fieldjournalid
![]() | งานวิจัย สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา 2013 |
1. | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวทฤษฎีการสอนเพื่อการสื่อสาร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บัณฑิต อนุญาหงษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวทฤาฎีการสอนเพื่อการสื่อสาร 2) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวทฤาฎีการสอนเพื่อการสื่อสาร และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาหลังจากเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวทฤษฎีการสอนเพื่อการสื่อสาร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติมราใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1)ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวทฤษฎีการสอนเพื่อการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 86.83/83.38 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75
2)ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการเรียนภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเรียนภาษาอังกฤษก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ด้านการประเมินผลด้านบทเรียนมีค่าประสิทธิผล 0.70 และขนาดของผล (Effect Size) มีค่า 0.87 แสดงว่ามีผลขนาดใหญมาก และ
3)ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวทฤษฎีการสอนเพื่อการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x = 4.54)
Full Text : Download! |
||
2. | The Students’ Opinions towards the Teaching Learning in the Course ENL-417 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Nattida Pucharoen | ||
The purposes of this research were 1) to study opinions towards teaching learning in
the course ENL-417 (Listening and Speaking skills in English) of Thai-Nichi Institute of
Technology students in five aspects: curriculum, teaching-learning process, teaching
materials, instructor and others (evaluation and supporting resource), 2) to compare the
students’ opinions deviated by sex and faculty, and 3) to gather supplemental suggestions.
Research samples were 120 Thai-Nichi Institute of Technology students in summer 2012
derived through simple random technique. The instruments used for gathering the data were
the rating-scale and open-ended questionnaire. The statistics employed for analyzing the data
were frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis.
The research findings were as follows: 1) effects of students’ opinions towards
teaching learning speaking skills as a whole were at high level. When considering each aspect
carefully, it was shown that the students had a high level of opinions on Curriculum,
Teaching materials and Instructors, while their opinions towards teaching-learning process
was at a moderate level. 2) There were no statistically significant differences from genders
and faculties for male and female students. 3) Thai-Nichi Institute of Technology students
had supplemental suggestion: to change the curriculum to various dimensions and to organize
more activities in teaching-learning process, and to demonstrate the same
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานวิจัยเรื่อง ความต้องการกลวิธีในการสอนเพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถ ทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เพื่อการประกอบอาชีพ หลังสำเร็จการศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิภาณี เพ็งเนตร | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการกลวิธีในการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เพื่อการประกอบอาชีพหลังจบการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบ
ความความต้องการกลวิธีในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เพื่อการประกอบ
อาชีพหลังจบการศึกษา ตามเพศและคณะที่ศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
เพิ่มเติม
กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2556
จำนวน 250 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling Technique)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้การ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x̄ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test)
การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์
เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นมีความต้องการกลวิธีในการสอนเพื่อพัฒนาและ
ยกระดับ
ความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เพื่อการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
พบว่านักศึกษามีความต้องการกลวิธีในการสอนเพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถทาง
ภาษาอังกฤษโดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.22 และเมื่อพิจารณารายด้าน
พบว่า ความต้องการกลวิธีในการสอน ด้านทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนอยู่ในระดับ
มากทุกด้าน เช่นกัน
2. นักศึกษาเพศชายและนักศึกษาเพศหญิงสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นมีความต้องการ
กลวิธีในการสอนเพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เพื่อ
การประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา โดยรวมแตกต่างกั
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานวิจัยเรื่อง การสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบภาระงาน เพื่อยกระดับ ความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC ด้านทักษะการอ่าน สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 1 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิภาณี เพ็งเนตร | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการเรียนการสอนอ่าน
ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบภาระงาน เพื่อยกระดับความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC
ด้านทักษะการอ่าน สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 1ให้ได้ตามเกณฑ์ 75/75
2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC ด้านทักษะการอ่าน ของนักศึกษาคณะ
วิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที 1 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบภาระงานเพื่อยกระดับ
ความสามารถในการทำข้อสอบTOEIC ด้านทักษะการอ่านและ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที 1 ที่มีต่อวิธีการสอนแบบภาระงานเพื่อยกระดับ
ความสามารถในการทำข้อสอบTOEIC ด้านทักษะการอ่าน
กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาค
การศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 จำนวน 60 คน
ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
ได้แก่ แผนการสอนและบททดสอบย่อยประจำคาบเรียนจำนวน 8 คาบเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบ
ภาระงานเพื่อยกระดับความสามารถในการทำข้อสอบTOEIC ด้านทักษะการอ่าน แบบทดสอบวัด
ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ
การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง 8 คาบเรียน คาบเรียนละ 75
นาที รวมทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความสามารถใน
การอ่านภาษาอังกฤษเมื่อเรียนจบในแต่ละคาบเรียน ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบประจำคาบ
เรียนและตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนหลังจากที่เรียนจากการเรียนการสอนอ่าน
โดยใช้วิธีการสอนแบบภาระงานเพื่อยกระดับความสามารถในการทำข้อส
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250