fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MBJ) 2021 |
1. | ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อจากซัพพลายเออร์ของบริษัทญี่ปุ่นในภาคกลางและถาคตะวันออก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พรเทพ จิ้นบัว | ||
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อจากซัพพลายเออร์
ของบริษัทญี่ปุ่นในภาคกลางและภาคตะวันออก และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปจัจัยด้าน
ประชากรศาสตร์ (ด้านอายุงาน และ ด้านตำแหน่งงาน) และปจัจัยในการประเมินการตัดสินใจซื้อ
(บริหาร, คุณภาพ, ราคา, การจัดส่งสินค้า, การบริการ, งบการเงิน, ความสามารถในการผลิต,
ความยัง่ ยืน) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อจากซัพพลายเออร์ของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น เป็นการวิจัย
เชิงสำรวจ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่จัดหาและ
จัดซื้อในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน 364 คน และทำการเก็บ
ข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน (Two-Stage Sampling) โดยติดต่อขออนุญาตกับ
บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นและเก็บข้อมูลกับพนักงานในตำแหน่งจัดซื้อและจัดหาจนครบ จำนวน 364 คน
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐาน
โดยใช้การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน
(Independent Sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of
Variance : ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson’s Product Moment
Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple Regression)
ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปจัจัยลักษณะประชากรศาสตร์ด้านอายุงานที่แตกต่างกันส่งผล
ต่อการตัดสินซื้อของซัพพลายเออร์ที่แตกต่างกัน โดยพนักงานที่มีอายุงานระหว่าง 2-5 ปี มีระดับ
ความคิดเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์ในการตัดสินใจซื้อจากซั
Full Text : Download! |
||
2. | เปรียบเทียบประเภทธุรกิจส่งผลต่อความพึงพอใจด้านสมรรถนะของล่ามไทย-ญี่ปุ่นและด้านทักษะของล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอนาคตผ่านมุมมองของนายจ้างชาวญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จีรภัทร์ วงศ์ธนารุจน์ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบประเภทธุรกิจส่งผลต่อความพึงพอใจ
ด้านสมรรถนะของล่ามไทย-ญี่ปุ่น 2) เปรียบเทียบประเภทธุรกิจส่งผลต่อทักษะที่จำเป็นสำหรับ
การทำงานของล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอนาคต ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นายจ้างชาวญี่ปุ่น
ในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จำนวน 119 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่
ความถี่ ร้อยละ และสถิติไคสแควร์ (Chi-square)
ผลการทดสอบพบว่า ประเภทธุรกิจยานยนต์ส่งผลต่อความพึงพอใจด้านสมรรถนะที่
จำเป็นของล่ามไทย-ญี่ปุ่นแตกต่างจากประเภทธุรกิจการผลิตหนัก (วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร/
ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์/เหล็ก, โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก) และประเภทธุรกิจการผลิตเบา (บรรจุภัณฑ์/
ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์/กระดาษและวัสดุการพิมพ์/ขนส่ง & โลจิสติกส์) ในด้านความเชี่ยวชาญ
ด้านระบบการผลิตที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และด้านความเชี่ยวชาญด้านระบบคุณภาพที่ระดับนัยสำคัญ
0.05
และยังพบว่าประเภทธุรกิจยานยนต์ ประเภทธุรกิจการผลิตหนัก (วัสดุอุตสาหกรรมและ
เครื่องจักร/ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์/เหล็ก, โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก) ประเภทธุรกิจการผลิตเบา (บรรจุภัณฑ์/
ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์/กระดาษและวัสดุการพิมพ์/ขนส่ง & โลจิสติกส์) ส่งผลต่อทักษะที่จำเป็นของ
ล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอนาคตด้านทักษะความฉลาดในการเข้าสังคมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าประเภทธุรกิจยานยนต์ ประเภทธุรกิจการผลิตหนัก (วัสดุอุตสาหกรรม
และเครื่องจักร/ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์/เหล็ก, โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก) ประเภทธุรกิจการผลิตเบา (บรรจุภัณฑ์/
ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์/กระดาษและวัสดุการพิมพ์/ขนส่ง & โลจิสติกส์) ส่งผลต่อทักษะที่จำเป็นของ
