fieldjournalid
![]() | งานวิจัย คณะบริหารธุรกิจ 2015 |
1. | งานวิจัยเรื่อง การสำรวจพฤติกรรมการออมและศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อปริมาณการออมของการภาคครัวเรือน กรณีศึกษา หมูบ้านหนองกระเสริม หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อารีรัตน์ ลีฬหะพันธุ์ | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาถึงปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อปริมาณการออมของคนในชุมชนบ้านหนองกระเสริม โดยมีการเก็บตัวอย่างจากหัวหน้าครัวเรือนจำนวน 250 ครัวเรือน ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่น 95% พบว่าชุมชนแห่งนี้ จำนวนครัวเรือนมีการออมทุกสิ้นเดือนถึง 64 % แต่เป็นการออมภาคบังคับ โดยหัวหน้าครัวเรือนที่มีอาชีพรับจ้างทำงานบริษัทเอกชน จะมีการออมเงินผ่านระบบประกันสังคม และหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นข้าราชการ ก็จะมีการออมผ่านระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมุติฐานงานวิจัยพบว่า ตัวแปรอิสระ 3 ตัว เช่น รายได้ของครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อปริมาณการออมของครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้ของครัวเรือนมีระดับความสัมพันธ์เชิงบวกต่อปริมาณการออมของครัวเรือนสูงที่สุด แต่อายุของหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์เชิงลบต่อปริมาณการออมของครัวเรือน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหัวหน้าครัวเรือนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการออม โดยให้ความสำคัญด้านผลตอบแทนจากการออมอยู่ในระดับ 4.53 ซึ่งหมายถึง ระดับความเห็นด้วยมาก
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น ต่อการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนตามหลักโมโนซุคุริ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอิบ พงบุหงอ, เฌอริสา นันทา | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น ต่อการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนตามหลักโมโนซุคุริ โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยาหรมนุษย์แบบญี่ปุ่น คณะบริหารุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น รวม 51 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามออนไลน์
ผลการวิจัยพบว่าในภาพรวมคะแนนความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนตามหลักโมโนซุคุริ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเจตคตินักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมการเรียน ด้านผู้สอนที่จัดกิจกรรมเสริมการเรียนและด้านประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (x̅=3.71, S.D.= 1.10) ปัญหาที่พบ เช่น ความเบื่อหน่ายหรือความกังวัลเมื่อเข้ากิจกรรม การมอบหมายงานที่ยังไม่เหมาะสมเท่าที่ควร รวมถึงการพัฒนากิจกรรมเสริมการเรียน เสริมจุดเด่นของกิจกรรมและตัวผู้สอนที่จัดกิจกรรม เช่น การเป้นกิจกรรมที่สอนให้นักศึกษามีความอดทนและตรงต่อเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ส่วนร่วมในการซักถามและแสดงความคิดเห็นในการจัดกิจกรรม ให้ดียิ่งขึ้น จะสามารถช่วยเพิ่มทัศนคติที่นักศึกษามีต่อกิจกรรมให้ดียิ่งขึ้นได้
ข้อเสนอแนะในการทำวิจันครั้งต่อไป 1) ปรับลดจำนวนกิจกรรมต่อภาคการศึกษาให้เหมาะสมคัดเลือกเฉพาะกิจกรรมที่สำคัญเท่านั้นหรือปรับเปลี่ยนเวลาที่ใช้ในการอบรม เพื่อลดความเบื่อหน่ายที่นักศึกษาเมื่อเข้าร่วมกิจกรรม 2) ชี้แจงรายละเอียดและลักษณะการดำเนินกิจกรรมให้นักศึกษาเข้าใจทุกครั้งเพื่อลดความกังวัลของนักศึกษาเมื่อเข้าร่วมกิจกรรม และ 3) กำกับ
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาคุณภาพและจริยธรรมของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรภา คำทา, สมบัติ วรินทรนุวัตร | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และ 2) เปรียบเทียบคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาคณะบริหำรธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยรวมและเป็นรายด้านกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกำรวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญำตรี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเครำะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่ำ
1. นักศึกษามีระดับคุณธรรมและจริยธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่านักศึกษามีคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความเมตตา ด้านความรับผิดชอบ ด้านความอดทนอดกลั้น ด้านความมีวินัย และด้านความเสียสละ ส่วนด้านความซื่อสัตย์ และด้านความกตัญญูกตเวทีนักศึกษามีคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. นักศึกษาชำยและนักศึกษาหญิง มีคุณธรรมและจริยธรรมโดยรวมและรายด้านในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน
3. นักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรต่างกัน มีคุณธรรมและจริยธรรมโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความซื่อสัตย์ด้านความเมตตา ด้านความอดทนอดกลั้น และด้านความเสียสละแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนในด้านความมีวินัยด้านความรับผิดชอบและด้านความกตัญญูกตเวทีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีต่างกัน มีคุณธรรมและจริยธรรมโดยรวมแตกต่างกั
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานการวิจัยเรื่อง การทำนายผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์เชิงพหุ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรภา คำทา | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น โดยรวมและในแต่ละด้าน และ 2) สร้างสมการถดถอยโลจิสติกส์ในการทำนายผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2557 จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์
ผลการวิจัยพบว่า
