fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (SME) 2017 |
1. | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วน แบบตะวันตกของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อชิระ สุทธิธนกูล | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ของผู้บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการ ตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนแบบตะวันตกของ ผู้บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มประชากรตัวอย่างในการวิจัย ครั้งนี้ ผู้ที่เคยบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกซึ่งอาศัยหรือทํางานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนแบบตะวันตกของผู้บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกในเขต กรุงเทพมหานคร โดยกําหนดให้มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลของการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพ นักศึกษา รายได้ต่อเดือน อยู่ในระดับ น้อยกว่า 10,000 บาท ประเภทของอาหารจานด่วนแบบตะวันตกที่บริโภค คือ ไก่ทอด และร้านอาหารจานด่วนแบบ ตะวันตกที่บริโภค คือ KFC 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของกลุ่มผู้บริโภคในด้าน ผลิตภัณฑ์นั้นกลุ่มผู้บริโภคได้ให้ความสําคัญกับรสชาติอร่อยมากที่สุด ในด้านราคานั้นกลุ่ม ผู้บริโภคได้ให้ความสําคัญกับอาหารจานด่วนมีป้ายแสดงราคาอย่างชัดเจนมากที่สุด ในด้าน ช่องทางการจัดจําหน่ายนั้นกลุ่มผู้บริโภคได้ให้ความสําคัญกับอาห
Full Text : Download! |
||
2. | พฤติกรรมผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อนุรักษ์ ฤาโสภา | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ น้ำปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ และศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจซื้อน้ำปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ โดยสํารวจผู้บริโภคจํานวน 280 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บรวม รวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรอิสระ (t-test) การหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป (ANOVA) 2) การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ เพื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ ผลของการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ ระหว่าง 20-30 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท และส่วนใหญ่มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน 2) พบว่าพฤติกรรม ผู้บริโภคที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ แตกต่างกัน 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาของผู้บริโภคใน จังหวัดสมุทรปราการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.01 โดยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านราคา และช่องทางการจัดจําหน่ายมีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจซื้อน้อยที่สุด โดยสามารถเขียนสมการได้ดังนี้ การตัดสินใจซื้อน้ําปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ = 0.673+0.432 (Product)+0.256 (Pri
Full Text : Download! |
||
3. | คุณภาพการบริหารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการรับ-ส่งพัสดุผ่านแอพพลิเคชั่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชาลิสา เลิศวิภาส | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความแตกต่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการรับ-ส่งพัสดุผ่าน Application (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการ บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการรับ-ส่งพัสดุผ่าน Application การวิจัยครั้งนี้ศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยศึกษาข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม กับผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 300 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจก แจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent T-test, สถิติ One way ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ ระหว่าง 20-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นผู้ใช้บริการรับ-ส่งพัสดุ ผู้สนใจการบริการรับส่งพัสดุ จากการทดสอบสมมติฐานที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกับการ ตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการรับ-ส่งพัสดุผ่าน Application พบว่าปัจจัยด้านเพศ อายุ และอาชีพที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการฯ แตกต่างกัน และจากการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่าปัจจัยคุณภาพการบริการจํานวน 2 ตัวแปร คือ ตัวแปรด้านความเอาใจใส่และตัวแปรด้าน ลักษณะทางกายภาพมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการรับ-ส่งพัสดุผ่าน Application ที่ ระดับนัยสําคัญ 0.05
Full Text : Download! |
||
4. | อิทธิพลของรูปแบบโฆษณาบนอินเตอร์เน็ตต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ารถยนต์โตโยต้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จุฑาทิพย์ เวโรจนากรณ์ | ||
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ารถยนต์โตโยต้า และนำปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าตราสินค้ามาประยุกต์ใช้ และกำหนดแนวทางการประยุกต์ใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการโฆษณา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต จำนวน 400 ตัวอย่างโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิของการศึกษาเป็นแบบสอบถามโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก
จากผลการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 26-30 ปี มีสถานภาพสมรสสูงสุด มีระดับการศึกษาสูงสุด คือปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชนข้อมูลพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่บริการอินเทอร์เน็ตที่บ้าน มีการใช้บริการอินเทอร์เน็ต โดยเฉลี่ยแล้ววันละ 1 ชั่วโมงขึ้นไป - 2 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 12.01 - 16.00 น. เพื่อความบันเทิง (ดูหนัง, ฟังเพลง, เล่นเกม) มีความถี่ที่ท่านได้รับโฆษณาบนระบบอินเทอร์เน็ตต่อวัน 1 - 3 โฆษณา ได้รับโฆษณาบนระบบอินเทอร์เน็ตแล้วจะ สนใจอ่านข้อมูลตามเป็นบางครั้ง ส่วนใหญ่มีการรับรู้รูปแบบการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต ด้าน Display Ad (Banner) รองลงมา Social Media และ Video Clip
ผลจากสมมติฐานพบว่าสมมติฐานการวิจัยที่ ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ารถยนต์โตโยต้า พบว่าเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ารถยนต์โตโยต้าแตกต่างกัน พบว่า ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกัน มีผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ารถยนต์โตโยต้าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และสมมติฐานการวิจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตกับการรับรู้คุณค่าสินค้า
Full Text : Download! |
||
5. | ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ประเสริฐ พ้นทุกข์ | ||
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (2) เพื่อศึกษารูปแบบการดำรงชีวิตที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้ศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples T-test, One way ANOVA และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชนและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001-20,000 บาท การทดสอบสมมุติฐานที่ 1 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ของผู้บริโภคที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่แตกต่างกัน ผลการทดสอบสมมุติฐานที่ 2 พบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตมีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ผลการทดสอบสมมุติฐานที่ 3 พบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาด ผลิตภัณฑ์ และด้านราคา มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล
Full Text : Download! |
||
6. | การศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาด ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) ในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิภา สิทธานุกูล | ||
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) ในเขตกรุงเทพมหานคร กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่เคยซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) จำนวน 322 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples T-test, สถิติ One way ANOVA และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างมีการตัดสินใจซื้อไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด จะพบว่าด้านราคา, ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของ บิ๊กซี (Big C) ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05
Full Text : Download! |
||
7. | การศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ ในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วชิรรุจน์ โพธิ์วัฒนกวิน | ||
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษและปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent T-Test, สถิติ One way ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นผู้ไม่เคยมีประสบการณ์ซื้อหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ จากการทดสอบสมมติฐานที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกับการตัดสินใจซื้อหลักซื้อหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ ระดับการศึกษา ด้านประสบการณ์ของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหลักสูรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจที่แตกต่างกัน และจากการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่าปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจมีจำนวน 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านกระบวนการ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Full Text : Download! |
||
8. | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กมลทิพย์ บุปผา | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ซื้อเครื่องประดับผ่านโม
บายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทาง
การตลาดของผู้ซื้อเครื่องประดับผ่านทางโมบายแอพพลิเคชั่นแอพพลิเคชั่น 3) เพื่อศึกษาปัจจัย
ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค และ4)
เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับผ่านทางโม
บายแอพพลิเคชั่นแอพพลิเคชั่นในเขตกรุงเทพมหานครโดยสำรวจผู้บริโภคจำนวน 413 คน ที่
เคยซื้อเครื่องประดับผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยแบบสอบถามโดย
การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน (Independent Sample T-test
และ One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Linear Regression)
1) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
มีอายุ 21-30 ปี วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี รายได้ 20,001-30,000 บาท ทำอาชีพพนักงาน
เอกชน และแอพพลิเคชั่นเครื่องประดับที่ซื้อบ่อยคือ ลาซาด้า 2) กลุ่มตัวอย่างที่ซื้อเครื่องประดับ
ผ่านทางโมบายแอพพลิเคชั่นในเขตกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทาง
การตลาดด้านผลิตภัณฑ์ในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้าน
ราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านกระบวนการสั่งซื้อ และ
ด้านการนำเสนอของแอพพลิเคชั่นส่วนในด้านของพนักงานผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญ
อยู่ในระดับมาก 3) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้านเพศกับการตัดสินใจซื้อสรุปได้ว่าเพศต่างกันมี
ระดับการตัดสินใจซื้อไม่แตกต่างกันด้านอายุที่ต่างกันมีระดับการตัดสินใจซื้อต่างกัน เช่นเดียวกั
Full Text : Download! |
||
9. | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมหลังการซื้อรองเท้ากีฬาของวัยกลางคนขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พูนฤทธิ์ วสุพงศ์พิพัฒน์ | ||
ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อ
พฤติกรรมหลังการซื้อรองเท้ากีฬาของวัยกลางคนขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษา
ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมหลังการซื้อรองเท้ากีฬาของวัยกลางคนขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริโภควัย
กลางคนขึ้นไปที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยการสุ่มตัวอย่างจากประชากรแบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบ
สะดวก (Convenience Sampling) ผู้วิจัยได้ให้ความรู้กับผู้ทำหน้าที่เก็บข้อมูลก่อนดำเนินการ
เก็บข้อมูล โดยอธิบายรายละเอียด เกี่ยวกับการวิจัยและแบบสอบถาม และขั้นตอนการเก็บ
ข้อมูล รวมทั้งให้แนวทางปฏิบัติ ด้านจริยธรรมในการเก็บข้อมูล ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่าง โดย
กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 ราย
ผลวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ทำการกรอกแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย
ร้อยละ 59 มีอายุระหว่าง 40-45 ปี ร้อยละ 43 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 42 ระดับ
รายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 26 และมีอาชีพธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 33 ส่วน
พฤติกรรมผู้บริโภคพบว่าผู้บริโภควัยกลางคนขึ้นไปที่เลือกซื้อรองเท้ากีฬาในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่าให้ความสำคัญกับ การออกแบบเพื่อรองรับทรงเท้า และวัสดุที่ใช้ทำรองเท้ามากที่สุด ใน
ส่วนของปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดด้านราคา ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด คือ มีการ
แสดงป้ายราคาสินค้าอย่างชัดเจนความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มผู้บริโภควัยกลางคนขึ้น
ไปที่เลือกซื้อรองเท้ากีฬาใน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250