fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MET) 2013 |
1. | การผลิตสีรองพื้นอะคริลิคเรซินแบบโปร่งแสงโดยใช้ไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชัยมงคล จุลภาพ | ||
สีรองพื้นอะคริลิคเรซินแบบโปร่งแสงที่ผลิตโดยใช้เมทิลไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารตัวเติม เพื่อช่วยลดปัญหาต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไอระเหยของทินเนอร์ ที่ได้จากปิโตรเลียม ไบโอดีเซลในงานวิจัยนี้ใช้การทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นที่ใช้โซเดียม ไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา การใช้ไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ด้าผสมกับอะคริลิคเรซิน สามารถทดแทนทินเนอร์คือ ไวท์สปิริด ซึ่งใช้กันทั่วไปเชิงพาณิชย์ ได้ 10% ในสูตรที่มีอะคริลิคเรซิน 50% แห้งแข็งได้ภายใน 5 ชั่วโมงที่อุณหภูมิแวดล้อมที่ 37 องศาเซลเซียส และสามารถทดแทนได้ 5% ในสูตรที่มีอะคริลิคเรซิน 75% แห้งแข็งได้ภายใน 3 ชั่วโมงที่อุณหภูมิแวดล้อมที่ 37 องศาเซลเซียส
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาตัวแปรต่างๆของตัวรับรู้แบบฮอลล์เอฟเฟคในการวัดระยะชิ้นงาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุญฤทธิ์ แก้วประชุม | ||
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของความหนาของชิ้นงาน และระยะใกล้ขอบของชิ้นงานที่มีผล
ต่อการวัดระยะ เมื่อใช้ตัวรับรู้ฮอลล์เอฟเฟคที่ในการวัดระยะชิ้นงาน เพื่อนำตัวรับรู้นี้ไปพัฒนาสร้าง
Checking fixture แบบไม่สัมผัส โดยการสร้างตัวรับรู้นี้จะใช้อุปกรณ์คือ Hall-effect Sensor
แม่เหล็กและเหล็กตัวนำมาประกอบกันเป็นตัวรับรู้ (Sensor) ค่าระยะที่ได้จากตัวรับรู้จะอยู่ในรูป
ความต่างศักย์ (Vout) และเพื่อให้ได้ช่วงความต่างศักย์ที่มากพอในการวัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์จึง
ต้องนำความต่างศักย์จากตัวรับรู้มาขยายสัญญาณแล้วจึงนำสัญญาณที่ได้ไปวัด ในการวิจัยนี้ได้แบ่ง
การทดลองออกเป็น 3 กรณีคือ กรณีที่ 1 เป็นการทดลองหาเสถียรภาพการทำงานของชุดอุปกรณ์
ทั้งหมดภายใต้เงื่อนไขค่าความผิดพลาดของการวัดระยะไม่เกิน ±5% และอุณหภูมิภายนอกอยู่ในช่วง
25-30°C กรณีที่ 2 เป็นการทดลองผลกระทบเนื่องจากการเปลี่ยนความหนาของชิ้นงาน โดยใช้ชิ้นงาน
หนา 1, 2, 3, 4 และ 5 มิลลิเมตรและกรณีที่ 3 เป็นการทดลองผลกระทบเนื่องจากการระยะระหว่าง
ตัวรับรู้กับขอบชิ้นงาน (ระยะ e) เป็นการศึกษาเพื่อหาตำแหน่งติดตั้งตัวรับรู้ใกล้ขอบที่สุดที่ไม่ส่งผล
กระทบต่อการวัดค่า สำหรับกรณีที่ 2 และกรณีที่ 3 มีเงื่อนไขค่าความผิดพลาดของการวัดระยะไม่เกิน
±10%
จากผลวิจัยพบว่าเพื่อให้ได้เสถียรภาพการทำงานของตัวรับรู้ จะต้องจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์
อิเล็คทรอนิคก่อนนำตัวรับรู้นี้ไปทำการวัด อย่างน้อย10 นาทีในการศึกษากรณีที2 พบว่าต้องใช้
สมการความสัมพันธ์ระหว่างระยะ D กับความต่างศักย์เฉพาะตามความหนาชิ้นงานที่ทำการวัด และมี
ค่าความไม่แน่นอนในการวัดสูงสุดเท่ากับ ±0.048 มิลลิเมตร และกรณีที่ 3 ผลของระยะห่างระหว่าง
ตัวรับรู้กับขอบชิ้นงาน (ระยะ e) นั้นมีความสัมพันธ์กับระยะห
Full Text : Download! |
||
3. | ผลกระทบของการดูดซึมความชื้นต่อสมบัติทางกลของวัสดุผสมพอลิเอไมด์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชาญชัย ทองเชื้อ | ||
