fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (EEM) 2009 |
1. | ปัญหาการสื่อสารภายในกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ตัวอย่าง จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิษณุ เพ็ชรไทย | ||
การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ปัญหาการสื่อสารภายในกับความพึงพอใจ
ในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ตัวอย่าง จำกัด. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่าง 1.ปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสาร 2.ความสัมพันธ์
ระหว่างความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน 3.เพื่อ
ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน 4.ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการ
สื่อสารในองค์กร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานบริษัท ตัวอย่าง จำกัด ทั้งหมด
จำนวน120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความ
แตกต่างใช้ทดสอบค่าที (T-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS ในการประมวลผล
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา แผนก ระยะเวลาในการทำงาน
และตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการ
ติดต่อสื่อสาร
2. ความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารด้านคุณภาพของสื่อ ด้านความเพียงพอของ
ข่าวสาร และด้านปริมาณของข่าวสารที่ได้รับแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการทำงานแตกต่าง
กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งหมายความว่า ความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสาร
มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงาน
3. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา แผนก ระยะเวลาในการทำงาน
และตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีความพึงพอ
Full Text : Download! |
||
2. | การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากร:กรณีศึกษาการประปานครหลวง สายงานรองผู้ว่าการ (ผลิตและส่งน้ำ) ฝ่ายโรงงานผลิตน้ำบางเขน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เพ็ญ กาญจนาวดี | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงหลักการ แนวคิด และวิธีการในการ
จัดการความรู้ในองค์กรของรัฐวิสาหกิจ ที่มีความจำเป็นในการพัฒนา และจัดการระบบองค์
ความรู้อย่างต่อเนื่องให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนนำผลที่ได้จากการศึกษามาจัดทำเป็น
แนวทาง และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กร โดยพิจารณามุ่งเน้น
ความสำเร็จ ผลลัพธ์ และผลกระทบของการจัดการความรู้ภายในองค์กร
การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้
วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมี 6 คนสำคัญจากการประปานครหลวง สายงานรองผู้ว่าการ (ผลิตและ
ส่งน้ำ) ฝ่ายโรงงานผลิตน้ำบางเขน โดยมี 3 คนเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก ขณะที่อีก 3 คนเป็น
การสัมภาษณ์กลุ่มแบบเจาะจง
จากผลการศึกษาองค์กรได้มีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ไว้อย่างละเอียด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของแผนปฏิบัติการที่มีการระบุรายละเอียดของกิจกรรม วัตถุประสงค์
การดำเนินงาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และการประเมินผล อย่างไรก็ตามปัญหาและ
อุปสรรคในการจัดการความรู้ พบว่ามีปัญหาในเรื่องการให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้
ของพนักงาน รวมไปถึงการสร้างความเข้าใจกับพนักงาน และการสร้างองค์ความรู้ของระบบ
การจัดการความรู้ให้ทันต่อการใช้งานจริง
จากการศึกษาพบว่า การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
ขององค์กร โดยเป็นการเรียนรู้ในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ซึ่งเชื่อมโยงความรู้ระหว่างกัน
เกิดประสบการณ์ วัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดการความรู้ส่งผลให้พนักงานใน
หน่วยงานเกิดการพัฒนางาน คน และองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาสู่
การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มากขึ้น
Full Text : Download! |
||
3. | การเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพกระบวนการผลิตปะเก็นฝาสูบ โดยการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการการผลิตแบบโตโยต้า ศิริ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศิริพงศ์ ทองสอน | ||
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพกระบวนการผลิตปะเก็น
ฝาสูบ โดยการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการการผลิตแบบโตโยต้า เริ่มตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้น
คือการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การสื่อสารข้อมูลความต้องการของลูกค้าเข้าสู่สายการผลิตโดยใช้
บัตรคันบัง (Kanban Card) การปรับเรียบความต้องการของลูกค้าด้วย Heijunka Post การปรับ
สมดุลของสายการผลิต (Line Balance) ด้วย San Ten Set และ Yamazumi Chart รวมไปถึง
การลดขั้นตอน ลดเวลาในการเปลี่ยนและติดตั้งแม่พิมพ์โดยใช้การอุปกรณ์ช่วย (Die Changer)
ที่มีการนำเสนอความคิดในการปรับปรุงมาจากการทำกิจกรรม Kaizen
การศึกษานี้ พบว่าการประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบโดโยด้า (Toyota Production
System : TPS) สามารถช่วยลดเวลานำ (Lead Time) ในการผลิตปะเก็นฝาสูบได้ถึง 54% ลด
ปริมาณสินค้าในกระบวนการผลิต (Work In Process) และในคลังสินค้า (Inventory) ได้ถึง 72%
ลดปริมาณของเสีย (Defect) ในกระบวนการผลิตได้ถึง 67% และเพิ่มความสามารถในการผลิต
(Productivity) ได้ถึง 31%
Full Text : Download! |
||
4. | การเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมคลังสินค้า 2 ของโรงงานผลิตกระดาษ:กรณีศึกษา บริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด (เอสซีจี เปเปอร์) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อธิวัฒน์ หงิมทิวา | ||
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแก้ปัญหาการทำงานทางด้านงานคลังสินค้า 2
จากการรับเก็บจ่ายสินค้าใช้เวลามาก และการทำงานเกิดความผิดพลาด โดยมีแผนการปรับปรุง
การทำงาน จากปัญหาใช้เวลารับผลผลิตรีม และรับผลผลิตม้วนมาก ใช้พื้นที่เก็บผลผลิตม้วนไม่
เต็มประสิทธิภาพ การจ่ายสินค้ารีมเกิดความผิดพลาด ใช้เวลาในการจ่ายสินค้ารีม และใช้เวลา
ในขั้นตอนการจ่ายสินค้ารีม A-4 IDW มาก
ผู้ศึกษาจึงปรับปรุงระบบ และวิธีการทำงานที่สามารถลดปัญหาต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น
เพื่อให้พนักงานทำงานสะดวกรวดเร็ว ลดความผิดพลาด และลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน พร้อม
ทั้งสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และพนักงาน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250