fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (EEM) 2013 |
1. | ความสามารถในการแข่งขันส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของประเทศไทย กับประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณาตยา แดงรุ่งโรจน์ | ||
การศึกษาความสามารถในการแข่งขันส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของประเทศไทยกับ
ประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ
อินโดนีเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การผลิต การส่งออก และเสนอแนะ
แนวทางในการเพิ่มศักยภาพส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟให้กับผู้ประกอบการของประเทศไทย โดย
ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์การศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ได้แก่ การ
วิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของประเทศไทยไปยัง
ตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น โดยใช้ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ
(RCA) ของ Balassa และการวิเคราะห์ส่วนแบ่งตลาดแบบคงที่ (CMS) ของ Leamer เปรียบ
เทียบกับประเทศคู่แข่ง 4 ประเทศ โดยใช้ข้อมูลแบบอนุกรมเวลารายปีระหว่างปี 2546-2555
ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) เป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง
และจุดอ่อนของการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของไทย จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบ
กับการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ
ผลการวิเคราะห์ค่าความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) และส่วนแบ่ง
ตลาดคงที่ (CMS) ในการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในช่วงปี 2546-2555 พบว่า ประเทศไทยมีค่า
RCA มากกว่า 1 ในทุกตลาด โดยยังสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดที่สำคัญไว้ได้ทั้ง 3 ตลาด
และจากการศึกษาปัจจัยสถานการณ์การผลิตและการตลาด พบว่าการที่ประเทศไทย
ยังคงเป็นฐานการผลิตและส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ใหญ่ของโลก ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากนโยบาย
การส่งเสริมการลงทุนของรัฐ และคุณภาพทักษะและฝีมือของแรงงานไทยที่มีสูงกว่าประเทศ
คู่แข่ง แต่ทั้งนี้ยังพบจุดอ่อนที่ยังคงต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ได้แก่
Full Text : Download! |
||
2. | กลยุทธ์การสร้างองค์ความรู้ทางเทคโนโลยี ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พิชิต งามจรัสศรีวิชัย | ||
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและกำหนดกลยุทธ์องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์กลุ่มไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ในประเทศไทย ประเภทระบบปรับอากาศรถยนต์เปรียบเทียบกับการสร้างองค์ความรู้ตามตัวแบบ SECI Model และวินัย 5 ประการเพื่อองค์การแห่งการเรียนรู้ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากฝ่ายบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายวิศวกรรมและการผลิต และฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ผลิตลำดับที่ 1 และเป็นบริษัททีต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นหลักจำนวน 3 บริษัทใช้แบบสัมภาษณ์ 3 ชุดที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลปรากฏการณ์ของกิจกรรมที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีที่โดดเด่นโดยแบบสัมภาษณ์ชุดที่ 1 2 และ 3 มีค่า IOC เท่ากับ 0.87 0.92 และ 0.91 ตามลำดับแปลผลด้วยการวิเคราะห์ลักษณะของกิจกรรมกระบวนการ เครื่องมือ และวิธีการทีใช้ในการสร้างความรู้ทางเทคโนโลยีตามตัวแบบ SECI Model และวินัย 5 ประการในลักษณะพรรณาความผลการวิจัยพบว่าฝ่ายบริหารใช้วัฒนธรรมองค์การและภาวะผู้นำในการขับเคลื่อนปรัชญาขององค์การมีการพัฒนาระบบงานและฝึกอบรมบุคลากรขององค์การอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและยกระดับองค์การให้เป็นบริษัทระดับโลกฝ่ายวิจัยและพัฒนาและฝ่ายวิศวกรรมและการผลิตสร้างองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนทางสังคมกระบวนการแปลงองค์ความรู้กระบวนการรวบรวมองค์ความรู้และกระบวนการส่งกลับความรู้ตามตัวแบบ SECI Model ร่วมกับการพัฒนาวินัย 5 ประการและบริหารจัดการภายใต้ความคิดที่เป็นระบบเพื่อสร้างเกลียวความรู้อย่างต่อเนื่องให้เกิดเป็นสินทรัพย์ทางปัญญาขององค์การฝ่ายพัฒนาทรัพยากร
