fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MET) 2012 |
1. | การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อหาจุดวิกฤตและจาลองผล ที่ได้จากการปรับปรุงจุดวิกฤตในกระบวนการผลิต กรณีศึกษา โรงงานผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบอีนาเมล (Enamel) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นิคม บุญนา | ||
บทความนี้ได้นำเสนอการสร้างซอฟต์แวร์ เพื่อค้นหาจุดวิกฤต และเส้นทางวิกฤตในกระบวนการผลิตซึ่งจุดวิกฤตนี้จะทำให้เกิดปัญหาการผลิตที่เกินปริมาณในบางจุดของกระบวนการผลิตและเกิดการรองานในบางจุดของกระบวนการผลิตหรือปัญหาคอขวด ซึ่งซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นนี้จะช่วยประมวลผลการเลือกใช้แนวทางในการปรับปรุงจุดวิกฤตพร้อมทั้งบอกต้นทุนเบื้องต้นให้ผู้บริหารเปรียบเทียบการใช้ต้นทุนที่เหมาะสมกับการปรับปรุงแก้ไขจุดวิกฤติในกระบวนการผลิต โดยซอฟต์แวร์จะนำข้อมูลทางการผลิตจากโปรแกรม Microsoft office Excel ที่มีใช้อยู่แล้วส่วนมากในสถานประกอบการ นำมาประมวลผลด้วยโปรแกรม MATLAB ซึ่งจะแสดงการเชื่อมโยงกันของแต่ละงานหรือการสร้างข่ายงาน ทำให้เราเห็นโครงสร้างและทิศทางการเดินของงานและเวลาที่ใช้ของแต่ละงานในกระบวนการผลิต ซอฟต์แวร์ยังทาให้เราทราบราคาขายที่คุ้มทุน ปริมาณการผลิตที่คุ้มทุน และเวลาการผลิตที่คุ้มทุน อีกทั้งการออกแบบซอฟต์แวร์ยังได้พัฒนาระบบ GUI (Graphical User Interface) ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ซอฟต์แวร์มีความสะดวกรวดเร็วต่อการวิเคราะห์ผลและนำเสนอข้อมูลให้ผู้บริหารตัดสินใจ ทั้งนี้ได้นำซอฟต์แวร์ที่ได้พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ในสถานประกอบการจริงที่บริษัทผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบอีนาเมล (Enamel) ถนนปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต
Full Text : Download! |
||
2. | การพัฒนาซอฟต์แวร์การแบ่งส่วนภาพและบีบอัดข้อมูลภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ไพศาล ศรีพระราม | ||
งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อลดขนาดข้อมูลภาพ โดยนำเทคนิคการหาขอบภาพด้วยวิธี Canny และการแบ่งส่วนภาพมาใช้เพื่อแยกและตัดข้อมูลส่วนที่ผู้ใช้ไม่ต้องการออก และนำข้อมูลภาพส่วนที่สนใจมาใช้ จากนั้นนำข้อมูลส่วนที่ได้จากการแบ่งส่วนแล้วมาทำการบีบอัดข้อมูลโดยใช้หลักการของ Zlib Deflate เพื่อทำให้ข้อมูลมีขนาดเล็กลง ซึ่งช่วยให้การส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตทำได้รวดเร็ว และมีความต่อเนื่องมากขึ้น ซึ่งในงานวิจัยนี้จะแสดงการออกแบบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม MATLAB ผลที่ได้จากการทดสอบ พบว่าการแบ่งส่วนภาพและการบีบอัดทำให้ข้อมูลภาพมีขนาดลดลง และการส่งข้อมูลภาพผ่านทางอินเทอร์เน็ตมีความต่อเนื่องมากขึ้น
Full Text : Download! |
||
3. | ผลกระทบของตัวแปรความผิดพลาดของเครื่องกัดแนวดิ่งต่อค่าพิกัดความเผื่อของรูปทรงชิ้นงาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พิมพ์เพชร สระทองอุ่น | ||
คุณภาพและขนาดที่ถูกต้องของชิ้นงานนั้นขึ้นอยู่กับค่าความผิดพลาดของเครื่องจักรอาทิเช่น ความไม่สมบูรณ์ของชิ้นส่วนในระบบรางเลื่อนและโครงสร้างที่เปลี่ยนไปของเครื่องจักรเนื่องจากอุณหภูมิ ปัจจุบันนิยมวิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความถูกต้องของเครื่องจักรเนื่องจากอุณหภูมิ ปัจจุบันนิยมวิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความถูกต้องของเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีอยู่ 2 มาตรฐานด้วยกัน คือ ISO-10791 จะทำการตัดขึ้นรูปชิ้นงาน และตรวจวัดรูแทรงด้วยเครื่องวัดขนาดแบบ 3 แกน (CMM) และอีกมาตรฐานหนึ่ง คือ ISO-230 จะทำการวัดตัวแปรความผิดพลาดของเครื่องจักรจำนวน 21 ตัวแปร ด้วยชุดเครื่องมือ Laser Interferometer System (LIS) ในงานวิจัยนี้มุ่งศึกษาแนวทางการตรวจสอบควมถูกต้องของเครื่องจักรที่สะดวก รวดเร็วใช้ต้นทุนต่ำมีความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ในระดับที่ยอมรับได้ โดยการหาความสัมพันธ์ระกว่าง Straightness ของชิ้นงานที่ถูกกัดขึ้นรูปด้วยเครื่องกัดแนวตั้งรุ่น Makino S33 ตามกระบวนการ ISO-10791 และตำแหน่งทางเดินของมีดกัดที่คำนวณจากแบบจำลองคณิตศาสตร์โดยการแทนค่าตัวแปรความผิดพลาดจากกระบวนการ ISO-230
จากผลการวิจัยพบว่า การทำนายผลการวัด Straightness ด้วย CMM ในแนวแกน X โดยใช้สมการพหุนามกำลัง 3 ที่สร้างจากแบบจำลองคณิตศาสตร์ มีค่า R2 = 0.84 และในแนวแกน Y เลือกใช้ฟังก์ชันเสมือนพหุนาม (Spline) มีค่า R2 = 0.35 ทำให้สามารถสรุปได้ว่าตำแหน่งการเคลื่อนที่ของมีดกัดมีผลต่อค่า Straightness ของชิ้นงานมาตรฐาน ISO-10791 ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ทั้งนี้จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าสาเหตุอื่นๆที่ทำให้ไม่สามารถสร้างสมการแนวโน้มให้สมบูรณ์เพื่อทำนายผลลัพธ์ของชิ้นงานได้นั้น อาจมาจากความผิดพลาดที่เกิดจากการหมุนของ Spindle
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250