fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MET) 2017 |
1. | The Performance Comparison of Chaotic time Series Using Nonlinear Autoregressive Network with Exogenous input Technique [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Peerapol Phutthawetmongkhong | ||
This thesis proposes the performance comparison of chaotic time series using nonlinear autoregressive network with exogenous input technique (NARX). The NARX model is trained by Levenberg-Maquardt Algorithm. The used transfer functions in this thesis are Hyperbolic Tangent Sigmoid, Log-Sigmoid and Radial Basis. The chaotic time series data are generated by chaotic equations. The configuration delays are 2 and 4 to compare the results and find the optimal configuration value for create NARX model using the simulate data. Data were then analyzed as a data set using NARX model.
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษากระบวนการทำงานของเครื่องยนต์สันดาปภายในโดยใช้สัญญาณการสั่นสะเทือนด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความถี่ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรพงศ์ สุขาทิพย์ | ||
เทคนิคการวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือนบนโดเมนความถี่ได้มีการประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบเครื่องจักรกลและชิ้นส่วนหมุนหลายประเภทเช่น แบริ่งและเฟือง สัญญาณการสั่นสะเทือนสามารถใช้ตรวจวัดปรากฏการณ์ทางกลและของไหลซึ่งเกิดขึ้นในวัฏจักรการทางานของเครื่องยนต์ การศึกษานี้จะจำลองการตรวจสอบสภาวะเครื่องยนต์ด้วยสัญญาณการสั่นสะเทือนที่บันทึกจากหัววัดที่ติดตั้งบริเวณฝาสูบและรางหัวฉีด ของเครื่องยนต์เบนซินซูซูกิ 4 จังหวะ 4 กระบอกสูบ 16 วาล์ว ขนาดความจุ 1600 CC การศึกษาการทำงานของเครื่องที่สภาวะเครื่องยนต์ปกติ ระยะห่างของวาล์วไอดีและไอเสียผิดปกติ และหัวฉีดทำงานผิดปกติ เช่น หัวฉีดไม่ทำงาน ความต้านทานที่คอยล์หัวฉีดเพิ่มขึ้น 10 และ 20 โอห์ม โดยใช้สภาวะเครื่องยนต์ทำงานแบบไม่มีภาระที่ 2500 รอบต่อนาที เป็นสภาวะที่สามารถใช้ตรวจสอบการจำลองการทำงานของเครื่องยนต์ได้ครบทุกกรณี
จากผลการศึกษาพบว่า การใช้การวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือนบนโดเมนความถี่ด้วยเทคนิคการแปลงฟูเรียร์แบบเร็วสามารถทำนายสภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวฉีด วาล์วไอดีและวาล์วไอเสียได้ ความถี่หลักที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทางกลของหัวฉีดและวาล์วไอดีและไอเสียจะเกิดขึ้นที่ความถี่ต่ากว่า 3000 Hz ในขณะที่กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการไหลจะเกิดขึ้นที่ความถี่สูงช่วง 3000 – 6000 Hz การใช้การเปรียบเทียบค่ากำลังของสัญญาณหัวฉีดและวาล์วไอดีและไอเสียช่วงความถี่ทั้งสองจะใช้แยกเงื่อนไขการจำลองได้ และการใช้กราฟคอนทัวร์ของผลการแปลงฟูเรียร์แบบเร็วของสัญญาณหัวฉีดและวาล์วไอดีและไอเสียสามารถใช้แสดงขนาดผลการแปลงฟูเรียร์ของความถี่ทั้งสองช่วงที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเงื่อนไขการจำลองความผิดปกติของเครื่องยนต์ การศึกษาต่อไปนี้จำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาการวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะ
Full Text : Download! |
||
3. | พฤติกรรมของแผ่นสีเหลี่ยมจัตุรัสมีรอยนูนวงกลมรับภาระกระจายคงที่ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นภาพร เทียนสุวรรณ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของแผ่นบางมีรอยนูนและรอยบุ๋มรับแรง
กระจายตั้งฉากกับระนาบของแผ่น โดยยึดขอบล่างของแผ่นทั้งสี่ด้าน ในการวิเคราะห์ได้ทำการ
ปรับเปลี่ยนตัวแปร 2 ตัว คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และขนาดความลึกของรอยนูนและรอยบุ๋ม
โดยแสดงในรูปของอัตราส่วนระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางกับความยาวของแผ่น และอัตราส่วนระหว่าง
ความลึกกับความหนาของแผ่น แล้วทำการเปรียบเทียบระยะโก่งของแผ่นที่ภาระต่าง ๆ
จากผลการคำนวณในกรณีของแผ่นมีรอยนูน พบว่า แผ่นที่มีรอยนูนลึกกว่าจะมีความ
แข็งแรงมากกว่าแผ่นที่มีรอยนูนน้อยกว่า และทุกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรอยนูนจะมีแนวโน้มของ
ระยะโก่งเหมือนกัน คือ รอยนูนที่ลึกกว่าจะมีระยะโก่งน้อยกว่า ทั้งนี้ถ้าแผ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของ
รอยนูนมากแต่มีความลึกของรอยนูนน้อยจะมีระยะโก่งมาก ในขณะที่ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลางของรอย
นูนมีค่าน้อย ความลึกของรอยนูนจะไม่ค่อยมีผลต่อระยะโก่ง
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรอยนูนต่าง ๆ ในแต่ละค่าของระยะ
ความลึกรอยนูนจะมีจุดตัดที่เกิดขึ้นที่แรงกระจายค่าหนึ่ง ที่ทุกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีค่าการเสียรูป
ที่เท่ากัน จุดตัดนี้เป็นขีดจำกัดความสามารถของรอยนูนที่ช่วยเสริมแรงให้กับเหล็กแผ่น ถ้าเลยจุดตัดนี้
ไปแล้ว แผ่นเรียบจะมีการเสียรูปที่น้อยกว่า ดังการเลือกขนาดความลึกรอยนูนและเส้นผ่านศูนย์กลาง
รอยนูนต้องคำนึงถึงความสามารถการผลิตและขอบเขตของแรงที่ใช้ให้เหมาะสมจึงจะเกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด
Full Text : Download! |
||
4. | การวิเคราะห์ตัวประกอบความเข้มของความเค้นที่ผิวของแผ่นเพียโซอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดบนคานโดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ประเสริฐ อังกาบ | ||
งานวิจัยนี้มุ่งที่จะตรวจสอบผลกระทบของพารามิเตอร์บางตัวต่อตัวประกอบความเข้มของ
ความเค้นของรอยร้าวครึ่งวงรีที่ผิวภายใต้เงื่อนไขโหมดแบบเปิด แบบจำลองในงานวิจัยนี้มีที่มาจาก
การพบความเสียหายในลักษณะของรอยร้าวที่เกิดขึ้นบนแผ่นเพียโซอิเล็กทริกที่ติดอยู่บนแขนแอคชูเอ
เตอร์ของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ จึงจำลองปัญหาเป็นคานยื่นมีแผ่นเพียโซอิเล็กทริกติดอยู่และรับโมเมนต์ดัด
ที่ปลายอิสระของคาน จากนั้นทำการคำนวณตัวประกอบความเข้มของความเค้นที่ปลายรอยร้าวด้วย
