fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIM) 2014 |
1. | กรณีศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานและการอยู่ต่อในองค์กรของวิศวกรฝ่ายผลิต ของบริษัท ตัวอย่าง จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อลิส ชูลิขิต | ||
ปัจจุบันตลาดแรงงานมีการแข่งขันกันสูงมาก องค์กรจำเป็นต้องรักษาพนักงานมีฝีมือ
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ พนักงานวิศวกร ผู้ศึกษาจึงได้ทำการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ทำการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการอยู่ต่อใน
องค์กรและระดับความพึงพอใจต่อแต่ละปัจจัยของที่ทำงานปัจจุบันของพนักงานวิศวกร
จากการศึกษาพบว่า สิ่งที่มีผลต่อตัดสินใจอยู่ต่อในองค์กรของพนักงานวิศวกรของ
บริษัทที่ได้ทำการศึกษามากที่สุด คือ ค่าตอบแทน การมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การ
จ่ายโบนัส ซึ่งจัดอยู่ในหมวดค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์อื่นๆ ปัจจัยที่พนักงาน
วิศวกรมีระดับความพึงพอใจที่สุด คือ การจ่ายโบนัส การมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การ
มีกองทุนสำหรับกู้ยืม ส่วนค่าตอบแทน พนักงานมีระดับความพึงพอใจปานกลาง และหมวด
คุณลักษณะของงาน เนื้องาน โอกาสในการก้าวหน้า พนักงานมีความพึงพอใจระดับปานกลาง
ผลการสำรวจโดยภาพรวม พนักงานมีความพึงพอใจมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พนักงานมีความ
พึงพอใจในงานซึ่งเกิดจากการตอบสนองความต้องการด้วยปัจจัยอนามัย แต่ยังขาดปัจจัยจูงใจที่
จะทำให้พนักงานเกิดความทุ่มเทในงาน องค์กรจึงควรคิดกลยุทธ์ในการปรับปรุงตัวงานและการ
สร้างโอกาสในการก้าวหน้าในงานให้พนักงาน
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัทกรณีศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อภิชาติ แดงบัว | ||
ในการศึกษาผู้ทำการศึกษาได้เลือกศึกษาความสัมพันธ์ระว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อปัจจัยด้านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานของบริษัทศึกษา ซึ่งเป็นธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลกโดยผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ในการศึกษา (1) เพื่อศึกษาถึงความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งจะสามารถส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างกลยุทธ์ทางด้านการบริหารงานบุคคล เพื่อให้สามารถธำรงรักษาพนักงานที่มีความรู้ ทักษะ เอาไว้กับองค์กรได้(2) เพื่อศึกษาโครงสร้างการบริหารงานบุคคลบนปัจจัยที่ทำให้เกิดความภักดีต่อองค์กร (3) เพื่อศึกษาแนวทางใหม่ในการสร้างหรือพัฒนารูปแบบของการบริหารงานบุคคลและกลยุทธ์ใหม่ในการนำไปประยุกต์ใช้กับแผนการบริหารงานบุคคลเพื่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการศึกษาใช้หลักประชากรศาสตร์ในด้าน เพศ อายุ ตำแหน่งงาน แผนกงาน และระยะเวลาปฏิบัติงานโดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นพนักงานทั้งหมดของบริษัทศึกษาจำนวน 82 ตัวอย่าง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่าสมมติฐานด้านประชากรศาสตร์ในเรื่องความแตกต่างกันในด้านแผนกงาน จะส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรที่แตกต่างกัน โดยฝ่ายที่มีความผูกพันต่อองค์กรน้อยที่สุดคือฝ่ายธุรกิจการขาย และแผนกศูนย์บริการโดยพบว่าพนักงานทั้งสองฝ่ายมีความผูกพันต่อองค์กรต่ำสุดจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้นบริษัทควรจะกำหนดกลยุทธ์ในด้านการบริหารงานบุคคลโดยเน้นไปที่การพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน เพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อองค์กร ทั้งนี้บริษัทควรเพิ่มแนวทางในการบริหารด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการใหม่ๆ เข้าไปด้วยเพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพันสูงสุดต่อบริ
Full Text : Download! |
||
3. | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรักษาคนเก่งในองค์กร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อำพร พันธ์ชู | ||
การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยและวิเคราะห์ความสำคัญของ
ปัจจัยในการรักษาคนเก่งขององค์กร ตลอดจนเพื่อนำเสนอแนวทางในการรักษาคนเก่งของ
องค์กร
การศึกษาใช้แบบสอบถามเพื่อ โดยเก็บข้อมูลกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ คนเก่ง
ซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าโครงการในองค์กรกรณีศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 50 คน การวิเคราะห์ใช้สถิติ
เชิงพรรณนา ส่วนการวิเคราะห์ระดับอิทธิพลของปัจจัยต่อการคงอยู่ของคนเก่งในองค์กรใช้หลัก
ของ Likert Scale โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ มีอิทธิพลมาก (2.34-3.00) มีอิทธิพล (1.67-2.33)
และไม่มีอิทธิพล (1.00-1.66)
ผลของการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากต่อการคงอยู่ของคนเก่งในองค์กร
ประกอบไปด้วย 1. เสถียรภาพทางการเงินของบริษัท (2.66) 2. สภาพแวดล้อมในการทำงาน
และบรรยากาศทัว่ ไปสะดวกและปลอดภัย (2.58) 3. บริษัทไม่มีนโยบายเลิกจ้างพนักงาน
(2.58) 4. การปรับเงินเดือนที่เพมิ่ ขึ้นในแต่ละปี (2.54) 5. ผลตอบแทน เงินเดือน (2.52) 6. เงิน
โบนัส (2.42) 7. อิสระในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย (2.36) 8. ความสะดวกในการเดินทางมา
ทำงาน (2.36)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลมาก 3 อันดับแรกนั้น เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับองค์กร และเกี่ยวข้องกับ
ความมั่นคง เนื่องจากความต้อการของคนเก่งจะไม่ได้มองแค่ผลตอบแทนในปัจจุบัน แต่ให้
ความสำคัญกับความมั่นคงและผลตอบแทนที่จะได้ในอนาคตด้วย
แนวทางเพื่อการรักษาคนเก่งในองค์กรกรณีศึกษาในเรื่อง 1. การทำให้พนักงานรู้สึก
มั่นคงและเป็นที่ยอมรับ เช่น มีการสื่อสารนโยบายของบริษัทที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ข้อมูล
สภาวะการณ์ของบริษัทแก่คนเก่ง 2. การจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัล อาทิ ให้ค่าตอบแทน
เป็นพิเศษในกรณีที่คนเก่งบริหารงานโครงการได้สำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร 3. การปรับ
ตำแหน่งสําหรับ
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาการออกแบบไฟหน้าและไฟท้ายรถยนต์โดยใช้หลักการ QFD บริษัทกรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อภิศักดิ์ นาคถนอม | ||
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต่อไฟ
หน้าและไฟท้ายรถยนต์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ และนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อให้
บริษัทกรณีศึกษาสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบรถรุ่นใหม่ในอนาคต
ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างลูกค้าในการศึกษา
คือ ตัวแทนลูกค้าในกรุงเทพฯ อายุระหว่าง 18-60 ปี มีใบอนุญาตขับรถยนต์ จำนวนรวมทั้งสิ้น
400 ราย โดยสุ่มจากผู้ใช้บริการห้างสรรพสินค้าที่เป็นที่นิยมของคนกรุงเทพฯ เครื่องมือที่ใช้ใน
การศึกษาคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรม MICROSOFT
EXCEL เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ทางสถิติ เชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) เพื่อ
หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลความต้องการของลูกค้า และนำข้อมูลค่าความสำคัญแต่ละด้านมา
วิเคราะห์ตามหลักการ QFD โดยนำความต้องการของลูกค้ามาแปลงเป็นข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ
ใน 4 Phases ของ House Of Quality (HOQ) ได้แก่ การวางแผนผลิตภัณฑ์ การออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ การวางแผนกระบวนการผลิต และการวางแผนการผลิตไฟหน้า และไฟท้ายรถยนต์
ตามลำดับ และนำค่าความสำคัญต่างๆ จาก HOQ ทั้ง 4 Phases มาประเมินความเป็นไปได้ใน
การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็น รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล จาก
