนสายโดยอาจารย์อาจจะทำให้เกิดความล่าช้าและลด
ความเชื่อมั่นของข้อมูลต่อของนักศึกษาได้ ทั้งนี้วิชาปฏิบัติการเคมี ซึ่งเป็นวิชาปฏิบัติการและเน้นการเข้า
เรียนตรงต่อเวลา แต่จากข้อมูลวิชาปฏิบัติการเคมี ในภาคการศึกษา 2/2557 พบว่ามีนักศึกษาที่มาสายอย่าง
น้อย 1 ครั้งจำนวน 24 คนจากนักศึกษาจำนวน 60 คนคิดเป็น 40% และพบว่าผลการเรียนของนักศึกษาที่มา
สายอย่างน้อย 1 ครั้ง มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.33 ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงนักและต่า กว่าเกรดเฉลี่ยรวมของ
ทั้งห้องโดยเกรดเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3.00 ดังนั้นทางทีมผู้วิจัยและผู้สอน จึงได้ทา การศึกษาหาแนวทางเพื่อพัฒนา
การะบวนการเรียนการสอนในวิชาปฏิบัติการเคมี โดยการนำเครื่องสแกนลายนิ้วมือมาช่วยในการบันทึก
เวลาเข้าเรียนของนักศึกษา และพบว่า ร้อยละของนักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน (F) หลังใช้สื่อวิดีทัศน์มีแนวโน้ม
ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเหลือร้อยละ1 ร้อยละเกรดตั้งแต่ 2.00 ลงไปหลังใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือมีแนวโน้ม
ลดลงและร้อยละเกรดตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไปหลังใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือมีแนวน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 และGPA
หลังใช้เครื่องสแกนนิ้วสูงขึ้นที่ 3.10
และเมื่อประเมินความพึงพอใจต่อการนำเครื่องสแกนลายนิ้วมือมาใช้ในการบันทึกเวลาเข้าเรียนใน
วิชาปฎิบัติการเคมี ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1ปีการศึกษา 2558 พบว่ามีความพึง
พอใจต่อการนาเครื่องสแกนลายนิ้วมือมาใช้ในการบันทึกเวลาเข้าเรียนในวิชาปฏิบัติการเคมี โดยภาพรวม
คะแนนเฉลี่ย 4.28 อยู่ระดับความพึงพอใจระดับมาก
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250