ซอฟต์แวร์ไฟไนต์เอลิเมนต์แอนซีส พารามิเตอร์ที่วิเคราะห์ประกอบด้วยอัตราส่วนระหว่างความลึกต่อ
ครึ่งหนึ่งของความยาวรอยร้าว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อัตราส่วนขนาดของรอยร้าว ตำแหน่งของรอยร้าว
ตามแนวเส้นขวางกึ่งกลางคาน และตำแหน่งของแผ่นเพียโซอิเล็กทริกบนคาน
จากผลเชิงตัวเลข อัตราส่วนขนาดของรอยร้าว และตำแหน่งของรอยร้าวมีผลกระทบต่อตัว
ประกอบความเข้มของความเค้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่ออัตราส่วนขนาดของรอยร้าวเพิ่มขึ้น (เพิ่มความ
ลึกของรอยร้าวไปจนมีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของความยาวรอยร้าว) ค่า KI สูงสุดจะมีค่าเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับตำแหน่งของรอยร้าว ถ้ารอยร้าวยิ่งใกล้ขอบของแผ่นเพียโซอิเล็กทริก ค่า KI ยิ่งมีค่าสูงกว่า
ในทางกลับกัน ตำแหน่งของแผ่นเพียโซไม่มีผลต่อค่า KI
ผลจากงานวิจัยนี้จะนำไปใช้ศึกษาในโหมดอื่น ๆ และจะเป็นพื้นฐานและแนวทางสำหรับหา
สาเหตุของรอยร้าวที่เกิดขึ้นในแผ่นเพียโซอิเล็กทริกในกระบวนการผลิตและประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
ต่อไป
บั
Full Text : Download! |
||
5. | การวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือนของกระบวนการทำงานเครื่องยนต์เบนซินด้วยพารามิเตอร์ทางสถิติ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิศิษฐ สองเมือง | ||
การศึกษานี้จะศึกษาการตรวจสอบสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ 4 จังหวะ ขนาดความจุ 1600 CC ด้วยสัญญาณการสั่นสะเทือน เครื่องยนต์ถูกจาลองสภาวะการทางานของเครื่องยนต์แบบไม่มีภาระ ที่สภาวะปกติ สภาวะความผิดปกติของระยะห่างของวาล์วไอดีและไอเสีย และสภาวะการทำงานที่ผิดปกติของหัวฉีดเช่น หัวฉีดไม่ทำงาน ค่าความต้านทานของคอยล์หัวฉีดเพิ่มขึ้น 10 และ 20 โอห์ม โดยหัววัดการสั่นสะเทือน 2 ตัวจะติดตั้งที่ตาแหน่งฝาสูบและรางหัวฉีดตามลาดับ สัญญาณการสั่นสะเทือน สัญญาณตำแหน่งจุดศูนย์ตายบนของกระบอกสูบที่ 1 และสัญญาณความเร็วรอบจะถูกบันทึกพร้อมกันขณะเครื่องยนต์ทำงานที่รอบประมาณ 850–2500 รอบต่อนาที
ผลการทดลองพบว่าสัญญาณการสั่นสะเทือนสามารถนำมาตรวจสอบกระบวนการ การทำงานต่าง ๆ ในเครื่องยนต์ได้ การแปลงสัญญาณบนโดเมนเวลาเป็นสัญญาณบนโดเมนมุมเพลาข้อเหวี่ยงจะทำให้สามารถอธิบายกระบวนการต่าง ๆ ตามวัฏจักรการทางานของเครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น สัญญาณการสั่นสะเทือนยังสามารถใช้อธิบายรายละเอียดการทำงานของหัวฉีดที่ปกติและผิดปกติซึ่งทำให้ทราบตำแหน่งการเปิดและปิดของวาล์ว และช่วงเวลาการทำงานของแต่ละหัวฉีด การวิเคราะห์สัญญาณด้วยค่าพารามิเตอร์ทางสถิติสามารถใช้วิเคราะห์ค่าต่าง ๆ เช่น ค่าเฉลี่ยสัมบูรณ์ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง ค่าพารามิเตอร์แต่ละค่าไม่สามารถแยกสภาวะของหัวฉีดได้ครบทุกเงื่อนไข การเปรียบเทียบพารามิเตอร์ทางสถิติ 2 ค่าเช่น ค่าเฉลี่ยสัมบูรณ์เทียบกับค่าความโด่ง ทำให้สามารถแยกสภาวะการทำงานของหัวฉีดได้ชัดเจนกว่าการใช้พารามิเตอร์ทางสถิติเพียงค่าเดียว การใช้กราฟคอนทัวร์ซึ่งเป็นกราฟ 3 มิติแสดงผลเงื่อนไขการจำลองต่าง ๆ ทำให้สามารถเห็นความผิดปกติของกระบวนการที่จำลองได้ชัดเจนและง่ายขึ้น