ล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอนาคตด้านทักษะการคิดประย
Full Text : Download! |
||
3. | อิทธิพลของผู้นำความคิด และการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความเต็มใจซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปากจากประเทศญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กาญจนธัช บูรณสิงห์ | ||
การวิจัยเรื่องอิทธิพลของผู้นำความคิด และการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความเต็มใจซื้อ
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปากจากประเทศญี่ปุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
อิทธิพลที่ส่งผลต่อความเต็มใจซื้อแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปากจากประเทศญี่ปุ่น การศึกษา
ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยรับ
บริการการรักษาที่สถานทันตกรรม เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ซึ่งจากการนำแบบสอบถาม
จำนวน 400 ชุด มาตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถามพบว่ามีจำนวน 358 ชุด ที่ผ่านการ
ตรวจสอบ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ
สมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมซอฟแวร์ Smart PLS 3.0
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ
25-40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
มีรายได้ต่อเดือน 30,001-50,000 บาท ด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ พบว่า ส่วน
ใหญ่มีการเปิดรับสื่อทุกวัน ใช้ระยะเวลาในการเปิดรับสื่อครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 18.01-
24.00 น.เหตุผลในการเปิดรับสื่อเพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารของสถานการณ์ทั่วไปให้ทันปัจจุบัน
เลือกประเภทการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบันเทิง กีฬามากที่สุด ด้านการเปิดรับเกี่ยวกับ
การดูแลสุขภาพช่องปากมีระดับการเปิดรับสื่อจากเฟซบุ๊คเพจ (Facebook Page) ของแบรนด์
ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก และของผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรมในระดับปานกลาง ผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนใหญ่รับรู้การดูแลสุขภาพช่องปากผ่านการแชร์ข้อมูลบนหน้าเฟซบุ๊คหรือทางไลน์ของเพื่อน
ครอบครัว คนรู้จัก และในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาเปิดรับสื่อเกี่
Full Text : Download! |
||
4. | ส่วนประสมทางการตลาด 4P และ 4E ที่ส่งผลต่ออุปสงค์ของผู้บริโภคในการซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากญี่ปุ่น สำหรับผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กนกพร ขจรบุญ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทาง
การตลาด 4P ที่ส่งผลต่ออุปสงค์ในการซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากญี่ปุ่น 2. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วน
ประสมทางการตลาด 4P และ 4E ที่ส่งผลต่ออุปสงค์ในการซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากญี่ปุ่น และ
3. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ที่ส่งผลต่อปัจจัยด้านส่วนประสม
ทางการตลาด 4P และ 4E การวิจัยเป็นเชิงปริมาณ (Quantitative Method) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูล
ด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่เคยใช้ซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจาก
ญี่ปุ่น ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 400 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์
ด้วย Binary Logistic Regression เพื่อสร้างแบบจำลองและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพื่อ
ใช้ประมาณหรือพยากรณ์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4P และ 4E ที่ส่งผลต่ออุปสงค์ของผู้บริโภค
ในการซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากญี่ปุ่น
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนประสมทางการตลาด 4P และ 4E ทัง้ 8 ด้าน (ผลิตภัณฑ์, ราคา,
ช่องทางการจัดจำหน่าย, การส่งเสริมการขาย, การสร้างประสบการณ์, การแลกเปลี่ยนคุณค่า, การรับรู้
ทุกช่องทาง และความภักดีในแบรนด์) เพียง 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านราคา ด้านการสร้างประสบการณ์
และด้านความภักดีในแบรนด์ ที่ส่งผลต่ออุปสงค์ของผู้บริโภคในการซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากญี่ปุ่น
และปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันของ
ผู้บริโภค ส่งผลให้มีเกิดความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดของเครื่องสำอางนำเข้าจากญี่ปุ่น
แตกต่างกัน
Full Text : Download! |
||
5. | ภาพลักษณ์และคุณค่าของตราสินค้าส่งออกภูมิภาคฮอกไกโดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากภูมิภาคฮอกไกโด ในประเทศไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปวริศา ศรีสิริ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพลักษณ์ตราสินค้าส่งออกภูมิภาคฮอกไกโด
ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากภูมิภาคฮอกไกโด ในประเทศไทย 2) ศึกษาคุณค่าตราสินค้า
ส่งออกภูมิภาคฮอกไกโดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากภูมิภาคฮอกไกโด ในประเทศไทย 3)
ศึกษาภาพลักษณ์และคุณค่าของตราสินค้าส่งออกภูมิภาคฮอกไกโดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า
จากภูมิภาคฮอกไกโด ในประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคคนไทยที่
ซื้อสินค้านำเข้าจากภูมิภาคฮอกไกโด และรู้จักตราสินค้าส่งออกภูมิภาคฮอกไกโด กลุ่มตัวอย่าง
มีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติการการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1) ภาพลักษณ์ตราสินค้าส่งออกภูมิภาคฮอกไกโด ด้านคุณสมบัติ และด้านวัฒนธรรม และ
ด้านคุณค่าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากภูมิภาคฮอกไกโด ในประเทศไทย มีอำนาจพยากรณ์
ร้อยละ 45.7 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 นำมาสร้างสมการได้ดังนี้ Y???? = 0.679 + 0.368
(ด้านวัฒนธรรม) + 0.384 (ด้านคุณสมบัติ) + 0.123 (ด้านคุณค่า)
2) คุณค่าตราสินค้าส่งออกภูมิภาคฮอกไกโด ด้านเครื่องหมายการค้า ด้านการรู้จักตราสินค้า
และด้านการรับรู้คุณภาพ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากภูมิภาคฮอกไกโด ในประเทศไทยมี
อำนาจพยากรณ์ร้อยละ 52.4 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 นำมาสร้างสมการได้ดังนี้ Y???? =
1.048 + 0.374 (ด้านการรับรู้คุณภาพ) + 0.317 (ด้านการรู้จักตราสินค้า) + 0.102 (ด้านเครื่องหมาย
การค้า)
3) ภาพลักษณ์ตราสินค้าส่งออกภูมิภาคฮอกไกโด ด้านคุณสมบัติ คุณประโยชน์ และ
ด้านวัฒนธรรม และคุณค่าตราสินค้าส่งออกภูมิภา
Full Text : Download! |
||
6. | เปรียบเทียบความพึงพอใจด้านทักษะผู้ฝึกงานเทคนิคต่างชาติและด้านวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นที่ส่งต่อคุณภาพงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทยและชาวเวียดนามผ่านมุมมองหัวหน้างานชาวญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พีรมน มีขันหมาก | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบอุตสาหกรรมส่งผลต่อความพึงพอใจ
ด้านทักษะของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทยกับเวียดนาม 2. เปรียบเทียบอุตสาหกรรมส่งผลต่อวัฒนธรรม
การทำงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทยกับเวียดนาม 3. ศึกษาทักษะส่งผลต่อคุณภาพงานของ
ผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทยกับเวียดนามโดยอุตสาหกรรมเป็นตัวแปรหุ่น และ 4. วัฒนธรรมการทำงาน
ส่งผลต่อคุณภาพงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทยกับเวียดนามโดยอุตสาหกรรมเป็นตัวแปรหุ่น
ใช้แบบสำรวจจากหัวหน้างานชาวญี่ปุ่น 12 คน และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากหัวหน้างาน
ชาวญี่ปุ่น 559 คน ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ
แบบมีตัวแปรหุ่น
ผลการวิจัยพบว่า 1) อุตสาหกรรมเหล็ก-ชิ้นส่วนยานยนต์ ก่อสร้าง และอื่นๆ ส่งผลต่อ
ความพึงพอใจด้านทักษะของผู้ฝึกงานชาวไทยและเวียดนามแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
และพบว่า 2) อุตสาหกรรมเหล็ก-ชิ้นส่วนยานยนต์ ก่อสร้าง และอื่นๆ ส่งผลต่อความ
พึงพอใจด้านวัฒนธรรมการทำงานของผู้ฝึกงานชาวไทยและเวียดนามแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ
0.05 และพบว่า 3) ทักษะด้านการสื่อสาร ด้านภาษาญี่ปุ่น ด้านความกระตือรือร้น ด้านความ
น่าเชื่อถือ ด้านความรู้พื้นฐาน ด้านสามัญสำนึก ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความร่าเริงส่งผล
ต่อคุณภาพงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทยและชาวเวียดนาม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Z???? ไทย = 0.121(การสื่อสาร) + 0.342(ภาษาญี่ปุ่น) + 0.088(ความกระตือรือร้น) + 0.099(ความ
น่าเชื่อถือ) + 0.155(ความรู้พื้นฐาน) - 0.099(สามัญสำนึก) + 0.140(มนุษยสัมพันธ์) + 0.120
(ความร่าเริง) และ Z???? เวียดนาม = 0.154(การสื่
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250