fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (EEM) 2017 |
1. | ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจในการใช้งานนาฬิกาอัจฉริยะ โดยใช้แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วีระพล มีมงคล | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่
แตกต่างกันที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อนาฬิกาอัจฉริยะ 2) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีที่
ส่งผลต่อทัศนคติต่อนาฬิกาอัจฉริยะ 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อทัศนคติ
นาฬิกาอัจฉริยะ 4) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อนาฬิกาอัจฉริยะที่ส่งผลต่อการตั้งใจในการใช้
นาฬิกาอัจฉริยะของผู้บริโภค
การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 508 ตัวอย่าง และคัดเลือกเฉพาะผู้ที่
รู้จักนาฬิกาอัจฉริยะจำนวน 415 ตัวอย่าง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent T-test และ
1-way ANOVA และใช้สถิติเชิงอนุมาน Multiple Regression การวิจัยมีข้อค้นพบสำคัญ ได้แก่
1) เพศ อายุ ระดับรายได้ ต่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับนาฬิกาอัจฉริยะไปในทิศทางเดียวกันและ
ส่วนใหญ่อยู่ในระดับกลาง ยกเว้นระดับการศึกษาที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับนาฬิกาอัจฉริยะที่
แตกต่างกัน โดยผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีทัศนคติต่อนาฬิกาอัจฉริยะที่สูง หากได้รับข้อมูล
และความรู้เพิ่มเติมจะทำให้การรับรู้คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นก็จะทำให้ทัศนคติและ
การตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น 2) การรับรู้เรื่องคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และความง่ายในการใช้งาน
ของผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อนาฬิกาอัจฉริยะ ซึ่งสามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดการ
ยอมรับเทคโนโลยีใหม่มากขึ้นเช่นกัน 3) ส่วนประสมการตลาดทางด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทาง
จำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อต่อทัศนคติต่อนาฬิกาอัจฉริยะ รูปร่าง
หน้าตาและการทำงานที่ตอบสนองต่อความต้องการ ช่องทางการจัดจำหน่ายที่เข้าถึงง่ายและมี
ความน่าเชื่อถือ หากเจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ถึงส่วนประสมทาง
การตลาดทั้ง 3 นี้จะช
Full Text : Download! |
||
2. | การเปรียบเทียบผลของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อผู้บริโภคระหว่างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กังวาน กันทรวิชยากุล | ||
งานวิจัยนี้ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับของผลจากกิจกรรมเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภค รวมทั้งเพื่อเปรียบเทียบผลของกิจกรรมเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกับกิจกรรมเพื่อสังคมที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายให้องค์กรหรือธุรกิจสามารถเลือกดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมที่มีผลต่อผู้บริโภคมากที่สุด อีกทั้งเพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้กิจกรรม CSR เพื่อสร้างการตระหนักด้านคุณค่าของตราสินค้าของผู้บริโภค สามารถเปรียบเทียบและเลือกดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของสินค้าหรือธุรกิจของตนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทั้งสิ้น 416 คน โดยเทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เก็บตัวอย่างจากบุคคลที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของกิจรรมด้าน CSR ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Related) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 อยู่ในระดับมาก ในขณะที่ภาพรวมของกิจกรรมด้าน CSR ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Unrelated) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณากิจกรรมเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภค (Related) พบว่าด้านการรับรู้การทำให้ตรายี่ห้อเป็นที่รู้จัก (Brand Awareness) มีระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการรับรู้การสร้างปัจจัยเชื่อมโยงกับตรายี่ห้อ (Brand Association) และด้านความซื่อสัตย์ต่อตรายี่ห้อ (Brand Loyalty) ตามลำดับ ในขณะที่ด้านการรับรู้คุณภาพของตราสินค้า (Perceived Quality) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ส่วนด้านกิจกรรมเพื่อสังคมที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภค (Unrelated) พบว่า ด้านการรับรู้การทำให้ตรายี่ห้อเป็นที่รู้จัก (Brand Awareness) มีระดับค่
Full Text : Download! |
||
3. | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รุจิกร จิรศักดิ์หิรัญ | ||
การศึกษาสารนิพนธ์เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับของอิทธิพลในแต่ละปัจจัยที่จะก่อให้เกิดเจตนาในการเปลี่ยนสมาร์ทโฟน 2. เพื่อนำเสนอแนวทางการตลาดสำหรับธุรกิจสมาร์ทโฟน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนที่ใช้สมาร์ทโฟนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาระดับของอิทธิพลในแต่ละปัจจัยที่จะก่อให้เกิดเจตนาในการเปลี่ยนสมาร์ทโฟน พบว่า ระดับอิทธิพลของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อ ด้านเพศ ด้านอายุ และด้านระบบปฏิบัติการของผู้ใช้งาน มีความแตกต่างกัน
2. ผลจากการศึกษาเพื่อนำเสนอแนวทางการตลาดสำหรับธุรกิจสมาร์ทโฟน พบว่า ปัจจัย และกลยุทธ์กลยุทธ์ที่ใช้เป็นแนวทางการตลาดมีความแตกต่างกันออกไปในด้านเพศ ด้านอายุ และด้านระบบปฏิบัติการของผู้ใช้งาน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250