fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MET) 2019 |
1. | การออกแบบไฟส่องสว่างในเวลากลางวันสำหรับรถยนต์โดยใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพร่วมกับวิศวกรรมคันเซ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พงษ์นรินทร์ บุญล้ำเลิศ | ||
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งในด้านการผลิต การตลาด การจ้างงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย และในปัจจุบันผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลของผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายช่องทาง ดังนั้นอารมณ์ของผู้บริโภคจึงมีส่วนส้าคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับรถยนต์นั้นรูปลักษณ์ภายนอก (exterior design) ยังเป็นส่วนที่ผู้ออกแบบให้ความส้าคัญมากเป็นลำดับแรก เพราะรูปลักษณ์ภายนอกนั้นมักเป็นสิ่งแรกที่จะดึงดูดความสนใจจากลูกค้า ซึ่งในปัจจุบันมีชิ้นส่วนตกแต่งภายนอกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบันคือ ไฟส่องสว่างในเวลากลางวัน ซึ่งเพิ่งได้รับความนิยมในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ และมีการสนับสนุนให้ติดตั้งจากภาครัฐเนื่องจากสามารถลดอุบัติเหตุได้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้นั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงท้าการศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีผลต่อการออกแบบไฟส่องสว่างส้าหรับรถยนต์โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพร่วมกับวิศวกรรมคันเซ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะที่ลูกค้าให้ความส้าคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และบุคคลอื่น คุณลักษณะทางวิศวกรรมที่ส้าคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ ชนิดของไฟที่ใช้,รูปลักษณ์ของไฟส่องสว่างในเวลากลางวันส้าหรับรถยนต์มีลักษณะเป็นเส้น วงกลม และมีจำนวนมากกว่า 1 เส้น และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไฟส่องสว่างในเวลากลางวันสำหรับรถยนต์ที่เหมาะสมคือ 12 มม.
Full Text : Download! |
||
2. | การหาค่าที่เหมาะสมที่สุดของสมบัติเชิงกลจากการฉีดขึ้นรูปพลาสติกโพลิโพรพิลีน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วรรษมนต์ ชมจิตร | ||
การผลิตชิ้นงานพลาสติกโดยกระบวนการฉีดขึ้นรูปเป็นหนึ่งในกรรมวิธีการผลิตที่ถูกใช้งาน
อย่างกว้างขวาง โดยที่ให้ประสิทธิผลในการผลิตสูง และสามารถขึ้นรูปชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้
อย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว หลักการพื้นฐานคือ การให้ความร้อนวัสดุและแม่พิมพ์ การฉีดเข้า
แม่พิมพ์ การอัดย้ำ และการเย็นตัวของชิ้นงาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเงื่อนไขการฉีด
พลาสติกพอลิโพรพิลีนที่ให้สมบัติเชิงกลชิ้นงานสูงที่สุด โดยทำการทดลองบนเครื่องฉีดพลาสติก
Toshiba รุ่น EC100S วัสดุคือเม็ดพลาสติกพอลิโพรพิลีน เกรด 1100N จำลองพฤติกรรมการฉีดบน
โปรแกรม Moldex3D เพื่อทำการหาเงื่อนไขการฉีดที่เหมาะสมได้แก่ อุณหภูมิหลอมเหลวพลาสติก
อุณหภูมิแม่พิมพ์ ความเร็วในการฉีด ความดันฉีดพลาสติก และแรงดันฉีดย้ำ และนำเงื่อนไขหลักที่ได้
มาทำการออกแบบการทดลองแบ่งเป็น 5 ปัจจัย และแต่ละปัจจัยแบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้ อุณหภูมิหลอมเหลว
พลาสติก 220oC, 230oC, 240oC อุณหภูมิแม่พิมพ์ 30oC, 40oC, 50oC ความเร็วในการฉีด 60
mm/sec, 130 mm/sec, 200 mm/sec ความดันฉีดพลาสติก 50 MPa, 60 MPa, 70 MPa และ