ในการศึกษานี้ได้ทำการศึกษาผลกระทบของการดูดซึมความชื้นต่อสมบัติทางกลของวัสดุผสมพอลิเอไมด์เสริมแรงใยแก้ว โดยทำการเตรียมวัสดุผสมพอลิเอไมด์เสริมแรงด้วยใยแก้วชนิดสั้นที่ส่วนผสมที่แตกต่างกัน (0, 10, 20 and 30% wt.) เพื่อศึกผลกระทบของการดูดซึมความชื้อต่อสมบัติทางกลของวัสดุจึงทำการเตรียมลิ้นงานมาตรฐานได้และแช่ในน้ำกลั่นเป็นเวลา 60 วัน ทำการชั่งน้ำหนักของชิ้นงานหลังจากแช่น้ำกลั่นในแต่ละวันเพื่อหาปริมาณความชื้นที่ดูดซึมในชิ้นงาน จากนั้นทำการทดสอบการดึงและการต้านทางการโค้งงอตามมารฐาน ASTM D638-02a และ AST< D790-02 ตามลำดับ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาผลของการดูดซึมความชื้นต่อโครงสร้างทางจุลภาคของวัสดุผสมด้วย
จากการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งการดูดซึมความชื้นของวัสดุผสมพอลิเอไมด์เสริมแรงใยแก้วได้เป็น 4 ช่วง ได้แก่ (I) ช่วงเริ่มต้น (1-7 วัน) (II) ช่วงที่ 2 (8-24 วัน) (III) ช่วงที่ 3 (25-35 วัน) และ (IV) ช่วงอิ่มตัว (36-60 วัน) โดยความแข็งแรง ณ จุดคราก (Yield Strengh) ความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength) และความแข็งแรงต่อการโค้งงอ (Flexural Strength) ของทุกชิ้นงานลดลงอย่างชัดเจนในช่วงเริ่มต้นของการดูดซึมความชื้น และพบว่าสมบัติทางกลดังกล่าวมีค่าเกือบคงที่หลังจากนั้น ส่วน Modulus of Elasticity ของชิ้นงานมีค่าลดลงในช่วงเริ่มต้นและช่วงอิ่มตัว นอกจากนี้เปอร์เซ็นต์การยืดตัว (%Elongation) ของชิ้นงานไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเริ่มต้นอย่างไรก็ตามเปอร์เซ็นต์การยืดตัวลดลงอย่างชัดเจนในช่วงที่ 3 แต่หลังจากนั้นมีค่าเกือบคงที่ จากผลการวิเคราะห์โครงสร้างทางจุลภาคชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสมบัติจากสภาพเปราะเป็นสภาพเหนียวหลังจากการดูดซึมความชื้นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกลของของวัสดุผสมพอลิเอไมด์เสริมแรงใ
Full Text : Download! |
||
4. | PARAMETRIC STUDY OF THE AUTOMOTIVE CONDENSER MANUFACTURING PROCESS IN A BRAZING FURNACE [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Chiradool Thaiprakob | ||
The research focuses on the defect reduction in an assembly line of a
condenser of an automobile air conditioner. The brazing furnace has function in
combining the condenser’s tube & fins and headers. The condenser is usually
designed as the flat tube-louvered fin heat exchanger. The defect problem caused by
an existing Brazing Furnace (Brazing #1) has been encountered by the case study
factory. Therefore, modeling and simulation has been conducted in the research. In
this work, the 3-D condenser model was combined to the brazing furnace domain
during the brazing operation, showing the temperature distribution on the condenser
and the time-dependent temperature profile. The condenser model was generated by
AutoDesk Inventor software, and the parametric simulation of the condenser was
carried out by using an well-known engineering ANSYSTM software.
The influence of operating conditions set up to the brazing furnace could be
clarified and characterized by the simulation model, which was already verified by the
experimental results. The research output displayed that the brazing furnace would not
be a black box for the factory any longer. Initially, in the preliminary simulation, the
model was divided into 8 zones; starting from the dry-off zone, zone 1 to zone 6 to the
cooling zone. However, the resulted R-square was unacceptable. Consequently, the
brazing furnace model was further divided into 21 zones. As a result, the discrepancy
analysis gave acceptable ac
Full Text : Download! |
||
5. | พัฒนาระบบควบคุมสำหรับวงจรแปลงผันไฟฟ้ากระแสตรงแบบทบแรงดันเพื่อติดตามกำลังสูงสุด ในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยโครงข่ายประสาทเทียม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จักรพงษ์ เมฆฟัก | ||
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการพัฒนาระบบควบคุมสำหรับวงจรแปลงผันไฟฟ้ากระแสตรง
แบบทบแรงดันเพื่อติดตามกำลังสูงสุดในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยโครงข่ายประสาทเทียมซึ่ง
พลังงานไฟฟ้ากระแสตรงที่สร้างจากเซลล์แสงอาทิตย์ผ่านวงจรแปลงผันไฟฟ้ากระแสตรงแบบทบ
แรงดันเพื่อเพิ่มแรงดันไฟฟ้าจ่ายเข้าแบตเตอรี่ เนื่องจากคุณลักษณะของเซลล์แสงอาทิตย์เป็น
แหล่งจ่ายแบบไม่เป็นเชิงเส้น ดังนั้นจึงต้องหาจุดทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ที่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้า
ได้สูงสุดที่สภาพบรรยากาศใดๆ โดยวิทยานิพนธ์จะใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial
Neural Network) ไปควบคุมการทำงานของตัวแปลงผันไฟฟ้ากระแสตรงแบบทบแรงดันเพื่อไปปรับ
หาค่าความต้านทานที่เหมาะสมในการจะดึงเอากำลังสูงสุดของเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ โดยส่วนควบคุม
ของวงจรแปลงผันไฟฟ้ากระแสตรงแบบทบแรงดันจะใช้มอสเฟตเป็นสวิทช์ ทำงานที่ความถี่สวิทช์
1 kHz จากผลการทดลองพบว่าระบบสามารถติดตามหาจุดจ่ายกำลังสูงสุดได้ทั้งในสภาวะที่ปริมาณ
แสงคงที่และสภาวะที่แสงมีการเปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใดแสดงให้เห็นถึงว่าระบบมีประสิทธิภาพ
สูงสุดและเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
Full Text : Download! |
||
6. | การเตรียมวัสดุแหล่งคาร์บอนจากก้านกล้วยโดยกระบวนการไฮโดรเทอร์มัล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เมธัส ชาญนิรุตติ | ||
งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมถ่านกัมมันต์ด้วยการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชันของก้านกล้วย
โดยทําการศึกษาผลกระทบจากปัจจัยของ ปริมาณน้ำตั้งต้น, อุณหภูมิในการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอนไน
เซชันและระยะเวลาในการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอนไนเซชัน, ต่อปริมาณผลผลิต (Yield) ของวัสดุแหล่ง
คาร์บอน และศึกษาคุณสมบัติของวัสดุแหล่งคาร์บอนด้วย การวิเคราะห์พื้นที่ผิวและโครงสร้างรูพรุน
ด้วยการทดสอบการดูดซับไนโตรเจน, การวิเคราะห์โครงสร้างพื้นผิวโดยเครื่องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
แบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope, SEM), การวิเคราะห์องค์ประกอบทั่วไป
(Proximate Analysis), การวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุ (Ultimate Analysis), จากนั้นนําผลิตภัณฑ์ที่
มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดไปทําการกระตุ้นเพื่อเพิ่มปริมาณพื้นที่ผิวและรูพรุนโดยการกระตุ้นด้วยไอน้ํา
จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตได้แก่ อุณหภูมิในการไฮโดรเทอร์
มัลคาร์บอไนเซชันและระยะเวลาในการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชัน สําหรับปัจจัยที่มีผลต่อ