1.นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการสอบวิชาสถิติ ด้านเจตคติต่อการเรียนวิชาสถิติ ด้านพฤติกรรมในการเรียนวิชาสถิติ ด้านสื่อการเรียนการสอนวิชาสถิติ และด้านบรรยากาศในการเรียนการสอนวิชาสถิติไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และด้านการส่งเสริมการเรียนจากผู้ปกครอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านเทคนิควิธีการสอนจากอาจารย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.นักศึกษาที่จบแผนการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า น
Full Text : Download! |
||
5. | รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรภา | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น และ 3) สร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัน คือ นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2557 จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1.ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านตัวนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านอาจารย์ผู้สอน และด้านครอบครัวตัวแปรการส่งเสริมการเรียนจากผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก
2.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านตัวนักศึกษา และด้านอาจารย์ผู้สอนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ อย่างมีนยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
3.ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น คือ เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ (X3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X4) และเทคนิควิธีการสอนอาจารย์ (X6) และได้สมการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดังนี้ ˆY = 0.56+0.31 X3 + 0.28 X4 + 0.19 X6
Full Text : Download! |
||
6. | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในรายวิชาหลักการจัดการระหว่างการใช้วิธีการบรรยายตามปกติและวิธีการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสอนแบบต่อภาพ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : โกศวัต รัตโนทยานนท์ | ||
จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542, 2542, น. 8-9) มาตรา 22 ได้ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนต้องมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ มาตรา 23 ก็ได้กล่างถึงความสัมพันธ์ของผู้เรียนให้เข้ากับสังคม มาตรา 24 กล่าวถึงการให้สถานศึกษาดำเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ และการเผชิญสถานการณ์ โดยทั้งนี้จากการสอนในรายวิชาหลักการจัดการในปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมาผู้สอนจะเน้นไปที่วิธีการเรียนการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว ซึ่งสังเกตได้ว่านักศึกษาไม่มีความกระตือรือร้นในการเข้าเรียน ขาดเรียนบ่อย ไม่ร่วมมือในชั้นเรียน ต่างคนต่างทำงาน และส่งงานไม่ตรงเวลา ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดวิธีการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสอนแบบต่อภาพการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในรายวิชาหลักการจัดการโดยวิธีการบรรยายเพียงอย่างเดียวเปรียบเทียบกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสอนแบบต่อภาพ สำหรับประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา BUS-109 หลักการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ประจำปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 70 คน โดยแบ่งไปตามกลุ่มเรียนๆละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบทดสอบปรนัยก่อนการเรียน (Pretest) หลังการเรียน (Posttest) และแผนการสอน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเกณฑ์การวัดคะแนนสอบผ่านร้อยละ 60
จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในรายวิชาหลักการจัดการระหว่างการใช้วิธีการบรรยายตามปกติและวิธีการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้
Full Text : Download! |
||
7. | รูปแบบสวัสดิการนอกเหนือจากที่กฏหมายกำหนดที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปัณณทัต จอมจักร์ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษารูปแบบสวัสดิการนอกเหนือที่กฏหมายกำหนด ศึกษา
พฤติกรรมความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร และสรุปรูปแบบการจัดสวัสดิการนอกเหนือจากที่กฏหมายกำหนด
ที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Method) เป็นการสุ่มตัวอย่าง
แบบใช้ความน่าจะเป็นโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากรในการทำวิจัยคือ ลูกจ้าง
และพนักงานทุกระดับตั้งแต่ พนักงานระดับปฏิบัติการ หัวหน้างาน ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหาร
ระดับสูง ของสถานประกอบการภาคเอกชนทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพและ
ปริมณฑล จำนวน 526 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) แสดงผล
ข้อมูลในรูปค่าความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis,
CFA) เพื่อยืนยันองค์ประกอบหลักที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยพิจารณาจากค่าน้าหนัก
องค์ประกอบ (Factor Loading) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ 2 R และ
การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การศึกษาการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุ (Path Analysis)
ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment
Correlation Coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-29 ปี วุฒิการศึกษาอยู่
ระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ในการทำงาน 1-5 ปี อายุงานในองค์กรปัจจุบัน 1-5 ปี และอยู่ในตำแหน่ง
พนักงานระดับปฏิบัติการ ผลการวิเคราะห์พบว่าสวัสดิการนอกเหนือจากที่กฏหมายกำหนดที่มีอิทธิพล
ทางตรงเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมากที่สุดคือ สวัสดิการด้านการสร้างความมั่นคงใน
อนาคต รองลงมาค
Full Text : Download! |
||