Full Text : Download! |
||
6. | การศึกษากระบวนการทำงานของเครื่องยนต์เบนซินด้วยสัญญาณอคูสติกอิมิชชัน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศิริพงษ์ แสงสารพันธ์ | ||
การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์เบนซินมีการใช้หัววัดการสั่นสะเทือนเพื่อตรวจสอบสภาพ
สัญญาณการสั่นสะเทือนที่ตรวจวัดได้มักจะถูกรบกวนด้วยคลื่นความถี่ต่ำ (<1000 Hz) ในช่วงการ
ทำงานของชิ้นส่วนและกลไกต่าง ๆ ของเครื่องจักรกล การประยุกต์ใช้สัญญาณอคูสติกอิมิชชัน
สามารถช่วยทำให้เห็นกระบวนการทำงานของเครื่องยนต์เบนซินได้ชัดเจนขึ้น การศึกษานี้จะใช้
หัววัดอคูสติกอิมิชชันเพื่อตรวจสอบการทำงานของกลไกที่สำคัญของเครื่องยนต์แก็สโซลีน Suzuki 4
จังหวะ 4 สูบ 16 วาล์ว 1600 CC เช่น การทำงานของวาล์วไอดีและไอเสีย ที่เงื่อนไขการทำงานต่าง
ๆ เช่น เครื่องยนต์ทำงานปกติ ระยะห่างของวาล์วไอดีและไอเสียผิดปกติ และการทำงานของหัวฉีด
ผิดปกติ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแบบไม่มีภาระ และมีภาระ 10 Nm และ 20 Nm ผลการศึกษาพบว่า
การใช้สัญญาณอคูสติกอิมิชชันสามารถใช้ตรวจสอบกระบวนการทำงานที่สำคัญของเครื่องยนต์และยัง
สามารถใช้ทำนายเงื่อนไขการทำงานของเครื่องยนต์ที่ทำงานปกติ และทำงานผิดปกติที่เงื่อนไขการ
จำลองต่าง ๆ ได้ดีกว่าสัญญาณการสั่นสะเทือน
Full Text : Download! |
||
7. | การกำหนดมาตรฐานสำหรับการตัดสินใจสีลิปสติกด้วย Attribute Gauge R&R [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศิริวรรณ องปราบปาม | ||
งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงคุณลักษณะ (Attribute) แบบ Gauge R&R เป็นเครื่องมือการควบคุมกระบวนการตัดสินใจแบบข้อมูลนับ เพื่อกำหนดเกณฑ์การยอมรับ ที่มีมาตรฐานใช้เป็นขั้นตอนการตัดสินใจอนุมัติสีของผลิตภัณฑ์ลิปสติก ได้กำหนดแผนการทดลอง โดยเลือกกลุ่มทดสอบ ได้แก่ กลุ่มพนักงานโรงงานกรณีศึกษาและกลุ่มลูกค้า โดยตั้งข้อสมมติฐาน การศึกษาว่า ความสามารถในการให้ผลซ้า (Repeatability) และให้ผลซ้ำอย่างถูกต้อง (Reproducibility) ไม่แตกต่างกันของทุกกลุ่มที่ทำการทดสอบ การทดสอบนี้ได้ประยุกต์ วิธีการทดสอบการแยกเฉดสี ตามทฤษฏีของ Fransworth-Munsell 100 hue เพื่อวัดความสามารถ การตัดสินใจ เป็นร้อยละของการให้ผลซ้ำ (%Repeatability) และร้อยละของการให้ผลซ้ำและถูกต้อง (%Reproducibility) ผลของการทดสอบได้นำค่าความแปรปรวนของแต่ละกลุ่มมาวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม โดยเทคนิค ANOVA ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบเป็นกลุ่ม เมื่อได้ผลค่าความแปรปรวนไม่แตกต่างระหว่างกลุ่ม จึงได้นำผลจาก การวิเคราะห์โดยตั้งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานเบื้องต้น เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานเบื้องต้นในการสรรหาพนักงาน สรุปได้ว่าร้อยละของการให้ผลซ้ำ สามารถตั้งเป็นมาตรฐานเบื้องต้นที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 79.29 และร้อยละของการให้ผลซ้ำและถูกต้อง สามารถตั้งเป็นมาตรฐานเบื้องต้นที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 79.22