การศึกษาพบว่า ไฟหน้าและไฟท้ายรถยนต์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ขนาดเล็กของ
ลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ให้ความสำคัญกับรูปร่างภายนอกสูงสุดที่ต้องการให้ไฟหน้า
และไฟท้ายรถยนต์มีลักษณะแบบพลวัต (Dynamic) มีสีของโครงสร้างภายในเป็นสีควัน หรือ ดำ
มีไฟแอลอีดีดี
Full Text : Download! |
||
5. | การศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานต่อระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัทด้านไอที [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชีวารัตน์ สกุลศักดิ์ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานต่อระบบการ
บริหารผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัทด้านไอที ประชากรในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่
พนักงานทั้งหมด จำนวน 560 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ใช้แบบสอบถาม
การวิเคราะห์เกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของพนักงานต่อระบบการบริหารผลการ
ปฏิบัติงานจำนวน 10 ประเด็น พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็น ไม่เห็นด้วย
จำนวน 2 ประเด็น ด้านการตัดสินใจเกี่ยวการเลื่อนขั้นตำแหน่งของพนักงาน และด้านระบบการ
ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) และมีระดับความคิดเห็น ไม่แน่ใจ จำนวน 7 ประเด็น คือ ด้าน
ความเข้าใจในระบบการประเมินผล ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการเชื่อมเป้าหมายขององค์กร
หน่วยงานกับเป้าหมายพนักงาน ด้านพันธะผูกพันต่อเป้าหมายบริษัท ด้านเกณฑ์การให้รางวัล
ด้านการตัดสินใจขึ้นเงินเดือน และด้านความเข้าใจตัวชี้วัด และมีระดับความคิดเห็นเห็นด้วย
จำนวน 1 ประเด็น คือ ด้านผลงานไม่ได้ระดับมาตรฐาน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติและทดสอบสมมุติฐาน พบว่า หน่วยธุรกิจแตกต่างกัน
รวมทั้ง ประสบการณ์ทำงาน ระดับการศึกษา และระดับหน้าที่ต่างกัน (ฝ่ายจัดการและพนักงาน
ทั่วไป) มีความคิดเห็นต่อระบบการประเมินผลปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ผู้ศึกษาได้เสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานในประเด็น
ที่พนักงานมีระดับความคิดเห็นในระดับ ไม่เห็นด้วย 2 ประเด็น คือ ด้านการเลื่อนขั้นตำแหน่ง
ของพนักงาน และระบบการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
Full Text : Download! |
||
6. | การศึกษาปัจจัยในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์Diamond and Cubic Boron Nitride (CBN) Wheels กรณีศึกษา บริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชลลดา ตั้งในไตรสรณะ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์Diamond and
Cubic Boron Nitride (CBN) “heels กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นลูกค้าของบริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์
Diamond and Cubic Boron Nitride (CBN) Wheels จำนวน 86 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็น
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่
ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าประเภท Diamond and Cubic
Boron Nitride (CBN) Wheels สูงสุดคือปัจจัยด้านการจัดซื้อและส่งมอบ ( X = 4.73) รองลงมา
คือปัจจัยด้านตัวแทนจำหน่ายและพนักงานขาย ( X = 4.22) ถัดมาคือปัจจัยด้านคุณภาพ
( X = 4.16) ปัจจัยด้านการเงิน ( X = 4.14) ปัจจัยด้านราคา ( X = 3.70) และปัจจัยด้านการ
ส่งเสริมการขายและบริการหลังการขาย ( X = 3.26) ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า
ปัจจัยพื้นฐานของลูกค้าด้านขนาดของกิจการที่แตกต่างกัน มีปัจจัยในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์
ด้านการเงินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัยพื้นฐานของลูกค้าในด้านอื่นๆ เช่นประเภท
ของกิจการและ สัญชาติ มีปัจจัยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ส่วนความพึงพอใจต่อสินค้าและการบริการของบริษัทในปัจจัยด้านต่างๆพบว่า
