fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MBJ) 2023 |
1. | อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ ผลิตภัณฑ์นำเข้าจากญี่ปุ่น กรณีศึกษา ร้านขายยาแบบญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิริยา ตั้งจิตวิริยะกุล | ||
การวิจัยเรื่องอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์นำเข้าจากญี่ปุ่น กรณีศึกษา ร้านขายยาแบบญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ร้านขายยาแบบญี่ปุ่น 2. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์ ความเกี่ยวพันของผลิตภัณฑ์ ความตั้งใจแสวงหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ และความตั้งใจซื้อ 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์ ความเกี่ยวพันของผลิตภัณฑ์ ความตั้งใจแสวงหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์หรือใช้บริการ
ร้านขายยาแบบญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 480 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง รายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ด้านพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ในร้านขายยาแบบญี่ปุ่นของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่เข้าร้านขายยาแบบญี่ปุ่นเฉลี่ย 2 ครั้ง/เดือน ผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศนอกเหนือจากญี่ปุ่นที่เคยซื้อส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศเกาหลี มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนครั้งละ 1,001
-1,500 บาท ร้านขายยาแบบญี่ปุ่นในประเทศไทยที่ผู้ตอบแบบสอบถามเคยใช้บริการส่วนใหญ่คือร้านขายยา Tsuruha ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วย Smart PLS 4.0
การทดสอบสมมติฐานจากสมการเชิงโครงสร้าง พบว่า ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ประเทศที่มาของผลิตภั
Full Text : Download! |
||
2. | อิทธิพลการบริการสไตล์ญี่ปุ่น ภาพลักษณ์องค์กรและความ พึงพอใจที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่นซ้ำ ในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชานน ทรัพย์โชคสกุล | ||
การวิจัยเรื่องอิทธิพลการบริการสไตล์ญี่ปุ่น ภาพลักษณ์องค์กร และความพึงใจที่ส่งผล
ต่อการกลับมาใช้บริการโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่นซ้ำในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษา
พฤติกรรมการเข้าใช้บริการโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่น 2) เพื่อศึกษาการบริการสไตล์ญี่ปุ่น ภาพลักษณ์
องค์กร ความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่นซ้ำ และ 3) เพื่อตรวจสอบ
ความสอดคล้องของปจั จัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการใช้บริการโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่นซ้ำ การศึกษาครัง้ นี้
เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้
บริการที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีประสบการณ์ไปใช้บริการโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 502 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทัว่ ไปของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
อายุ 31-40 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพลูกจ้าง/พนักงานเอกชน
รายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมการมาใช้บริการโรงแรมสไตล์
ญี่ปุ่นของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เข้ารับบริการเฉลี่ย 1 ครัง้ /ในรอบ 6 เดือน นิยมใช้บริการ
วันเสาร์-วันอาทิตย์ เหตุผลที่เลือกโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่นเพราะชอบบรรยากาศแบบญี่ปุ่น ชอบการ
บริการแบบญี่ปุ่นและชอบอาหารญี่ปุ่นโดยใช้จ่ายเฉลี่ยสูงสุดที่เคยจ่ายต่อคืนคือ 2,001-3,000 บาท
และมักไปใช้บริการโรงแรมสไตล์ญี่ปุ่นกับพ่อแม่/ครอบครัวมากที่สุด ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่า
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการ
โครงสร้างด้วย Smart PLS 4.0
การทดสอบสมมติฐานจากสมการโครงสร้าง พบว่า ภาพลักษณ์องค์กรมีอิทธิผลเชิงบวก
ต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ การบริการสไตล์ญี่ปุ่นมีอิทธิผลเช
Full Text : Download! |
||
3. | อุปถัมภ์จากองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตผ่านตัวแปรคั่นกลางสมรรถนะของพนักงานฝ่ายผลิตที่อยู่หน้างานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในอุตสาหกรรม 4.0 กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กฤษณ ลิ่วเฉลิมวงศ์ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอิทธิพลอุปถัมภ์จากองค์กรและสมรรถนะส่งผลต่อประสิทธิภาพผลิต โดยการศึกษาวิจัยแบบผสม ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 3 ท่าน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานฝ่ายผลิตที่อยู่หน้างานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง จำนวน 430 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการทดสอบพบว่า 1) อุปถัมภ์จากองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าเท่ากับ 0.73 ได้ค่าสถิติ X2=113,220, df=27, X2/df=4.193, p= 0.000, CFI=0.973, GFI=0.952, RMSEA=0.086, RMR=0.018 2) อุปถัมภ์จากองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าเท่ากับ 0.55 ได้ค่าสถิติ X2=14.468, df=6, X2/df=2.411, p=0.025, CFI=0.994, GFI=0.989, RMSEA=0.057, RMR=0.010 3) สมรรถนะมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าเท่ากับ 0.81 ได้ค่าสถิติ X2= 58.636, df=27, p=0.000, CFI=0.990, GFI= 0.974, RMSEA=0.052, RMR=0.012. 4) อุปถัมภ์จากองค์กรมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการผลิตผ่านตัวแปรคั่นกลางสมรรถนะ โดยมีค่าอิทธิพลทางตรง 0.28 ทางอ้อม 0.36 และอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.65 ได้ค่าสถิติ X2=213.517, df=52, X2/df=4.106, p=0.000, CFI=0.961, GFI=0.932, RMSEA=0.085, RMR=0.032
ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า พนักงานฝ่ายผลิตที่จำเป็นต้องมีความรู้ที่ตอบ วัตถุประสงค์ของการผลิต ความรู้ในขั้นตอนของกระบวนการผลิต ความรู้ในการประเมินความเสี่ยง แล
Full Text : Download! |
||
4. | อิทธิพลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการบริหารคุณภาพส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานและความยั่งยืน กรณีศึกษา องค์กรผลิตเครื่องมือกลญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ประธาน ลี | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการบริหารคุณภาพที่ส่งผลต่อความยั่งยืนขององค์กร และ 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการบริหารคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานฝ่ายผลิตระดับปฏิบัติการทั้งหมดขององค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 313 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการทดสอบพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ( = 0.253) ที่ส่งผลต่อความยั่งยืนขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์และ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเชิงพหุของตัวแปร ( = 0.391, 0.461 และ 0.237 ตามลำดับ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
และพบว่า การบริหารคุณภาพโดยรวมด้านสมาชิกทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมและ ด้านการมุ่งเน้นที่ลูกค้า (= 0.405 และ 0.147) ตามลำดับ ที่ส่งผลต่อความยั่งยืนขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และด้านการมุ่งเน้นที่ลูกค้า และด้านสมาชิกทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม องค์กร () = 0.292 และ 0.259) ตามลำดับ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ดังนั้นองค์กรที่ต้องการเพิ่มความยั่งยืนและประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรควร วางแผนพัฒนาภาวะผู้นำให้ผู้จัดการและแผนการบริหารคุณภาพโดยรวมให้กับองค์กร
Full Text : Download! |
||
5. | ทักษะที่จำเป็นของล่ามอุตสาหกรรมยานยนต์ขององค์กรญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 21 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภูริดำ เอี่ยมแจ้ง | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับทักษะที่จาเป็นของล่ามในอุตสาหกรรมยานยนต์จาเป็นต้องมีในศตวรรษที่ 21 ผ่านมุมมองของนายจ้างชาวญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบประชากรศาสตร์ของล่ามส่งผลต่อทักษะล่ามในอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ล่ามไทย-ญี่ปุ่น จานวน 42 คน และ ผู้ใช้ล่ามในองค์กรญี่ปุ่น จานวน 60 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิเคราะห์ระดับด้านสมรรถนะที่จาเป็นของล่ามไทย-ญี่ปุ่นจากมุมมองของผู้ใช้ล่าม พบว่า ความเข้าใจในความต่างทางวัฒนธรรม และการทางานแบบการทาหลายสิ่งพร้อมกัน อยู่ในระดับที่มีความจาเป็นมากที่สุด
ด้านทักษะที่จาเป็นของล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์จากมุมมองของผู้ใช้ล่าม พบว่า ล่ามจาเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต จนถึง กระบวนการส่งออกขาย ล่ามจาเป็นต้องมีทักษะในการล่ามของแผนกอื่น นอกเหนือจากแผนกที่ตนสังกัด และล่ามจาเป็นต้องมีความรู้ในทั้งเรื่องงานขาย งานบัญชี อยู่ในระดับที่มีความจาเป็นมาก
ด้านทักษะการทางานในอนาคตที่จาเป็นของล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์จากมุมมองของผู้ใช้ล่าม พบว่า ล่ามจาเป็นต้องมีทักษะทางภาษามากกว่า 2 ภาษานอกเหนือจาก ภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทย ล่ามจาเป็นต้องมีบทบาทหน้าที่ในการทางานที่หลากหลาย และล่ามจาเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทางปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการล่าม อยู่ในระดับที่มีความจาเป็นมาก
ดังนั้นเพื่อเป็นหนทางสู่ความสาเร็จและความก้าวหน้าสาหรับล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ในศตวรรษที่ 21 ล่ามไทย-ญี่ปุ่นควรจะเตรียมพร้อมเพื่อเรียนรู้ทักษะดังกล่าว
Full Text : Download! |
||
6. | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เกมออนไลน์ของ ประเทศญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สาลินี ศิริวงศ์พรหม | ||
การศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในเกมออนไลน์ของประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ ประสบการณ์ที่ลูกค้ารับรู้ ทัศนคติ ราคาและการส่งเสริมการตลาด ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในเกมออนไลน์ของประเทศญี่ปุ่น 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ในเกมออนไลน์ของประเทศญี่ปุ่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เล่นเกมออนไลน์ของประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย จำนวน 400 คน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ
ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 20-29 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 25,001-35,000 บาท ด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ พบว่า ส่วนใหญ่ ใช้ระยะเวลาในการเล่นเกมวันละ 1-2 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. และเล่นเกมออนไลน์ร่วมกับเพื่อน ด้านผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ ( = 0.528) ราคา ( = 0.202) และการส่งเสริมการตลาด ( = 0.370) ส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในเกมออนไลน์ของประเทศญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และทัศนคติ ( = -0.129) ส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในเกมออนไลน์ของประเทศญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ประสบการณ์ที่ลูกค้ารับรู้ ( = -0.007) ไม่ส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในเกมออนไลน์ของประเทศญี่ปุ่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
