fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MBJ) 2017 |
1. | ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการบริหารแบบญี่ปุ่นกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรเอกชนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอมชรีอรณ์ ธรรมธีร์สุทธา | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการบริหาร แบบญี่ปุ่นกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรเอกชนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรีโดยมีกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 400 คน โดยใช่แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาสถิติเชิงพรรณา ใช้สถิติการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้ One-way Analysis of Variance (ANOVA) และ ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 30-40 ปี สถานโสด มีระดับ การศึกษาปริญญาตรี ตําแหน่งพนักงานปฏิบัติการ และมีอายุงานตั้งแต่ 1-9 ปี ผลการศึกษา เปรียบเทียบพบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทธุรกิจ ระดับของ ตําแหน่งงาน รายได้ และ จํานวนพนักงาน ที่แตต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัตรงานได้แก่ คุณภาพของงาน ปริมาณของงาน เวลาที่ใช้ทํางาน ค่าใช้จ่ายในงาน แตกต่างกัน ผลการศึกษาระดับวัฒนธรรมการบริหารแบบญี่ปุ่น พบว่า การจ้างงานตลอดชีพ ระดับสูง (X=3.511) และด้านความผูกพันธ์ในองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง (X=3.454, ส่วน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการประเมินผลและการเลื่อนตําแหน่ง X=3.400) ตามลําดับ ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่าง วัฒนธรรมญี่ปุ่นและ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ลักษณะวัฒนธรรมการบริหารแบบญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฎิบัติงาน ด้านคุมปริมาณของงานมีความสัมพันธ์สูงที่สุด (r = 0.797) ด้านคุณภาพของงาน (r = 0.784) และด้านค่าใช้จ่ายในงาน (r=0.681)
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลองค์กรกับการใช้ประโยชน์การบัญชีบริหาร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อมรศรี บุญรักษ์ | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลองค์กรได้แก่ประเภท ธุรกิจ รูปแบบการจดทะเบียน รูปแบบการลงทุน จํานวนพนักงาน กับการใช้ประโยชน์การบัญชี บริหาร ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างและสั่งการ การควบคุมและประเมินผล การตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อบรมสัมมนาบัญชีที่สภาพัฒนาวิชาชีพ และ กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จํานวน 480 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร็อยละ 84.21% มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 33.77% จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 59.43% ส่วนใหญ่เป็นผู้จัดการ/ผู้ช่วย ผู้จัดการ ร้อยละ 42.11% ทํางานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 71.27% ผลการวิเคราะห์ข้อมูล องค์กรธุรกิจ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการร้อยละ 60.96% การจดทะเบียนส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ บริษัทจํากัดร้อยละ 76.97% การลงทุนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการลงทุนไทย 100% ร้อยละ 82.02% ธุรกิจส่วนใหญ่มีพนักงานน้อยกว่า 50 คน ร้อยละ 58.99% ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์การบัญชีบริหารแต่ละด้านอยู่ใน ระดับสูง โดยมีการใช้งานในด้านการวางแผนสูงที่สุดมีค่าเฉลี่ย 3.94 รองลงมาคือ ด้านการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ย 3.94 ด้านการควบคุมและประเมินผลมีค่าเฉลี่ย 3.81 ด้านการจัดโครงสร้างและสั่งการ มีค่าเฉลี่ย 3.70 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่ารูปแบบการลงทุนได้แก่ ไทย 100%,ญี่ปุ่น 100%, ไทย-ญี่ปุ่น, อื่นๆ มีการใช้ประโยชน์การบัญชีบริหารแตกต่างกันในด้านการควบคุมและ ประเมินผล อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 และจํานวนพนักงาน
Full Text : Download! |
||
3. | การศึกษาศักยภาพจังหวัดเมืองรองในเขตภาคเหนือ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นแบบพำนักระยะยาว [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อาทิตยา สุดใจ | ||
จากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564) มีนโยบายการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อการสร้างรายได้และกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยกําหนด 55 จังหวัดเป็นจังหวัดเมืองรอง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะจังหวัดเมืองรองในเขตพื้นที่ ภาคเหนือ มีทั้งหมด 16 จังหวัดที่ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน ลําพูน ลําปาง พะเยา แพร่ น่าน ตาก อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กําแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และ อุทัยธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาศักยภาพความพร้อมของจังหวัดเมืองรองในเขตภาคเหนือ ของไทย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นแบบพํานักระยะยาว โดยพิจารณาจากดัชนีชี้วัดที่ สําคัญทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ (1) การพัฒนาแบบทั่วถึง (2) การเติบโตทางเศรษฐกิจและ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (3) ประสิทธิภาพในการดําเนินงานของภาครัฐ (4) การ เติบโตทางเศรษฐกิจสีเขียว (5) ดัชนีความก้าวหน้าของคน ดัชนีเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นถึงแนวทาง ความเป็นไปได้ในการรองรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นเข้ามาพํานักระยะยาวในจังหวัดเมืองรอง ของภาคเหนือ การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น แบ่งประเภทการ ท่องเที่ยวเป็น 10 ประเภท ตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของไทย ได้แก่ (1) กลุ่มท่องเที่ยว อารยธรรมล้านนา กลุ่มชาติพันธุ์ (2) กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลก ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและ กําแพงเพชร (3) กลุ่มท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในพื้นที่จังหวัด (4) กลุ่มท่องเที่ยวเชิงประเพณี วัฒนธรรม และอารยธรรมขอมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (5) กลุ่มท่องเที่ยว วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ําโขงในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 6) กลุ่มท่องเที่ยวเชิงกีฬา สันทนาการในพื้นที่
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นกับความพึงพอใจในอาชีพ : กรณีศึกษา พนักงานคนไทยในองค์กรญี่ปุ่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชมพูนุท รอดละม้าย | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นกับความพึงพอใจในอาชีพ กรณีศึกษาพนักงานคนไทยในองค์กรญี่ปุ่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีการพัฒนาสายความก้าวหน้าในงาน, การพัฒนาทักษะ, แรงสนับสนุนทางด้านสังคม เป็นตัวแปรสื่อ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการสํารวจความคิดเห็น ในการแจกแบบสอบถามให้กับพนักงานคนไทยในบริษัทญี่ปุ่น ในกรุงเทพมหานครและเขต ปริมณฑล จํานวน 452 คน โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียรสัน และสถิติความถดถอยพหุเชิงชั้นในการ วิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์พบว่า การโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่มีความสัมพันธ์กับความพึง พอใจในอาชีพ โดยมีการพัฒนาสายความก้าวหน้าในงาน, การพัฒนาทักษะเป็นตัวแปรสื่อสมบูรณ์ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในอาชีพ โดยมีแรงสนับสนุน ทางด้านสังคมเป็นตัวแปรสื่อบางส่วน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ผลการวิจัยดังกล่าวนําไปใช้ใน องค์กรได้ ซึ่งกล่าวคือ การโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ จะต้องมีการอบรมพัฒนาทักษะของพนักงาน และการพัฒนาสายความก้าวหน้าในงาน เช่น การเลื่อนตําแหน่ง จึงจะทําให้พนักงานมีความพึงพอใจ ในอาชีพ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจพนักงานมีความพึงพอใจในอาชีพ ถ้ามีแรงสนับสนุน ทางด้านสังคม ร่วมด้วยก็จะส่งเสริมให้พนักงานมีความความพึงพอใจในอาชีพอีกทางหนึ่ง ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป อาจจะใช้ตัวแปรสื่อในด้านอื่นมาหาความสัมพันธ์ เชน่ การบริหาร จากระดับล่างขึ้นบน เป็นต้น
Full Text : Download! |
||
5. | เปรียบเทียบความแตกต่างของวัฒนธรรมองค์กรไทยและองค์กรญี่ปุ่นที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชลลดา ผลาชีวะ | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการ ตั้งเป้าหมาย การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานในองค์กรไทยและองค์กรญี่ปุ่นตามทฤษฎีแรงจูงใจในการทํางาน โดยมีการประเมิน แก่นแท้ของตนและการพัฒนาศักยภาพของตนเป็นตัวแปรสื่อความสัมพันธ์ ตามทฤษฎีการ ตั้งเป้าหมายและทฤษฎีการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา โดยใช้แบบสอบถาม ความคิดเห็นพนักงานในบริษัทไทยและญี่ปุ่นรวม 400 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation) การถดถอยพหุเชิงชั้น ในการวิเคราะห์ข้อมูล (Hierarchical Multiple Regression) และการทดสอบความแตกตาง (T-test) ผลการวิจัยพบว่าพนักงานในบริษัทไทยและญี่ปุ่นรับรู้เรื่องการพัฒนาศักยภาพของตน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าการตั้งเป้าหมายมีความสัมพันธ์กับ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมีการประเมินแก่นแท้ของตนเป็นตัวแปรสื่อใน ความสัมพันธ์ดังกล่าว ในขณะที่การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา มีความสัมพันธ์ กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมีการพัฒนาศักยภาพของตนเป็นตัวแปรสื่อ ความสัมพันธ์ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นความสําคัญของการพัฒนาศักยภาพของตนและการประเมิน แก่นแท้ของตนในการพนักงานให้ทักษะในการทํางานที่เพิ่มขึ้นและส่งผลให้องค์กรมีความเจริญ ก้าวหน้าและเติบโตยิ่งขึ้น
