fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIT) 2016 |
1. | การพัฒนาต้นแบบ Web Application เพื่อแนะนำการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต โดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม และต้นไม้ตัดสินใจ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พัทธนันท์ เดชธนบดี | ||
การพัฒนาต้นแบบ Web Application เพื่อแนะนำการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต โดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม และต้นไม้ตัดสินใจ มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์และประเมินแบบจำลองการแนะนำการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการแนะนำการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต 3) เพื่อพัฒนาต้นแบบ Web Application ในการแนะนำการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ซึ่งผลของการวิจัยมีดังนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากผลการสังเคราะห์และประเมินแบบจำลองการพัฒนาต้นแบบ Web Application เพื่อแนะนำการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต โดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม และต้นไม้ตัดสินใจ ได้กรอบแนวคิด 3 โมดูล คือ 1) โมดูล Data Preparation คือโมดูลการเตรียมข้อมูลเพื่อนำสู่กระบวนการวิเคราะห์ 2) โมดูล Modeling คือโมดูลการวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการโดยใช้อัลกอริทึ่ม Decision Tree และ Neural Network และวิเคราะห์เปรียบเทียบเปอร์เซ็นความแม่นยำในการทำนาย 3) โมดูล Evaluation คือโมดูลส่วนของการทดสอบ ประเมินผล ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับสูง เฉลี่ยอยู่ที่ 4.24/5 (S.D. = 0.04), และผลการวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาต้นแบบ Web Application เพื่อแนะนำการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต โดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม และต้นไม้ตัดสินใจ มีค่าความถูกต้องและแม่นยำอยู่ที่ 91.73%, ส่วนของผลประเมินความพึงพอใจต้นแบบ Web Application การแนะนำการเลือกซื้อแบบประกันชีวิต จากผู้ใช้งานที่เป็นตัวแทนประกันชีวิต ให้ความพึงพอใจในด้านภาพรวมของการใช้งานในระดับสูงมาก เฉลี่ยที่ 4.80/5 (S.D. = 0.45) และความพึงพอใจในด้านความสะดวกการใช้งานเป็นอันดับที่สอง เฉลี่ยที่ 4.60/5 (S.D. = 0.55)
Full Text : Download! |
||
2. | การออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบบริหารการบำรุงรักษาเครื่องจักร ตามแนวคิดของ SOA และคลาวด์คอมพิวติง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชัยรัตน์ ศรีพงษ์ธนากุล | ||
ซอฟต์แวร์ประเภทระบบบริหารการบำ รุงรักษาเครื่องจักร (CMMS) ที่ใช้งานอยู่บน
สถาปัตยกรรมแบบ Client/Server ต้องอาศัยประสิทธิภาพของเครื่องผู้ให้บริการ เป็นหลัก เครื่องผู้
ให้บริการจำเป็นต้องมีประสิทธิภาพที่ดีและมีทรัพยากรเพียงพอต่อการให้บริการ แต่ในปัจจุบันมี
เทคโนโลยีระบบคลาวด์คอมพิวติง (Cloud Computing) ซึ่งมีความยืดหยุ่นได้ดีกว่า สามารถปรับตัวให้มี
ทรัพยากรที่เพียงพอต่อผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม การปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ให้สามารถใช้งานได้บนระบบ
คลาวด์โดยการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเปลี่ยนสถาปัตยกรรมทั้งหมดในคราวเดียวมีความเป็นไปได้และใช้
เวลานานมากเกินไป งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อให้ซอฟต์แวร์ CMMS ที่
อยู่บนสถาปัตยกรรมแบบ Client/Server ยังคงใช้งานได้ดังเดิม และมีทางเลือกให้สามารถใช้งานได้บน
สถาปัตยกรรมคลาวด์ คอมพิวติงร่วมด้วยได้อย่างต่อเนื่อง การออกแบบสถาปัตยกรรมนี้เป็นแนวทางที่
ช่วยในการปรับให้ซอฟต์แวร์ CMMS เข้ากับเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง โดยอาศัยสถาปัตยกรรมระบบ
เชิงบริการ (Service-Oriented Architecture, SOA) เพื่อให้ซอฟต์แวร์ CMMS ที่ทำ งานทั้งสอง
สถาปัตยกรรมสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันผ่าน API ได้
Full Text : Download! |
||
3. | การปรับปรุงวิธีการเลือกเส้นทางจราจรที่ใช้เวลาน้อยที่สุดโดยใช้ข้อมูลการจราจรในอดีต [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จรัสศรี เหลือจันทร์ | ||
สภาพการจราจรในปัจจุบันในการสัญจรของผู้คนที่ใช้รถยนต์ในการเดินทาง ทั้งรถยนต์ส่วน
บุคคลและรถสาธารณะที่มีเป็นจำนวนมาก ทำให้ท้องถนนเต็มไปด้วยยานพาหนะต่างๆ ซึ่งส่งผลให้
เกิดการติดขัดโดยเฉพาะในเวลาที่เร่งด่วนที่ทุกคนต่างออกมาพร้อมกัน และก็ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจทำให้
การจราจรมีสถานะติดขัดมากกว่าเดิม เช่น สัญญาณไฟจราจรที่การเปลี่ยนแต่ละสัญญาณที่อาจไม่
