fieldjournalid
![]() | งานวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2018 |
1. | รายงานฉบับสมบูรณ์ การจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีวัสดุขั้นสูง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จินตวัฒน์ ไชยชนะวงศ์ | ||
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานฉบับสมบูรณ์ การผลิตถ่านชีวภาพสำหรับอุตสาหกรรมจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จินตวัฒน์ ไชยชนะวงศ์ | ||
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพลังงานยั่งยืนเพื่อเทคโนโลยีอาคาร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิภาวดี วงษ์สุวรรณ์ | ||
งานวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการนำพลังงานรังสีอาทิตย์มาใช้เพื่อประหยัดพลังงานในห้องเรียนของ
อาคารเรียน โดยเบื้องต้นในงานวิจัยส่วนแรกได้มีการประเมินสภาวะน่าสบายของห้องเรียนปรับอากาศ ณ อาคาร C
ผู้วิจัยได้มีการพัฒนาชุดโครงข่ายเซนเซอร์แบบไร้สายที่สามารถวัดค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญต่อการคำนวณค่า PMV และ
PPD ซึ่งจะแสดงถึงสภาวะน่าสบาย (Thermo comfort) ของห้องเรียน และมีการนำชุดเซนเซอร์ดังกล่าวมาใช้วัดค่า
ในห้องเรียนในขณะที่มีการเรียนการสอนจริง พร้อมทั้งใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนในห้องปรับอากาศ
เพื่อนาผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับค่าประเมินสภาวะน่าสบายที่ได้จากสมการในมาตรฐาน ASHRAE และได้ผลที่
สอดคล้องกัน นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้นำผลการวัดค่าและผลการคำนวณ PMV จากมาตรฐาน ASHRAE มาพัฒนา
แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบ ANN และ NARX เพื่อทำนายค่า PMV ด้วย และพบว่าผลการคำนวณจาก
แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมให้ผลแม่นยำในระดับที่ยอมรับได้
นอกจากงานภาคทฤษฎีแล้ว สำหรับภาคปฏิบัติก็ได้มีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการลดการใช้พลังงาน
โดยในอนาคต โดยใช้สภาวะน่าสบาย (Thermal comfort) ที่ระบุโดยดัชนีจากมาตรฐาน ASHRAE ซึ่งเครื่องมือที่
พัฒนาขึ้นเรียกว่า Thermal comfort calculator ที่สามารถคำนวณค่า PMV และ PPD ได้โดยไม่ต้องพี่งพาระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือทำงานได้แบบ Stand alone โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) ร่วมกับ
คอมพิวเตอร์จิ๋วแบบราสเบอร์รี่ไพ (Raspberry Pi)
งานวิจัยส่วนที่สองได้มีการนำชุดเซนเซอร์ที่พัฒนาขึ้นแบบไร้สาย ที่สามารถติดตั้งได้หลายจุดมาใช้เพื่อ
ตรวจสอบค่าสภาวะอากาศแบบเรียลไทม์ ในขณะที่มีการทดสอบระบบปรับอากาศที่ใช้คอมเพรสเซอร์กระแสตรง ที่
ติดตั้ง ณ หน่
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานผลการดำเนินการวิจัยโครงการวิจัย การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมถ่านกัมมันต์จากเปลือกลูกกระบก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วรางคณา ชัยธานี, จินตวัฒน์ ไชยชนะวงศ์ | ||
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเตรียมและลักษณะจำเพาะของถ่านกัมมันต์จากเปลือกลูกกระบก โดยนาไปผ่านกระบวนการเผาภายใต้บรรยากาศของแก๊สไนโตรเจนที่อุณหภูมิ 700 และ800 องศาเซลเซียส โดยตรวจสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมี ด้วยการวิเคราะห์หาค่าความชื้น ปริมาณเถ้า ปริมาณสารระเหย ปริมาณคาร์บอนคงตัว จากการทดลองพบว่า ค่าความชื้น 8.7% ปริมาณเถ้า 1.70% ปริมาณสารระเหย 72.13% ปริมาณคาร์บอนคงตัว 17.47% เมื่อวิเคราะห์พื้นที่ผิวของการดูดซับด้วยเครื่องบลูเนอร์เอลเม็ท เทลเลอร์ (Brunauer Emmett Teller, BET) และกล้องอิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ผลการศึกษาพบว่าถ่านที่ได้จากการเผาที่อุณหภูมิ 800 oC มีพื้นที่ผิว ขนาดรูพรุนและปริมาตรรูพรุน รวมถึงประสิทธิภาพการดูดซับสารละลายบิวเทน สูงกว่าถ่านที่ได้จากการเผาที่อุณหภูมิ 700 oC นอกจากนี้ยังได้ศึกษาหมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิค Fourier-transform Infrared Spectroscopy (FTIR) จากสเปกตรัม IR พบแถบการสั่นของหมู่ –OH, C-H, C=O ของถ่านกัมมันต์ แสดงว่าเปลือกลูกกระบกมีองค์ประกอบอินทรีย์หลายชนิด และเมื่อทาการเพิ่มพื้นที่ผิวของถ่านกัมมันต์ที่ได้ด้วยการกระตุ้นด้วยสารเคมี พบว่าเมื่อใช้ซิงค์คลอไรด์ (Zinc Chloride, ZnCl2) สามารถเพิ่มขนาดรูพรุนของถ่านกัมมันต์ได้มากที่สุด โดยใช้อุณหภูมิที่ 800 oC
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250