Full Text : Download! |
||
6. | เจนเนอเรชั่นและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน (บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ดุษฎี อิศราพฤกษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กร 2) เปรียบเทียบเจนเนอเรชั่นที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 3) เปรียบเทียบเจนเนอเรชั่นที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานจำนวน 410 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ One Sample T-test One-Way Analysis of Variance (ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจับพบว่า 1) ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรด้านคุณภาพ ด้านปริมาณ ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย อยู่ในระดับสูง 2) เจนเนอเรชั่นมีผลต่อประสิทธิภาพในการฏิบัติงานด้านคุณภาพ ปริมาณ ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย ไม่แตกต่างกัน 3) เจนเนอเรชั่นมีผลต่อแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ/ปัจจัยกระตุ้น ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความก้าวหน้า ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยค้ำจุน ด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ ด้านนโยบายบริษัทและการบริหาร ด้านความสัมพันธ์ในหมู่พนักงานด้วยกันในองค์กร ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน ด้านการควบคุมดูแลของหัวหน้างาน และด้านความมั่นคงในงาน ไม่แตกต่างกัน 4) ปัจจัยจูงใจ/ปัจจัยกระตุ้น ในเรื่องความรับผิดชอบมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านปริมาณงานสูงสุด (r=.651) ด้านเวลาเป็นลำดับรองลงมา (r=.599) และด้านคุณภาพของงานอยู่ในลำดับถัดมา (r=.578) ส่วนในเรื่องด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคลมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านค่าใช้จ่ายสูงสุด (r=.566) ปัจจัยค้ำจุน ในเรื่องความมั่นคงมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบ
Full Text : Download! |
||
7. | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นกับการบริหารคุณภาพของ SMEs ไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรุจน์ สุทธิโรจน์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น และ การบริหารคุณภาพของ SMEs ไทย-ญี่ปุ่น 2) เปรียบเทียบปัจจัยองค์กรที่ส่งผลกับการบริหาร การผลิตแบบญี่ปุ่น และการบริหารคุณภาพของ SMEs ไทย-ญี่ปุ่น และ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่างการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นกับการบริหารคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ องค์กรธุรกิจ SMEs จํานวน 64 องค์กร โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาระดับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นและการบริหารคุณภาพ พบว่า องค์กร SMEs ไทย-ญี่ปุ่น ให้ความสําคัญกับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นในระดับสูง (X=3.55) และให้ความสําคัญกับการบริหารคุณภาพในระดับสูง (X=3.92) ผลการเปรียบเทียบการบริหารคุณภาพด้านต้นทุน พบว่า ขนาดองค์กรที่มีจํานวนพนักงาน น้อยกว่า 50 คน มีการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานด้าน 5ส ด้านการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้าน PDCA ด้าน Ho-Ren-So และการขจัดความสูญเปล่า แตกต่างจาก องค์กรที่มีจํานวนพนักงานมากกว่า 50 อย่างมีนัยสําคัญ และการบริหารคุณภาพด้านการจัดส่ง พบว่า องค์กรที่มีเงินลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นจะมีการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นด้านมาตรฐาน การปฏิบัติงาน 5ส การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง PDCA Ho-Ren-So และการขจัดความสูญเปล่า แตกต่างจากองค์กรที่ไม่ได้รับเงินลงทุนจากญี่ปุ่นอย่างมีนัยสําคัญ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าการบริหารคุณภาพด้านคุณภาพมีความสัมพันธ์ กับด้านการขจัดความสูญเปล่า (r=0.704) ในระดับสูง ส่วนด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน (r=0.361) 5ส (r=0.386) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (r=0.435) และ Ho-Ren-So (r=0.478)
Full Text : Download! |
||