แรงดันฉีดย้ำ 20 MPa, 35 MPa, 50 MPa ตามลำดับ ออกแบบการทดลองโดยเลือกวิธี Orthogonal
Array แบบ 3 ระดับ มีทั้งหมด 27 เงื่อนไขการทดลอง จากนั้นนำชิ้นงานไปทดสอบคุณสมบัติเชิงกล
ได้แก่ การทดสอบแรงดึง การทดสอบแรงกระแทก และการทดสอบความแข็งตาม ASTM จากผล
การทดสอบแรงดึง พบว่ามีค่าแรงดึงสูงสุดเท่ากับ 34.16 N /mm.2 ค่าการทดสอบแรงกระแทกมาก
ที่สุดที่ 4.5 kJ/mm.2 ค่าความแข็งที่มากสุดที่ 117.5 R-Scale ที่อุณหภูมิหลอมละลาย 240oC, อุณหภูมิ
แม่พิมพ์ 40oC, ความเร็วในการฉีด 20 mm/sec, ความดันการฉีด 70 MPa, แรงดันฉีดย้ำ 130 MPa
Full Text : Download! |
||
3. | การพัฒนาระบบระบายความร้อนของศูนย์ข้อมูลขนาดเล็ก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สมชาย พานิชเจริญ | ||
การพัฒนาศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์กรเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางธุรกิจ ศูนย์คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจำเป็นต้องรองรับด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐาน และต้องเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ศูนย์คอมพิวเตอร์แบบทั่วไปจะออกแบบให้ใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อการทำความเย็นให้กับศูนย์คอมพิวเตอร์ ดังนั้นอากาศร้อนเนื่องจากการระบายความร้อนจากแร็คคอมพิวเตอร์ จะถูกหมุนเวียนผ่านเครื่องปรับอากาศ ทำให้ความร้อนถูกระบายไปสู่อากาศแวดล้อมในทันที
ปัจจุบันการออกแบบศูนย์คอมพิวเตอร์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้มีการรวมศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกับแร็คคอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน ทำให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อาทิ คลังสินค้า สำนักงานชั่วคราว งานอีเวนท์ต่างๆ ฯลฯ
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นพัฒนาระบบระบายความร้อนของศูนย์ข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (CCRDC) โดยคาดหวังประสิทธิภาพเชิงความร้อนที่สูงขึ้น อากาศเย็นที่จ่ายมาจากเครื่องปรับอากาศจะต้องเย็นและแห้งเพียงพอก่อนจะไหลเวียนผ่านแร็คคอมพิวเตอร์ ระบบ CCRDC ที่เคลื่อนย้ายได้และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ จะเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย
งานวิจัยนี้ได้พัฒนาต้นแบบ CCRDC และคัดเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีจาหน่ายในท้องตลาดที่มีขนาดกำลังทำความเย็นที่เหมาะสมกับศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก จากนั้นได้หาวิธีการบูรณาการศูนย์คอมพิวเตอร์กับเครื่องปรับอากาศเข้าด้วยกัน ความร้อนที่ได้รับจากแร็คคอมพิวเตอร์และยูพีเอสถูกจำลองโดยฮีทเตอร์ไฟฟ้าขนาดกาลังไฟฟ้า 810 วัตต์
ระบบมีการติดตั้งอุปกรณ์วัด อาทิ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่ติดตั้งที่ด้านอากาศจ่ายและไหลกลับเครื่องปรับอากาศ และสำหรับวัดสภาพอากาศบรรยากาศ โพรบวัดความเร็วลม เครื่องวัดกาลังไฟฟ้าของฮีทเตอร์ คาดการณ์ว่าพล
Full Text : Download! |
||
4. | การพัฒนาสมรรถนะระบบทำความเย็นของตู้จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ฤชุดา กัลกะ | ||
บริษัทผู้จำหน่ายตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติในประเทศไทยแห่งหนึ่ง นำเข้าตู้มือสองจากประเทศญี่ปุ่นมาปรับปรุงและตกแต่งเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้า ซึ่งคอมเพรสเซอร์ถูกใช้งานมาอย่างยาวนานทำให้เกิดการเสื่อมสภาพและซ่อมแซมได้ยากเนื่องจากไม่สามารถหาอะไหล่ได้ บริษัทจึงประสงค์ทำวิจัยเพื่อทดสอบผลการเปลี่ยนเป็นคอมเพรสเซอร์ที่ผลิตในประเทศไทย ในขณะที่ระบบความเย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงระบบเดิม
ประสิทธิภาพของวงจรทำความเย็นแบบอัดไอขึ้นอยู่กับการออกแบบ สมรรถนะของแต่ละส่วนประกอบโดยเฉพาะคอมเพรสเซอร์ การควบคุมการทำงานและการบำรุงรักษา ดังนั้นจึงต้องทำการทดสอบเพื่อประเมินอัตราการถ่ายโอนความร้อนและค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COP)
ในการวิจัยครั้งนี้ภาระความเย็นของตู้แช่เย็นคือเครื่องดื่มกระป๋องอะลูมิเนียม 594 กระป๋องและขวด PolyEthylene Terephthalate (PET) บรรจุเครื่องดื่มรวมปริมาตร 189 ลิตร ผู้วิจัยทำการทดลองระบบทำความเย็นดั้งเดิมจากญี่ปุ่นที่ใช้สารทำความเย็น R-407C และระบบทำความเย็นที่ถูกปรับเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ที่ผลิตในประเทศไทย ที่ใช้สารทำความเย็น R134a โดยการวัดอุณหภูมิและความดันวงจรความเย็น และบันทึกกำลังไฟฟ้าที่คอมเพรสเซอร์ใช้เป็นเวลา 4 วัน ผลวิเคราะห์การทดสอบพบว่า COP ที่คำนวณได้ของวงจรทำความเย็นดั้งเดิมโดยใช้แผนภาพ P-h มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.43 ± 1.04 ด้วยอัตราการถ่ายเทความร้อนเฉลี่ย 1.25± 0.08 kWth และค่าของคอมเพรสเซอร์ที่ปรับเปลี่ยน คือ COP เฉลี่ย 2.35 ± 0.34 ที่อัตราการถ่ายเทความร้อนเฉลี่ย 0.78 ± 0.04 kWth การวิจัยนี้ทำให้ทราบว่าระบบทำความเย็นหลังจากเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์เป็นของในประเทศ นั้นทำงานได้เทียบเคียงกับระบบเดิม แต่มีความสามารถในการทำความเย็นที่ตํ่ากว่าและทำอุณหภูมิได้ช้ากว่า ดังนั้น
Full Text : Download! |
||
5. | การประเมินสภาวะความสบายอุณหภาพของห้องสมุด : กรณีศึกษา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พรชัย ถิรชีวิน | ||
วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจเพื่อประเมินความรู้สึกพึงพอใจและการยอมรับ ต่อสภาพความสบายอุณหภาพ (Thermal Comfort) ภายในพื้นที่ปรับอากาศห้องสมุดของ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จำนวน 4 ชั้น โดยใช้แบบสอบถามและเครื่องมือวัดสภาวะอากาศแวดล้อม ทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2562 และเดือน พ.ค. 2562 ผลวิจัยจะนำไปสู่การเสนอแนวทางการปรับปรุงสภาวะอากาศในห้องสมุด
กลุ่มผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ได้รับการสำรวจข้อมูล จำนวน 235 คน เป็นคนไทยที่พักอาศัย อยู่ในกรุงเทพฯ ร้อยละ 72.8 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 27.2 เป็นเพศชาย จากการตรวจวัดสภาวะอากาศมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิอากาศ 24.38 °C ± 0.95oC ความชื้นสัมพัทธ์ 55.71% ± 5.73% โดยความเร็วลมค่อนข้างต่าที่ 0.075 m/s ± 0.14 m/s
ผลการประเมินระดับความสบายอุณหภาพจากค่าการโหวตความรู้สึกเชิงอุณหภาพ (PMV) ได้ค่าเฉลี่ย -0.18 แสดงว่าผู้ใช้บริการห้องสมุดมีความรู้สึกเย็นเล็กน้อย ในขณะที่ร้อยละความไม่พอใจเชิงอุณหภาพ (PPD) เฉลี่ย 9.20 จัดอยู่ในความพึงพอใจระดับ A ตามมาตรฐาน ASHRAE ส่วนผลการประเมินความสบายทางอุณหภาพจากแบบสอบถาม (AMV) ได้ค่าเฉลี่ย -0.12 หรือมีความรู้สึกเย็นเล็กน้อยเช่นกัน และสอดคล้องกับค่าทำนาย PMV
โดยรวมค่าการทำนายความสบายอุณหภาพ PMV ใกล้เคียงกับค่า AMV โดย AMV จะสูงกว่าเล็กน้อย ผลการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นโดยวิธีการ Logit สำหรับ AMV และสำหรับความคาดหวังต่อความร้อนหรือเย็น ประเมินว่าความน่าจะเป็นที่ผู้ใช้บริการห้องสมุดจะรู้สึกสบายอยู่ที่อุณหภูมิโอเปอเรทีฟ 24.29 -24.77 oC ซึ่งเป็นช่วงค่าที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ASHRAE
