fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIT) 2024 |
1. | การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกความสามารถในการชำระหนี้สำหรับ ผู้กู้รายเดิมด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธันย์ชนก ขำประดิษฐ์ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สร้างแบบจำลองข้อมูลการในการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้คืนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเทคนิค
ที่เหมาะสมในการจำแนกความสามารถในการชำระหนี้คืนจากข้อมูลลูกค้าผู้กู้รายเดิม เพื่อช่วยธนาคารประกอบการตัดสินใจในการอนุมัติสินเชื่อ โดยการนำข้อมูลในอดีตมาวิเคราะห์เพื่อสะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต และทำให้ธนาคารมีเครื่องมือที่ง่ายต่อการอนุมัติในการปล่อยสินเชื่อของลูกค้าที่เคยมีประวัติการขอสินเชื่อจากธนาคาร จากการศึกษานี้ใช้ข้อมูลประเมิน
ศักยภาพลูกหนี้ของธนาคารแห่งหนึ่ง จำนวน 4,334 ราย โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการชำระหนี้และเปรียบเทียบโมเดลที่มีผลต่อความสามารถในการ
ชำระหนี้ โดยเทคนิคที่เลือกใช้ ได้แก่ Logistic Regression Neural Network Decision Tree
และ Random Forest ด้วยโปรแกรม Visual Studio Code จากผลการศึกษาพบว่า โมเดล
Random Forest มีความแม่นยำสูงและแปรปรวนต่ำ วัดประสิทธิภาพค่าเฉลี่ยความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) คิดเป็น 95.98% และค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนในการทำนาย (RMSE) 20.99% นอกจากนี้ต้นเงินค้างในบิล (The Principal Remains on the Bill) มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้คืนมากที่สุด โมเดล Random Forest จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการพิจารณา
อนุมัติสินเชื่อ โดยวัดจากค่าประสิทธิภาพความแม่นยำสูงสุดจากการสร้างโมเดลที่ทำนายจากพฤติกรรมการชำระหนี้ของผู้กู้รายเดิมในอดีต จะช่วยส่งผลให้การปล่อยอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร
มีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
Full Text : Download! |
||
2. | การออกแบบระบบประมูลออนไลน์รังนกโดยการประยุกต์ใช้บล็อกเชน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กันต์ธีร์ เจริญเศรษฐศิลป์ | ||
การประมูลรังนกแอ่นออนไลน์ เป็นอาหารที่เชื่อว่าสามารถเสริมสุขภาพ และบำรุงร่างกาย จึงส่งผลให้รังนกแอ่นนั้นมีมูลค่าสูง ส่งผลทำให้มีความต้องการสูงในตลาด ในปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยู่ระหว่างการดำเนินการส่งเสริมให้นกแอ่นกินรังเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ และผลักดันให้การทำฟาร์มรังนกแอ่นกินรังถูกกฎหมาย เนื่องจากปี พ.ศ.2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การผู้คนพบเจอกันได้น้อยลงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส ส่งผลทำให้เกิดการทำธุรกรรมต่าง ๆ หรือการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตมากขึ้น อีกทั้งต้องการให้สามารถเข้าถึงสินค้ารังนกแอ่นให้สามารถซื้อขายได้สะดวก และง่ายยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีการออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์การประมูลรังนกแอ่นกินรัง ที่มีความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งมีการออกแบบตั้งแต่เว็บแอปพลิเคชัน ระบบการประมวลผลด้านหลัง และระบบบล็อกเชน ซึ่งทั้งหมดทำงานบนบริการกลุ่มเมฆที่สามารถขยายการขนาดปริมาณการใช้งานภายในระบบได้ และทำการทดสอบประสิทธิภาพจากการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนแบบ Hyperledger Fabric เข้าไปประยุกต์ใช้ ผลปรากฏว่าระบบการประมูลรังนกแอ่นสามารถดำเนินการประมูลได้ จากการผู้ใช้สามารถเข้ามาใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตได้ และได้ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบบล็อกเชนเพื่อระบบการประมูลรังนกแอ่นสามารถรองรับการทำรายการได้ในปริมาณได้มากขึ้นในอนาคต จากการทดลองตั้งค่าตัวแปรเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบการประมูลรังนกแอ่น
Full Text : Download! |
||
3. | การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสำหรับการตัดสินใจของฟาร์มนกแอ่นกินรังได้โดยใช้ ArcGIS [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รักษ์ชาติ เกตุบุญลือ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการเลือกพื้นที่สร้างอาคารเพาะเลี้ยงนกแอ่นกินรัง โดยใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ผ่าน ArcGIS Portal และทดสอบประสิทธิภาพของระบบด้วยเครื่องมือ Apache JMeter งานวิจัยมุ่งเน้นที่การประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการสร้างฟาร์มนกแอ่นในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการซ้อนทับข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน แหล่งน้ำ ความใกล้ชิดกับชุมชน และข้อบังคับทางกฎหมาย เช่น กฎหมายการใช้ที่ดินและการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า จากผลการศึกษาพบว่า มีหลายพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างฟาร์มนกแอ่นในเขตอำเภอปากพนัง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีแหล่งอาหารและแหล่งน้ำที่เพียงพอและมีการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ดี นอกจากนี้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่พัฒนาขึ้นยังสามารถแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ โดยผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบด้วย Apache JMeter พบว่าระบบสามารถรองรับผู้ใช้งานพร้อมกันได้ถึง 300-500 คน โดยไม่มีปัญหาในการทำงานหรือเวลาตอบสนองมากนัก การทดสอบโหลดและการทดสอบความทนทานแสดงให้เห็นว่าระบบสามารถทำงานได้ดีในสภาวะที่มีการใช้งานหนัก อย่างไรก็ตาม ระบบเริ่มมีปัญหาเมื่อมีการใช้งานเกินขีดจำกัด ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงเพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต ดังนั้น จากผลการวิจัยนี้ สามารถสรุปได้ว่า ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกพื้นที่สำหรับการสร้างอาคารเพาะเลี้ยงนกแอ่นกินรังที่พัฒนาขึ้น มีศักยภาพสูงในการช่วยผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม ทั้งยังมีประสิทธิภาพในการรองรับการใช้งานพร้อมกันได้อย่างดี
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250