fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIT) 2023 |
1. | การเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ภาพ สัญลักษณ์ ความเป็นจริงเสริม ด้วยเทคนิคการฟื้นฟูภาพด้วยวิธีการเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไป [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นภาวรินท์ เกตุแก้ว | ||
การเพิ่มประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ภาพ MARKER-BASED ที่เสื่อมสภาพจนสูญเสียรายละเอียด ด้วยเทคนิคประมวลผลภาพเพื่อฟื้นฟูภาพ (IMAGE RESTORATION) โดยวิธีการเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไป (IMAGE INPAINTING) ด้วยการสร้าง IMAGE TARGET ด้วยโปรแกรม UNITY นาชุดรูปภาพ MARKER-BASED มากาหนดชุดข้อมูลฝึกสอน ทดสอบ และจาลองความเสียหายของภาพ ด้วยโปรแกรม ROBOFLOW นาภาพ MARKER-BASED ที่จาลองความเสียหายแล้วมาวัดประสิทธิภาพการมองเห็นของ AR ด้วยโปรแกรม UNITY ตรวจจับส่วนที่เสียหายของภาพและทดสอบความแม่นยา ด้วย YOLO ภาพที่ได้รับการทดสอบความแม่นยาแล้ว นามาแปลงเป็นภาพขาวดา โดยระบุเฉพาะส่วนที่เสียหายทาการฟื้นฟูภาพด้วยวิธีการเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไปของภาพ ด้วย OPENCV นาภาพ MARKER-BASED ที่ฟื้นฟูแล้ว มาทาการทดลองประสิทธิภาพของการมองเห็นของ AR ด้วยโปรแกรม UNITY ทาการประเมินและวิเคราะห์ผลการทดลองหาความแตกต่างที่มีนัยสาคัญทางสถิติ เพื่อหาความถูกต้อง หรือความผิดพลาด ที่ DETECTION MARKER PAIRED SAMPLES T-TEST การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน แล้วนามาทดลองเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการมองเห็นของ AR ก่อนและหลังการประมวลผลภาพแล้ว ผลที่ได้ประสิทธิภาพการมองเห็นของ AR ด้วยโปรแกรม UNITY หลังจากการฟื้นฟูภาพสามารถแสดงผลของวัตถุได้ และมีค่าเฉลี่ย PAIRED SAMPLES T-TEST สูงกว่า การมองเห็นของ AR กับภาพที่จาลองความเสียหาย
Full Text : Download! |
||
2. | การวิเคราะห์รูปแบบเส้นทางผู้ใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ของส่วนแสดงสินค้าบนแอปพลิเคชัน ช้อปปิ้งที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วสุรัตน์ คนหาญ | ||
การวิเคราะห์รูปแบบเส้นทางผู้ใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ของส่วนแสดงสินค้าบนแอปพลิเคชัน
ช้อปปิ้งที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ดังนี้ 1 หารูปแบบของเส้นทางผู้ใช้
ที่สำหรับหน้าสินค้าบนแอปพลิเคชันซื้อสินค้าออนไลน์ 2 หารูปแบบประสบการณ์ผู้ใช้ที่เหมาะสมแอปพลิเคชัน
ซื้อสินค้าออนไลน์ที่สอดคล้องกับเส้นทางผู้ใช้ จากการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งาน
พบว่าผู้ใช้งานมีรูปแบบเส้นทางผู้ใช้ทั้งหมด 4 รูปแบบ คือรูปแบบที่ 1 คือเส้นทางของผู้ใช้ที่มีการเปรียบเทียบ
สินค้า รูปแบบที่ 2 คือการเลือกซื้อสินค้าที่มีสินค้าที่เฉพาะเจาะจงหรือตรงกับความต้องการ รูปแบบที่ 3
คือรูปแบบที่มีการดูส่วนแนะนำสินค้าหรือโปรโมชันและรูปแบบที่ 4 คือรูปแบบผสม ที่มีการผสมกันระหว่าง
รูปแบบที่ 1 รูปแบบที่ 2 รูปแบบที่ 3 โดยขั้นตอนจะมีวิธีการเริ่มที่แตกต่างกันแต่จะมีข้อเด่นของแต่ละ
รูปแบบ เมื่อได้ศึกษาจากแบบจำลองผู้ใช้ที่ผู้วิจัยได้จากการทำแบบสอบถามพฤติกรรมของผู้บริโภคสินค้า
ออนไลน์มีหลายพฤติกรรม และหลากหลายแบบจำลองผู้ใช้การซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้วิจัยได้เลือกจำลอง
ผู้ใช้ขึ้นมาด้วยกัน 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 แบบจำลองผู้ใช้ของกลุ่มตัวอย่างบุคคลช่างเลือกสินค้าและ
รูปแบบที่ 2 แบบจำลองผู้ใช้ของกลุ่มตัวอย่างบุคคลที่มีจุดประสงค์การซื้อสินค้า โดยรูปแบบที่ 1 ผู้วิจัย
ได้จำลองขึ้นมา ได้สอดคล้องกับเส้นทางผู้ใช้งานและเหมาะสมสำหรับกลุ่มที่ช่างเลือกสินค้าจะมีพฤติกรรม
