fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (EEM) 2016 |
1. | การศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยและองค์ประกอบในการเลือกจุดหมายปลายทางสาหรับอุตสาหกรรมการประชุมองค์กร การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมวิชาชีพ และการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (MICE) กรณีศึกษา อุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภัทรานุช กิติวรรณ | ||
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและค้นคว้าปัจจัยและองค์ประกอบในการเลือกจุดหมายปลายทางสำหรับอุตสาหกรรมการประชุมองค์กร การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมวิชาชีพ และการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (MICE) ทำการศึกษากับประชากรไทย ที่มีวัตถุประสงค์ในเดินทางมาเพื่อเข้าร่วม หรือเคยเข้าร่วมกิจกรรมไมซ์กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง จำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principle Component Analysis : PC) และใช้การหมุนแกนองค์ประกอบด้วยวิธีโปรแมกซ์ (Promax Method)
ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ตัวแปร 42 ตัวแปร ภายหลังการหมุนแกนองค์ประกอบ ทำให้ได้องค์ประกอบทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านสถานที่จัดงานและสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ด้านโรงแรมที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก 3) ด้านสิ่งอำนวย ความสะดวกสบายทางการท่องเที่ยวและความบันเทิง 4) ด้านสิ่งดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว 5) ด้านปัจจัยสนับสนุนและทรัพยากรต่างๆ และ 6) ด้านความคาดหวังส่วนบุคคล โดยที่องค์ประกอบด้านสถานที่จัดงานและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านโรงแรมที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านความคาดหวังส่วนบุคคล เป็น 3 องค์ประกอบสำคัญที่ ผู้มีประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมไมซ์ใช้พิจารณาตัดสินใจเลือกจุดหมายปลายทางสาหรับอุตสาหกรรมไมซ์
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาระบบการตลาดปลาสวยงามญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาการส่งออกในมุมมองผู้ส่งออก เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พิพัฒน์พงษ์ ก้อนกั้น | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการตลาดปลาสวยงามญี่ปุ่นใน
มุมมองผู้ส่งออกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) พัฒนาการส่งออกปลาสวยงามญี่ปุ่น
การวิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัย ได้แก่ ผู้ส่งออกปลาสวยงามญี่ปุ่นที่เป็นผู้นำในการส่งออกของประเทศไทย จำนวน 10 ราย
ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล
แล้วนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบและวิเคราะห์เพื่อหาบทสรุป
ผลการวิจัยพบว่า ระบบการตลาดปลาสวยงามญี่ปุ่นมีการดำเนินการกิจกรรมทางการ
ตลาดหลายขั้นตอน ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้บริโภค เนื่องจากระบบตลาดปลาสวยงามญี่ปุ่นมีการ
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกิดขึ้นภายนอกการตลาด เช่น การเปลี่ยนแปลง
นโยบายของภาครัฐ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การขยายตัวของประชากร ซึ่งล้วนส่งผล
กับระบบการตลาดและการดำเนินการทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา
ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ปลาสวยงามญี่ปุ่นที่มีการส่งออกเป็น
ปลาคาร์พมากกว่าปลาทอง ปัจจัยหลักที่ซื้อขายจะเน้นคุณภาพของปลาเป็นหลัก ด้านโอกาสใน
การขยายตลาดส่งออกปลาสวยงามญี่ปุ่นยังเปิดกว้างอีกมาก โดยเฉพาะช่องทางการจัดจำหน่าย
ปลาสวยงามผ่านระบบอินเตอร์เน็ต การเพาะพันธุ์ให้มีความหลากหลายของสายพันธุ์คือแนว
ทางการแข่งขันในการส่งออกปลาสวยงามญี่ปุ่นได้ หากมีการส่งเสริมจากภาครัฐที่ถูกจุด การ
พัฒนาระบบการตลาดปลาสวยงามญี่ปุ่นจึงเป็นอีกแนวทางในการพัฒนาการส่งออกและการ
สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ส่งออก ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกซื้อปลาสวยงาม
งามญี่ปุ่นของผู้บริโภคและต้องได้รับความร่วมมือกันทุกภา
Full Text : Download! |
||
3. | แนวทางการขยายตลาดร้านอาหารมุสลิมสำหรับผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิไลรัตน์ เจ๊ะหมัด | ||
การศึกษาหาแนวทางการขยายตลาดร้านอาหารมุสลิมสำหรับผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม มี
จุดประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการดำเนินการเพื่อขยายตลาดร้านอาหารมุสลิมสำหรับ
ผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม โดยทำการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการของร้านอาหาร
มุสลิมและการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของร้านอาหารมุสลิมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโดยเป็น
วิจัยแบบผสมของวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 350 คน
ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์พหุคูณและการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผู้ประกอบการ 3 ท่านและผู้บริโภค 10 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่
เป็นเพศหญิง อายุ 25-34 ปี ภูมิลำเนาเป็นชาวกรุงเทพมหานคร การศึกษาระดับปริญญาตรี
รายได้ 15,000-19,999 บาท นิยมการซื้ออาหารรับประทาน โดยส่วนใหญ่รู้จักสนิทสนมกับมุสลิม
และเคยได้รับการแนะนำให้ใช้บริการร้านอาหารมุสลิม ผลการวิเคราะห์สมการพยากรณ์การตัดสินใจ
ใช้บริการ จากการวิเคราะห์ถอดถอยพหุคูณคือ การตัดสินใจใช้บริการ = Y = -0.121 + 0.435
(ภาพลักษณ์) + 0.345 (ผลิตภัณฑ์) + 0.091 (การส่งเสริมการตลาด) + 0.094 (กระบวนการ) มี
อำนาจในการพยากรณ์เท่ากับ 0.429 หรือ ร้อยละ 42.9
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250