fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (IIM) 2019 |
1. | การวิเคราะห์ความสำคัญของความพึงพอใจต่อการให้ต่อการให้บริการของศูนย์บริการงานซ่อมตามแบบจำลองคาโน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อัมพร ด่านเจริญ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของคุณลักษณะความพึงพอใจ
ของบริการศูนย์บริการงานซ่อมโดยใช้แบบจำลองของคาโน (Kano s Model) และเพื่อนำผลการวิจัย
ไปสร้างแนวทางการปรับปรุงการให้บริการ คุณลักษณะความพึงพอใจในการให้บริการกำหนด
จากตัวแบบคุณภาพการบริการ ERVQUAL และนโยบายบริษัท จากนั้นนำผลที่ได้มาคำนวณหา
ค่าสัมประสิทธิ์ของคุณลักษณะความพึงพอใจและจัดลำดับความสำคัญของคุณลักษณะที่มีผลต่อ
ความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ จากค่าดัชนีความพึงพอใจ (Customer Satisfaction Index :
CSI)
จากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ที่มาใช้บริการศูนย์บริการงาน ซ่อมในเขต
กรุงเทพมหานคร จำนวน 327 ราย โดยใช้แบบสำรวจความพึงพอใจตามแบบจำลองของคาโน
(Kano s Model) ประกอบไปด้วยคำถามแบบ Function และคำถามแบบ Dysfunction พบว่า
คุณลักษณะความพึงพอใจมี 3 อันดับที่มีความสำคัญ ได้แก่ 1) คุณลักษณะที่ไม่พึงพอใจ (Must-be
Attribute) มีจำนวน 9 คุณภาพบริการ 2) คุณลักษณะที่พึงพอใจ (One-Dimensional Attribute)
มีจำนวน 11 คุณภาพบริการ และ 3) คุณลักษณะที่เหนือความคาดหวัง (Attractive Attribute)
มีจำนวน 10 คุณภาพบริการ
ในการปรับปรุงการให้บริการ คุณลักษณะความพึงพอใจที่นำมาทำการปรับปรุงเป็น
อันดับแรกคือ Must-be Attribute ซึ่งถือว่าเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต้องมีและสำคัญที่สุดในการ
นำเสนอเพื่อการปรับปรุง เพราะถ้าหากไม่มีคุณลักษณะนี้ในคุณภาพบริการจะทำให้ผู้ที่มาใช้
บริการเกิดความไม่พึงพอใจอย่างยิ่ง
Full Text : Download! |
||
2. | การลดรอบเวลาการผลิตโดยใช้แนวคิดลีน : กรณีศึกษา บริษัท อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อาณัติ สุนทรหุต | ||
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้รอบเวลาการผลิตไม่ได้ตาม
เป้าที่ลูกค้าต้องการ เป็นกรณีศึกษาในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์จำกัด การศึกษาครัง้ นี้เป็นการวิจัย
เชิงโดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นโมเดลการผลิตในบริษัทโมเดล A โดยใช้การเก็บข้อมูลใบเช็คชีท
และข้อมูลจากทางระบบที่ได้มีการบันทึกของทางบริษัท เพื่อมาทำการวิเคราะห์และจัดทำแผนผัง
สายธารคุณค่า โดยค่าที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์คือ ผลผลิต (Yield), เวลาในการทำงาน (Cycle
Time), ของเสีย(Defect), จำนวนเครื่องจักร (Machine), เวลาการทำงาน (Available Time), จำนวน
พนักงาน (Operator) และเวลาการทำงานที่ลูกค้าต้องการ (Takt time)
ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์พบว่าปัญหาของสายการผลิตอยู่ที่สถานี 8600 ซึ่งมีอัตรา
ของผลผลิตอยู่ที่ร้อยละ 77 ทำให้พบปญั หาของเสียซึ่งส่งผลต่อยอดการผลิตที่ต้องส่งไปหาลูกค้า
ผู้วิจัยจึงได้มีการปรับปุรงของเสียก่อน โดยพบว่าเป็นปัญหามาจากวัตถุดิบที่ส่งเข้ามายังสาย
การผลิตทำให้แก้ไขด้วยการตรวจสอบแบบ 100 เปอร์เซ็นต์เป็นการชั่วคราวก่อนนำวัตถุดิบมา
ใส่ในสายการผลิต และติดตามผลพบว่าอัตราผลผลิตเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 98.78 จากเดิมร้อยละ 77
เพิ่มขึ้นมาคิดเป็นร้อยละ 21.78 แต่เมื่อนำผลผลิตไปคำนวณกับเวลาที่ลูกค้าต้องการ (Takt time)
พบว่ายังไม่สามารถผลิตงานได้ตามที่ลูกค้าต้องการจึงได้ทำการปรับปรุงสถานีครั้งที่ 2 ด้วยการ
