fieldjournalid
![]() | งานวิจัย สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา 2014 |
1. | รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บัณฑิต อนุญาหงษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ให้ได้ตามเกณฑ์ 75/75 (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2520: 135) 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ก่อนและหลังการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำแนกตามสาขาวิชาที่ศึกษา และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษพร้อมบทเรียน 5 บท แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ
การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง 14 คาบเรียนๆละ 120 นาที รวมทั้งสิ้น 14 สัปดาห์ ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และให้ทำแบบสอบถามความพึงพอใจก่อรเรียนเมื่อเรียนจบในแต่ละบทให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบประจำบท ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน และทำแบบสอบถามความพึงพอใจหลังเรียน วิเคราห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test แบบจับคู่เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนจากบทเรียน แลเพื่อ
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษ ความต้องการด้านภาษา แ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บัณฑิต อนุญาหงษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถทางภาษาอังกฤษปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำแนกตามสาขาวิชาที่ศึกษา 3) เพื่อประเมินตนเองเกี่ยวกับตวามสามารถการเรียนภาษาอังกฤษของตนเอง ความต้องการด้านภาษาความต้องการด้านสื่อการสอน ปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษ และทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษ 4) เพื่อประเมินตนเองเกี่ยวกับระดับความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโลยีไทย-ญี่ปุ่น 5) เพื่อศึกษาความต้องการด้านภาษาของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น 6) เพื่อศึกษาความต้องการด้านภาษาของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 7) เพื่อศึกษาปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 8) เพื่อศึกษาทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 55 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชิตมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.คะแนนความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาโท โดยรวมอยู่ในระดับสูง (72.60 %)
2.ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น อยู่ที่ 43.85 (จากคะแนนเต็ม 60 ) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า นั
Full Text : Download! |
||
3. | Efficiency of Speed Reading and English Reading Comprehension of Undergraduate Students in Thailand [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Bundit Anuyahong | ||
The Purposes of this research were 1) to study speed reading efficiency of undergraduate students in Thailand 2) to compare reading ability of undergraduate students before and after the class 3) to compare reading ability of experimental group and control group according before and after the class, and 4) to study satisfaction with the method of speed reading of the undergraduate students
Research samples were 35 undergraduate students in higher education level derived through simple random sampling technique. The instruments used for gathering the data were speed reading materials, a reading test, and a satisfaction questionnaire. Statistics used for analyzing the data were frequency, percentage, mean standard deviation, t-test and content analysis
Research findings were as follows:
1.The reading efficiency of undergraduate students was at a moderate level
2.The scores of reading ability of undergraduate students after the class were
Higher that before the class with statistically significance at 0.05 level
3.The scores of reading ability of experimental group studens were higher than control group students with statistically significance at 0.05 level
4.The student’s satisfaction towards the speed reading technique was highly positive
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการงานทั่วไปของ สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จาริณี โหยหวล, วิภาณี เพ็งเนตร | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการงานทั่วไปของสำนักวิชา
พื้นฐานและภาษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการงาน
ทั่วไปของสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา ของนักศึกษาที่มาใช้บริการสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบัน
เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำแนกตามเพศ คณะ และชั้นปีที่ศึกษา 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของ
นักศึกษามาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการของสำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบัน
เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 2
ปีการศึกษา 2558 จานวน 351 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test)
การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
(Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการงานทั่วไป
ของสานักวิชาพื้นฐานและภาษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 3.82) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านสูงสุด ได้แก่ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ ( x̄ = 3.88) ซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมา
ได้แก่ ด้านสถานที่และการอานวยความสะดวก ( x̄ = 3.81) อยู่ในระดับมาก ด้านคุณภาพของการให้บริการ (
x̄ = 3.79) และด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ( x̄ = 3.78) ตามลาดับ
3
2. นักศึกษาเพศชายมีความพ
Full Text : Download! |
||
5. | รายงานวิจัยเรื่อง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษตามความคิดเห็นของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กรทิพย์ รัตนภุมมะ, บัณฑิต อนุญาหงษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤ ตามความคิดเห็นของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษ ตามความคิดเห็นของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำแนกตามเพศ ชั้นปี และคณะ 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 291 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิตมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย x̅ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.นักศึกษามีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษโดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ต้านความสามารถในการสอน ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการวัดและประเมินผล และด้านวิชาการ อยู่ในระดับมาก
2.นักศึกษาที่เป็นเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบป็นรายด้านพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านบุคลิกภาพ และด้านคุณธรรมและจริยธรรม
3.นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นปีที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษา โดยรวมมีความคิดเ
Full Text : Download! |
||