โครงสร้างพื้นผิวได้แก่ อุณหภูมิในการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชัน ระยะเวลาในการไฮโดรเทอร์มัล
คาร์บอไนเซชันและปริมาณน้ําตั้งต้น และวัสดุแหล่งคาร์บอนที่ได้จากการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอนไนเซ
ชัน มีขนาดอนุภาคเล็กสุดประมาณ 1 ไมโครเมตร มีพื้นที่ผิวเท่ากับ 6.4 m2/g มีปริมาตรรูพรุนทั้งหมดเท่ากับ 0.007 cm3
/g มีขนาดรูพรุนเฉลี่ยเท่ากับ 4.5 nm โดยมีรูพรุนขนาดเล็กที่สุดเท่ากับ0.4 nm
Full Text : Download! |
||
7. | AN INTELLIGENT WIRELESS MULTI-SENSOR TEMPERATURE CONTROL SYSTEM USING A SELF-TUNING PID CONTROLLER WITH NEURAL NETWORK [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Somsak Thaicharoen | ||
This paper presents an intelligent temperature control system that provides a
fully automatic air conditioner operation for a stable room temperature. The proposed
technique employs the multi-sensor temperature sensing system with wireless data
transmission in order to obtain accurate temperature measurement over a wide area.
The control system is a PID controller with self-tuning feature using an artificial
neural network. The wireless control system is designed using temperature sensor
model DHT11, Arduino microcontroller and the transceiver model nRF24L01. The
controller provides a control signal to VSD model VF-nC3 to control speed of motor
compressor. The experimental results show a fast and stable setting of any specifically
set temperatures. The proposed temperature control system offers a stable temperature
for industrial plant, energy saving, and long life time of air conditioner.
Full Text : Download! |
||
8. | A SMART COST-EFFECTIVE REAL-TIME OUTDOOR CAR PARKING SPACE DETECTION USING VIDEO PROCESSING [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Somyod Saewong | ||
The existing outdoor car parks do not have the systematic system. All of
them are managed by human and ineffective therefore problems were occurred. The
critical problem of the outdoor parking is wasting time in finding available parking
lot. The drivers have to drive around the car park until they found the available
parking lot. The problem always occurs in the city areas. Where the number of cars
are higher than the number of parking lots. This problem is remaining because the
technologies were overlooking. Various intelligent systems have been done to
facilitate the traffic in the car parks. The old manual systems were change to be
computer automatic system. An operator and the entrance in the old systems are
replaced by the barrier gates and automatics tickets for the assessment. With the
innovative of the technology, these systems have been applied in differences purpose.
Therefore, the research focuses on applying technology on the outdoor
parking system, especially using the image processing to detecting the status of the
parking lots in the car park is a cost effective solution. The outdoor car park consists
of variety factors need to be considered. The proper object detection techniques are
required for the detection accuracy in difference car park conditions. Hence, a smart
cost effective real time outdoor car parking space detection using video processing is
valuable.
The research was carried out by using MATLAB programming software
together wit
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250