fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIT) 2020 |
1. | The Development of Air Quality Monitoring System Using Internet of Things and Lpwan [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Attapon Udomlumlert | ||
A long-term exposure to PM 2.5 may lead to health risks, cardiac arrhythmias and heart attacks, and respiratory effects such as plaque deposits in arteries that can eventually lead to cardiovascular abnormalities. This paper proposes the use of Internet of Things (IoT) and applications to monitor air pollution and weather using various sensors connecting through ESP32. We propose a wide-area system that monitors and detects the PM2.5. The conceptual model is clearly described and discussed in this paper with architecture and implementation framework. The Air Quality Monitoring System using LPWAN and IoT gave very precise results as a real-time graphical interface via mobile application. Keywords-IoT, PM2.5, LPWAN, ESP32, Air Quality
Full Text : Download! |
||
2. | แนวทางการปรับปรุงภาพถ่ายและพื้นหลัง ของผลิตภัณฑ์รองเท้าสำหรับธุรกิจออนไลน์ ด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธนทัต จันทร์เกตุ | ||
ยุคแห่งเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้การซื้อขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน เพิ่มการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้ใช้ ผู้บริโภคถูกกระตุ้นให้สนใจหรือตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากการนำเสนอสินค้าด้วยภาพถ่าย งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการศึกษาแนวทางการปรับปรุงภาพถ่ายซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มความดึงดูดการซื้อผลิตภัณฑ์รองเท้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยการวิเคราะห์ภาพถ่ายเพื่อแยกวัตถุและพื้นหลัง รวมถึงการปรับปรุงภาพ สี พื้นหลังเพื่อสื่ออารมณ์ด้วยโทนสีที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ตามหลักจิตวิทยา รวมถึงตามหลัก Color Scheme และ Color Image Scale ของ Shigenobu Kobayashi
จากผลลการทดลองผลิตภัณฑ์รองเท้าเมื่อมีการปรับปรุงสีพื้นหลังโดยใช้หลัก Color Scheme โดยมีการใช้โปรแกรมวัดค่าการตัดกันของสี (Colour contrast analyzer) แล้วผลวิเคราะห์ตามค่าที่ได้ส่งผลให้ สีพื้นหลังช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์รองเท้าให้ดูโดดเด่น ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และแสดงผลบนเว็บไซต์ได้เด่นชัด สีไม่กลมกลืนกันกับสีพื้นหลังจนเกินไป ไม่เป็นอุปสรรคในการมองเห็น ในส่วนของการใช้หลัก Color Image Scale การเลือกสีที่เข้ากันกับอารมณ์ธีมของรองเท้า ช่วยส่งเสริมโทนสีผลิตภัณฑ์ให้สัมพันธ์กันทั้งผ่านสีรองเท้า และสีพื้นหลัง โดยใช้ Delta-E ในการหาค่าความแตกต่างของสี ช่วยให้สีที่ได้ตรงกัน และผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่น ดึงดูด น่าสนใจ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวผ่านสีพื้นหลังที่ใช้ได้ มีผลต่อการเลือกซื้อ และกระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
Full Text : Download! |
||
3. | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงและระยะเวลาในการรับแสงต่อวันที่พืชใช้ในการเจริญเติบโตผ่านระบบ IoT [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จักริน ชีพสัจญาณ | ||
