fieldjournalid
![]() | งานวิจัย สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา 2012 |
1. | รายงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บัณฑิต อนุญาหงษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อสริมสร้างความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ให้ได้ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC และ 3)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อบทเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC
กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ บทเรียนการสอบอ่านภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC สำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำนวน 8 บทเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ
การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง 12 คาบเรียนๆละ 75 นาที รวมทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เมื่อเรียนจบในแต่ละบทให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบประจำบทและตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนหลังจากที่เรียนจากบทเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำข้อสอบ TOEIC ครบทั้ง 8 บท ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกันแบบทดสอบก่อนเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test แบบจับคู่เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนจากบทเรียน ใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน ใช้ค่าเฉล
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพการเรียนวิชาปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษ โดยเน้นการสอนเพื่อยกระดับความสามารถด้านการทำข้อสอบTOEIC [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บัณฑิต อนุญาหงษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการเรียนวิชาปรับพื้นฐาน
ภาษาอังกฤษที่เน้นการสอนเพื่อยกระดับความสามารถในการทำข้อสอบTOEICตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2)
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำข้อสอบTOEIC ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาปรับ
พื้นฐานภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 300 คะแนน 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำ
ข้อสอบTOEICทักษะการฟัง ก่อนและหลัง การเรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนเพื่อยกระดับ
ความสามารถในการทำข้อสอบTOEIC 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำข้อสอบTOEIC
ทักษะการอ่าน ก่อนและหลัง การเรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนเพื่อยกระดับความสามารถในการทำ
ข้อสอบTOEIC 5) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเรียนก่อนและหลังการใช้วิธีการสอนเพื่อ
ยกระดับความสามารถในการทำข้อสอบTOEIC และ 6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อ
วิธีการสอนเพื่อยกระดับความสามารถในการทำข้อสอบTOEIC
กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่ลงเรียนวิชาปรับพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา2555
จำนวน 70 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้
ในการทดลอง ได้แก่ แผนการสอนและแบบทดสอบย่อยประจำคาบเรียน เพื่อยกระดับความสามารถ
ในการทำข้อสอบTOEIC แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านและการฟังภาษาอังกฤษ และ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง 8 คาบเรียนๆละ 2 ชั่วโมง รวม
ทั้งสิ้น 3 เดือน ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอยางทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความสามารถในการอ่านและ
การฟังภาษาอังกฤษเมื่อเรียนจบในแต่ละคาบเรียน ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบประจำคาบเรียน
และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนหลังจากที่เรียนจากวิธีการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษเพื่อยกร
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานวิจัยเรื่อง การประเมินความสามารถทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แบบวัดความสามารถทางการเรียนภาษาอังกฤษของสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บัณฑิต อนุญาหงษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นและความตรงด้านเนื้อหาของแบบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ และ 3)เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนของนักศึกษาแต่ละคณะ ตามทักษะทางภาษาใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหารฟัง ด้านการอ่าน ด้านการเขียน ด้านคำศัพท์ และด้านไวยากรณ์
กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 150 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเรียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น 1 ฉบับ จำนวน 60 ข้อ 60 คะแนน ใช้เวลาในการทดสอบ 75 บาที ซึ่งประกอบด้วย 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน ทักษะด้านคำศัพท์ และทักษะด้านไวยากรณ์
ผลการวิจัยพบว่า
1.แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโลยีไทย-ญี่ปุ่น ให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษ จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัดผลการศึกษาจำนวน 2 คน พิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการเรียนภาษาอังกฤษ โดยนำผลคะแนนที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญไปคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0.70 ถึง 1.00 แสดงว่าแบบทดสอบมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
1.1ผลการทดสอบเพื่อหาคุณภาพ ปรากฎว่า ส่วนที่ 1 ทักษะการฟัง จำนวน 12 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.69 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.61 ส่วนที่ 2 ทักษะการอ่านจำนวน 12 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.68 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.62 ส่วนที่ 3 ทักาะการเขียนจำนวน 12 ข้อ มีค่าความ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250