ปัจจัยพื้นฐานของลูกค้าด้านประเภทของกิจการที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในปัจจัยด้านราคา
และในภาพรวมทุกปัจจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนสัญชาติของกิจการที่แตกต่างกัน
มีความพึงพอใจในปัจจัยด
Full Text : Download! |
||
7. | กรณีศึกษาการวางแผนการผลิตโดยการกำหนดปริมาณสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ที่เหมาะสมสำหรับโรงงานประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กรรณิการ์ ชาติชวนชม | ||
จากการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมสินค้าคงคลังให้
อยู่ในระดับที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า รวมทั้งยังช่วยลดต้นทุนการ
ผลิต และเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้กับบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยผู้ศึกษาได้ทำการกำหนดวิธีการในการกำหนดค่าเป้าหมายการ
เก็บสินค้าคงคลังในแต่ละรุ่นของผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนวัน เพื่อนำมาหาสาเหตุในการจัดเก็บ
สินค้าคงคลัง โดยแบ่งสินค้าคงคลังสำเร็จรูปออกเป็น 3 ประเภท คือสินค้าที่เก็บตามรอบเพื่อ
ตอบสนองความต้องการที่มีความแน่นอนและเวลานำในการสั่งคงที่และทราบล่วงหน้า (Cycle
Stock), สินค้าที่เก็บไว้เพื่อรองรับความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอก เช่น การเรียกงานที่แกว่ง
ของลูกค้า (Buffer Stock) และสินค้าที่เก็บไว้เพื่อรองรับความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายใน เช่น
ขาดแคลนวัตถุดิบ, เครื่องจักรเสีย ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นจากการบริหารจัดการของทาง
โรงงานเอง (Safety Stock) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ
กระบวนการต่างๆ ภายในโรงงานเพื่อลดเวลานำให้สั้นลง และวิเคราะห์ปัญหาจากส่วนแกว่ง
ของยอดผลิตในแต่วัน
จากการปรับปรุงทำให้ได้วิธีการในการกำหนดค่าเป้าหมายที่เหมาะสม และสามารถ
ลดจำนวนสินค้าคงคลังสำเร็จรูปในแต่ละวันได้ จากการปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ภายใน
โรงงาน เพื่อลด Cycle Stock และจากการหาสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาจากข้อมูลการ
ผลิตและปัญหาการผลิตงานในแต่วัน เพื่อลดจำนวนสินค้าคงคลังที่เกิดจากปัจจัยภายใน ซึ่งเป็น
การลด Safety Stock รวมทั้งยังได้ค่า Buffer Stock ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเรียก
งานที่แกว่งของลูกค้า และยังสามารถขยายผลไปยังผลิตภัณฑ์รุ่นอื่น
Full Text : Download! |
||
8. | การประยุกต์วิศวกรรมคุณค่าในการติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เกษมศักดิ์ สุวรรณศรี | ||
สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์
ก่อนการปรับปรุง Jig และเปลี่ยนกระบวนการเพื่อรองรับความต้องการใหม่ของลูกค้าและ
ปรับปรุงประสิทธิภาพด้านต้นทุนและแรงงานของ บริษัท ไทย ออโต้ คอนเวอร์ชั่น จำกัด โดย
นำเทคนิควิศวกรรมคุณค่ามาวิเคราะห์หน้าที่หลักของ Jig ในการประกอบอุปกรณ์ตกแต่ง
รถยนต์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยเป็นรถยนต์ตามแผนการผลิตของบริษัท
เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มละ
40 คัน ผลการศึกษา พบว่า ในกระบวนการเจาะ RR Bumper เป็นส่วนทีใช้เวลาและกำลังคน
เป็นจำนวนมาก ในการลดต้นทุนและกำลังคนจำเป็นต้องพัฒนา Jig ใหม่ และเปลี่ยนแปลง
กระบวนการติดตั้งใหม่ การทดสอบการใช้งาน Jig ในขบวนการผลิต พบว่า การติดตั้งมี
ประสิทธิภาพดีกว่าเดิม วิศวกรรมคุณค่าช่วยให้สามารถติดตั้งชิ้นส่วนให้ลูกค้าจาก 7 ชิ้น
เป็น 15 ชิ้นได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และลดกำลังคนจาก 7 คน เหลือ 6 คน เวลาใน
การใช้ Jig จับยึดเพื่อเจาะรูลดลงจาก 2 นาที เหลือ 17 วินาที ทำให้ต้นทุนลดลง การติดตั้ง
ชิ้นส่วนได้ตามความต้องการของลูกค้า ทำให้รายได้จากการติดตั้งชิ้นงานเพิ่มขึ้นเป็นเงิน
9,775,000 บาท
Full Text : Download! |
||