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และมีสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรมในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น การทำนา การทำสวนผลไม้ การทำพืชไร่ และการทำเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น เกษตรในปัจจุบันนั้นผลิตเพื่อเชิงการค้าโดยเพิ่มจำนวนผลิตให้มากยิ่งขึ้น และใช้เวลาน้อยลง เทคโนโลยีที่เกษตรกรใช้อยู่ ณ ตอนนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการนำเทคโนโลยีในการควบคุม สั่งการระบบอัตโนมัติ และแสดงผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นเท่านั้น แต่ไม่มีการนำข้อมูลหรือปัจจัยเหล่านั้นนำมาศึกษาและวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่ใช้ในการเพิ่มผลผลิต
ทางผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้ทำการเริ่มศึกษาและวิจัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชในงานวิจัยชิ้นนี้โดยนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และนำตัวแปร NDVI ซึ่งสามารถใช้บ่งบอกสุขภาพและการสังเคราะห์แสงของพืชได้ มาใช้ในงานวิจัยชิ้นนี้ พร้อมทั้งนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์และจัดกลุ่มโดยใช้ k-mean ในการจัดกลุ่มข้อมูล และนำข้อมูลที่ทำการจัดกลุ่มแล้วมาทำการหาแนวโน้ม โดยใช้เทคนิค Ensemble Classifiers โดยมีอัลกอริทึมภายใน 3 อัลกอริทึมได้แก่ Random Forest, Naïve Bayes และ Neural Network ในการวิเคราห์และทำนายการสังเคราะห์แสงของพืช
ผลวิจัยพบว่าจากการเก็บข้อมูลและควบคุมสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกด้วยระบบ IoT สามารถนำข้อมูลที่เก็บผ่านเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งเอาไว้ภายในมาทำการวิเคาราะห์และทำนายการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช นั้นมีค่าความถูกต้องที่ 100% เนื่องจากมีการแบ่งกลุ่มที่ชัดเจน และสามารถสังเคราะห์ดังชีความต่างพืชพรรณ (NDVI) จากรูปถ่ายโดยใช้กล้องที่มีความสามารถถ่ายภาพในย่าน อินฟาเรดช่วงใกล้ (NIR) เพื
Full Text : Download! |
||
4. | การพัฒนาออกแบบระบบการค้นหาเมนูอาหารไทยจากส่วนประกอบเพื่อแนะนำความเหมาะสมให้แก่ผู้บริโภค [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ลักษณารีย์ อุดมปัญญาวรกุล | ||
เนื่องด้วยปัจจุบันมีทางเลือกในการรับประทาน พบปัญหาเรื่องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเงินเดือนเฉลี่ยต่อครอบเรือน ซึ่งหากต้องการลดภาระเรื่องอาหาร ทางเลือกหนึ่ง นั้นคือการปรุงอาหารทาน แต่ในบางครั้ง ผู้บริโภคอาจจะไม่ทราบว่าส่วนประกอบเนื้อสัตว์ที่มีอยู่นั้นสามารถปรุงเป็นอาหารไทย เมนูอะไรได้บ้าง อีกทั้งความชอบต่างๆ ในการเลือกปรุงเมนูอาหาร ไม่เหมือนกัน
ทางผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้ทาการเริ่มศึกษาและวิจัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำเหมืองข้อมูลเพื่อหาเงื่อนไขของส่วนประกอบ ที่ได้รวบรวมข้อมูลของเมนูอาหารไทยทั้งหมด 125 เมนู มาทำการวิเคราะห์ จำแนกข้อมูลด้วยการสร้างมีเงื่อนไขผลลัพธ์ (If else) และทั้งใช้อัลกอริทึมอีก 3 อัลกอริทึม ได้แก่ต้นไม้ตัดสินใจ การสุ่มป่า และ K-NN เพื่อวัดประสิทธิภาพ ทำนายผลลัพธ์ของแบบจำลองการค้นหาเมนูอาหารไทย หลังจากนั้นผู้วิจัยได้เพิ่มระบบการแนะนำด้วยเทคนิค Cosine Similarity ที่จะอ้างอิงจากกลุ่มคนที่คล้ายกันมากที่สุด
ผลวิจัยพบว่าจากการจำแนกข้อมูล เพื่อวัดประสิทธิระบบแบบการค้นหาเมนูอาหารไทย ทั้ง 3 อัลกอริทึม ต้นไม้ตัดสินใจ 31.67 % K-NN และ การสุ่มป่าไม้ 70 % พร้อมทั้งได้ทำการหาแบบเงื่อนไขผลลัพธ์มาทำนายผล นำเสนอผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อแนะนำต่อกลุ่มทดสอบซึ่งผลประเมินผลลัพธ์จากแบบสอบถามความพึงพอใจ เห็นด้วยกับหัวข้อต่างๆหลังได้ทราบผลลัพธ์ โดยกลุ่มทดสอบให้ความสนใจและความพึงพอ เห็นด้วยในหัวข้อความน่าสนใจ ของเมนูที่ระบบการค้นหาแนะนำเมนูอาหารไทยให้ ในระดับมากที่สุดที่ค่าเฉลี่ย (????̅̅ = 4.26), (S.D. = 0.66) เนื่องจากแบบจำลองมีการนาเสนอเมนูอาหารไทยได้น่าสนใจ และสร้างความต้องการปรุงอาหารเมนูนั้นๆ ในมื้ออาหาร ในลำดับถัดมาเป็นหัวข้อที่ผู้วิจัยให้ความสำคัญมากที่สุ
Full Text : Download! |
||
