fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MBJ) 2020 |
1. | The Image of Japanese Teacher Expected by Students at Thai-Nichi Institute of Technology [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Nana Watanabe | ||
In recent years, the number of learners of Japanese language has increased in Japan and abroad, and the number of learning institutions and teachers has been increasing. According to the 2018 Japan Foundation survey, the total number of Japanese learners abroad is about 3.85 million and the number of teachers is about 80,000. Of these, native Japanese teachers account for about 20% of the total, and non-native Japanese teachers account for about 80%. In many educational institutions that handle Japanese, native-speaking teachers and non-native-speaking teachers are involved in educational activities. It is desirable to understand the roles of native-speaking teachers and non-native-speaking teachers in collaborative classes, and aim to improve the quality of teachers.
At the JPN of Thai-Nichi Institute of Technology, which is also the subject of this survey, Thai teachers and Japanese teachers are in pairs and they are in charge of one class, and alternate classes are conducted. At JPN, Thai teachers and Japanese teachers teach the same content. Therefore, the purpose of this survey is to investigate the expectations of learners for Thai teachers and Japanese teachers, and to clarify what kind of difference there is in those expectations.
In this survey, a questionnaire survey was conducted for students studying JPN101-JPN301. In the questionnaire, I prepared 30 questions for Thai teachers and 27 questions for Japanese students, totaling 57 questions, and divided them int
Full Text : Download! |
||
2. | Study of Japanese Learning in Business Japanese Program in Thai-Nichi Institute of Technology [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Taku Kaneya | ||
This research has the objectives to study about 1) Interested in studying 2) Interested in Japanese culture and society 3) Wants to do in the future and aim to the learning.
The data were collected from 335 students who study as Business administration (Japanese) at Thai-Nichi Institute of Technology. The statistic used for the data analysis consisted of Mean, Standard Deviation, Percentage, One sample t-test, independent sample t-test.
According to the result of the research, the category of the highest score is “Wants to do in the future and aim to the learning”. And top 3 items of the result are 1) Because I want to go to Japan for traveling. 2) Because Japanese learning will help future career” and 3) Because I want to be able to understand Japanese movies and TV shows.
Based on the results of this research, the motivation for learning Japanese for some purposes or aims is stronger than the other factors.
And the result of the questionnaire founds most students study Japanese for some purposes or aims.
Full Text : Download! |
||
3. | แรงจูงใจส่งผลต่อความสุขและความผูกพันต่องค์กรของบุคลากรในองค์กรญี่ปุ่น กรณีศึกษาองค์กรญี่ปุน่แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อภิชญา ธารีวาสน์ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทางานของพนักงาน 2) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน 3) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรและ 4) ศึกษาความสุขในการทำงานของพนักงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ พนักงานของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 115 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยข้อมูลเชิงกลุ่ม การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย
ผลการทดสอบพบว่า ฝ่ายงาน อายุ และตำแหน่งงานที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร ด้านลักษณะงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านสภาพการทำงาน ด้านความก้าวหน้า และด้านเงินเดือนและค่าตอบแทนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
และยังพบว่า ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความยอมรับนับถือส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร มีอานาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 58.9 และปัจจัยสุขอนามัย ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน และด้านวิธีการบังคับบัญชาส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร มีอานาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 63.3 และพบว่าปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะงาน และด้านความสำเร็จในการทำงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 52.3 และปัจจัยสุขอนามัย ด้านวิธีการบังคับบัญชา ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน และด้านสภาพการทำงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร มี
Full Text : Download! |
||
4. | ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในรูปแบบนิวนอร์มัลของบุคลากรคนไทย บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เบญญารัตน์ ฮาเซกาว่า | ||
การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในรูปแบบนิวนอร์มัลของบุคลากร
คนไทยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
การบริหารงานและวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในรูปแบบ
นิวนอร์มัลของบุคลากรคนไทยในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น และเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ที่ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการทำงานในรูปแบบนิวนอร์มัลของบุคลากรคนไทยในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น เป็น