ใช้เส้นทางของผู้ใช้ที่มีการเปรียบเทียบสินค้า และรูปแบบที่ 2 สอดคล้องกับเส้นทางผู้ใช้งานและเหมาะสม
กับการใช้งานแอปพลิเคชัน สำหรับกลุ่มตัวอย่างบุคคลที่มีจุดประสงค์การซื้อสินค้า จะมีรูปแบบเส้นทาง
ผู้ใช้แบบเจาะจงเพื่อเลือกสินค้าที
Full Text : Download! |
||
3. | การพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อบรรเทาโรคออฟฟิศซินโดรม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภัททิยาภรณ์ สระหงษ์ทอง | ||
การพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อบรรเทาโรคออฟฟิศซินโดรม มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อหาแนวทางการออกแบบแอปพลิเคชันบำบัดโรคออฟฟิศซินโดรมโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม 2) ประเมินแอปพลิเคชันสามารถบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมให้ดีขึ้น และสร้างความพึงพอใจในการใช้งาน
ซึ่งผลของการวิจัยมีดังนี้ จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม และรูปแบบการพัฒนาแอปพลิเคชัน ผู้วิจัยได้แนวทางในการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อบรรเทาโรคออฟฟิศซินโดรมจากงานวิจัยนี้ มาจากการค้นคว้าและการทำแบบสอบถามจากกลุ่มทดลอง ค้นหาส่วนบริเวณที่สร้างความรู้สึกไม่สบายกายมากที่สุด หลังจากที่ได้ทำแบบสำรวจและศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับแอปพลิเคชันเพิ่มเติม จึงพัฒนาออกมาเป็นแอปพลิเคชันบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเข้ามาช่วยได้ ซึ่ง สามารถใช้บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมให้ดีขึ้นได้ และวัดความพึงพอใจจากการใช้แอปพลิเคชัน และเทคโนโลยีความจริงเสริมบรรเทาโรคออฟฟิศซินโดรมได้ โดยในวัตถุประสงค์ข้อนี้ ผู้วิจัยได้รับผลรับความพึงพอใจจากกลุ่มทดลองเป็นอย่างมาก
Full Text : Download! |
||
4. | การตรวจจับและติดตามสร้อยคอทองคำด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์วิชั่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรญา ธนาเกริกพล | ||
เนื่องจากปัจจุบันวิธีการโจรกรรมร้านขายทองมีการเปลี่ยนแปลงวิธี โดยใช้การเบี่ยงเบนความสนใจของพนักงานขาย ทำให้เกิดความสับสน และทำการขโมยสร้อยคอทองคำด้วยการปิดบังหรือซ่อนเร้น โดยที่พนักงานไม่ทราบถึงการสูญหายของสร้อยคอทองคำ วิธีเบี่ยงเบนความสนใจนี้ทำให้ผู้วิจัยสนใจในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของสร้อยคอทองคำ สร้อยคอทองคำมีขนาดเล็ก พื้นผิวมันวาว เกิดการสะท้อนแสงได้ง่าย เป็นคุณสมบัติของทองคำ และสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้การขโมยประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้เน้นการศึกษาและวิเคราะห์การตรวจจับและติดตามสร้อยคอทองคำที่เปลี่ยนรูปร่างได้โดยใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์วิทัศน์ จากคุณสมบัติที่กล่าวมาจึงเป็นไปได้ยากที่จะตรวจจับสร้อยคอทองคำโดยตรง เราขอนำเสนอการตรวจจับสร้อยคอทองคำที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ ด้วยการเพิ่มฟังก์ชันการทำงานพื้นหลังที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Background Subtraction : ABS) เพื่อแยกวัตถุ เช่น สร้อยคอทองคำ ร่วมกับเทคนิคการประมวลผลภาพ ที่ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพการติดตามสร้อยคอทองคำด้วยแบบจำลองส่วนผสมเกาส์เซียน (Gaussian Mixture Model : GMM) ความท้าทายคือ สร้อยคอทองคำมีขนาดเล็ก สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ และมีพื้นผิวมันวาวของคุณสมบัติทองคำ ทำให้เกิดการสะท้อนแสง มีผลให้สีของสร้อยคอทองคำเปลี่ยนเป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีทอง เราทำการเปรียบเทียบอัลกอริทึม GMM กับอัลกอริทึม GMM ที่ปรับปรุงประสิทธิภาพ ด้วยการเพิ่มการทำงานของ พื้นหลังที่ปรับเปลี่ยนได้ (ABS) ผลการทดลองใช้วิธีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ก่อนและหลังการปรับปรุงประสิทธิภาพ พบว่าสามารถติดตามเฟรมได้อย่างถูกต้องถึง 86.07%
