fieldjournalid
![]() | งานวิจัย สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา 2015 |
1. | รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความต้องการการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามแนววิธีการสอนแบบภาระงานสำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิภาณี เพ็งเนตร, อติชาต รุ่งสว่าง | ||
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามแนววิธีการสอนแบบภาระงานของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามเพศ คณะ และชั้นปี 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ที่ศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 306 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Samping Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.นักศึกษาสถาบันเทคโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความต้องการการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามแนววิธีการสอนแบบภาระงาน โดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน ด้านการอ่าน ด้านสื่อการเรียนการสอนสำหรับการเรียนการสอนการอ่าน และด้านการเรียนการสอนตามแนววิธีการสอบแบบภาระงาน อยู่ในระดับมาก
2.นักศึกษาที่เป็นเพศชายและเพศมีความต้องการการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามแนววิธีการสอบแบบภาระงาน โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนยสำคัญทางสถิติ
3.นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นปีที่ต่างกัน มีความต้องการการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามแนววิธีการสอบแบบภาระงาน โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4.นักศึกษาที่ศึกษาคณะต่างกัน มีความต้องการการเรียนการสอนการอ่าน
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุษราภรณ์ อัคควิบูลย์, บัณฑิต อนุญาหงษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC จำแนกตามเพศ ชั้นปีที่ศึกษา และคณะที่ศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 306 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักศึกษามีความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC โดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านสูงสุด ได้แก่ ด้านกลวิธีการอ่าน ซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านรูปแบบการสอนอยู่ในระดับมาก ด้านวิธีการสอน ด้านสื่อการสอน และด้านกิจกรรมการสอน ตามลำดับ
2. นักศึกษาที่เป็นเพศชายและเพศหญิง มีความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทาการเปรียบเทียบเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิ
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานวิจัยเรื่อง ศึกษาความต้องการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นวิศวกรรม สำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บัณฑิต อนุญาหงษ์, จรีลักษณ์ ตันทิพย์ | ||
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น
วิศวกรรมของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการการเรียนการ
สอนภาษาญี่ปุ่นวิศวกรรม จำแนกตาม เพศ คณะที่ศึกษา และชั้นปีที่ศึกษา 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็น
เพิ่มเติมของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาค
การศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 306 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random
Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one
way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักศึกษามีความต้องการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นวิศวกรรม โดยรวมอยู่ในระดับ
มากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากในทุกด้าน ด้านสูงสุด ได้แก่ ด้านผู้สอน
รองลงมา ได้แก่ ด้านทักษะทางภาษาญี่ปุ่น ด้านกระบวนการการเรียนการสอน และด้านวิธีการสอน
ตามลำดับ
2. นักศึกษามีความต้องการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นวิศวกรรม โดยภาพรวมมีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาเพศหญิงมีความต้องการการเรียนการ
สอนภาษาญี่ปุ่นวิศวกรรมในระดับสูงกว่านักศึกษาเพศชาย เมื่อทำการเปรียบเทียบเป็นรายด้านพบว่า
นักศึกษามีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านเนื้อหาการสอน ด้าน
สื่อการเรียนการสอน ด้านทักษะทางภาษาญี่ปุ่น
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมในการเรียนวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จาริณี โหยหวล | ||
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมในการเรียนวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมในการเรียนวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำแนกตามเพศ คณะที่ศึกษา และชั้นปีที่ศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของนักศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 351 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technology) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น มีความคิดเห็นต่อทัศนคติและพฤติกรรมในการเรียนวิชาทาทงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยภาพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 3.83 ด้านทัศนคติ มีค่าเฉลี่ย 3.77 ด้านพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ย 3.56 ตามลำดับ
2.ผลการเปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมในการเรียนวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้ายภาพรวม จำแนกตามเพศ พบว่า มีนัยสำคัญเท่ากับ 0.431 ซึ่งมีระดับนัยสำคัญมากกว่า 0.05 ดังนั้น จึงยอมรับสมมุติฐานหลัก (H0) หมายความว่า นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น ที่มีเพศแตกต่างกัน มีระดับทัศนคติและพฤติกรรมในการเรียนวิ
Full Text : Download! |
||
5. | รายงานวิจัยเรื่อง ปัญหาและความต้องการในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชลธิชา นางาม, วิภาณี เพ็งเนตร | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาละความต้องการในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ตามเพศ คณะ และชั้นปี 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 306 คน ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นได้มีการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาจำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทาทงเดียว หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ผู้เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย จำนวน 161 คน คิดเป็นร้อยละ 52.60 ที่เหลือเป็นนักศึกษาเพศหญิง จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 47.40 สำหรับคณะที่ศึกษาส่วนใหญ่ เป็นนักศึกษาที่ศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 132 คนคิดเป็นร้อยละ 43.10 เป็นนักศึกษาที่ศึกษาคณะบริหารุรกิจ จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 34.30 และน้อยที่สุด เป็นนักศึกษาที่ศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ22.50 ส่วนชั้นปีที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ซึ่งมีจำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 25.20 เท่ากัน และ
Full Text : Download! |
||
6. | รายงานวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการงานทั่วไปของสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จาริณี โหยหวล, วิภาณี เพ็งเนตร | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการงานทั่วไปของสำนักวิชา
พื้นฐานและภาษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการงาน
ทั่วไปของสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา ของนักศึกษาที่มาใช้บริการสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบัน
เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำแนกตามเพศ คณะ และชั้นปีที่ศึกษา 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของ
นักศึกษามาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการของสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบัน
เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 2
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 351 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test)
การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
(Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการงานทั่วไปของสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.82) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านสูงสุด ได้แก่ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ (x̅ = 3.88) ซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านสถานที่และการอำนวยความสะดวก (x̅ = 3.81) อยู่ในระดับมากด้านคุณภาพของการให้บริการ (x̅ = 3.79) และด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ (x̅ = 3.78) ตามลำดับ
2.นักศึกษาเพศชายมีความพึงพอใจกา
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250