8. | ประสิทธิภาพสื่อประชาสัมพันธ์ขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จุฑารัตน์ ชุตินันทกุล | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบสื่อที่มีประสิทธิภาพและสามารถ เข้าถึงผู้รับรับสารได้มากที่สุด เพื่อศึกษารูปแบบการทําสื่อประชาสัมพันธ์ขององค์การส่งเสริม การท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan National Tourism Organization) เพื่อศึกษาประเภท ของสื่อกับลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้รับสื่อ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจํานวน 400 คน ทั้งผู้ที่มีประสบการณ์เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นและไม่เคย ไป กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือ นักเรียน นักศึกษา คนทํางาน ผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 50 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและมีความสามารถตอบแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ T-test, F-Test, One way ANOVA โดยทดสอบความแตกต่าง ระหว่างเพศ ความแตกต่างระหว่างช่วงอายุ ความแตกต่างระหว่างระดับการศึกษา ความแตกต่าง ระหว่างสถานภาพ ความแตกต่างระหว่างอาชีพ ความแตกต่างระหว่างรายได้ และความแตกต่าง ระหว่างประสบการณ์เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นของผู้รับสารกับการเปิดรับสื่อ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบสื่อที่มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงผู้รับสารได้มากที่สุด คือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ค และรูปแบบการทําสื่อประชาสัมพันธ์ ขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สื่อที่ทางองค์การเป็นผู้ควบคุม ดูแลและสื่อที่มีการว่าจ้างให้ผลิตรวมถึงหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดทําสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังพบว่าลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้รับสารกับ ประเภทของสื่อประชาสัมพันธ์มีความแตกต่างกันทุกด้าน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-20 ปี มีสถานภาพโสด รายได
Full Text : Download! |
||
9. | ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดซึ่งส่งผลต่อการลาออกขององค์กรญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ลลิตา ทาดา | ||
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดที่เกิดจากการบทบาทที่ขัดแย้งและบทบาทที่คลุมเครือกับความตั้งใจลาออกโดยมีความเหนื่อยหน่ายจากการทำงาน แรงสนับสนุนทางสังคม และแรงสนับสนุนจากหัวหน้า เป็นตัวแปรสื่อความสัมพันธ์ ตามทฤษฎีความเครียดของร็อบบิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือพนักงานคนไทยซึ่งทำงานในองค์กรญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม และประมวลผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สมการถดถอยพหุเชิงชั้น) ผลการวิจัยพบว่าความเครียดที่เกิดจากบทบาทที่ขัดแย้ง และบทบาทที่คลุมเครือมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจลาออก และยังพบว่าความเหนื่อยหน่ายจากการทำงาน, แรงสนับสนุนทางสังคม, แรงสนับสนุนจากหัวหน้าเป็นตัวแปรสื่อความสัมพันธ์ดังกล่าวโดยแรงสนับสนุนทางสังคม, แรงสนับสนุนจากหัวหน้าเป็นตัวแปรสื่อทางลบกล่าวคือทำให้ความเครียดลดลงและส่งให้ความตั้งใจลาออกลดลงด้วย ส่วนความเหนื่อยหน่ายจากการทำงานเป็นตัวแปรสื่อทางบวกของความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทที่ขัดแย้งและคลุมเครือกับความตั้งใจลาออก กล่าวคือความเครียดที่เกิดจากบทบาทที่ขัดแย้ง, บทบาทที่คลุมเครือทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นและส่งผลทำให้ความตั้งใจจะลาออกเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากผลการวิจัยนี้ องค์กร โดยเฉพาะหัวหน้างาน ควรตระหนักถึงความเครียดในบทบาทของพนักงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยการทำให้พนักงานในองค์กรปฏิบัติงานด้วยความพึงพอใจเช่น มีสวัสดิการ อัตราเงินเดือนดี หัวหน้างานต้องเปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาแสดงความเห็น เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อลดความเครียด ความเหนื่อยหน่ายจากการทำงาน และความตั้งใจลาออก
Full Text : Download! |
||
10. | การบริหารองค์กรแบบญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อองค์กรของพนักงานชาวไทย บริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐนรี ขาวดา | ||
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการบริหารองค์กรแบบญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อองค์กรของพนักงานชาวไทย (บริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานชาวไทยที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นตั้งอยู่ในนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient)
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า พนักงานมีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมการบริหารงานแบบญี่ปุ่น ในองค์กรของพนักงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ ยังพบว่าพนักงานชาวไทยมีความคิดเห็นต่อความพึงพอใจในองค์กรของพนักงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่าการบริหารองค์กรแบบญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความพึงพอใจของพนักงานชาวไทยด้านการติดต่อสื่อสาร ในระดับปานกลาง (r=.655) และในด้านระบบงาน ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ด้านโอกาสความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน มีความสัมพันธ์ในระดับสูง (r=.870, r=.832, r=.825, r=.756) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ .01
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250