Full Text : Download! |
||
8. | การศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิและการหล่อเย็นของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่ส่งผลต่่อความมันเงาของชิ้นงานฉีดพลาสติก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กฤช ฉายสุริยะกุล | ||
กระบวนการฉีดพลาสติกเป็นหนึ่งในกรรมวิธีการผลิตที่ถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยที่ให้
ประสิทธิผลในการผลิตสูง ความสามารถในการผลิตที่สูงอีกทั้งยังสามารถขึ้นรูปที่ซับซ้อนได้อย่าง
ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว หลักการพื้นฐานคือ การฉีดเข้าตามแบบแม่พิมพ์ การอัดย้ำ การหล่อเย็น
และการปลดชิ้นงาน ในปัจจุบันนี้ชิ้นงานพลาสติกถูกนำมาใช้ในงานที่ต้องการแสดงพื้นผิวภายนอก
มากขึ้นและเน้นเรื่องสีสันและความสวยงาม ทำให้ชิ้นงานฉีดพลาสติกนี้จึงไม่จำเป็นต้องเข้าสู่
กระบวนการพ่นสีหรือเคลือบสี โดยทั่วไปแล้วชิ้นงานลักษณะนี้จะต้องไม่มีข้อบกพร่องเรื่องรอยเชื่อม
พลาสติกในกระบวนการฉีด เนื่องจากจะทำให้พื้นผิวภายนอกไม่สวยงาม และไม่มีความมันเงา ดังนั้น
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลที่ส่งผลต่อความมันเงาของชิ้นงานฉีดงานพลาสติกโดยมี
สามตัวแปร คือ อุณหภูมิปลายหัวฉีด อุณหภูมิของแม่พิมพ์ และความเร็วฉีดย้ำ โดยใช้พลาสติก
ประเภทเอบีเอส และออกแบบการทดลองด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนองร่วมกับการออกแบบเซ็นทรัลคอม
โพสิต เพื่อหาข้อสรุปของระดับความมันเงาจากอิทธิพลที่ทำให้ชิ้นงานมีความมันเงาที่แตกต่างกัน จาก
การทดลองพบว่าอิทธิพลที่ส่งผลต่อความมันเงามากที่สุด คือ อุณหภูมิปลายหัวฉีดที่ 223.18 องศา
เซสเซียส, อุณหภูมิของแม่พิมพ์ที่ 76.82 องศาเซสเซียส และความเร็วฉีดย้ำที่ 166.82 มิลลิเมตรต่อ
วินาที ตามลำดับ ซึ่งทำให้ได้ค่าความมันเงาสูงที่สุดที่ 92.8 GU ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
Full Text : Download! |
||
9. | ขั้นตอนวิธีการจัดสมดุลสายการประกอบ สำหรับการผลิตหม้อหุงข้าวแบบดิจิทัลและกระติกน้ำร้อนแบบดิจิทัล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปฐวี พิพัฒนสมพร | ||
งานวิจัยนี้ได้นำขั้นตอนวิธีการจัดสมดุลสายการประกอบดั้งเดิมแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้
โดยมีทั้งขั้นตอนวิธีที่ใช้เงื่อนไขบังคับลำดับงานก่อนหลังแบบดั้งเดิม และขั้นตอนวิธีที่ใช้เงื่อนไขบังคับ
ลำดับงานก่อนหลังแบบย้อนหลัง นอกเหนือจากนี้ งานวิจัยนี้มีการปรับปรุงพัฒนาขั้นตอนวิธีการจัด
สมดุลสายการประกอบแบบใหม่ขึ้นมา โดยหาทั้งผลเฉลยจากการจัดองค์ประกอบงานที่ใช้เงื่อนไข
บังคับลำดับงานก่อนหลังแบบดั้งเดิมและผลเฉลยจากการจัดองค์ประกอบงานที่ใช้เงื่อนไขบังคับลำดับ
งานก่อนหลังแบบย้อนหลัง แล้วจึงนำเอาผลเฉลยที่ดีที่สุดระหว่างทั้งสองผลเฉลยมาใช้ เพื่อปรับปรุง
