fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (LMS) 2023 |
1. | การควบคุมสินค้าคงคลังในอุตสาหกรรมน้ำหอมปรับอากาศ กรณีศึกษา อุตสาหกรรมน้ำหอมปรับอากาศในพื้นที่คลังสินค้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชัยธวัช ลีวิริยะเลิศ | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของบริษัท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาในผลิตภัณฑ์สเปรย์ปรับอากาศของบริษัทกรณีศึกษา โดยมีการสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และมีการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ K-J Method พบปัญหาคือ การจัดการคลังสินค้าไม่มีประสิทธิภาพจึงได้ใช้เทคนิค Why-Why Analysis เพื่อหาสาเหตุของปัญหาพบว่าไม่มีการจัดกลุ่มประเภทสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวแตกต่างกัน การจัดเก็บสินค้าไม่เหมาะสม กระบวนการหยิบสินค้าเพื่อรอส่งมอบให้ลูกค้าใช้เวลานาน จึงใช้ทฤษฎี ABC Analysis ในการจัดกลุ่มสินค้าคงคลัง และใช้เป็นแนวทางในการออกแบบแผนผังคลังสินค้า มีการนำโปรแกรม Microsoft Excel เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อการจัดกลุ่มและจัดวางตำแหน่งสินค้า
ผลการปรับปรุงคลังสินค้าทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าคือ สินค้ามีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เวลาเฉลี่ยในการหยิบสินค้าเพื่อเตรียมส่งมอบให้กับลูกค้าลดลง 2,022 วินาที คิดเป็นร้อยละ 49.88 และสามารถลดระยะทางที่ใช้ในการหยิบสินค้าลง 333.82 เมตร คิดเป็นร้อยละ 49.64
Full Text : Download! |
||
2. | การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศชนิด RPA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน กรณีศึกษาใช้โปรแกรม Power Automate [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พีรพล สาระผล | ||
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และการดำเนินงานในปัจจุบันของขั้นตอนการบันทึกปริมาณน้ำมันคงเหลือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในขั้นตอนการบันทึกปริมาณน้ำมันคงเหลือ และเพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลในขั้นตอนการบันทึกปริมาณน้ำมันคงเหลือ จากการศึกษาสภาพปัจจุบันพบว่ามีประเด็นปัญหา คือ การรับน้ำมันไม่เป็นไปตามแผนการประมาณการณ์ยอดการณ์ใช้น้ำมันผิดพลาดและข้อมูลปริมาณน้ำมันคงเหลือไม่ถูกต้องไม่แม่นยำ จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ Why Why Analysis ในการหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา เพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงานในขั้นตอนบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำมันคงเหลือ โดยการนำ RPA (Robotic Process Automation) ชนิดโปรแกรม Power Automate มาประยุกต์ใช้ จากนั้นเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการทำงานก่อนและหลังปรับปรุง โดยเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในขั้นตอนการบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำมันคงเหลือและความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลปริมาณน้ำมันคงเหลือ
จากผลการวิจัยพบว่าก่อนดำเนินการปรับปรุงเวลาที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำมันคงเหลือเฉลี่ยต่อวันคือ 52.23 นาที และค่าเฉลี่ยร้อยละความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลปริมาณน้ำมันคงเหลือเท่ากับร้อยละ 80 หลังจากปรับปรุง พบว่าเวลาที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำมันคงเหลือเฉลี่ยต่อวันลดลงเป็น 0 นาที ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากจำนวนเวลาทำงานทั้งหมดต่อวัน และค่าเฉลี่ยร้อยละความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลปริมาณน้ำมันคงเหลือเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จึงสามารถสรุปได้ว่าโปรแกรม Power Automate สามารถปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ในขั้นตอนการบันทึกปริมาณน้ำมันคงเหลือได้
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250