fieldjournalid
![]() | งานวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2017 |
1. | การศึกษาผลของขนาดของก้อนหกเหลี่ยมที่เหมาะสมสำหรับท่อส่งก๊าซแบบรังผึ้งโดยการสร้างแบบจำลองเชิงตัวเลขในเซลล์เชื้อเพลิงแบบพอลิเมอร์อิเล็กโตรไลท์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐพล ลิ้มจีระจรัส | ||
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาการกระจายตัวของแรงเชิงกลบน แบบจำลองสามมิติของฟันกรามน้อยเสมือนจริง ที่เกิดจากการบดเคี้ยวด้วยการวิเคราะห์ทางไฟไนต์เอลิเมนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐพล ลิ้มจีระจรัส | ||
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานการวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 2 ของนักศึกษาที่สอบผ่าน และไม่ผ่านวิชาเตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปาริฉัตร คงทอง | ||
แผนการศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัรฑิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กำหนดให้นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนวิชา แคลคูลัส 1 และ แคลคูลัส 2 ในปีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดีพบว่าในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2552 มีนักศึกษาที่ถอนและสอบตกในวิชาแคลคูลัส 1 เป็นจำนวนมากคิดเป็นร้อยละ 61.29 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงได้เริ่มต้นโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ขึ้นในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการการจัดสอบวัดความรู้พื้นฐานก่อนการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ขึ้น โดยนักศึกษาต้องสอบผ่าน จึงมีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนแคลคูลัส 1 หลังจากจัดการเรียนการสอนตามวิธีดังกล่าวพบว่านักศึกษาสอบผ่านวิชาแคลคูลัส 1 ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากขึ้น แต่ทำให้มีจำนวนนักศึกษาที่มีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนน้อยลงในวิชาที่สูงขึ้น เพราะนักศึกษาหลายๆคน สอบไม่ผ่านในวิชาเตรียมความพร้อม ดังนั้นในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ทางสถาบันเทคโนโลยีไทย—ี่ปุ่นจึงได้มีการออกประกาศปลดล็อคเงื่อนไขของการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 โดยการอนุญาติให้นักศึกษาที่เคยลงทะเบียนเรียนในวิชาเตรียมความพร้องมาแล้ว 2 ครั้งได้รับสิทธิ์ให้ลงทะเบียนเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ทำให้นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านวิชาเตรียมความพร้อมได้รับสิทธิ์ให้ลงทะเบียนเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ในภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557 ส่งผลให้นักศึกษากลุ่มนี้ได้ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาแคลคูลัส 2 ต่อเนื่องไปด้วย แต่พบว่าผลการเรียนในวิชาแคลคูลัส 2 มีนักศึกษาสอบตกและถอนรายวิชาร้อยละ 20-50 เมื่อทำการวิเคราะห์ติดตามนักศึกษากลุ่มที่สอบตกซ้ำซ้อนของนักศึกษากลุ่มเดิม เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงควรจัดการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อย่างเข้มข้นต่อเนื่องต่
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานการวิจัย การวิจัยและพัฒนารถฟอร์มูลล่าไฟฟ้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภาสกร พันธุ์โอภาส, นเร็นศ ชัยธานี, จิรพงศ์ สุขาทิพย์, สุระ ลาภทวี, วิศิษฐ สองเมือง, ชูคิด งามวงศ์ | ||