ลดเวลาการทำงาน หลังจากแจกแจงขัน้ ตอนการทำงานของ 1 รอบการผลิตพบว่าขัน้ ตอนการ
ทำงานภายในเครื่องจักร จึงได้การเปลี่ยนการทำงานภายในเครื่องจักร ทำให้สามารถลดเวลา
การผลิตลงได้ 132 วินาที ทำให้เวลาการผลิตต่อเครื่องอยู่ที่ 268 วินาที ลดลงจากเดิม 132 วินาที
ซึ่งทำให้เวลาการผลิตต่ำกว่าเวลาที่ลูกค้าต้องการ
Full Text : Download! |
||
3. | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพนักงานเอกชนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มนชนก ชูพรรคเจริญ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงานของ
พนักงานเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการ
ทำงานต่อความสุขในการทำงานของพนักงานเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ โดยทำการเก็บ
ข้อมูลจากพนักงานเอกชนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้มานำมาวิเคราะห์ความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบเชิงอนุมานใช้ การทดสอบค่าทีแบบอิสระ
(Independent Sample T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สัน
จากผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มี
อายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด สำเร็จการศึกษาระดับการศึกษามัธยมศึกษา/ปวช. มีอายุ
งานในที่ทำงานปจั จุบัน 1-5 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 20,000 บาท กลุ่มตัวอย่างส่วน
ใหญ่มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสม ด้าน
สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการทำงาน ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน ด้านการพัฒนา
ความสามารถ และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่นในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างให้
ความคิดเห็นต่อความสุขในการทำงาน ด้านการติดต่อสัมพันธ์ ด้านการรักและผูกพันในงาน
ด้านความสำเร็จในงาน และด้านการเป็นที่ยอมรับในระดับมาก จากผลการทดสอบสมมติฐาน
พบว่าปจั จัยด้านเพศ สถานภาพ อายุงานในที่ทำงานปจั จุบัน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อ
ความสุขในการทำงานโดยรวมไม่แตกต่างกันในระหว่างกลุ่ม ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพ
ชีวิตในการทำงานกับความสุขในการทำง
Full Text : Download! |
||
4. | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินซี ของผู้บริโภคในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เปรมยุดา แม่นหมาย | ||
สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการตัดสินใจ
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินซี ของผู้บริโภคในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคในพื้นที่อำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent
Sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์
ค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)
ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินซีในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ
ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษา
อยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และส่วนใหญ่มีรายได้ 15,000-
25,000 บาท
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการตัดสินใจเลือก
ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินซี ด้านประชากรศาสตร์พบว่าเพศ สถานภาพ ระดับ
การศึกษาและรายได้ที่ได้รับแตกต่างกันมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ประเภทวิตามินซีด้านการเปรียบเทียบซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