Full Text : Download! |
||
3. | การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการบริหารโครงการเพื่อการจัดการอย่างมีประสิทธิผล กรณีศึกษาโครงการลดการใช้กระดาษบันทึกข้อมูลในสายการผลิต [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศรายุทธ บุญถือ | ||
ความสำเร็จของโครงการปรับปรุงใดๆ มีผลต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของบริษัท
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารโครงการลดการใช้กระดาษบันทึก
ข้อมูลในสายการผลิต 3 สายการผลิต ในระยะ LPC (Lot Process Card) LAN (Local Area
Network) และระยะ AMDT (Automatic Machine Data Transfer) ของบริษัท เอปสัน พรีซิชั่น
(ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นกรณีศึกษา ดำเนินการประเมินการบริหารโครงการโดยใช้ตัวชี้สำคัญ
ด้านเวลาดำเนินการ งบประมาณ และสัดส่วนความสำเร็จเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของ
โครงการร่วมกับแบบตรวจสอบการปฏิบัติตามองค์ความรู้ด้านการบริหารโครงการ (PMBOK
Guide : Project Management Body of Knowledge Guide) ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของ Project
Management Institute และประเมินความพึงพอใจและการยอมรับใช้งานระบบจากผู้มีส่วนได้
เสียและใช้งานโครงการ จำนวน 21 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ
1.0
ผลการศึกษาพบว่า การบริหารโครงการในระยะ LPC และระยะ LAN ได้ประสิทธิผล
ตามเป้าหมายแต่ขาดประสิทธิภาพในการจัดการเวลาและงบประมาณ เมื่อเปรียบเทียบกับการ
บริหารโครงการโดยประเมินตามเกณฑ์องค์ความรู้ของ PMBOK Guide พบว่าขาดกิจ
กรรมการบริหารที่สำคัญในประเด็นการบูรณาการ (Integration) ความเสี่ยง (Risk) การสื่อสาร
(Communication) และผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ส่งผลให้แผนโครงการขาดความ
ครอบคลุม เกิดเวลาสูญเปล่าในช่วงรอยต่อระหว่างระยะโครงการ โดยโครงการ Paperless
SAW (Surface Acoustic Wave) เกิดเวลาสูญเปล่ามากที่สุดถึงร้อยละ 59.09 ทุกโครงการมีการ
ใช้เวลาดำเนินงานคลาดเคลื่อนไปจากแผนงาน ส่งผลให้มีการใช้งบประมาณอย่างขาด
ประสิทธิภาพด้วย แนวทางการบริหารโครงการโดยใช้องค์ความรู้ตามวิธีการของ
Full Text : Download! |
||
4. | Factors Affecting Satisfaction of Patients of Physiotherapy Clinics in Bangkok [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Suphakit Thawalyawighachit | ||
This study aims to find out the influence of patients’ demographic
characteristics on their satisfaction regarding service marketing mix factors. The
objectives of the study are to learn which patient groups influence the level of
satisfaction, and how they have the influential power on the marketing factors, so that
the influence level can be prioritized accordingly. This is a quantitative study.
Population of the study is the patients of physiotherapy clinics located in Bangkok only.
Questionnaire was used as the tool to collect the data. The confidence level of 95
percent was set to achieve. Samples are drawn by non-probability, convenient sampling
method. The samples of 412 patients responded to the questionnaires. Statistical
analyses were conducted to find the influence of demographic characteristics and
satisfaction regarding the service marketing mix factors. The results show that the top
three overall patients satisfaction are influenced by price, people and service of the
clinics. There was no statistical significance of the patient’s gender and occupation
found to influence on their satisfaction regarding any factors. The frequency of visits
influenced on satisfaction of the patients regarding most marketing factors. It was also
found that promotion by the clinics least influences the patients’ satisfaction.
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250