ในงานวิจัยและพัฒนารถฟอร์มูลล่านักศึกษาขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาและอาจารย์ให้มีการคิดวิเคราะห์เรียนรู้การออกแบบโดยอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรม และการทำงานแบบโมโนซูคูริ การแข่งขันรถฟอร์มูลล่าที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าหลายทีมทั้งในไทยและต่างประเทศได้เริ่มมีการศึกษาและวิจัยอยู่ในขณะนี้ โดยโครงการนี้ได้มีการวิจัยและนำเสนอผลงานทางสิชาการเกี่ยวกับการออกแบบและวิเคราะห์ความแข็งแรงของเสื้อเฟืองเหลี่ยมความเร็วสำหรับรถฟอร์มูลล่าไฟฟ้า นักศึกษาด้วยวิธีการทางไฟไนท์เอลิเมนต์ การออกแบบและวิเคราะห์โครงของแบตเตอรี่รถฟอร์มูลล่า นักศึกษาด้วยวิธีการทางไฟไนท์เอลิเมนต์ การวิเคราะห์ความแข็งแรงของคอม้าสำหรับรถฟอร์มูลล่าไฟฟ้านักศึกษาด้วยวิธีการไฟไนท์เอลิเมนต์ การออกแบบระบายความร้อนของมอเตอร์สำหรับรถฟอร์มูลล่าไฟฟ้านักศึกษา ในการประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30 ที่จังหวัดสงขลา ผลในการศึกษาและวิจััยได้นำมาใช้ในการสร้างรถฟอร์มูลล่านักศึกษาขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
Full Text : Download! |
||
5. | รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิและการหล่อเย็นของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่ส่งผลต่อ ความมันเงาของชิ้นงานฉีดพลาสติก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิโรช ทัศนะ | ||
กระบวนการฉีดพลาสติกเป็นหนึ่งในกรรมวิธีการผลิตที่ถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยที่ให้
ประสิทธิผลในการผลิตสูง ความสามารถในการผลิตที่สูงอีกทั้งยังสามารถขึ้นรูปที่ซับซ้อนได้อย่าง
ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว หลักการพื้นฐานคือ การฉีดเข้าตามแบบแม่พิมพ์ การอัดย้ำ การหล่อเย็น
และการปลดชิ้นงาน ในปัจจุบันนี้ชิ้นงานพลาสติกถูกนำมาใช้ในงานที่ต้องการแสดงพื้นผิวภายนอก
มากขึ้นและเน้นเรื่องสีสันและความสวยงาม ทำให้ชิ้นงานฉีดพลาสติกนี้จึงไม่จำเป็นต้องเข้าสู่
กระบวนการพ่นสีหรือเคลือบสี โดยทั่วไปแล้วชิ้นงานลักษณะนี้จะต้องไม่มีข้อบกพร่องเรื่องรอยเชื่อม
พลาสติกในกระบวนการฉีด เนื่องจากจะทำให้พื้นผิวภายนอกไม่สวยงาม และไม่มีความมันเงา ดังนั้น
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลที่ส่งผลต่อความมันเงาของชิ้นงานฉีดงานพลาสติกโดยมี
สามตัวแปร คือ อุณหภูมิปลายหัวฉีด อุณหภูมิของแม่พิมพ์ และความเร็วฉีดย้ำ โดยใช้พลาสติก
ประเภทเอบีเอส และออกแบบการทดลองด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนองร่วมกับการออกแบบเซ็นทรัลคอม
โพสิต เพื่อหาข้อสรุปของระดับความมันเงาจากอิทธิพลที่ทำให้ชิ้นงานมีความมันเงาที่แตกต่างกัน จาก
การทดลองพบว่าอิทธิพลที่ส่งผลต่อความมันเงามากที่สุด คือ อุณหภูมิปลายหัวฉีดที่ 223.18 องศา
เซสเซียส, อุณหภูมิของแม่พิมพ์ที่ 76.82 องศาเซสเซียส และความเร็วฉีดย้ำที่ 166.82 มิลลิเมตรต่อ
วินาที ตามลำดับ ซึ่งทำให้ได้ค่าความมันเงาสูงที่สุดที่ 92.8 GU ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
Full Text : Download! |
||
6. | รายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัย เครื่องตรวจสอบชิ้นงานด้วยภาพ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พรชัย นิเวศน์รังสรรค์, วราคม เนิดน้อย, วัชรินทร์ หนูทอง, ศิริชัย พุธวัฒนะ | ||
การตรวจวัดชิ้นงานในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนได้มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน เช่น เวอร์เนีย
ไมโครมิเตอร์ เป็นต้น เพื่อใช้ในการตรวจสอบขนาดระหว่างกระบวนการผลิตซึ่งจะช่วยลดของเสียและเพิ่มคุณภาพ
ของชิ้นงาน การพัฒนาคอมพิวเตอร์อย่างก้าวกระโดดทำให้เทคโนโลยีทางการวัดได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน
การใช้ระบบกล้องและโปรแกรมประมวลผลเพื่อนำมาใช้ในการตรวจสอบชิ้นงานด้วยภาพได้มีการพัฒนาและ
ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย โครงงานวิจัยนี้จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบตรวจวัดชิ้นงานด้วยภาพ
และโปรแกรมสำหรับตรวจสอบ ซึ่งระบบที่พัฒนาขึ้นจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน การทำวิจัย และการแก้ปัญหา
ของอุตสาหกรรม ผลการดำเนินงานของโครงงานวิจัยนี้ได้ออกแบบและสร้างชุดตรวจวัดชิ้นงานด้วยภาพ ซึ่ง
ประกอบด้วย ชุดจับยึดกล้องดิจิทัล โครงฐานของชุดตรวจสอบชิ้นงาน กล้องดิจิทัลขนาด 10 Mpixels เลนส์
มาตรฐาน 12 mm และ 25 mm และ เลนส์ขยาย 30X-160X ขนาดของชิ้นงานที่สามารถตรวจสอบได้มีขนาดไม่
เกิน 540 mm x 400 mm ส่วนของโปรแกรมได้พัฒนาโปรแกรมที่สามารถใช้ในการตรวจวัดความผิดปกติของ
ชิ้นงานตามตำแหน่งที่กำหนดเพื่อตรวจสอบว่ามีครบตามแบบที่กำหนดหรือไม่ เช่น ตำแหน่งรูเจาะ ร่อง ส่วนเว้า
โค้ง เป็นต้น ระบบตรวจวัดและโปรแกรมที่พัฒนาสามารถใช้ตรวจวัดความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนชิ้นงานได้ โดย
สามารถวัดพร้อมกันได้ไม่เกิน 5 ตำแหน่ง โปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบชิ้นงานจะพัฒนาจากโปรแกรม LabVIEW ระบบ
ที่พัฒนาสามารถทำงานได้ตามขอบเขตที่กำหนดไว้ สามารถใช้ในการเรียนการสอน การทำวิจัย และประยุกต์ใช้ใน
สายการผลิตได้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตได้
Full Text : Download! |
||
7. | รายงานการวิจัย การวิจัยและพัฒนารถฟอร์มูล่าไฟฟ้านักศึกษา 2017 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิมล แสนอุ้ม, สุระ ลาภทวี, ภาสกร พันธุ์โอภาส, จิรพงศ์ สุขาทิพย์, วิศิษฐ สองเมือง, นเร็นศ ชัยธานี | ||
การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเพื่อศึกษาการออกแบบและพัฒนารถฟอร์มูล่าไฟฟ้านักศึกษา โดยเน้นไปภาคส่วนของการออกแบบชิ้นส่วนระบบส่งกำลัง ชิ้นส่วนช่วงล่าง และระบบความปลอดภัยในรถฟอร์มูล่าไฟฟ้านักศึกษา ดังนี้
ส่วนที่ 1 การออกแบบชิ้นส่วนในระบบส่งกำลังของรถฟอร์มูล่านักศึกษาในส่วนของอะแดปเตอร์สเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่ส่งผ่านแรงบิดจากสเตอร์ไปยังชุดเฟืองท้าย ในการออกแบบได้เลือกใช้วัสดุเป็นอลูมิเนียมเกรด 7075 ซึ่งเป็นเกรดที่มีความแข็งแรงสูงและมีน้ำหนักเบา การพิจารณาแรงที่กระทำกับอะแดปเตอร์สเตอร์เพื่อนำมาวิเคราะห์ความแข็งแรงพบว่าเป็นแรงบิดที่มาจากแรงเสียดทานสุงสุดระหว่างล้อกับถนน มีค่าเท่ากับ 575.6 นิวตัน-เมตร ส่งผ่านเพลาขับ ชุดเฟืองท้าย และมาที่อะแดปเตอร์สเตอร์ แรงกระทำนี้ถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์ความแข็งแรงของอะแดปเตอร์สเตอร์ด้วยวิธีการทางไฟไนต์เอลิเมนต์ พบว่าค่า Equivalent (von-Mises) Stress สูงสุดเท่ากับ 187.5 เมกกะปาสคาล และค่า Total Deformation สูงสุด 0.151 มิลลิเมตร เมื่อนำค่าความเค้นสูงสุดมาเปรียบเทียบกับค่าความเค้นดึงที่วัสดุสามารถรับได้พบว่าค่าความเค้นดึงสูงสุดยังมีค่ามากกว่าค่า Equivalent (von-Mises) Stress สูงสุดที่เกิดขึ้น ทำให้รู้ว่าอะแดปเตอร์สเตอร์ที่ออกแบบนี้สามารถรับแรงได้และนำไปใช้งานได้จริงโดยมีค่าปัจจัยความปลอดภัยต่ำสุดเท่ากับ 2.68 จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีทางไฟไนต์เอลิเมนต์ พบว่า อะแดปเตอร์สเตอร์สามารถส่งถ่ายกำลังจากเครื่องยนต์สู่ล้อได้โดยไม่เกิดความเสียหายขึ้นกับชิ้นงาน
ส่วนที่ 2 การออกแบบคอม้า แล้ววิเคราะห์ด้วยวิธีการทางไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อศึกษาความแข็งแรงของคอม้าที่ได้ออกแบบ เพื่อจะนำคอม้าไปใช้ในรถฟอร์มูล่านักศึกษาสำหรับเข้าร่วมแข่งขันรถฟอร์มูล่านักศึกษา ซึ่งจากการศึกษาพบว่าความแข
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250