Full Text : Download! |
||
5. | การใช้ระบบอัตโนมัติ (RPA) เพื่อลดเวลาการออกกรมธรรม์ของบริษัทประกันภัย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นราวุฒิ นนทภา | ||
ปัญหาการออกกรมธรรม์ของบริษัทประกันภัยปัจจุบันมีกระบวนการที่ซ้ำซากและมีปริมาณมาก ทำให้ใช้เวลาในการออกกรมธรรม์ที่นาน การวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบอัตโนมัติ (RPA) เพื่อลดเวลาการออกกรมธรรม์ของบริษัทประกันภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาการออกกรมธรรม์ของบริษัทประกันภัยและลดความผิดพลาดของมนุษย์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน โดยใช้โปรแกรม UiPath ในการสร้าง RPA ให้อ่านข้อมูลจากไฟล์ Excel แล้วนำไปใส่ในโปรแกรมออกกรมธรรม์ของบริษัทประกันภัยเป้าหมาย จากการทำงานของระบบ RPA สามารถออก 1 กรมธรรม์ใช้เวลาประมาณ 2 นาที ในขณะที่การออกกรมธรรม์โดย user ในเงื่อนไขความคุ้มครองเดียวกันใช้เวลาออกกรมธรรม์ 1 กรม ประมาณ 4 นาที จึงสรุปได้ว่าการใช้ ระบบอัตโนมัติ(RPA) นั้นสามารถช่วยลดระยะเวลาในการออกกรมธรรม์ได้
Full Text : Download! |
||
6. | การวิเคราะห์แผนภาพอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์วิทัศน์อาจารย์ที่ปรึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นฤนาท โคมุต | ||
ดังที่ผู้วิจัยมีประสบการณ์ในสายงานด้านอิเล็กทรอนิกส์แผนก Failure Analysis ทำให้ความสำคัญของการทำเรื่องวิเคราะห์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความสำคัญมาก ที่ได้นำมาใช้ในงานเนื่องด้วยตัวงานเป็นส่วนของส่วนประกอบของอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ สำหรับสายงานนนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมากในเรื่องของความรู้ความเข้าใจในเรื่องของอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองตามความรู้ความเข้าใจตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล หรือการโปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถสร้างและวิเคราะห์วงจรได้เข้ามาช่วย ทำให้จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจทั้งเรื่องของอิเล็กทรอนิกส์รวมไปถึงความรู้พื้นฐานในการใช้งานโปรแกรม เพราะว่าสิ่งที่ได้มาเพื่อเป็นตัวอ้างอิงในการวิเคราะห์งานนั้นส่วนใหญ่จะได้มาในรูปแบบไฟล์ PDF ของวงจรอิเล็กรอนิกส์ ปัญหาคือเกิดเรื่องของเวลาที่นำตัววงจรอิเล็กทรอนิกส์ในไฟล์ PDF นำไปประกอบใหม่ในโปรแกรมจำลองสิ่งที่ตามมาคือเรื่องของเวลาที่เพิ่มขึ้นมาอย่างน้อย 1 นาทีช้าเร็วนั้นขึ้นกับจำนวนส่วนประกอบของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ยิ่งมากยิ่งเพิ่มเวลาการทำงานในส่วนของการประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในโปรแกรมจำลอง รวมไปถึงปัญหาของผู้ที่ยังมีประสบการณ์ยังน้อยและไม่ค่อยคุ้นเคยกับโปรแกรมจะทำให้เกิดเรื่องของความผิดพลาดในการประกอบวงจรหรือแก้ไขค่าต่างๆในวงจรให้ตามค่าที่ถูกกำหนดในไฟล์ PDF ทำให้เวลานั้นจะมากกว่าผู้ที่มีประสบการณ์รวมไปถึงความผิดพลาดในการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นมาจากผู้ที่มีประสบการณ์ยังน้อย เพื่อที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ช่วยลดเรื่องของเวลาในการใช้งานโปรแกรมจำลองในการประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในโปรแกรม 2. เพื่อสามารถวิเคราะห์วิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้เพื่อกแไขเรื่องการวิเคราะห์ที่ผิดพล
Full Text : Download! |
||
7. | การป้องกันการตกเป็นเหยื่อจากการฟิชชิงผ่านทางที่อยู่เว็บไซต์ โดยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณิชารีย์ อิ๋วสกุล | ||
ฟิชชิงเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ที่ผู้โจมตีทำการโจมตีโดยการหลอกลวงบุคคล หรือองค์กรให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัว โดยการโจมตีแบบ ฟิชชิงผ่านทางที่อยู่เว็บไซต์ เป็นวิธีการฟิชชิงที่สามารถพบได้บ่อย โดยผู้โจมตีทำการสร้างที่อยู่เว็บไซต์ปลอมที่คล้ายกับ ที่อยู่เว็บไซต์จริงขององค์กรต่าง ๆ ที่ผู้โจมตีใช้อ้างถึง เพื่อหลอกให้ผู้ใช้คลิกและทำการส่งข้อมูลสำคัญไปยังฝั่งของผู้โจมตี โดยเทคนิคที่ใช้ในการป้องกันการโจมตีแบบฟิชชิงผ่านทางที่อยู่เว็บไซต์แบบดั้งเดิม อย่างเช่น การสร้างฐานข้อมูลที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกและรายชื่อเว็บไซต์ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงได้นั้น มีประสิทธิภาพในการตรวจจับ ได้เพียงที่อยู่เว็บไซต์อันตรายที่รู้จักแล้วเท่านั้น จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการตรวจสอบที่อยู่เว็บไซต์อันตราย (Malicious URL) ใหม่ ๆ ด้วยเหตุนี้ เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องจึงถูกนำมาใช้ในงานตรวจสอบที่อยู่เว็บไซต์อันตรายอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยการเลือกใช้คุณลักษณะที่เหมาะสม คือ หนึ่งในปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของแบบจำลองการเรียนรู้ในการจำแนกที่อยู่เว็บไซต์อันตราย (Malicious URL) ซึ่งคุณลักษณะที่ถูกสกัดจากที่อยู่เว็บไซต์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่มหลัก ๆ คือ กลุ่มคุณลักษณะทางภาษา (Lexical feature) กลุ่มคุณลักษณะทางเนื้อหา (Content-based feature) และ กลุ่มคุณลักษณะทางเครือข่าย (Network-based feature) โดยงานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของกลุ่มคุณลักษณะทางภาษา และ กลุ่มคุณลักษณะทางเนื้อหา ซึ่งเป็นกลุ่มคุณลักษณะที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์ถึงลักษณะ โครงสร้างทางภาษา และ ทำการทดลองโดยการใช้เทคนิค Recursive feature elimination (RFE) ในการคัดเลือก
Full Text : Download! |
||
8. | การตรวจจับอารมณ์ของผู้เรียนระหว่างการเรียนออนไลน์ โดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภูริชญา โชคเศรษฐกิจ | ||
เนื่องจากวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ที่แพร่ระบาดในประเทศไทย และมีผลกระทบต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน เนื่องจากไม่สามารถรวมกลุ่มได้ จึงต้องเปลี่ยนรูปแบบในการเรียนการสอนเป็นการเรียนออนไลน์ ซึ่งเกิดปัญหาขึ้นเนื่องจากผู้สอนไม่สามารถทราบอารมณ์ของผู้เรียนแต่ละคนได้ว่ามีความสนใจเรียนมากน้อยเพียงใด งานวิจัยนึ้จึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบตรวจจับอารมณ์ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนออนไลน์ โดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจจับใบหน้าและอารมณ์ของผู้เรียน โดยใช้เทคโนโลยีโครงข่ายประสาทเทียมคอนโวลูชันเป็นหลัก
จากผลการทดลองภายในงานวิจัยนี้ ได้มีการจัดทำซอฟต์แวร์เพื่อตรวจจับภาพใบหน้าของผู้เรียนในระหว่างการเรียนออนไลน์ และสามารถตรวจจับใบหน้าและอารมณ์ของผู้เรียนในระหว่างการเรียน พร้อมทั้งจัดกลุ่มอารมณ์ของผู้เรียนออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความตั้งใจเรียน และกลุ่มที่ไม่ตั้งใจเรียน โดยในการประเมินประสิทธิภาพของงานวิจัยนี้ สามารถตรวจจับอารมณ์ของผู้เรียนที่แบ่งเป็นเจ็ดกลุ่มอารมณ์ ได้แก่ ปกติ , มีความสุข , ประหลาดใจ , โกรธ , ขยะแขยง , เศร้า และกลัว โดยมีค่าความถูกต้องเท่ากับ 69.2% และความถูกต้องในการจำแนกอารมณ์ที่แบ่งออกเป็นสองกลุ่มอารมณ์ คือ ตั้งใจเรียนและไม่ตั้งใจเรียน มีความถูกต้องเท่ากับ 84.65%.
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250