fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MET) 2022 |
1. | การออกแบบระบบกึ่งอัตโนมัติของสายการผลิตสำหรับกระบวนการประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เกรียงไกร มีเฒ่า | ||
อุตสาหกรรมการผลิตในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของ
ลูกค้าที่สูงขึ้นภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนฝาครอบกันชนท้ายรถยนต์ ประเภท
ชิ้นส่วนพลาสติก การผลิตปัจจุบันหุ่นยนต์ทำหน้าที่หยิบชิ้นงานจากเครื่องฉีดพลาสติกนำมาให้พนักงาน
ทำการประกอบคลิปแบบกลม 1 ตัว คลิปแบบเหลี่ยม 1 ตัว และตัดทางเข้าน้ำพลาสติก ปัจจุบันพนักงาน
ทำงานมากกว่าหุ่นยนต์ จึงจำเป็นต้องทำการปรับสมดุลการทำงานระหว่างคนกับหุ่นยนต์ให้ทำงาน
อย่างเหมาะสม ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ ออกแบบสายการผลิตให้เป็นกึ่งอัตโนมัติ ลดงานของ
พนักงาน โดยโยกย้ายงานที่มีมูลค่าให้หุ่นยนต์เป็นผู้ทำ การวิจัยนี้ได้ประยุกต์การออกแบบระบบไฟฟ้า
นิวเมติกส์ มาใช้กับการวางแผน ออกแบบและพัฒนาการทำงานของหุ่นยนต์ทำงานต่อเนื่องตามลำดับ
แต่ละขั้นตอนและสัญลักษณ์ผังวงจร การทำงานของอุปกรณ์ เครื่องมือเพื่อพัฒนาในขั้นตอนต่างๆ
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ชิ้นส่วนประกอบที่ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้ทำการวางแผน ออกแบบ
นั้น สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ดำเนินการผลิตแบบต่อเนื่องไม่หยุด ไม่ติดขัด ตรงตามวัตถุประสงค์
ที่วางแผน และได้ออกแบบไว้ สามารถลดการใช้พนักงาน 1 คน การพัฒนาโครงงานนี้สามารถคืนทุน
ใน 9 เดือน และลดเวลาสูญเปล่าของหุ่นยนต์ให้ทำงานเพิ่มคุณค่ามากขึ้น กล่าวคือ ก่อนปรับปรุงหุ่นยนต์
มีรอบเวลาเพียง 22 วินาที ได้พัฒนาปรับปรุงให้เพิ่มรอบเวลาเป็น 54 วินาที ให้หุ่นยนต์ทำงานให้เป็น
ประโยชน์เพิ่มขึ้นเป็น 2.45 เท่า
Full Text : Download! |
||
2. | การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของศาสตร์การแพทย์แผนจีนในการรักษาโรคอัมพาตใบหน้าโดยใช้การประมวลผลภาพทางดิจิทัล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปุญญิศา เทพมังกร | ||
การฝังเข็ม ครอบแก้ว นวดทุยหนาล้วนเป็นหัตถการแบบผสมผสานของศาสตร์การแพทย์
แผนจีนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนำมาใช้รักษาโรคอัมพาตใบหน้ารวมถึงใช้ในการลดเลือนริ้วรอย
บริเวณมุมปากเนื่องจากมีการสันนิษฐานว่าการรักษาแบบผสมผสานสามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า
ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ริ้วรอยมุมปากจางลงแต่ยังไม่มีการศึกษาทดลองที่ช่วยสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวใน
งานวิจัยนี้การประมวลผลการรักษาโรคอัมพาตใบหน้าควบคู่ไปกับการประมวลผลขอบเขตของริ้วรอย
บริเวณมุมปากที่ได้รับการดูแลรักษาด้วยวิธีหัตถการแบบผสมผสานผ่านการใช้เทคนิคการประมวลผล
ภาพทางดิจิทัล (Image Processing) เพื่อมาช่วยยืนยันผลสัมฤทธิ์ตลอดระยะเวลาการรักษา พบว่า
เมื่อผู้เข้าร่วมงานวิจัยทุกท่านเห็นผลการประมวลผลภาพทางดิจิทัลที่เป็นภาพก่อนและหลังการรักษา
ของตนเอง ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทุกท่านล้วนพึงพอใจในผลการรักษาเป็นอย่างดีเพราะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง
ของขอบเขตพื้นที่ของริ้วรอยลดลงอย่างเด่นชัด ด้วยเหตุนี้จุดมุ่งหมายในงานวิจัยชิ้นนี้คือการนำเอาฟังก์ชัน
การประมวลผลภาพทางดิจิทัลมาตรวจจับ วิเคราะห์ขอบเขตพื้นที่ของริ้วรอยบริเวณมุมปากได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่าการประมวลผลภาพทางดิจิทัลซี่งเป็นเทคนิคสำคัญของทางวิศวกรรมที่สามารถช่วย
ยืนยันผลการรักษาได้อย่างแม่นยำ น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการ
วิเคราะห์รอยโรค นอกเหนือนี้จากการทำหัตถการแบบผสมผสานของศาสตร์การแพทย์แผนจีนมี นอก
จากจะผลดีต่อการรักษาอาการแสดงของโรคอัมพาตใบหน้ารวมถึงดีต่อการลดเลือนริ้วรอยบริเวณมุม
ปากแล้ว ตลอดระยะเวลาการรักษาไม่พบว่ามีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ เกิดขึ้นกับผู้ร่วมงานวิจัย
Full Text : Download! |
||
3. | การปรับปรุงระบบปรับอากาศแบบแผงแผ่รังสีความเย็น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พรชัย จิตยืนยง | ||
การศึกษาวิจัยนี้ประยุกต์ใช้แผงแผ่รังสีความเย็น (Radiant Cooling Panel, RCP) สำหรับ
การปรับอากาศในประเทศไทยซึ่งมีสภาพอากาศร้อนชื้น ด้วยแบบจำลองและทำการทดลอง แผงแผ่
รังสีความเย็นประเภทติดตั้งที่เพดานถูกใช้งานร่วมกับระบบเติมอากาศแบบอิสระ (Dedicated
Outdoor Air System, DOAS) ซึ่งถูกควบคุมการทำงานโดยตัวควบคุมพีไอดี (PID Controller)
การวิจัยมุ่งเน้นไปที่การใช้การควบคุมแบบคาดการณ์ล่วงหน้า (Model Predictive
Control, MPC) เพื่อปรับปรุงการควบคุมพีแอลซีของสภาวะการจ่ายน้ำเย็น ของแผงแผ่รังสีความเย็น
ที่ใช้งานร่วมกับระบบเติมอากาศแบบอิสระ มีการจำลองระบบด้วยวงจรความร้อนเทียบเท่า
(Thermal circuit equivalent) เพื่อคำนวณการถ่ายเทความร้อนของเพดานแบบพลวัต โปรแกรม
MATLAB Simulink ถูกนำมาใช้จำลองการทำงานของแผงแผ่รังสีความเย็น เพื่อคาดการณ์เวลาที่ต้อง
ใช้ในการเข้าใกล้จุดตั้งค่า (Set point) ของอุณหภูมิของห้องปรับอากาศที่กำหนดไว้ที่ 24 องศา
เซลเซียส
ผลการเปรียบเทียบระหว่างตัวควบคุมพีไอดี และตัวควบคุมแบบคาดการณ์ล่วงหน้า แบบ
หลังสามารถทำให้ระบบเข้าใกล้จุดที่ตั้งไว้เร็วขึ้น ดังนั้นตัวควบคุมแบบคาดการณ์ล่วงหน้าจะถูก
นำมาใช้เพื่อควบคุมระบบแผงแผ่รังสีความเย็นที่ใช้งานร่วมกับระบบเติมอากาศแบบอิสระ ในการ
ทดลองจริงต่อไป โดยคาดว่าจะเข้าใกล้จุดตั้งค่าที่ดีกว่าและเอื้อต่อการประหยัดพลังงานเช่นกัน
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาวิจัยพัฒนาระบบห้องทดสอบตู้แช่เย็นแสดงสินค้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พัชรพงศ์ ปัญญาคุณานนท์ | ||
ห้องทดสอบตู้แช่เย็นแสดงสินค้าถือเป็นระบบที่สาคัญมากต่อการพัฒนาประสิทธิภาพตู้แช่เย็นแสดงสินค้าและการลดการใช้พลังงาน หากโรงงานผลิตต้องการสร้างห้องทดสอบตู้แช่เย็นแสดงสินค้าในระดับเดียวกับห้องทดสอบมาตรฐานก็จาเป็นต้องลงทุนค่อนข้างสูง ผู้ผลิตจึงมีข้อจากัดในการสร้างห้องทดสอบมาตรฐานมาใช้งาน ส่งผลให้ตู้แช่เย็นแสดงสินค้ามักขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน
ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งพัฒนาห้องทดสอบตู้แช่เย็นแสดงสินค้า ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับระบบของห้องทดสอบมาตรฐาน โดยประยุกต์ใช้ระบบปรับอากาศพื้นฐานมาเป็นระบบที่สามารถสร้างสภาวะอากาศในการทดสอบช่วงอุณหภูมิ 20-45oC ± 1oC และความชื้นสัมพันธ์ในช่วง 40-75 %RH ± 5 %RH การสร้างห้องทดสอบตู้แช่เย็นแสดงสินค้าและระบบสร้างสภาวะอากาศจะสอดคล้องกับมาตรฐานสากล AS1731.4-2003 โดยระบบใช้ Microcontroller เป็นอุปกรณ์ประมวลผลและควบคุมการทางาน ทาการทดสอบประสิทธิภาพการทางานของห้อง 7 เงื่อนไข จากการทดสอบได้ผลสรุปประสิทธิภาพของห้องทดสอบตู้แช่เย็นแสดงสินค้า ที่สามารถนาไปใช้งานได้จริง และงานวิจัยนี้ยังได้นาเสนอถึงข้อแนะนาเพื่อการพัฒนาต่อยอดให้ระบบมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
บัญ
Full Text : Download! |
||
5. | การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำในการติดตาม และวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พื้นที่ของนักศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เบญจรัตน์ ภาณุโรจน์ | ||
งานวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาการติดตามพฤติกรรมของนักศึกษาภายในสถาบันเทคโนโลยี
ไทย-ญี่ปุ่น โดยการใช้เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำ (BLE) ซึ่งใช้อุปกรณ์กระจายสัญญาณบลูทูธ ไปติดตั้ง
ภายในบริเวณสถาบันฯ จำนวน 7 จุด และเก็บข้อมูลการเข้าใช้พื้นที่ โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณบลูทูธ
ขนาดเล็ก ให้นักศึกษาที่เป็นอาสาสมัคร จำนวน 15 คน นำติดตัวไว้เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการติดตาม
ตำแหน่ง ซึ่งได้ทำการรวบรวมข้อมูลบันทึกการติดตามเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อนำมาศึกษา และวิเคราะห์
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสถาบันของนักศึกษา จากผลการศึกษาทำให้ทราบว่านักศึกษาจะไปอยู่บริเวณตึก
E มากที่สุดตลอดระยะเวลาการเก็บข้อมูล คิดเป็น 111 ครั้ง ที่จับสัญญาณอุปกรณ์ได้ รวมถึงกระจายอยู่
ในระหว่างวันมากที่สุดด้วย หากเป็นช่วงเวลาบ่ายนักศึกษาจะกระจายไปอยู่บริเวณอาคาร B ส่วนในช่วง
เช้าและเย็น จะอยู่บริเวณอาคาร D ซึ่งสามารถนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อในการศึกษาเรื่องของการ
ใช้งานพื้นที่ในแต่ละบริเวณ และแต่ละช่วงเวลาที่นักศึกษาเคลื่อนที่ไป นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวช่วยให้
สามารถวางแผนการใช้งานพื้นที่แต่ละบริเวณได้ สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการปรับปรุงสถานที่ภายใน
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นหรือสถานศึกษาอื่นๆ ได้ในอนาคต
Full Text : Download! |
||
6. | ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคาร โดยใช้วิธีการเรียนรู้เครื่องจักรร่วมกับอัลกอริทึม Kalman Filter [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธนสิทธิ์ ฤทธิ์ธนโสภณ | ||
ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารด้วยวิธีการ Fingerprint นั้นเป็นระบบที่เรียบง่ายและถูกใช้
อย่างแพร่หลายในการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในอาคารหรือพื้นที่ปิด แต่เนื่องจากความ
แปรปรวนของสภาพแวดล้อม ทำให้สัญญาณที่ตรวจวัดได้มีความไม่แน่นอน และเกิดความคาดเคลื่อน
ของตำแหน่งสูง ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) ร่วมกับ
อัลกอริทึม Kalman Filter เพื่อเพิ่มความแม่นยำของระบบระบุตำแหน่งด้วยวิธีการ Fingerprint ซึ่ง
วิธีการที่นำเสนอนั้นได้นำความสามารถของการเรียนรู้ของเครื่องจักรมาใช้ในการถอดคุณสมบัติและการ