5. | ระบบแนะนำบทความอัตโนมัติบนเว็บไซต์ของบริษัทธุรกิจสื่อโฆษณา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นิติรุจน์ อติไชยพิทักษ์ | ||
ในปี 2563 สำนักงานพัฒนำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้เผยแพร่รายงานพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ผลสำรวจระบุว่่า 48.3% ชอบอ่านหนังสือหรือบทความออนไลน์ แม้ว่าจะมีหลายเว็บไซต์ให้เลือก แต่ปัญหำที่ผู้อ่านอาจพบคือมีเว็บไซต์มากเกินไปและมีบทความให้เลือกมากเกินไป เป็นการยากและไม่สะดวกสำหรับผู้อ่านที่จะค้นหาบทความที่อาจสนใจ
ผู้วิจัยทราบปัญหาจึงเริ่มศึกษาค้นคว้าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลจากเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อพัฒนำระบบแนะนำบทความอัตโนมัติบนเว็บไซต์ ผู้วิจัยได้เสนอระบบแนะนำบทความอัตโนมัติ 2 ระบบ ได้แก่ ระบบแนะนำหมวดหมู่บทความบนเว็บไซต์สำหรับผู้เขียน และระบบแนะนำบทความสำหรับผู้อ่านบทความ ระบบแนะนำบทความที่นำเสนอได้รับการพัฒนำโดยใช้ 2 เทคนิค ได้แก่ Content Based Filtering และ Collaborative Filtering โดยทั้งสองเทคนิคใช้อัลกอริทึม Cosine Similarity
ผลการวิจัยพบว่า ระบบแนะนำหมวดหมู่บทความบนเว็บไซต์สำหรับผู้เขียน ด้วยเทคนิค Content based filtering และผลการคำนวณหาความคล้ายคลึงของเอกสารโดยใช้สูตร Cosine similarity พบว่ามีประสิทธิภาพความคล้ายคลึงกัน 46% ในขณะที่ระบบแนะนำบทความบนเว็บไซต์สำหรับผู้อ่านบทความ โดยใช้เทคนิค Collaborative Filtering เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของแต่ละรายการหรือบทความเพื่อเปรียบเทียบกัน มีประสิทธิภาพ 86% ซึ่งจากผลลัพธ์ดังกล่าวจะเป็นได้ว่าระบบที่พัฒนำขึ้นสามารถเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนำเพื่อประยุกต์ใช้งานระบบแนะนำบทความอัตโนมัติบนเว็บไซต์ของบริษัทธุรกิจสื่อโฆษณาได้เป็นอย่างมาก
Full Text : Download! |
||
6. | การเปรียบเทียบเทคนิคจดจำใบหน้าเพื่อใช้งานกับระบบบันทึกเวลาเข้างานด้วยกล่องภาพความร้อน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐรีพรรณ นิทธยุสกุลโชติ | ||
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบบันทึกการทำงานของพนักงานด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิและการจดจำใบหน้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนซึ่งจะทำการเปรียบเทียบเทคนิค Local Binary Pattern Histogram (LBPH) recognition และ เทคนิค HOG & Linear SVM ในการจดจำใบหน้า เพื่อหาเวลาที่ใช้ในการประมวลผลและความแม่นยำที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้งานกับกล้องถ่ายภาพความร้อน รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการบันทึกเวลางานของพนักงานโดยใช้ระบบจดจำใบหน้าและตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายที่พัฒนาขึ้น ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถดูข้อมูลได้แบบทันที (Real time) จากการหาผลลัพธ์ค่าเฉลี่ยความแม่นยำในการจดจำใบหน้า โดยเปรียบเทียบการใช้เทคนิค LBPH และเทคนิค HOG & Linear SVM เป็นระยะเวลา 1 เดือนกับพนักงานทั้งหมด 20 คนของบริษัท เลกะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด พบว่าค่าเฉลี่ยความแม่นยำของเทคนิค HOG & Linear SVM มีผลลัพธ์ดีกว่าโดยค่าเฉลี่ยมีความแม่นยำที่อยู่ที่ 81.85 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เทคนิค LBPH มีความแม่นยำเฉลี่ยอยู่ที่ 72.61 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่าความแม่นยำในการจดจำใบหน้าด้วยเทคนิค HOG & Linear SVM มีความแม่นยำสูงกว่าเทคนิค LBPH ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการประมวลผลการจดจำใบหน้า โดยเปรียบเทียบการใช้เทคนิค LBPH และเทคนิค HOG & Linear SVM พบว่าค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการประมวลผลของเทคนิค LBPH มีผลลัพธ์ดีกว่าโดยค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการประมวลผลที่อยู่ที่ 0.26 วินาทีในขณะที่เทคนิค HOG & Linear SVM มีระยะเวลาในการประมวลผลเฉลี่ยอยู่ที่ 0.54 วินาที ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้เทคนิคจดจำใบหน้าด้วยเทคนิค LBPH ใช้ระยะเวลาในการประมวลผลน้อยกว่าเทคนิค HOG & Linear SVM ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกเทคนิค LBPH มาใช้สำหรับระบบบันทึกการทำงานของพนักงานด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิ
Full Text : Download! |
||
7. | การใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบบัณฑิตวิทยาลัยตามหลักประสบการณ์ผู้ใช้ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภูมิพัฒน์ แสงประดับ | ||
การนำหลักการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งานมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการออกแบบระบบ
แลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ของระบบช่วยเหลือนักศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย โดยอาศัยหลักการ
ออกแบบแบบผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการใช้งานของผู้ใช้งานทุกกลุ่ม และให้
ผู้ใช้งานได้มีส่วนร่วมในการออกแบบระบบที่ต้องการ การนำข้อมูลความต้องการที่แตกต่างกันจาก
กลุ่มผู้ใช้งานที่มีความต้องการต่างกัน มาวิเคราะห์เพื่อหาจุดเชื่อมโยง คุณลักษณะเด่น และรูปแบบ
ประสบการณ์ผู้ใช้งานที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้งานต่าง ๆ และนำผลการวิเคราะห์มาพัฒนาร่วมกับ
หลักการออกแบบระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกันใน
ภาคธุรกิจ ที่มีความแม่นยำในการส่งข้อมูล ระยะเวลาในการสื่อสารที่สั้น ลดปัญหาการสูญหายของ
เอกสาร อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการจัดการและจัดเก็บข้อมูล มาประยุกต์ใช้ใน
การพัฒนาระบบต้นแบบนี้ ระบบจึงสามารถรองรับการทำงานและตอบสนองความต้องการของกลุ่ม
ผู้ใช้งานทุกกลุ่ม ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบและความพึงพอใจให้แก่กลุ่มผู้ใช้งานได้
อย่างชัดเจน โดยหลักการวิจัยนี้ สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับพัฒนาระบบอื่น ๆ เพื่ออำนวยความ
สะดวกให้กับบุคลากรทุกภาคส่วนภายในสถาบันอีกด้วย
Full Text : Download! |
||
8. | ประสิทธิภาพของระบบตรวจจับวัตถุเคลื่อนที่ กรณีศึกษา ฟาร์มนกแอ่นกินรัง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชวิศ ภูริพัฒน์ | ||
การบริหารจัดการธุรกิจฟาร์มนกแอ่นกินรังให้ประสบความสำเร็จนั้น โดยปัจจัยที่นำมาพิจารณาที่สำคัญที่สุดคือจำนวนของรังนกภายในฟาร์ม ซึ่งนกแอ่นกินรังถือว่าเป็นสัตว์ป่าที่ไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ตามธรรมชาติ จึงเป็นผลทำให้เกิดการคิดค้นหาเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อจำลองอาคารฟาร์มให้มีสภาพแวดล้อมภายในให้คล้ายถํ้าในธรรมชาติมากที่สุด โดยพฤติกรรมเสียงในการจับคู่เพื่อดึงดูดให้นกแอ่นกินรังเข้ามาทำรังวางไข่ต่อไป ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการออกแบบระบบตรวจนับจำนวนนกแอ่นกินรังที่บินเข้าออกอาคารฟาร์ม เพื่อสามารถนำไปวิเคราะห์การตรวจสอบนกที่แม่นยำ และปรับสภาพแวดล้อมภายในอาคารฟาร์มให้มีจำนวนนกแอ่นกินรังเข้ามาทำรังให้มากยิ่งขึ้น โดยผู้วิจัยได้ออกแบบอุปกรณ์และพัฒนาโปรแกรมของระบบตรวจนับนกแอ่นกินรังนี้ ภายใต้อัลกอริทึม YOLO v.5 ที่สามารถตรวจนับจำนวนนกแอ่นกินรังที่บินเข้าออกของตัวอาคารฟาร์มได้อย่างแม่นยำที่ความถูกต้องสูงถึง 92 เปอร์เซ็น และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรได้อย่างดี
Full Text : Download! |
||
9. | การพยากรณ์ผู้ที่มีแนวโน้มการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในงานมหกรรมบ้านและคอนโดโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นงลักษณ์ ตาดทอง | ||
