fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (EEM) 2016 |
1. | วิเคราะห์งบการเงินเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจยานยนต์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ตรีทิพย์ กิจยโภค | ||
การศึกษาเรือง วิเคราะห์งบการเงินเพือศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่ม
ธุรกิจยานยนต์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพือ 1) ศึกษาประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ และ 2) เพือเปรียบเทียบการดำเนินงาน
ของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วน
วัดสภาพคล่อง อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการ
ทำงาน และอัตราส่วนวัดภาระหนี9สิน โดยทำการศึกษาข้อมูลโดยนำข้อมูลจากงบแสดงฐานะ
การเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ จากงบการเงินของบริษัทธุรกิจยานยนต์ จำนวน 16 บริษัท
มาทำการวิเคราะห์หาผลลัพธ์ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Excel เพือสร้างสูตรการ
คำ นวณหาข้อมูล ด้านสภาพคล่องของธุรกิจ ความสามารถในการทำ กำ ไรของธุรกิจ
ความสามารถในการจ่ายชำระหนี9 ความสามารถคุ้มครองดอกเบีย9 จ่าย โดยทำการเปรียบเทียบ
ข้อมูล 3 ปี ได้แก่ ปี 2553 ปี 2554 และปี 2555
ผลการวิเคราะห์งบการเงิน โดยการเปรียบเทียบงบการเงินประจำปี 2553-2555 ของ
กลุ่มธุรกิจยานยนต์ทีจ ดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ประสิทธิภาพการ
ดำเนินงานของแต่ละบริษัทมีทัง9 ดีขึน9 และลดลง และในส่วนสภาพคล่อง ความสามารถในการทำ
กำไร อัตราผลตอบแทนเพมิ ขึน9 ส่วนสภาพหนี9สินลดลง
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา การวิเคราะห์งบการเงินด้วยอัตราส่วนทางการเงิน เป็น
เพียงส่วนหนึงของเครืองมือในการวิเคราะห์งบการเงิน ดังนัน9 ผู้ทีสนใจด้านการวิเคราะห์งบ
การเงินควรศึกษาเพิมเติม ในส่วนของการวิเคราะห์แนวตั9งหรือแนวดิง และการวิเคราะห์
แนวนอนหรือแนวโน้ม เพือให้ได้ผลลัพธ์ทีม ีประสิทธิภาพมากยงิ ขึน
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องประดับของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อลิสากุล บุญเลิศ | ||
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความ
พึงพอใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องประดับของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้
แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา
และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี
การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพเป็นโสด อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้
ต่อเดือนระหว่าง 30,001-50,000 บาท ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดใน
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ โดยผลิตภัณฑ์ควรผลิตจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี มีการ
กำหนดราคาที่เหมาะสม ทำเลที่ตั้งของร้านสะดวกต่อการเข้าใช้บริการ และมีการรับประกัน
ความเสียหายจากการจัดส่งสินค้าอยู่ในระดับมากที่สุด อภิปรายได้ว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีข้อมูล
และความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อ และสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องประดับได้ด้วยตนเองโดย
เรียงลำดับความสำคัญในการเลือกซื้อ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการขาย
และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้าน
ราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านส่งเสริมการขาย ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อ
ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์มาเป็นอันดับแรก โดยมุ่งเน้นที่
คุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์ รวมถึงวัตถุดิบที่นำมาใช้จะต้องเป็นวัตถุดิบที่ผ่านการคัดสรรมาอย่าง
ดี ทำให้เห็นว่าผู้บริโภคมีคว
Full Text : Download! |
||
3. | ปัจจัยที่มีผลกับความผูกพันต่อองค์กรกลุ่มบุคลากรที่ทำงานเทคนิคเฉพาะด้าน ในธุรกิจผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า กรณีศึกษา ABC [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ไชยวัฒน์ ยังให้ผล | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกับความผูกพันต่อองค์กรกลุ่ม
บุคลากรที่ทำงานเทคนิคเฉพาะด้านในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเป็นกรณีศึกษา
บริษัท ABC ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนยี่ห้อหนึ่ง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรของบริษัท ABC ที่มีหน้าที่ทำงานเทคนิค
เฉพาะด้าน ตำแหน่งงาน ผู้ช่วยช่างเทคนิค ช่างเทคนิค หัวหน้าส่วน และหัวหน้าส่วนอาวุโส
เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง
พรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test One-way
ANOVA Correlation และ Multiple Regression Analysis