6. | รายงานการวิจัย การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรไทย: กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กฤษณะ โฆษชุณหนันท์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และปัญหาและอุปสรรคการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรไทย: กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ วิศวกรที่ทำงานบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จำนวน 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test และ F–test (One - way ANOVA) ในกรณีพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัย พบว่า วิศวกรไทยที่ทำงานบริษัทญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมอมตะนครที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการทำงาน 1-5 ปี และดำรงตำแหน่งอยู่ในระดับปฏิบัติการ ในด้านความถี่ในการใช้ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ได้ใช้ภาษาอังกฤษทุกวัน โดยพบว่ามีการใช้ทักษะการอ่านมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และอ่านข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่เป็นภาษาอังกฤษ รองลงมาทักษะด้านการฟัง เช่น การฟังในที่ประชุม ฟังข้อมูลจากผู้บริหาร จากผู้เชี่ยวชาญ จากลูกค้า และฟังจากสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ซีดี ทักษะด้านการเขียน พบว่า ส่วนใหญ่จะเขียนจดหมายธุรกิจในลักษณะของการส่งข้อมูลผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และทักษะด้านการพูด พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการใช้ทักษะดังกล่าวน้อยมาก ส่วนใหญ่พูดนำเสนอรายงานในที่ประชุม เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบตามตำแหน่งงานของวิศวกร พบว่าวิศวกรที่มีตำแหน่งระดับบริหารมีการใช้ภาษาอังกฤษในภาพรวมมากกว่าวิศวกรที่มีตำแหน่งระดับปฏิบัติการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอ่านและการเขียน และเปรียบเทียบตาม
Full Text : Download! |
||
7. | รายงานวิจัยเรื่อง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาญี่ปุ่นตามความคิดเห็นของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พรรัตน์ เย็นใจ, วิภาณี เพ็งเนตร | ||
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาญี่ปุ่น ตามความคิดเห็นของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาญีปุ่น ตามความคิดเห็นของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น จำแนกตามเพศ ชั้นปี และคณะ 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นแนะเพิ่มเติม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 291 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technology) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA ) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.นักศึกษามีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาญีปุ่นโดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบุคลิกภาพ และด้านคุณธรรมและจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความสามารถในการสอน และด้านการให้คำปรึกษา อยู่ระดับมาก ตามลำดับ
2.นักศึกษาที่เป็นเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาญี่ปุ่น โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาเพศหญิงมีความคิดเห็นต่อคุณละกษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่สอนภาษาญี่ปุ่น ในระดับสูงกว่านักศึกษาเพศชาย เมื่อทำการเปรียบเทียบเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้า
Full Text : Download! |
||
8. | รายงานวิจัยเรื่อง กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ที่ศึกษาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ (JPN) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธนพล อรรถเอี่ยม | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาปัญหาในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญีปุ่นในวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น ตามเพศ ชั้นปี และคณะที่ศึกษาใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ ด้านการจดจำคำศัพท์ภาษาญีปุ่น ด้านการนำคำศัพท์ภาษาญีปุ่นไปใช้ ด้านกลวิธีทางสังคม 2) เพื่อเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญีปุ่นในวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ ของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น ตามเพศ ชั้นปี และคณะที่ศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น ที่ศึกษาในวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 291 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย x̄ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1.นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น ที่ศึกษาในวิชาภาษาญีปุ่นธุรกิจ มีการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญีปุ่น โดยรวมอยู่ในระดับใช้ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านความรู้เกี่ยวกับ ด้านการจดจำคำศัพท์ภาษาญีปุ่น ด้านการนำคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นไปใช้ด้านกลวิธีทางสังคมก็มีการใช้ในระดับใช้ปานกลางเช่นกัน
2.นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่นที่ศึกษาในวิชาภาษาญีปุ่นธุรกิจที่เป็นชายและหญิงมีการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญีปุ่น โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนั
Full Text : Download! |
||
9. | รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิภาณี เพ็งเนตร | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษปรับพื้นฐาน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษปรับพื้นฐาน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ตามเพศและคณะที่ศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยี-ญีปุ่น ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานจำนวน 127 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามชนิตมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับน้อย
2.ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น จำแนกตามคณะที่ศึกษา โดยภาพรวมทั้ง 3 ด้าน พบว่านักศึกษามีปัญหาในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานไม่แตกต่าง
4.นักศึกษาส่วนใหญ่ได้เสนอแนะว่า ควรเพิ่มการสอบย่อยเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใ
Full Text : Download! |
||
10. | รายงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิภาณี เพ็งเนตร | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผบบฝึกทักาะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ให้ได้ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมและแบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชั้นที่ปี 2 ที่ลงเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบฝึกทักาะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและบททดสอบย่อยประจำคาบเรียนจำนวน 8 คาบเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤาก่อนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ
การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง 8 คาบเรียน คาบเรียนละ 75 นาที รวมทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเมื่อเรียนจบในแต่ละคาบเรียน ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบประจำคาบเรียนและตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนหลังจากที่เรียนจากแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ครบทั้ง 8 คาบเรียน ผู้วิจันให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test แบบจับคู่เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาก่อนและหลังเรียนจากบทเรียน ใช้ค่าสถิติพื้
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250