โดยสรุปห้องสมุดคณะนิติศาสตร์นี้มีสภาพอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากอุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิการแผ่รังสีเฉลี่ยและความชื้นสัมพัทธ์ ที่สามารถสร้างความสบาย
Full Text : Download! |
||
6. | การออกแบบและสร้างเครื่องคัดแผ่นเหล็กแบบระบบอัตโนมัติด้วยระบบวิชั่น : กรณีศึกษา บริษัทสแตนดาร์ดแคน จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พงษสวัสดิ์ ดีโคตร | ||
แผ่นชิ้นงานโลหะของกระบวนการเคลือบผิวและพิมพ์โลโก้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท สแตนดาร์ดแคน จำกัด พบปัญหารอยสีหยดบนและด้านหลังของแผ่นโลหะและจากปัญหาดังกล่าวจึงทำการคัดแยกออกจากแผ่นชิ้นงานที่มีรอยหยดสีออกจากชิ้นงานดี ปัจจุบันกระบวนการคัดแยกนี้ใช้พนักงานสองคนคัดแยกซึ่งมีความล่าช้าและเกิดความเมื่อยล้า ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและสร้างเครื่องคัดแผ่นเหล็กแบบระบบอัตโนมัติด้วยระบบวิชั่น โดยใช้ระบบ PLC ควบคุมมอเตอร์เกียร์ไฟฟ้าสามเฟสขับเคลื่อนระบบสายพานลำเลียงและกระบอกลมระบบนิวเมติกส์ควบคุมการปล่อยแผ่นเข้าไปที่สายพานลำเลียงแผ่นชิ้นงานผ่านกล้องวิชั่นตรวจสอบรอยหยดสีทั้งด้านบนและหลังแผ่น โดยการใช้กล้องเว็ปแคมราคาถูกในการดึงข้อมูลภาพประมวลผลภาพด้วยวิธีการตรวจจับวัตถุสีวิเคราะห์ผลด้วยบล็อบในกระบวนการตรวจสอบคัดแยกรอยหยดสีบนแผ่นชิ้นงาน จากการทำการทดสอบกระบวนการตรวจสอบรอยหยดสีบนแผ่นชิ้นงาน ของเครื่องคัดแผ่นเหล็กแบบระบบอัตโนมัติด้วยระบบวิชั่นการวัดความถูกต้องของ กระบวนการตรวจสอบรวมทั้งหมด 10 ชนิดงาน 540 แผ่น ได้มีการจำลองรอยหยดสีลงบนแผ่นชิ้นงานทั้งหมด 197 แผ่น สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด 189 แผ่น คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องของกระบวนการ 96% และ สามารถลดพนักงานปฏิบัติงานได้หนึ่งคนและทำให้ประสิทธิภาพการตรวจสอบของกระบวนการเพิ่มขึ้น 20%
Full Text : Download! |
||
7. | การกระจายของความเค้นที่เป็นผลจากความแตกต่างของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรอยโรคที่ไม่ได้เกิดจากฟันผุกรามน้อยด้านบนซี่ที่หนึ่งด้วยระเบียบวิธีทางไฟไนต์เอลิเมนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เพ็ชรรัตน์ ธรรมญาณรังสี | ||
การบดเคี้ยวทำให้เกิดแรงเชิงกลและความเค้นในโครงสร้างฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการสึกหรอที่ไม่ได้เกิดจากฟันผุบริเวณคอฟัน ปัจจุบันพบบ่อยถึง 38.7 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่มักเกิดที่ฟันกรามน้อย (First premolars) ที่พบบ่อยที่สุด 2 แบบแรก ได้แก่ การสึกหรอรูปไข่ตามแนวขวาง (Horizontal oval - Round) และการสึกหรอรูปลิ่มตามขวาง (Horizontal oval - Wedge) ทางทันตกรรมสนใจเรื่องวิธีการอุดฟันที่จะช่วยให้วัสดุอุดมีความทนทาน งานวิจัยนี้จึงสร้างแบบจำลองสามมิติที่ประกอบด้วยโครงสร้างของฟันทั้ง 7 ส่วนและมีขนาดจริงของฟันกรามน้อยด้านบนซี่ที่หนึ่งจากภาพถ่าย CBCT และทำการวิเคราะห์การกระจายของความเค้นที่เป็นผลจากความแตกต่างของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรอยโรคที่ไม่ได้เกิดจากฟันผุด้วยระเบียบวิธีทางไฟไนต์เอลิเมนต์ และใช้แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นศึกษาการกระจายความเค้นในฟันที่ได้รับการอุดแบบต่างๆ ผลการวิเคราะห์พบว่าก่อนการอุด จะเกิดความเค้นหลักสูงสุดในการสึกหรอรูปลิ่มตามขวาง ตามด้วยการสึกหรอรูปไข่ตามแนวขวาง ซึ่งมากกว่าความเค้นหลักสูงสุดในฟันปกติเป็น 231 เปอร์เซ็นต์ และ 169 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ หลังจากทำการอุดรอยสึกแล้วจะเกิดความเค้นหลักสูงสุด น้อยที่สุดในการสึกหรอรูปไข่ตามแนวขวางที่ถูกอุดเป็นชิ้นเดียวด้วยวัสดุอ่อน โดยสามารถกระจายความเค้นได้ดีกว่าลักษณะการอุดแบบอื่นๆ ซึ่งแสดงนัยได้ว่า การอุดแบบชิ้นเดียวด้วยวัสดุอ่อนเป็นการอุดที่สามารถทนต่อการบดเคี้ยวและจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบบอื่นๆ นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงด้วยว่า แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยการอุดที่สมบูรณ์แล้วแต่ฟันที่เคยสึกหรอจะไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม อย่างไรก็ตามเมื่อพบการสึกหรอทุกรูปแบบควรทาการรักษาทันทีด้วยการอุดแบบชิ้นเดียวด้วยวัสดุอ่อน
Full Text : Download! |
||
8. | ผลกระทบของสภาวะการขึ้นรูปต่อสมบัติของถ่านชีวภาพจากกากปาล์ม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภีรเดช สายเสริมศักดิ์ | ||
งานวิจัยนี้ทำการผลิตถ่านชีวภาพจากกากปาล์ม โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุด โดยการทดลองชุดแรกทำการศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและเวลาในการขึ้นรูปต่อสมบัติของถ่านชีวภาพ อุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูป คือ 100 140 170 180 และ 190oC เวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป คือ 10 15 20 และ 25 นาที และความดันที่ใช้ในการขึ้นรูปคงที่ที่ 16 MPa และการทดลองชุดที่ 2 เป็นการศึกษาผลกระทบของความชื้นของวัตถุดิบตั้งต้นต่อสมบัติของถ่านชีวภาพ ความชื้นของวัตถุดิบตั้งต้น คือ 0 5 10 15 และ 20% โดยกำหนดให้เวลา อุณหภูมิ และความดันที่ใช้ในการขึ้นรูปคงที่ที่ 15 นาที 180oC และ 16 MPa ตามลำดับ โดยทำการศึกษาของสภาวะในการขึ้นรูปต่อสมบัติของถ่านชีวภาพ ได้แก่ สมบัติทางกายภาพ (ความหนาแน่น) สมบัติทางความร้อน (ค่าความร้อน) และสมบัติทางกล (ความต้านทานแรงอัดสูงสุด และความแข็ง)
จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิในการขึ้นรูป เวลาในการขึ้นรูป และความชื้น ส่งผลต่อสมบัติของถ่านชีวภาพอย่างชัดเจน โดยความหนาแน่น ความแข็งของถ่านชีวภาพ และค่าความร้อนของถ่านชีวภาพมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิและเวลาในการขึ้นรูป ความต้านทานแรงอัดสูงสุดของถ่านชีวภาพจะมีค่าเพิ่มขึ้น หากเพิ่มอุณหภูมิในช่วง 100-140 °C แต่มีค่าลดลงเมื่อเพิ่มอุณหภูมิในช่วง 140-190°C นอกจากนี้ เมื่อเพิ่มความชื้นของวัตถุดิบจะส่งผลให้ถ่านชีวภาพที่ได้มีความหนาแน่น และความแข็งของถ่านชีวภาพเพิ่มขึ้น แต่มีค่าความร้อนค่าลดลง ส่วนความต้านทานแรงอัดสูงสุดของถ่านชีวภาพจะมีค่าน้อยที่สุดเมื่อวัตถุดิบมีความชื้นเป็น 0% และมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อวัตถุดิบมีความชื้นเท่ากับ 5% แต่มีแนวโน้มลดลงเพื่อวัตถุดิบมีความชื้นเพิ่มในช่วง 5-20%
Full Text : Download! |
||
9. | Tactical Troops Tracking Systems Topology Using Lorawan Communications [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Pansathorn Lekbunyasin | ||