Full Text : Download! |
||
7. | การบริหารแบบญี่ปุ่น การสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) และการสนับสนุนจากองค์กร ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นธุรกิจค้าปลีกแห่งหนึ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธัญญ์นรี ธีรเรืองสุวรรณ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบญี่ปุ่น การสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) และการสนับสนุนจากองค์กรส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน 2) เพื่อศึกษาการบริหารแบบญี่ปุ่น การสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) และการสนับสนุนจากองค์กรส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นธุรกิจค้าปลีกแห่งหนึ่ง จำนวน 408 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและแบบพหุ
ผลการทดสอบพบว่า การบริหารแบบญี่ปุ่น (=0.604) ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 36.5 ที่ระดับ 0.01 การสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) ด้านการปรึกษา ด้านการประสานงาน และด้านการรายงาน มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเชิงพหุของตัวแปร (=0.369, 0.321 และ 0.169) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 59.7 ที่ระดับ 0.01 การสนับสนุนจากองค์กรด้านการสนับสนุนจากหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา และด้านรางวัลและสภาพแวดล้อมการทำงาน มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเชิงพหุของตัวแปร
(=0.336 และ 0.323) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 35.7 ที่ระดับ 0.01
และพบว่า การบริหารแบบญี่ปุ่น (=0.687) ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรมีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 47.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการสื่อสารแบบญี่ปุ่น
(โฮ เรน โซ) ด้านการประสานงาน และด้านการปรึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเชิงพหุของตัวแปร (=0.474 และ 0.240) ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 44.4 ท
Full Text : Download! |
||
8. | อิทธิพลการบริการแบบญี่ปุ่น (โอโมเตะนาชิ) และความเชื่อมั่นในตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิรัญญา ปทุมซ้าย | ||
การวิจัยเรื่องอิทธิพลการบริการแบบญี่ปุ่น (โอโมเตะนาชิ) และความเชื่อมั่นในตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการขนส่งพัสดุในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของการบริการแบบญี่ปุ่น โอโมเตะนาชิ ความเชื่อมั่นในตราสินค้า ความพึงพอใจในการใช้บริการและการตัดสินใจใช้บริการขนส่งพัสดุ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้บริการขนส่งพัสดุ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและมีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ที่ใช้บริการขนส่งพัสดุ หรือเคยใช้บริการขนส่งพัสดุ มีประสบการณ์การในการใช้บริการขนส่งพัสดุ จำนวน 415 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30-39 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้ต่อเดือน 25,001-30,000 บาท การวิเคราะห์พฤติกรรม ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้บริการขนส่งพัสดุของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ใช้บริการขนส่งพัสดุไปรษณีย์ไทย และรองลงมาคือเคอรี่ เอ็กซ์เพรส ความถี่ในการเข้าใช้บริการขนส่งพัสดุ นิยมใช้บริการ 3-5 ครั้งต่อเดือน นิยมใช้บริการในวันเสาร์ช่วงเวลา 11.01-14.00 น. และส่วนใหญ่นิยมส่งพัสดุประเภทพัสดุธรรมดา ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วย Smart PLS 4.0
การทดสอบสมมติฐานจากสมการโครงสร้าง พบว่า การบริการแบบญี่ปุ่นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
Full Text : Download! |
||
9. | อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์นำเข้าจากญี่ปุ่น กรณีศึกษา ร้านขายยาแบบญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิริยา ตั้งจิตวิริยะกุล | ||
การวิจัยเรื่องอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์นำเข้าจากญี่ปุ่น กรณีศึกษา ร้านขายยาแบบญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ร้านขายยาแบบญี่ปุ่น 2. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์ ความเกี่ยวพันของผลิตภัณฑ์ ความตั้งใจแสวงหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ และความตั้งใจซื้อ 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์ ความเกี่ยวพันของผลิตภัณฑ์ ความตั้งใจแสวงหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์หรือใช้บริการ
ร้านขายยาแบบญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 480 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง รายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ด้านพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ในร้านขายยาแบบญี่ปุ่นของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่เข้าร้านขายยาแบบญี่ปุ่นเฉลี่ย 2 ครั้ง/เดือน ผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศนอกเหนือจากญี่ปุ่นที่เคยซื้อส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศเกาหลี มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนครั้งละ 1,001
-1,500 บาท ร้านขายยาแบบญี่ปุ่นในประเทศไทยที่ผู้ตอบแบบสอบถามเคยใช้บริการส่วนใหญ่คือร้านขายยา Tsuruha ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วย Smart PLS 4.0
การทดสอบสมมติฐานจากสมการเชิงโครงสร้าง พบว่า ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ประเทศที่มาของผลิตภั
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250