และปจั จัยด้านทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินซีมีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการ
ตัดสินใจด้านการรับรู้ปัญหาการค้นหาข้อมูลและการเปรียบเทียบทางเลือกซื้ออย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.01
Full Text : Download! |
||
5. | การลดของเสียในกระบวนการเชื่อมความต้านทานแบบจุดของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศุภวิชญ์ พรหมพฤกษ์ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการเชื่อมความต้านทาน
แบบจุดของโรงงานกรณีศึกษา โดยในปัจจุบันกำลังประสบปญั หาในด้านคุณภาพ เกิดของเสีย
ในลักษณะต่างๆและหลุดรอดไปยังลูกค้าหลายครัง้ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มี
ให้กับโรงงานกรณีศึกษา ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้หลักการของคิวซีสตอรีและ QC 7 Tools รวมไป
ถึงหลักการ 4M อันประกอบไปด้วย Man Machine Method และ Material โดยได้เก็บรวบรวม
ข้อมูลการผลิตและของเสียที่เกิดขึ้นด้วยใบตรวจสอบ (Check Sheet) เป็นระยะเวลา 3 เดือน
ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 ถึง เดือนพฤษภาคม 2562 และนำข้อมูลที่ได้มาแจกแจงปญั หาและ
ความถี่ด้วยแผนภาพพาเรโต (Pareto Diagram) เพื่อลำดับความสำคัญและหาประเด็นปญั หาที่
ควรเร่งแก้ไข ศึกษากระบวนการผลิตและวิเคราะห์ด้วยผังแสดงเหตุและผล โดยประยุกต์ใช้หลักการ
4M เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดปัญหาชิ้นงานเสียในการเชื่อมความต้านทานแบบจุด
และเตรียมมาตรการในการตอบโต้ปัญหา
ผลการดำเนินงานหลังการปรับปรุงกระบวนการตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2562 จนถึง
เดือนสิงหาคม 2562 เป็นระยะเวลา 3 เดือน สามารถลดของเสียประเภทนัทเยื้องศูนย์จากเดิม
248 ชิ้น ลดลงเหลือ 32 ชิ้น ลดลงร้อยละ 87 และไม่มีของเสียที่หลุดรอดไปถึงลูกค้า ส่งผลให้
ความเชื่อมัน่ ของลูกค้าที่มีต่อโรงงานกรณีศึกษากลับมาดีขึ้น
Full Text : Download! |
||
6. | ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ลดอาการเมาค้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วินิจ แซ่เตียว | ||
การวิจัยปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ลด
อาการเมาค้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าและการตระหนักรู้
ตราสินค้าที่มีผลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ลดอาการเมาค้าง และ (2)
เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณค่า การตระหนักรู้
ตราสินค้า ความพึงพอใจและความไว้วางใจในตราสินค้าที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำของ
ผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ลดอาการเมาค้าง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ดื่มหรือเคย
ดื่มแอลกอฮอล์ มีประสบการณ์ในการใช้ผลิตภัณฑ์ลดอาการเมาค้าง จำนวน 454 คน
ผลการทดสอบสมมติฐานจากสมการเชิงโครงสร้างพบว่า การรับรู้คุณค่ามีอิทธิพลต่อ
การตระหนักรู้ตราสินค้าและความพึงพอใจ การตระหนักรู้ตราสินค้ามีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ
และความไว้วางใจในตราสินค้า ความพึงพอใจมีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในตราสินค้าและความ
ตั้งใจในการซื้อซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 แต่ความไว้วางใจในตราสินค้าไม่มีอิทธิพลต่อ
ความตัง้ ใจในการซื้อซ้ำ
Full Text : Download! |
||
7. | การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบโตโยต้าใน บริษัท ซีเอชอินตัสตรี่ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วัชรชัย บุญรักษ์ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำระบบการผลิตแบบโตโยต้ามาประยุกต์ใช้ในบริษัท ซี
