fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIT) 2018 |
1. | การศึกษาประสิทธิภาพของโอเพนซอลไฟร์ วอลล์ในราฟเบอรีพาย สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นพดล จินตสุนทรอุไร | ||
การค้นคว้าอิสระเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของโอเพนซอสไฟร์วอลล์ในราฟเบอรีพาย สำหรับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการทำงานของบอร์ด Raspberry Pi สำหรับงานเครือข่าย โดยเน้นที่การทำงานของไฟร์วอลล์ โดยทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Open Source Firewall ในที่นี้จะใช้ IPTable , IPFire และ OpenWRT ในด้านการใช้งานหลักๆเช่น การส่งไฟล์ด้วย FTP การเข้าถึงเว็บไซต์ การส่ง email และ Live Streaming ทั้งนี้เพื่อหา Open Source Firewall ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ Raspberry Pi และนำเสนอทางเลือกใหม่ในการเลือกใช้อุปกรณ์ที่รองรับมาตรการความปลอดภัยในอินเตอร์เนตที่เหมาะสมทั้งในเรื่องลักษณะการใช้งานของหน่วยงาน และประสิทธิภาพที่เหมาะสมที่หน่วยงานธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) สามารถยอมรับได้
จากงานวิจัยนี้ผลวิจัยพบว่า ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพความง่ายในการติดตั้ง และการใช้งาน และการจัดการทรัพยากร ได้ข้อสรุปว่า OpenWRT เป็น Open Source Firewall ที่ดีที่สุดใน 3 Open Source Firewall ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุดง่ายต่อการใช้งาน และการติดตั้งและการจัดสรรทรัพยากรการใช้งานที่ดีที่สุด
Full Text : Download! |
||
2. | การวัดระดับเนื้อหาเว็บไซต์การท่องเที่ยว ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยการวิเคราะห์ข้อความในเว็บไซต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภูรดา จันทรัฐ | ||
การวัดระดับเนื้อหาเว็บไซต์การท่องเที่ยว ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยการวิเคราะห์ข้อความในเว็บไซต์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ได้แก่ 1) สร้างเฟรมเวิร์คเพื่อตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาของเว็บไซต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยว 2) เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงเนื้อหาเว็บไซต์การท่องเที่ยวให้ครบถ้วนตามความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยสามารถแบ่งขั้นตอนในการศึกษาออกเป็น 7 ขั้นตอนได้แก่ 1) ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลและทฤษฎีการทำ machine learning และ text mining 2) วิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยว 3) เก็บข้อมูลจากเว็บไซต์การท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อนำมาใช้เป็น dataset 4) สร้างเฟรมเวิร์คของระบบการตรวจสอบเนื้อหาเว็บไซต์ โดยใช้เทคนิค machine learning และ text mining 5) ออกแบบการทดลองโดยการแบ่ง dataset เพื่อนำไปใช้ในการ training และ testing 6) นำข้อมูลมาทดลองระบบการตรวจสอบเนื้อหาเว็บไซต์ ด้วยการทดสอบแบบ single topic และ multiple topics 7) ทดสอบประสิทธิภาพความแม่นยำของระบบและ classifier สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
เฟรมเวิร์คของระบบที่ถูกสร้างขึ้นในครั้งนี้ สามารถตรวจสอบความครบถ้วนของเนื้อหาในเว็บไซต์ ด้วยการใช้ data mining technique โดย Latent Dirichlet Allocation (LDA) technique ถูกนำมาใช้ในการหาคำ keywords ของเนื้อหา และ TF-IDF technique ถูกนำมาใช้ในการสร้าง feature vector Random Forest Algorithm ถูกใช้เป็นแกนหลักในการตรวจสอบความครบถ้วนของเนื้อหา โดยการสร้าง classifier จำนวน 2 ตัว ประกอบด้วย binary-class classifier และ multi-class classifier สำหรับการทดลองแบบ single topic และ multiple topics ผลการทดลองแบบ single topic ได้ค่า Accuracy อยู่ที่ 0.96 สำหรับการผลการทดลองแบบ multiple topics ยังถูกแบ่งออกเป็น