จำแนกประเภท รวมถึงนำความสามารถในการกำจัดค่าความแปรปรวนของสัญญาณด้วย Kalman Filter
มาผนวกเข้าด้วยกัน การทดลองนี้ได้ทำการรวบรวมชุดข้อมูลจากสภาพแวดล้อมจริงที่ได้ทำการเก็บมา
จากอุปกรณ์กระจายสัญญาที่ใช้เทคโนโลยีบลูทูธพลังงานต่ำที่ถูกวางไว้ในจุดต่างๆ ภายในพื้นที่การทดลอง
ผลลัพธ์จากการทดสอบระบบ พบว่าวิธีการที่นำเสนอนั้นสามารถเพิ่มค่าความแม่นยำของระบบระบุ
ตำแหน่งภายในอาคารด้วยวิธีการ Fingerprint ได้ โดยเปรียบเทียบกับวิธีการเรียนรู้ด้วยเครื่องแบบ
ดั้งเดิม ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบระบุตำแหน่งภายในอาคาร ที่มีต้นทุนต่ำแต่ได้ค่าประสิทธิภาพและความ
แม่นยำที่สูง
Full Text : Download! |
||
7. | การสร้างแบบจำลองไม่ต่อเนื่องเพื่อเพิ่มผลิตภาพ กรณีศึกษา สายการผลิตซอสปรุงรส [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภฤศฐปกร รอดผล | ||
การออกแบบและพัฒนาระบบงานใช้แบบจำลองเป็นเครื่องมือวิเคราะห์เหตุการณ์ ก่อนที่
จะนำไปใช้กับระบบงานจริง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยงานวิจัยนี้เลือก
ใช้ซอฟต์แวร์ Arena Simulation เป็นเครื่องมือในการสร้างแบบจำลอง
นำข้อมูลที่ได้จากการแจกแจงมาสร้างแบบจำลอง โดยแบบจำลองได้ถูกทวนสอบความเป็น
ตัวแทนของระบบงานจริง โดยใช้วิธีทดสอบ Comparison with an Existing System เทียบผลลัพธ์
ระหว่างแบบจำลองกับระบบงานจริง พบว่าไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่า
P-Value = 0.958 ไม่สามารถปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 และทดสอบความเป็นตัวแทนของแบบจำลอง
โดยใช้วิธีทดสอบ Parameter Variability-Sensitivity Test เพื่อทดสอบความไวต่อการตอบสนองค่า
ความแปรปรวน ทุกเงื่อนไขมีค่า R-squared มากกว่าร้อยละ 80 ส่งผลให้แบบจำลองเป็นตัวแทนของ
ระบบการผลิตจริงได้
นำผลรอบเวลาการผลิตต่อชิ้นงานจากแบบจำลองมาจัดสมดุลการผลิต เลือกตัวแปรที่มีค่า
รอบเวลา สูงกว่าค่า Takt Time นำมาจัดสมดุลสายการผลิตใหม่ผ่านซอฟต์แวร์ ARENA ใช้วิธี Trial
and Error หลังจากจัดสมดุลสายการผลิตใหม่พบว่า ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.5 ลดลงจาก 11 สถานีงาน
คงเหลือ 6 สถานีงาน คิดเป็นร้อยละ 54.55 จำนวนพนักงาน ลดลงจาก 18 คน คงเหลือ 16 คน คิดเป็น
ร้อยละ 11.1 เวลานำการผลิตลดลง จาก 42.19 วัน คงเหลือ 28.48 วัน คิดเป็นร้อยละ 32.5 ประสิทธิผล
โดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 88 เป็นร้อยละ 97 คิดเป็นร้อยละ 9 ประสิทธิภาพ
สายการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 68.84 เป็น 80.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 426.69 แกลลอน
ต่อวัน เป็น 638.23 แกลลอนต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 49.6 ซึ่งเป็นการตอบวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
Full Text : Download! |
||
8. | การประยุกต์วิธีทากูชิเพื่อตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อการปรับสมดุลของคลัตช์แรงเหวี่ยง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศุภชัย ช่อทับทิม | ||
ความไม่สมดุลของคลัตช์แรงเหวี่ยงเกียร์อัตโนมัติเป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานของคลัตช์
เพื่อให้รถมีเสถียรภาพในการขับขี่มากยิ่งขึ้น ในกระบวนการผลิตจำเป็นจะต้องทำการปรับสมดุลเพื่อให้