เอชอินดัสตรี่ จำกัด จากการศึกษาหน้างานไลน์ตัวอย่าง ที่ไลน์ผลิต NOZZLE DEFROSTER
พบว่า มีปญั หาทางด้านผลิตภาพที่ต่ำ ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ
85 ผลผลิตต่อคนต่อชัว่ โมงอยู่ที่ 18 ชิ้น และมีเวลานำของกระบวนการผลิต (Lead time) มาก
ถึง 24 วัน บริษัทเคยประสบปญั หาด้านการจัดส่งชิ้นงานให้กับลูกค้าล่าช้า ส่งผลให้ทางบริษัท
ต้องเก็บสินค้าคงคลังเป็นเวลา 7-10 วันเพื่อสร้างความมัน่ ใจให้กับลูกค้าว่ามีชิ้นงานเพียงพอที่
จะจัดส่ง
โดยงานวิจัยนี้นำระบบการผลิตแบบโตโยต้า 10 ขั้นตอนมาใช้ในการทำกิจกรรมแก้ไข
ปัญหา หลังจากทำกิจกรรมพบผลลัพธ์ในด้านต่างๆ ดังนี้ ทางด้านการเพิ่มผลผลิต ก่อนทำกิจกรรม
ผลผลิตจำนวนชิ้นต่อคนต่อชั่วโมงอยู่ที่ 18 ชิ้น หลังทำกิจกรรมพบว่าสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็น
23 ชิ้นต่อคนต่อชัว่ โมง เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 28 สามารถลดต้นทุนได้ถึง 63,360 บาทต่อปี
ด้านการลดเวลานำการผลิต (Lead time) ก่อนทำการปรับปรุงพบว่า เวลานำการผลิตของไลน์
ตัวอย่างอยู่ที่ 23.36 วัน หลังทำการปรับปรุงพบว่า เวลานำการผลิตของไลน์ตัวอย่างลดลงเหลือ
9.12 วัน หรือลดลงร้อยละ 61 ด้านสินค้าคงคลัง ก่อนทำการปรับปรุงพบว่าระยะเวลาสินค้าคง
คลังอยู่ที่ 7 วัน หลังทำการปรับปรุงพบว่าเวลาสินค้าคงคลังลดลงเหลือเพียง 0.25 วัน หรือลด
ลดลงถึงร้อยละ 96 ด้านจำนวนพนักงานสามารถลดต้นทุนได้ 288,000 บาทต่อปี และด้านพื้นที่
การทำงาน ยังสามารถลดพื้นที่การทำงานได้ 24 ตารางเมตร คิดเป็นเงิน 23,040 บาทต่อปี สรุปรวม
ผลการทำกิจกรรมในครั้งนี้สามารถลดต้นทุนได้ถึง 374,400 บาทต่อปี
Full Text : Download! |
||
8. | การวิเคราะห์ความสำคัญของความพึงพอใจต่อการให้บริการของศูนย์บริการงานซ่อม ตามแบบจำลองคาโน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อัมพร ด่านเจริญ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของคุณลักษณะความพึงพอใจ
ของบริการศูนย์บริการงานซ่อมโดยใช้แบบจำลองของคาโน (Kano’s Model) และเพื่อนำผลการวิจัย
ไปสร้างแนวทางการปรับปรุงการให้บริการ คุณลักษณะความพึงพอใจในการให้บริการกำหนด
จากตัวแบบคุณภาพการบริการ ERVQUAL และนโยบายบริษัท จากนั้นนำผลที่ได้มาคำนวณหา
ค่าสัมประสิทธิ์ของคุณลักษณะความพึงพอใจและจัดลำดับความสำคัญของคุณลักษณะที่มีผลต่อ
ความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ จากค่าดัชนีความพึงพอใจ (Customer Satisfaction Index :
CSI)
จากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ที่มาใช้บริการศูนย์บริการงาน ซ่อมในเขต
กรุงเทพมหานคร จำนวน 327 ราย โดยใช้แบบสำรวจความพึงพอใจตามแบบจำลองของคาโน
(Kanos Model) ประกอบไปด้วยคำถามแบบ Function และคำถามแบบ Dysfunction พบว่า
คุณลักษณะความพึงพอใจมี 3 อันดับที่มีความสำคัญ ได้แก่ 1) คุณลักษณะที่ไม่พึงพอใจ (Must-be
Attribute) มีจำนวน 9 คุณภาพบริการ 2) คุณลักษณะที่พึงพอใจ (One-Dimensional Attribute)
มีจำนวน 11 คุณภาพบริการ และ 3) คุณลักษณะที่เหนือความคาดหวัง (Attractive Attribute)
มีจำนวน 10 คุณภาพบริการ
ในการปรับปรุงการให้บริการ คุณลักษณะความพึงพอใจที่นำมาทำการปรับปรุงเป็น
อันดับแรกคือ Must-be Attribute ซึ่งถือว่าเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต้องมีและสำคัญที่สุดในการ
นำเสนอเพื่อการปรับปรุง เพราะถ้าหากไม่มีคุณลักษณะนี้ในคุณภาพบริการจะทำให้ผู้ที่มาใช้
บริการเกิดความไม่พึงพอใจอย่างยิ่ง
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250