8. | Price Promotions and Brand Equity : the case of Luxury Brands [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Rachata Rungtrakulchai | ||
This study aims to investigate the effects of price promotions on the perception of a brand in the mind of consumers in luxury markets. This study extends the previous literature on price promotional strategy and brand equity (brand awareness, brand image, and brand loyalty) by focusing on how a consumer perceives functional value and psychological value to create brand equity in luxury products. The sample size was 445 luxury products consumers. The findings indicated that a change in price leads to a change in consumer expectation of a brand due to the change in the associative information in their memory. This suggested that the price adjustment due to the promotion should be carefully measured according to the evolution and development of brand perception in luxury market. The results of this study highly suggested that the price promotion activities are not an appropriate activity for boosting the sale volume especially when the company cannot sell the products or services. This would highly damage the brand equity. The findings also support the idea that price promotion might also create a loss of brand image due to the loss of functional benefits and emotional benefits in the minds of consumers. However, the findings suggest that consumers’ brand awareness can be developed by implementing price promotion activities for a luxury product. Key Words; Brand Strategy, Brand Equity, Brand, Price, Promotions, Marketing Strategy, Strategic Brand Strategy, Strategic Marketing,
Full Text : Download! |
||
9. | รายงานการวิจัยเรื่อง การสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรมไทยต่อการพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รังสรรค์ เลิศในสัตย์, อนุวัต เจริญสุข | ||
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรมไทยต่อการพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรม กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ผู้วิจัยกาหนดวิธีการศึกษาการสุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ(Systematic Random Sampling) และได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 529 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าสถิติได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปสาหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ จากผลการศึกษารายด้านพบว่า ความคิดเห็นและความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรมไทยต่อ ภาพรวม พบว่า ธุรกิจอุตสาหกรรมไทยมีความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ธุรกิจอุตสาหกรรมไทยมีความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรมมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต รองมาคือ ด้านนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐ โดยที่ทุกด้านส่งผลอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทั้งหมดพบว่าส่งผลอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย โดยที่อุตสาหกรรมยานยนต์มีความต้องการเกี่ยวกับด้านนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐมากที่สุด รองลงมาคือด้านการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้า อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมอาหารมีความต้องการเกี่ยวกับด้านการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้ามากที่สุดและรองลงมาคือด้านนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐ
Full Text : Download! |
||
10. | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปของไทย ของวัยรุ่นชาวจีนที่มาศึกษาในประเทศไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธันยมัย เจียรกุล | ||
รายงานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปของไทยของวัยรุ่นชาวจีนใน
ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจพฤติกรรมการเลือกซื้อผลไม้แปรรูปของไทยของวัยรุ่นชาวจีน
ที่มาศึกษาในประเทศไทย และ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้แปรรูปของไทยของวัยรุ่น
ชาวจีนที่มาศึกษาในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการใช้
แบบสอบถาม จำนวน 200 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 6 คน
โดยเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ตอบแบบสอบถาม ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 21 – 24 ปี ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 มีระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
1 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ส่วนใหญ่นิยมซื้อผลไม้แปรรูปของประเทศไทยโดยมีความถี่
ในการซื้อผลไม้แปรรูปของไทยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ มักจะซื้อผลไม้แปรรูปของไทยที่ตลาด
สด ซูเปอร์มาเก็ต/ไฮเปอร์มาเก็ต ส่วนใหญ่ซื้อผลไม้แปรรูปของไทยโดยเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 500 บาท
ส่วนเหตุผลในการไม่ซื้อผลไม้แปรรูปของไทยคือ ผลไม้แปรรูปของไทยไม่มีชื่อเสียง มีสัดส่วนการซื้อผลไม้
แปรรูปของไทยต่อการซื้อผลไม้แปรรูปโดยรวมเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ระหว่าง 1-25% ชื่นชอบผลไม้แปรรูป
ของไทยมากที่สุดคือ ทุเรียนทอด และส่วนใหญ่เห็นว่าปัจจัยในการเลือกซื้อผลไม้แปรรูปของไทยที่ให้
ความสนใจเป็นอันดับแรก คือ ราคา และเห็นด้วยมากที่สุดว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลไม้
แปรรูปของไทยคือ เครื่องหมายรับรองคุณภาพ ส่วนปัจจัย (รวม) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลไม้
แป
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250