ค่าความไม่สมดุลของคลัตช์มีค่าน้อยที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการปรับสมดุล
คลัตช์และศึกษาอิทธิพลปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้คลัตช์เกิดความไม่สมดุลในชุดพูเล่ที่ 2 หรือชุดพูเล่ล้อหลัง
(พูเล่ สปริง และ ชุดคลัตช์) ของรถจักรยานยนต์เกียร์อัตโนมัติ เนื่องจากกระบวนการผลิตนี้มีผลผลิตต่ำ
และเป็นกระบวนการที่เกิดคอขวด นอกจากนี้ถ้าชิ้นงานที่ปรับสมดุลไม่ผ่านจะต้องทำการปรับสมดุลซ้ำ
ด้วยการเจาะลดน้ำหนักส่วนเกินออก การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้วิธีทากูชิในการออกแบบและวิเคราะห์ผล
การทดลอง ปัจจัยของชิ้นส่วนที่มีผลต่อการปรับสมดุลของคลัตช์ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความ
ไม่สมดุลของชุดส่วนประกอบหลักของคลัตช์ 2) ความไม่สมดุลของชุดส่วนประกอบย่อยของคลัตช์ และ
(3) ความไม่สมดุลของสปริง การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองแบบทากูชิ L8 (23) กำหนด
ค่าปัจจัยความไม่สมดุลไว้ 2 ระดับคือค่าต่ำและค่าสูง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ค่า
ความไม่สมดุลของของชุดพูเล่ล้อหลังมีค่าน้อยที่สุด คือ ค่าความไม่สมดุลของชุดส่วนประกอบหลักของ
คลัตช์ที่มีค่าระดับปัจจัยต่ำเท่ากับ 5.01 g.cm ค่าความไม่สมดุลของชุดส่วนประกอบย่อยของคลัตช์ที่มี
ค่าระดับปัจจัยสูงเท่ากับ 6.03 g.cm และค่าความไม่สมดุลของสปริงที่มีค่าระดับปัจจัยสูงเท่ากับ 3.27
g.cm และชิ้นงานที่ต้องทำการสมดุลซ้ำลดลงจากเดิมที่ 60-65% เหลือเพียง 40%
Full Text : Download! |
||
9. | ระบบปรับเปลี่ยนเนื้อหาตามผู้ชมสำหรับป้ายโฆษณาดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีการตรวจจับวัตถุ แบบเรียลไทม์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สุจิตรา ปิ่นพัฒนพงศ์ | ||
ป้ายโฆษณาคือสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการที่เรียบง่าย เข้าถึงกลุ่มลูกค้า
ได้ไว และมีความชัดเจน ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์ของป้ายนั้นคือ สถานที่
และเนื้อหาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาระบบปรับเปลี่ยนเนื้อหาตามกลุ่มผู้ชม
สำหรับป้ายโฆษณาดิจิทัล (Digital Signage) โดยใช้เทคโนโลยีการตรวจจับวัตถุแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็น
เทคนิคที่ใช้ในการตรวจจับวัตถุจากกล้องวิดีโอ และนำภาพที่ได้มาประมวลผลในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
โดยวิเคราะห์จำนวน และกลุ่มประชากรในพื้นที่ เพื่อปรับเปลี่ยนเนื้อหาบนป้ายโฆษณาให้เหมาะสมกับ
กลุ่มประชากรในพื้นที่ ณ ช่วงเวลานั้นๆ ในการทดลองนี้ ลักษณะของกลุ่มประชากรถูกแบ่งออกเป็นสอง
กลุ่มคือ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปภายในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งทำการสร้างชุดข้อมูล (Dataset)
สำหรับแบ่งแยกกลุ่มประชากรขึ้นมาใหม่ ทำให้สามารถวิเคราะห์กลุ่มประชากรในพื้นที่เป้าหมายได้
แม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นต้นแบบในการเพิ่มประสิทธิภาพของป้ายโฆษณาดิจิทัลทั่วไปให้
สามารถแสดงเนื้อหาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ในราคาที่ไม่สูงมากนัก
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250