อัตราประสิทธิภาพความสมดุลของสายการประกอบในการผลิตหม้อหุงข้าวแบบดิจิทัล จำนวน 2 สาย
และกระติกน้ำร้อนแบบดิจิทัล จำนวน 1 สาย ของโรงงานที่ใช้เป็นกรณีศึกษา ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่ได้จาก
งานวิจัยนี้สามารถปรับปรุงอัตราประสิทธิภาพความสมดุลของสายการประกอบหม้อหุงข้าวดิจิทัลสาย
แรกจากเดิม 66.6% เป็น 82.3% ประสิทธิภาพความสมดุลของสายการประกอบหม้อหุงข้าวดิจิทัล
สายสองจากเดิม 73.8% เป็น 82.0% และประสิทธิภาพความสมดุลของสายการประกอบกระติกน้ำ
ร้อนจากเดิม 74.3% เป็น 82.1% นอกเหนือจากนี้ งานวิจัยนี้ยังได้สร้างแบบจำลองปัญหาสายการ
ประกอบการในการผลิตหม้อหุงข้าวแบบดิจิทัลอีก 2 สาย และแบบจำลองปัญหาสายการประกอบใน
การผลิตกระติกน้ำร้อนแบบดิจิทัลอีก 1 สาย โดยสร้างข้อมูลขึ้นจากการเพิ่มเวลารอบของสายการ
ประกอบเดิมเป็น 2 เท่า เพื่อระบุขั้นตอนวิธีการจัดสมดุลสายการประกอบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
Full Text : Download! |
||
10. | การศึกษาการกระจายตัวของแรงทางกลในเนื้อเยื่อในฟันที่เกิดจากแรงบดเคี้ยว โดยการสร้างแบบจำลองสามมิติ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ทางไฟไนต์เอลิเมนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อานนท์ พานิชชีวะ | ||
เนื้อเยื้อในฟันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฟัน ซึ่งแรงที่กระทำที่เหมาะสมจะสามารถฟื้นฟูและรักษา เนื้อเยื้อได้ อย่างไรก็ตามไม่สามารถวัดแรงที่กระทำต่อเนื้อเยื้อในฟันได้โดยตรง ซึ่งรูปแบบจำลองในปัจจุบันมีรูป แบบจำลองและขนาดที่ไม่มีความเสมือนจริง งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างรูปแบบจำลอง 3 มิติ ที่มีความ เสมือนจริง โดยอ้างอิงจากภาพถ่าย CT-scan และทำการวิเคราะห์โครงสร้างแบบสถิต โดยใช้ระเบียบวิธีทางไฟ ไนต์เอลิเมนต์ และสร้างรูปแบบจำลองเฉพาะ mandibular first molar เท่านั้นและมีหลายส่วนประกอบเช่น เคลือบฟัน เนื้อฟัน และ เนื้อเยื้อในฟัน เป็นต้น โดยการให้ขอบเขตเงื้อนไขในการวิเคราะห์มี 2 กรณี คือ ในการวิเคราะห์ของฟันกรามที่เป็นปกติ และเกิดรอยร้าวขึ้นบนเคลือบฟันและรอยร้าวลงลึกไปถึงเนื้อฟัน และได้กำหนด แรงกระทำเฉลี่ยเท่ากับ 54.3 MPa ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแรงบคเคี้ยวโดยเฉลี่ยไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขในกรณี ใดก็ตาม ไม่ทำให้ชิ้นส่วนฟันเกิดความเสียหายหรือเสียรูปถาวร ซึ่งผลจากการวิเคราะห์พบว่าความเค้นที่เกิดขึ้นบน เนื้อเยื่อในฟันมีค่าเพียง 0.0025 MPa ของการวิเคราะห์ในกรณีที่เป็นฟันปกติ และ 0.0029 MPa ของการวิเคราะห์แบบเงื่อนไขที่มีรอยร้าวที่เคลือบฟันและเนื้อฟัน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าแรงที่กระทำลงเนื้อเยื้อในฟันมีค่า น้อยกว่า 1% แรงที่กระทำบนผิวเคลือบฟัน และจากรอยร้าวที่เกิดขึ้นทำให้มีความเค้นที่เพิ่มขึ้น 14% หรือ 4.4 g/cm2 เมื่อเทียบกับการวิเคราะห์ในกรณีที่เป็นฟันปกติ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250