การวิจัยเชิงสำรวจ โดยทำการศึกษาจากบุคลากรคนไทยในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น เขตนิคมอุตสาหกรรม
จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 320 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงโดยการวิเคราะห์ถดถอย
พหุคูณ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม
โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยมีช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี มีสถานภาพทาง
ครอบครัว โสดและสมรส เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาการทำงาน 10 ปี
ขึ้นไป บริษัทประกอบประเภทของธุรกิจประเภทอื่นๆ (เช่น ผลิตชิ้นส่วนและประกอบเครื่องจักร,
ออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ เป็นต้น) บุคลากรสังกัดในฝ่ายผลิต ตำแหน่งงานอยู่ในระดับหัวหน้า
งาน (Leader, Foreman, Chief, Supervisor) และมีรายได้อยู่ระหว่าง 20,001-30,000 บาท
ด้านการทดสอบสมมติฐาน พบว่ามี 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานแบบญี่ปุ่นเละวัฒนธรรมการ
ทำงานแบบญี่ปุ่น การสื่อสารแบบญี่ปุ่นด้านหลักโฮเร็นโซ คุณภาพชีวิต ด้านความสมดุลระหว่าง
ชีวิตการทำงาน ด้านความก้าวหน้าและมัน่ คงในงาน การบริหารงานแบบญี่ปุ่นเละวัฒนธรรมการ
ทำงานแบบญี่ปุ่น ด้านการทำงานเป็นทีม ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานใน
Full Text : Download! |
||
5. | อิทธิพลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคอร์สเรียนออนไลน์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของผู้บริโภคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรัฐ นันทฤทธิ์ | ||
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการคอร์สเรียนออนไลน์ในภาวะ
วิกฤตโควิด-19 ของผู้บริโภคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ
ใช้บริการคอร์สเรียนออนไลน์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของผู้บริโภคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็น
การวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ใช้บริการที่มีอายุ
ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่เคยซื้อและเคยเรียนคอร์สเรียนออนไลน์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์ จำนวน 550 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอนคือการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง
(Judgmental Sampling) และการเลือกกลุ่มตัวอย่างลูกโซ่ (Snowball Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดย
ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงประเภทการวิเคราะห์
ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด อายุ 15-20 ปี มีระดับ
การศึกษาปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา และรายได้ต่อเดือน 10,000 บาทหรือต่ำกว่า
ด้านพฤติกรรมการใช้บริการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามใช้บริการคอร์สเรียนออนไลน์ในภาวะ
วิกฤตโควิด-19 ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีความถี่ในการใช้บริการคอร์สเรียน 1 คอร์สต่อ 3 เดือน
ใช้บริการในช่วงวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ในช่วงเวลากลางคืน (18:00-20:00) และช่วงเวลาบ่าย
(13:00-17:00) ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายในการสมัครคอร์สเรียนออนไลน์ 3,000 บาทขึ้นไปต่อ 1 ครัง้
และ 2,000-2,999 บาทต่อ 1 ครัง้ ตามลำดับ ผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกใช้บริการคอร์ส
เรียนออนไลน์มากที่สุด คือ ตนเอง กลุ่มคอร์สเรียนออนไลน์ที่เลือกซื้อประจำ ได้แก่ ทักษะด้าน
ภาษา ความรู้ตามหลัก
Full Text : Download! |
||
6. | ปัจจัยองค์กรและปัจจัยลักษณะงานส่งผลต่อความผูกพันในงานและความผูกพันในองค์กรของบุคลากร : กรณีศึกษาองค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ขนิษฐา สมรัตน์ | ||
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยองค์กร ระดับปัจจัยลักษณะงาน ระดับความผูกพันในงาน และระดับความผูกพันในองค์กรของพนักงาน 2) เปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อปัจจัยองค์กรและปัจจัยลักษณะงาน 3) ศึกษาปัจจัยองค์กรและปัจจัยลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในงาน 4) ศึกษาปัจจัยองค์กรและปัจจัยลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานชาวไทยขององค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง จำนวน 144 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยข้อมูลเชิงกลุ่ม การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
พบว่า ระดับความผูกพันในงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X= 3.97) 2) ระดับความผูกพันในองค์กรโดยรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.92) 3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยองค์กรโดยรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.58) 4) และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะงาน อยู่ในระดับมาก (X= 3.96)
ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อปัจจัยลักษณะงานด้านความสำคัญของงาน ความมีอิสระในการทำงาน และผลสะท้อนจากงาน ตำแหน่งงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อปัจจัยองค์กรด้านความต้องการด้านบทบาท
ปัจจัยองค์กรด้านความต้องการด้านงาน ด้านความต้องการด้านบทบาท ด้านความต้องการด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลส่งผลต่อความผูกพันในงานและความผูกพันในองค์กรมีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 67.1 และ 62.7 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ ปัจจัยลักษณะงานด้านความมีเอกลักษณ์ของงาน ด้านผลสะท้อนจากงาน ด้านความหลากหลายของทักษะและด้านความสำคัญของงานส่งผลต่อความผูกพันในงาน มี
Full Text : Download! |
||
7. | อิทธิพลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารของกลุ่มเจเนอเรชนเอ็กซ์ เขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สาริศ หอมโอ้ม | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ และอิทธิพลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารของกลุ่มเจเนอเรชันเอ็กซ์ เขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นคนในเจเนอเรชันเอ็กซ์ที่เคยใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหาร จำนวน 323 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง
ผลการทดสอบพบว่า การไหลลื่นส่งผลต่อทัศนคติการใช้แอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ส่งผลต่อทัศนคติการใช้แอปพลิเคชัน และทัศนคติส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้แอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ส่วนการรับรู้ความเสี่ยงไม่ส่งผลต่อทัศนคติการใช้แอปพลิเคชั่น
Full Text : Download! |
||
8. | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธนวัฒน์ เขษมวงศ์ | ||
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นใน
เขตกรุงเทพมหานครของผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้า
ส่วนประสมทางการตลาด และการตลาดเชิงประสบการณ์ที่มีต่อความภักดีของผู้ใช้บริการ
ร้านอาหารญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยเป็นแบบเชิงปริมาณใช้วิธีการสำรวจจาก
แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อแจกแจงความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานโดยการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson
Product Moment Correlation)
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านบุคลากร
ด้านกระบวนการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ) และการตลาดเชิงประสบการณ์ มีความสัมพันธ์กับ
ความภักดีของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในทิศทางเดียวกันในระดับความสัมพันธ์
ระดับมาก ยกเว้น การรับรู้ภาพลักษณ์และปัจจัยส่วนประสมการตลาด (ด้านการจัดจำหน่าย และ
ด้านส่งเสริมการตลาด) มีความสัมพันธ์กับความภักดีของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหาร
ญี่ปุ่นในทิศทางเดียวกันในระดับความสัมพันธ์ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
Full Text : Download! |
||
9. | การรับรู้เครื่องมือการบริหารแบบญี่ปุ่นและการฝึกอบรมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา องค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วรศักดิ์ เลาศรีรัตนชัย | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้เครื่องมือการบริหารแบบญี่ปุ่น
การฝึกอบรมและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน 2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์
ส่งผลต่อเครื่องมือการบริหารแบบญี่ปุ่น และการฝึกอบรม 3) เครื่องมือการบริหารแบบญี่ปุ่น
ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน 4) การฝึกอบรมส่งผลต่อประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครัง้ นี้ คือ พนักงานฝ่ายการผลิตทัง้ หมด
ของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง จำนวน 50 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ One-way Analysis of
Variance (ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น
อย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการทดสอบพบว่า ระดับการรับรู้เครื่องมือการบริหารแบบญี่ปุ่น การฝึกอบรม และ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 (S.D. =
0.691), 4.29 (S.D. = 0.691) และ 4.31 (S.D. = 0.633) ตามลำดับ
และยังพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา แผนก และตำแหน่งงานปจั จุบันมีการรับรู้เกี่ยวกับ
เครื่องมือการบริหารแบบญี่ปุ่น และการฝึกอบรม ไม่แตกต่างกัน
และยังพบว่า การรับรู้เครื่องมือการบริหารแบบญี่ปุ่น ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
(Kaizen) และด้านการขจัดความสูญเปล่า (Eliminating Waste/MUDA) ส่งผลต่อประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานของพนักงาน (Operational Performance) มีอำนาจการพยากรณ์ที่ร้อยละ 78.2
อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01
และพบว่า การฝึกอบรบส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน(Operational
Performance) ที่ร้อยละ 67.7 อย่างมีนัยทางสถิ
Full Text : Download! |
||
10. | อิทธิพลการรับรู้และปัจจัยด้านสังคมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของอาหารเพื่อสุขภาพ (ออร์แกนิค) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ญาณิศา สนกนก | ||
การวิจัยเรื่องอิทธิพลการรับรู้และปัจจัยด้านสังคมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของอาหาร
เพื่อสุขภาพ (ออร์แกนิค) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม
การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (ออร์แกนิค) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร, การรับรู้และ
ปัจจัยด้านสังคมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพ (ออร์แกนิค) ของผู้บริโภคในเขต
กรุงเทพมหานครและเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลของการรับรู้
และปัจจัยด้านสังคมที่มีผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจซื้อซ้ำของอาหารเพื่อสุขภาพ (ออร์แกนิค)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง
ซึ่งเป็นกลุ่มผู้รักสุขภาพ ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่เคยรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 400 คน ซึ่งจากการนำแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด มาตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถาม
พบว่ามีจำนวน 364 ชุด ที่ผ่านการตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วย Smart PLS 3.0
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่
เป็นเพศหญิง มีอายุ 21-25 ปี มีสถานภาพโสด มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท ประกอบ
อาชีพพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง ด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (ออร์แกนิค)
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รู้จักอาหารเพื่อสุขภาพ (ออร์แกนิค) ด้วยตนเอง โดยที่ช่องทาง
ในการรับข้อมูลข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากที่สุด ส่วนใหญ่มีความถี่ในการบริโภคคือ 1
ครั้งต่อสัปดาห์ มีมูลค่าในการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (ออร์แกนิค) อยู่ที่ 100-300 บาทต่อครั้ง
และส่วนใหญ่ซื้ออาหารเพื่
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250