สัมพันธ์กัน, การซ่อมแซมผิวจราจร, เส้นทางที่ถนนมีความคับแคบ หรือการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น ยิ่ง
ทำให้ไม่สามารถใช้เส้นทางที่เคยใช้ได้ จึงทำให้ต้องเสียเวลาในการเดินทางยาวนานมากขึ้น งานวิจัยนี้
ทำการศึกษาและสร้างการค้นหาเส้นทางที่ใช้เวลาน้อยที่สุดเพื่อช่วยในการตัดสินใจการเลือกเส้นทาง
สำหรับการเดินทาง โดยนำข้อมูลเส้นทางและพิกัดของแต่ละสถานที่มาจาก Google Map และข้อมูล
การเดินทางในอดีตที่ผู้ใช้เส้นทางนั้นๆ นำมาประมวลผลเพื่อทำการคาดคะเนเวลาที่จะใช้ในการ
เดินทางครั้งนั้นให้ความแม่นยำมากขึ้น และนำมาพัฒนาโปรแกรมประยุกต์การหาเส้นทางที่ใช้เวลาใน
การเดินทางที่น้อยที่สุด บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
Full Text : Download! |
||
4. | การพยากรณ์ความสามารถทางวิชาชีพตามทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้ และบุคลิกภาพ โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มนัสนันท์ แย้มกลีบบัว | ||
การพยากรณ์ความสามารถทางวิชาชีพตามทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้และบุคลิกภาพโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการพยากรณ์ความสามารถทางวิชาชีพตามทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้และบุคลิกภาพโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพยากรณ์ความสามารถทางวิชาชีพตามทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้และบุคลิกภาพโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม 3) เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบการพยากรณ์ความสามารถทางวิชาชีพตามทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้และบุคลิกภาพโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของต้นแบบระบบการพยากรณ์ความสามารถทางวิชาชีพตามทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้และบุคลิกภาพโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม โดยมีขั้นตอนในการดาเนินงาน 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา 2) การศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย 3) การสังเคราะห์โมเดลการพยากรณ์ความสามารถทางวิชาชีพตามทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้และบุคลิกภาพ และข้อมูลนักศึกษาที่วิเคราะห์ด้วยโครงข่ายประสาทเทียม 4) การวิเคราะห์รูปแบบความสามารถทางวิชาชีพ 5) พัฒนาต้นแบบระบบพยากรณ์ความสามารถทางวิชาชีพ 6) ทาการทดสอบและสรุปผลงานวิจัย ซึ่งผลสรุปของการวิจัยมีดังนี้
ผลลัพธ์ที่ได้จากผลการสังเคราะห์การออกแบบกรอบแนวคิดในการพยากรณ์ความสามารถทางวิชาชีพตามทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้และบุคลิกภาพมีทั้งหมด 3 โมดูล มีผลประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ย 4.10 (S.D. = 0.53), การวิเคราะห์การออกแบบกรอบแนวคิดในการพยากรณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 750 คน มีค่าความถูกต้อง 93.33%, ผลการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของต้นแบบระบบการพยากรณ์ จากกลุ่มทดลองในด้านความพึงพอใจที่มีต่อระบบ มีค่าเฉลี่ย 4.80 (S.D. = 0.45) และด้านความเหมาะสมของภาพรวมระบบ มีค่าเฉลี่ย 4.40 (S.D. = 0
Full Text : Download! |
||
5. | การพัฒนาตัวแบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อการประเมินระดับความสามารถการบริการบำบัดระบบหายใจ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สุภัตรา พงศ์ศักดิ์ | ||
การประเมินองค์กร เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการพัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรฐานของการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางด้านชีวิต ซึ่งการบริการบำบัดระบบหายใจนั้นมีความสำคัญ เพราะมีความเสี่ยงอย่างมากต่อชีวิตของผู้ป่วย โดยพบว่าเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนและการตายของผู้ป่วยที่สูงกว่าการบำบัดอื่นๆ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัยเพื่อนำเสนอ RCMM (Respiratory Care Maturity Model) จากตัวแบบของ HUMM (Health Usability Maturity Model) พัฒนาแนวทางการประเมินสถานพยาบาลของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) (HAS 2011) และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการนำเสนอการประเมินวุฒิภาวะของสถานพยาบาล ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะนำไปใช้ประโยชน์แก่หน่วยงานภายในโรงพยาบาลในการหากลยุทธ์ เพื่อพัฒนาจุดด้อยในการให้บริการบำบัดระบบหายใจ โดยประโยชน์หลักที่ได้จากตัวแบบคือมุมมองที่อธิบายรายละเอียดของ 5 องค์ประกอบ 4 กลยุทธ์ และ 9 หลักการของ “usability” ซึ่งการแสดงผลที่ชัดเจนนี้จะช่วยให้สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้นต่อไป
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250