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงาน
และตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ปัจจัยด้านงาน
ได้แก่ ความท้าทายของงาน ความมีอิสระในการทำงาน ความมั่นคงในการทำงาน และการยอมรับ
จากหัวหน้างาน กับปัจจัยด้านองค์กร ได้แก่ บรรยากาศการทำงานในองค์กร ภาพลักษณ์องค์กร
ปัจจัยทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กร ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความ
ผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ทำงานเทคนิคเฉพาะด้านของบริษัท ABC ได้แก่ ความสำคัญ
ของงาน ภาพลักษณ์บริษัท ความท้าทายของงาน และบรรยากาศการทำงานในองค์กร โดยมี
สมการดังนี้
ความผูกพันต่อองค์กร = 0.107 + 0.296 (ความสำคัญของงาน) + 0.259 (ภาพลักษณ์
บริษัท) + 0.321 (ความท้าทายของงาน) + 0.1 (บรรยากาศการทำงานในองค์กร)
Full Text : Download! |
||
4. | Restructuring for After Sales Services Unit a case study of Alpha Company Limited [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Chayaphat Aurchaikarn | ||
The purpose of this study is to conduct major performance turnover of After
Sales Service unit through restructuring exercise. This study aims to build an interface
between theory and implementation, tools and techniques that relevant on how
restructuring can be conduct successfully. Upon sufficiently understood the concept and
every possible aspects of restructuring to conduct on outdated system and represent a
more effective working system to operate more quickly, saving costs, improving
efficiency and delivering better service, the exercise took place over a year and the
results were recorded from methodology used to the outcome of such practices. The
learning achievement of this study was the successful change from decelerating
operating performance unit to well-recognized with high capability unit and fit with the
vision of the future state.
Full Text : Download! |
||
5. | ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานขาย บริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชญาพรรธน์ โพธิ์วัฒนกวิน | ||
การศึกษาวิจัย เรื่อง ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิผลของพนักงานขาย บริษัทแห่ง
หนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์
และปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานขาย
บริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม การศึกษาวิจัยในครั้งได้ศึกษาการวิจัย
เชิงปริมาณ (Quantitative Research) แบบเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยศึกษาข้อมูล
จากการใช้แบบสอบถาม กลุ่มประชากรตัวอย่างคือ พนักงานขาย ของบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่ม
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งสิ้น 417 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ประกอบ
ด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิเคราะห์
ข้อมูลสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ตัวแปรเกณฑ์ด้วยกลุ่มของตัวแปรพยากรณ์
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยประชากรศาสตร์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง
31-40 ปี การศึกษาระดับในปริญญาตรี สถานภาพสมรส ส่วนมากเป็นพนักงานขายเงินสด มี
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 18,001-25,000 บาท มีพื้นที่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพฯ และชานเมือง
มากที่สุด รองลงมา เขตอีสานใต้ และเขตอีสานเหนือ ตามลำดับ และมีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานใน
บริษัทระหว่าง 3 ปีขึ้นไป - 5 ปี
พนักงานที่มีสถานภาพสมรส ประเภทพนักงานขาย พื้นที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน
ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานขายแตกต่างกัน ปัจจัยแรงจูงใจในการ
ปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานขาย ด้านแผนการขายและการ
สนับสนุนการขาย และด้านความสำเร็จในการทำงานมีผลกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของ
พ
Full Text : Download! |
||
6. | การศึกษาปัจจัยการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของนักศึกษาปริญญาตรีในจังหวัดกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอกชาติ พุ่มเรือง | ||
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟน
ของนักศึกษาปริญญาตรี ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (กรณีศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาปริญญาตรีสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำนวน
400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิของการศึกษาเป็นแบบสอบถาม โดยใช้
วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก
ผลการศึกษาข้อมูลทางการตลาดพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับปัจจัย
ส่วนผสมทางการตลาด ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ให้ความสำคัญกับการใช้งานของสมาร์ทโฟนมาก
ที่สุด ด้านราคาให้ความสำคัญกับราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพมากที่สุด ด้านช่องทางการจัด
จำหน่ายให้ความสำคัญกับร้านจำหน่ายมีความทันสมัยน่าเข้าไปใช้บริการและมีตัวอย่างให้
ทดลองใช้มากที่สุด ด้านการส่งเสริมการตลาดให้ความสำคัญกับมีการประชาสัมพันธ์หลากหลาย
รูปแบบและมีการโฆษณาที่ทั่วถึงมากที่สุด ด้านการบริการให้ความสำคัญกับการรับประกัน
สินค้า 12 เดือนมากที่สุด
ผลสรุปปัจจัยด้านประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟน ดังนี้
รายได้เฉลี่ยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสมาร์ทโฟนของนักศึกษาปริญญาตรี ในจังหวัด
กรุงเทพมหานคร (กรณีศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น) โดยที่นักศึกษาปริญญาตรี ใน
จังหวัดกรุงเทพมหานคร (กรณีศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น) ที่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง
9,001-15,000 บาทนั้นจะใส่ใจในเรื่องการบริการหลังการขายของสมาร์ทโฟนรุ่นที่สนใจเพื่อช่วย
ในการประกอบการตัดสินใจ เนื่องมาจากสมาร์ทโฟนในปัจจุบันนั้นถ้าต้องการที่จะใช้ให้ได้มีอายุ
การใช้งานที่ยาวนานหรือเมื่อตัดสินใจซื้อแล้วไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยนั้นจะต้องซื้อรุ่นที่มีราคาแพง
เกินกว่ารายได้ค่อนข้างมาก ทำให้นักศึกษาป
Full Text : Download! |
||
7. | ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านราเมน กรณีศึกษา ร้านอาจิเซน สาขาเอเชียทีค [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อิกษณา ภาระนันท์ | ||
การวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านราเมน กรณีศึกษาร้านอาจิเซ็น สาขา
เอเชียทีค” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้บริการของ
ผู้ใช้บริการ 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของของผู้ใช้บริการ
จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้บริการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ผู้บริโภคชาวไทยที่เข้ามาใช้บริการในร้านราเมน กรณีศึกษาร้านอาจิเซ็น สาขาเอเชียทีค จำนวน
กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ ใช้แบบสอบถามที่ได้จัดเตรียมไว้
จากการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้บริการ พบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี
สถานภาพเป็นโสด อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 25,001-
30,000 บาท มีความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาจิเซน สาขาเอเชียทีค โดยส่วนใหญ่ตัดสินใจ
ใช้บริการด้วยตนเอง และมีจุดประสงค์มาใช้บริการร้านราเมนเพราะอยากรับประทานอาหาร
ญี่ปุ่นที่มีหลากหลายเมนูให้เลือกรับประทาน ซึ่งมีความถี่ในการใช้บริการ 1-2 ครั้งต่อเดือน ซึ่ง
มักใช้บริการร่วมกัน 2-3 คน ช่วงเวลาที่สะดวกใช้บริการ คือ ช่วงเวลาระหว่าง 18.01-20.00 น.
ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้ง 301-500 บาท และส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลของร้านจากป้ายหน้า
ร้าน
ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจใน
การใช้บริการที่ร้านอาจิเซ็น สาขาเอเชียทีคโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ
ความสำคัญจากมากไปน้อย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพนักงานขาย ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์
เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรม
การใช้บริการ พบว่
Full Text : Download! |
||
8. | การศึกษาการนำการบริการแบบญี่ปุ่น OMOTENASHI มาพัฒนาการบริการในประเทศไทย สำหรับชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กานต์ อึ้งวิฑูรสถิตย์ | ||
การศึกษาค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดอ่อนและจุดแข็งของการบริการของไทย
และการบริการของญี่ปุ่นแบบ OMOTENASHI ในมุมมองของชาวญี่ปุ่นที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร 10 คน โดยมีเครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลปฐมภูมิของการศึกษาเป็นแบบสอบถาม โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
ผลการศึกษาพบว่า ชาวญี่ปุ่นมองจุดอ่อนของการบริการของไทย คือ ความไม่
ละเอียดเรียบร้อยในการให้บริการ ความแตกต่างของคุณภาพจากบุคลากร และ การแสดงออกที่
ไม่สุภาพ ในส่วนของจุดแข็งของการบริการของไทย คือความยืดหยุ่นในการให้บริการและความ
เป็นมิตร อีกด้าน ผลการศึกษาถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของการบริการของญี่ปุ่นแบบ OMOTENASHI
