fieldjournalid
![]() | งานวิจัย สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา 2008 |
1. | รายงานวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บัณฑิต อนุญาหงษ์ฑิต อนุญาหงษ์ | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน และด้านครูผู้สอนตลอดจนรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 447 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1.นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอนและด้านผู้สอน มีระดับความพึงพอใจมาก ส่วนด้านกระบวนการเรียนการสอนมีระดับความพึงพอใจปานกลาง
2.นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ให้ข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ ด้านเนื้อหาหลักสูตรความเปลี่ยนเนื้อหาบทเรียนให้หลากหลาย และจัดทำตำราเรียนเอง ด้านกระบวนการเรียนการสอน ควรมีกิจกรรมการสอนที่หลากหลาย เช่น ฟังเพลง แสดงบทบาทสมมติ พูดหน้าชั้นเรียน ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรใช้สื่อการสอนที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และด้านครูผู้สอน ควรให้อาจารย์ชาวไทยและต่างประเทศใช้มาตรฐานในการสอนที่เหมือนกัน
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชูอิจิ ซาโนะ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น 4 ด้านคือ ด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และ ด้านผู้สอนและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นจำแนกตามตัวแปร เพศ วิชาเอกที่ศึกษาและศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นศึกษาปริญญาตรีของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มรค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.456-0.728 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .768 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test แบบ Independent
ผลการวิจัยพบว่า
1.ความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้สอนมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ 4.30 รองลงมาคือด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน และด้านสื่อการเรียนการสอน มีคะแนนเฉลี่ยนเท่ากับ 3.97 , 3.96 และ 3.94 ตามลำดับ
2.นักศึกษาเพศเพศชายกับเพศหญิงมีความพึงพอใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3.นักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งการมองในภาพรวมและมองแยกเป็นรายด้าน โดยนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์มีระดับความพึงพอใจการเรียนภาษาญี่ปุ่นสูงกว่านักศึกษาคณะอื่นๆ
4.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนภาษาญี่ปุ่น พบว่า ส่วนใหญ่แล้วกลุ่มตัวอย่างคิดว่าการจัดการเรียนการสอนในด้านสื่อการสอนและครูผู้สอน ด้านกระบวนการเรียนการสอนเหมาะ
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานการวิจัยเรื่อง ความต้องการในการบริการจากสถาบันฯ ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เพ็ญแข ประจนปัจจนึก | ||
งานวิจัยเรื่อง ความต้องการในการบริการจากสถาบันฯ ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความต้องการในการรับบริการ 5 ด้าน จากสถาบันฯ ได้แก่ การบริการด้านห้องสมุด ด้านสวัสดิการและความสะดวกต่างๆด้านวิชาการ ด้านกิจกรรมต่างๆ และด้านการบริการจากคณะและหน่วยงานอื่นๆของสถาบันฯ และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการรับบริการจากสถาบันฯ จำแนกตามตัวแปรด้านเพษ ชั้นปีที่ศึกษา และคณะที่ศึกษา ตลอดจนเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดการบริการด้านต่างๆของสถาบัน
กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เอามาร้อยละ 50 จากกลุ่มประชากรทั้งหมดประมาณ 900 คน ได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย 450 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการใช้สถิติหลายรูปแบบ ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าคะแนนทีเทส (t-test) และเอฟเทส (F-test) และวิธีการทดสอบเป็นรายคู่ของเชฟเฟ่
ผลของการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1.นักศึกษามีความต้องการในการบริการด้านต่างๆ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความต้องการในการบริการทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นความต้องการในการบริการด้านห้องสมุดอยู่ในระดับมาก
2.เมื่อเปรียบเทียบความต้องการในการบริการจำแนกตามตัวแปรต่างๆพบว่านักศึกษาเพศชายและหญิงมีความต้องการในการบริการแตกต่างกัน โดยนักศึกษาหญิงมีความต้องการสูงกว่านักศึกษาเพศชาย และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความต้องการในการรับบริการมากกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2 ส่วนตัวแปรด้านอื่นๆไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3.ในด้านความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ นักศึกษาที่เป็
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานการวิจัยเรื่อง ปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สุภัสสร จินดาไทย | ||
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน และด้านปัญหาส่วนตัว
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 542 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1.ปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (x̅= 2.42) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาด้านเนื้อหาหลักสูตรอยู่ในระดับน้อย (x̅= 2.47) ปัญหาด้านกระบวนการการเรียนการสอนอยู่ในระดับน้อย (x̅= 2.25) และปัญหาด้านส่วนตัวอยู่ในระดับปานกลาง (x̅= 2.56)
2.เมื่อพิจาณาปัญหาการเรียนในแต่ละด้านเป็นรายข้อพบว่า นักศึกษามีปัญหาในการเรียนระดับน้อยทุกข้อ
3.เมื่อทำการเปรียบเทียบปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษตามตัวแปรด้านเพศ ชั้นปีที่ศึกษา และคณะที่ศึกษา พบว่า นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรอื่นๆไม่แตกต่างกัน
4.สำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ นักศึกษได้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างหลากหลาย โดยข้อที่มีความคิดเห็นในระดับมาก ได้แก่ ข้อคิดเห็นที่ว่า เนื้อหาหลักสูตรดีอย่แล้ว เพราะมีความทันสมัย น่าอ่าน น่าสนใจ มีการกล่า
Full Text : Download! |
||
5. | รายงานการวิจัยเรื่อง ปัญหาในการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : โยโกะ คูนิทาเกะ, ธิติสรณ์ แสงอุไร, วรรณวิมล รุ่งธีระ | ||
งานวิจัยเรื่อง ปัญหาในการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจสาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาใน 3 ด้าน ได้แก่ คือ ด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน และด้านปัญหาส่วนตัว เพื่อทำการเปรียบเทียบปัญหาในหารเรียนภาษาญี่ปุ่นจำแนกตามตัวแปรหลัก ได้เพศ ประสบการณ์การเรียนภาษาญี่ปุ่น และประสบการณ์การใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่น และเพื่อรวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในสาขาวิชา
กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่นจำนวน 135 คน ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นข้อคำถามทั้งปลายเปิดและปลายปิด เพื่อให้ผู้ตอบได้เลือกตอบและเขียนตอบได้โดยอย่างเป็นิอิสระในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล มีการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายรูปแบบได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ( x̅ ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การหาค่าคะแนนที่ (t-test) เอฟเทส (F-test) วิธีการทดสอบรายคู่ของเชฟเฟ่ รวมทั้งวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Anal gain)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1.พบว่าปัญหาในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาโดยรวมและหลายด้านอยู่ในระดับน้อย เมื่อเปรียบเทียบหลายด้านด้วยกันแล้วพบว่า ด้านกระบวนการเรียนการสอนมีปัญหาสูงกว่าด้านอื่นๆ
2.นักศึกษาเพศชาย และหญิง โดยรวมมีปัญหาไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาแล้วพบความแตกต่างด้านปัญหาการเรียนด้านส่วนตัวโดยเพศชายมีปัญหาด้านส่วนตัวสูงกว่าเพศหญิง
3.นักศึกษาที่มีประสบการณ์ในการเรียนภาษาญี่ปุ่นต่างกัน มีปัญหาการเรียนแ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250