Full Text : Download! |
||
3. | การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำดัชนีบนกล่องเอกสารด้สยเทคนิคการรู้จำอักขระภาพลายมือ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จักรพันธ์ วาศพุฒิสิทธิ์ | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อจัดทำต้นแบบสำหรับใช้พัฒนาโปรแกรมที่
สามารถลดขั้นตอนการบันทึกข้อมูลที่เขียนด้วยลายมือบนกล่องเอกสารได้ 2) เพื่อสามารถแปลง
ข้อมูลที่เขียนด้วยลายมือบนกล่องเอกสารได้มีความถูกต้อง (Accuracy) อย่างน้อย 80% 3) เพื่อลด
ระยะเวลาที่ใช้ในขั้นตอนการบันทึกข้อมูลดัชนี (Index) เป็น 30% ของกระบวนการเดิม โดยการ
ออกแบบระบบมีขั้นตอนในการทำงาน 8 ขั้นตอนดังน้ี 1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักการบริหารจัดเก็บ
เอกสารในรูปแบบกล่อง 2) ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการ OCR (Optical Character Recognition)
3) ศึกษาวิธีการพัฒนาตัวต้นแบบโปรแกรม 4) วางแผนและออกแบบตัวต้นแบบโปรแกรม 5) จัดทํา
ตัวต้นแบบสำหรับใช้พัฒนาโปรแกรมในส่วนของการประมวลผลภาพ การทำคลังข้อมูลภาพตัวอักษร
การรู้จำและการแปลความหมาย 6) ทดสอบการใช้งานของตัวต้นแบบที่จะใช้พัฒนาโปรแกรม 7) วิเคราะห์
ประเมินและสรุปผล 8) จัดทำรายงานและนำเสนอผลงาน
ผลการสังเคราะห์รูปแบบการจัดทำต้นต้นแบบสำหรับใช้พัฒนาโปรแกรมที่สามารถลดขั้นตอน
การบันทึกข้อมูลที่เขียนด้วยลายมือบนกล่องเอกสารได้ประกอบด้วย 2 ส่วน 1) ส่วน Training Data
2) ส่วน Testing Data จากผลการประเมินการแปลงข้อมูลที่เขียนด้วยลายมือบนกล่องเอกสารม ี
ความถูกต้อง (Accuracy) 87.30%
Full Text : Download! |
||
4. | การประยุกต์ใช้วิชวลไลเซซันเอกสารสำหรับการนำเสนอแบบประกันชีวิต [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นริสา ธรรมเกียรติคุณ | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อนำเสนอวิธีการปรับปรุงรูปแบบการเสนอการ
ทำประกันชีวิตของตัวแทน โดยการใช้วิชวลไลเซชันและทำให้ผู้เอาประกันสามารถเข้าใจสัญญา
ประกันชีวิตได้อย่างง่าย 2) เพื่อออกแบบ User Interface รูปแบบการนำเสนอแบบประกันชีวิต 3)
เพื่อประยุกต์นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาปรับปรุง User Experience ของการนำเสนอแบบประกันชีวิต
4) เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายฐานผู้เอาประกันรายใหม ่และเพิ่มวงเงินคุ้มครองสำหรับผู้เอาประกัน
รายเดิม โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) คัดเลือกแบบประกันมา 4 กลุ่มและโดยเลือกกลุ่มละ 1 แบบ 2) แบ่ง
เอกสารประกันชีวิตออกเป็น 5 ส่วน 3) ทำการ Mapping เอกสารเพื่อสร้าง Mock-up 4) เลือกเทคนิค
วิชวลไลเซชันในการสร้าง Mock-up 5) การวัดผลการออกแบบของการสร้าง Mock-up 6) สรุปผลการวิจัย
จากผลการประเมินแบบสอบถามการของการประยุกต์ใช้วิชวลไลเซชันเอกสารสำหรับการ
นำเสนอแบบประกันชีวิต 3 ด้าน 1) การออกแบบและประสบการณ์การใช้งานของ Mock-up (User
Interface and User Experience) 2) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแบบประกันชีวิตที่นำเสนอ
โดยวิชวลไลเซชัน ซึ่งประกอบด้วยด้านประสิทธิภาพและประโยชน์ในการนำเสนอ, ด้านการออกแบบ
และด้านความสามารถนำไปใช้งาน 3) การใช้เวลาในการตอบคำถามของแบบสอบถามการ งานวิจัยน ี้
สามารถสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้วิชวลไลเซชันเอกสารสำหรับการนำเสนอแบบประกันชีวิต ทำให้
เกิดความรับรู้และเข้าใจสัญญาของการรับประกันชีวิต
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250