9. | การวิเคราะห์ต้นทุนบนฐานกิจกรรมและเกณฑ์เวลา เพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิต [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กรแก้ว สวนศิลป์พงศ์ | ||
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและต้นทุนของการผลิตเก้าอี้
รหัส 9201 และดำเนินการค้นหาจุดปรับปรุงโดยใช้การศึกษาการทำงาน การคิดต้นทุนบนฐาน
กิจกรรมและเกณฑ์เวลา (TDABC) แผนผังสายธารคุณค่า และการจัดวางผังของกระบวนการ
ผลิตเก้าอี้ รหัส 9201 ใหม่เพื่อลดต้นทุนที่เกิดจากความสูญเปล่าภายในกระบวนการผลิต
อุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์
ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการผลิตเก้าอี้รหัส 9201 ประกอบด้วย 10 กิจกรรม ได้แก่
กิจกรรมในกระบวนการตัด เจาะ ดัด เชื่อม เจีย ล้าง ตัดผ้า เย็บผ้า ใส่ผ้า และกระบวนการบรรจุ
กล่อง มีเวลารวมของกระบวนการเท่ากับ 1,548.08 นาที ต้นทุนของการผลิตเก้าอี้ 10 ตัว เท่ากับ
1,629.87 บาท ประกอบด้วยค่าวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าโสหุ้ย การวิเคราะห์
แผนผังสายธารแห่งคุณค่าพบว่ามีกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าและเป็นความสูญเปล่า จึงปรับ
แก้ไขโดยจัดวางเครื่องจักรใหม่เพื่อให้มีระยะในการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบน้อยลง และกำหนด
เส้นทางเดินของวัตถุดิบเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเปล่าจากการเคลื่อนที่ ทำให้เวลารวมของ
กระบวนการหลังการปรับปรุงลดลงเหลือ 1,348.82 นาที คิดเป็นลดลงร้อยละ 12.87 คิดเป็น
ต้นทุนค่าแรงที่ลดลงเป็นเงิน 234.29 บาทต่อวัน หรือร้อยละ 15.13 ต้นทุนบนฐานกิจกรรมและ
เกณฑ์เวลาช่วยให้เห็นกิจกรรมในกระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดต้นทุนสูง ทำให้สามารถ
ดำเนินการกำจัดความสูญเปล่าได้อย่างรวดเร็ว
Full Text : Download! |
||
10. | การวินิจฉัยองค์กรเพื่อแก้ไขปัญหาธุรกิจศูนย์บริการรถยนต์มาตรฐาน กรณีศึกษา ศูนย์บริการมาสด้าแห่งหนึ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นันทวัน แสงนาค | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยองค์กรของศูนย์บริการรถยนต์มาตรฐาน
กรณีศึกษา ศูนย์บริการมาสด้าแห่งหนึ่ง เพื่อค้นหาปัญหา สาเหตุของปัญหา และจัดลำดับ
ความสำคัญของปัญหาทีาเกิดขึ้น อีกทั้งยังนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักการ
เทคนิคและเครื่องมือของการวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shindan)
ผู้ศึกษาได้ศึกษาปัจจัยแวดล้อมภายนอกของธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในด้าน
สภาวะของอุตสาหกรรมการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ และคู่แข่งขันที่อยู่ย่านเดียวกัน
พร้อมทั้งทำการศึกษาและเก็บข้อมูล ณ สถานประกอบการ จากข้อมูลที่สถานประกอบการมีอยู่
แล้ว ในด้านการบริหารจัดการ การเงิน การตลาดและการขาย การให้บริการซ่อมบำรุง และ
การจัดการทรัพยากรมนุษย์พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้
ข้อมูลเชิงลึก จากนั้นนำมาวิเคราะห์เพื่อระบุปัญหาและสาเหตุของปัญหา และให้ข้อเสนอแนะ
ต่อไป
จากการวินิจฉัยองค์กรของสถานประกอบการแห่งนี้พบว่า ศูนย์บริการมาสด้า
กรณีศึกษา กำลังประสบปัญหา ผลประกอบการขาดทุน เนื่องจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการ
ดำเนินงานต่อยอดขายสูง และยอดขายของศูนย์บริการตํ่ากว่าเป้าหมาย สาเหตุหลักเกิดจาก
ทางธุรกิจยังขาดประสิทธิภาพในการบริหารการขาย จำนวนอัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
ตํ่า และขาดการตั้งเป้าหมาย การกระตุ้น และการติดตามการดำเนินงานด้าน ต้นทุน ยอดขาย
และกำไร ผลการวินิจฉัยครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ให้แนวทางการแก้ไขเพื่อให้สถานประกอบการมี
ผลประกอบการในด้านรายได้และต้นที่ดีขึ้น ด้วยการการปรับปรุงเรื่องการขยายฐานตลาดและ
ส่งเสริมการขาย การจัดการกำลังคน การพัฒนาและการสร้างแรงจูงใจพนักงานขาย
การพยากรณ์การขายและการจัดซื้อเพื่อเพิ่ม อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250