This thesis presents the deployment of a LoRaWAN communication system as an Internet-of-Things (IoT) for military applications. Such a LoRaWAN system is a relatively new wireless IoT connectivity, and is well suitable for supporting services and applications that require long-range communication to reach end devices. In addition, the LoRaWAN system consumes low power supply and can be operated several years remotely using only on single battery storage. In contrast to short-range or cellular connections, the LoRaWAN system is a promising technology for military applications in terms of highly-secured location-based tracking, and this paper consequently applies to intelligent tactical troop tracking systems. The proposed system comprises the cost-effective gateway using Raspberry-Pi, a microcontroller as a central processing unit with Global Positioning System (GPS) and other sensors for and physical tracking. The proposed system employs four gateways with bridge-to-bridge WiFi connection for communication to the server. The end devices can be integrated more than ten types of sensors such as GPS, temperature, humidity, and water sensors. Knowledge on the exact location of troops and any coalition troops in an area of operational interest can be visualized real-time at base station. The proposed system offers not only essential information for effective tactical decisions but also potentially leads victory in a battle filed.
Full Text : Download! |
||
10. | BLDC Motor Drive with Bi-Directional Buck-Boost Converter and PWM Technology [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Natthawat Thapayapattanakul | ||
The Brushless DC (BLDC) motor is one type of high-efficiency electric motor, low maintenance, and wide speed range, which gaining popularity for electric vehicles. Moreover, the important part of electric vehicles that are indispensable is an AC to DC and DC to DC electronic converter that used to control BLDC motor for the electric vehicles drive. Generally, the BLDC motor is using AC to DC electronic converter called a voltage source inverter (VSI) for BLDC motor drive. The conventional strategy for the BLDC motor drive is input voltage control of the motor by VSI with pulse width modulation (PWM) technique. The disadvantage of this strategy is power loss VSI, difficult to control speed ripple error of the motor and the maximum speed of the motor was limited by the maximum supply voltage which supplies to the motor.
This thesis is improving the disadvantage of the conventional strategy with DC to DC electronic converter called a Bi-Directional Buck-Boost (BDBB) converter. This converter has many advantages such as increasing the output voltage of the converter with boost converter circuit properties, decreasing the output voltage of the converter with buck converter circuit properties and regulating the output voltage of the converter with buck-boost converter circuit properties. Moreover, the BDBB converter can current flow control between the voltage source and the electric motor. This thesis is improving the conventional strategy for BLDC motor drive with the combinatio
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250