พบว่า พบจุดอ่อนคือ การให้บริการที่ล่วงล้ำหรือมากเกินไป และการขาดความยืดหยุ่น ในส่วน
ของจุดแข็ง ผู้ศึกษาพบว่าการให้บริการของญี่ปุ่นมีจุดแข็งคือการให้บริการด้วยจิตใจบริการ และ
การสร้างมาตรฐานการบริการ เมื่อนำจุดแข็งของการบริการของญี่ปุ่น มาปรับเข้ากับจุดแข็ง
และแก้ไขจุดอ่อนของการบริการของไทย
ในข้อสรุป ผู้ศึกษาได้ค้นพบถึงแนวทางนี้ว่า การบริการของไทยควรเริ่มต้นจากการ
ปลูกฝังจิตใจบริการ ผู้บริหารจะต้องใส่ใจพนักงานผู้ให้บริการ และนำแนวการบริการมาสร้าง
ออกเป็นคู่มือการบริการที่ชัดเจนเหมือนของญี่ปุ่น และมีการจัดการเรื่องของการอบรมพนักงาน
อยู่เสมอ อีกทั้งการสร้างคู่มือการบริการ ก็ไม่ควรกำหนดกรอบความคิดความสามารถในการ
บริการของคนไทยเสียเกินไป ควรทำให้คนไทยเข้าใจและมีอิสระในการให้บริการจากใจของผู้
ให้บริการทั้งนี้เพื่อเติมเต็มการบริการให้มีคุณภาพแบบญี่ปุ่น และรักษาความยืดหยุ่นของบริการ
ไทยเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่เหมือนกันของผู้
Full Text : Download! |
||
9. | การศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นแบดมินตันในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กฤติชัย ยศไพบูลย์ | ||
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสนามแบดมินตันในเขต
กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจและความพึงพอใจในการ
เลือกใช้บริการสนามแบดมินตัน รวมไปถึงศึกษาถึงส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการ
ตัดสินใจเลือกใช้บริการสนามแบดมินตัน และแนวทางการพัฒนาการให้บริการของสนาม
แบดมินตันในเขตกรุงเทพมหานคร
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง
ผู้ใช้บริการสนามแบดมินตันในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
การเลือกใช้บริการสนามแบดมินตัน การวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ถดถอย
แบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ประมวลผล
ข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ หรือ SPSS
ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้บริการสนามแบดมินตันเพศชายมากกว่าเพศหญิง
มีอายุระหว่าง 21-40 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้
เฉลี่ยต่อเดือน มากว่า 30,000 บาท สถานภาพของผู้มารับบริการคือผู้มาใช้บริการ ผลการศึกษา
พฤติกรรมการเล่นแบดมินตัน พบว่า สนามพื้นยางสังเคราะห์แบบถาวร ไฟสนามแบบแผงข้าง
เป็นที่ชอบในการเล่นแบดมินตันในระดับมาก และสนามแบดมินตันที่ใช้ออกกำลังกายเป็น
ประจำที่พบมากที่สุดคือสนามพื้นยางสังเคราะห์แบบถาวรในระดับมาก
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นแบดมินตันในเขต
กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านที่ตั้งและช่องทางจัดจำหน่าย และด้านบรรยากาศ
โดยรวม ตามลำดับ
Full Text : Download! |
||
10. | การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท ABC [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ลิตา จิตพิทักษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขในการทำงาน
ของพนักงานบริษัท ABC กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 115 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ
เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบ
ค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีตำแหน่งงานในปัจจุบัน เป็นพนักงาน
ระดับปฏิบัติการ มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 3 ปี ขึ้นไป และส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ที่ระดับ
ปริญญาตรี ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญระดับเห็นด้วยกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงานใน
ด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ
ด้านลักษณะงานที่ทำ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ด้านการปกครองบังคับบัญชา อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกเฉยๆ กับปัจจัยการปฏิบัติงาน
ด้านโอกาสและความก้าวหน้าในงาน ด้านนโยบายและการบริหาร และด้านเงินเดือนสวัสดิการ
ส่วนการให้ความสำคัญกับระดับความสุขในการทำงานพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้
ความสำคัญระดับเห็นด้วยกับหัวข้อ ท่านมีเพื่อนร่วมงานที่ดีและปรารถนาดีต่อกัน ท่านพอใจกับ
สภาพแวดล้อมในการทำงาน ท่านรู้สึกรักและผูกพันกับงานที่ท่านทำ ท่านรู้สึกเพลิดเพลินและ
สนุกกับงานที่ทำ อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกเฉยๆ กับหัวข้อท่านมีความสุขกับการงาน
ที่ท่านทำอยู่ ท่านมีกิจกรรมให้ทำอยู่เสมอและไม่รู้สึกเบื่อ ท่านมีความรู้สึกว่าได้รับการกระตุ้น
และเสริม พลังในการทำงาน แสดงให้เห็นได้ว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่ามีความสุขกับการ
ทำงานเท่าที่ควร
นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ (เพศ ตำแหน่งงานปัจจุบัน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250