ที่อยู่อาศัยนับเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตและสร้างคุณภาพของหน่วยย่อยที่สุดของสังคม คือ “ครอบครัว” ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนสนับสนุนให้ประชาชนคนไทยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยภาครัฐสนับสนุนด้วยการออกมาตรการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และภาคเอกชนมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยผ่านโครงการต่าง ๆ ออกมาสู่ท้องตลาด และในแต่ละปีทางสมาคมหลักด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยจะมีการจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโดขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการนำสินค้ามาแสดงในงาน โดยถูกจัดขึ้น ณ บริเวณหอแสดงสินค้าในกรุงเทพมหานคร ทางสมาคมได้เก็บข้อมูลผู้ที่มาลงทะเบียนเข้างาน เพื่อนำมาวิเคราะห์ และนำข้อมูลที่ได้ไปทำการตลาดเพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย แต่ไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร อีกทั้งยังใช้งบประมาณจำนวนมากในการทำการตลาด
ผู้วิจัยจึงพัฒนาแบบจาลองการประเมินแนวโน้มการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้เข้าชมงานมหกรรมบ้านและคอนโดโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง เพื่อเข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสในการขายอยู่อาศัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเพิ่มความสำเร็จในการขายได้ โดยใช้ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปีในการทำการทดลองสร้างแบบจำลอง โดยใช้อัลกอรึทึม ได้แก่ Decision Tree, Naïve Bayes, K-Nearest Neighbors, Random Forest และเทคนิค Ensemble ในการสร้างแบบจำลองการพยากรณ์
ผลวิจัยพบว่า การประเมินแนวโน้มการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้เข้าชมงานมหกรรมบ้านและคอนโด โดยใช้ เทคนิค Ensemble มีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ค่าความถูกต้องร้อยละ 79.57 ค่าความแม่นยำร้อยละ 82.18 ค่าความระลึกร้อยละ 59.32 และค่าถ่วงดุลร้อยละ 68.90 และสามารถประเมินแนวโน้มการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม โดยเมื่อนำไปทดลองใช้กับข้อมู
Full Text : Download! |
||
10. | การเพิ่มการเข้ารหัสแบบต้นทางถึงปลายทางบนแพลตฟอร์ม LoRaWAN สาธารณะ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชรัตน์ ขำแสง | ||
LoRaWAN เป็นเครือข่ายบริเวณกว้างที่ใช้พลังงานต่ำ (LPWAN) ที่ให้การสื่อสารในระยะไกล มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในด้าน IoT โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง มีผู้ให้บริการ LoRaWAN สาธารณะมากมายให้เลือกใช้ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ใช้งานที่กังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องระมัดระวังในการเลือกใช้งาน โดยผู้ให้บริการจะรู้ทั้ง network session key และ application session key ดังนั้น ผู้ให้บริการจึงสามารถถอดรหัสข้อมูลผู้ใช้ได้ และเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีแก้ปัญหา โดยเพิ่มการเข้ารหัสที่ต้นทางไปจนถึงผู้ใช้งานปลายทาง เพื่อให้เป็นการเข้ารหัสแบบ end-to-end encryption ผู้วิจัยได้ทำการทดลองกับผู้ให้บริการ LoRaWAN สาธารณะ 2 ราย คือ The Things Network และ LoRa IoT by CAT โดยผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าเวลาแฝงของแพ็กเก็ตระหว่างปลายสายเพิ่มขึ้นเพียง 0.407 วินาทีและ 0.562 วินาทีโดยเฉลี่ยสำหรับ TTN และ LoRa IoT by CAT ตามลำดับ ในแง่ของการใช้พลังงาน แบบที่มีการเข้ารหัสใช้พลังงานแบตเตอรี่โดยเฉลี่ย 42 mWh ซึ่งใกล้เคียงกับแบบที่ไม่ได้ใช้วิธีการที่นำเสนอ ส่วนขนาดของ packet เพิ่มจากเดิมมา 7 ไบต์ ผลลัพธ์ยืนยันว่าวิธีการที่เสนอมานั้นคุ้มค่าที่จะนำไปใช้กับแพลตฟอร์มสาธารณะ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250