fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MBJ) 2015 |
1. | การศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัท A [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กนกวรรณ มาลาพิเชฐ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีความ
สัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ที่
แตกต่างกันมีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน ใช้
แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ทางเดียว และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี มีการศึกษาระดับ
ต่ำกว่าปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท และมีประสบการณ์ในการทำงาน
กับองค์กร 1-2 ปี
ผลการวิจัยระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มี
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในด้านความต้องการความสำเร็จ ( X =3.45) และด้านความต้องการ
ความผูกพัน ( X =3.78) อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านความต้องการอำนาจ ( X =3.40) อยู่ในระดับ
ปานกลาง
ผลการวิจัยระดับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มี
ความจงรักภักดีต่อองค์กรในด้านพฤติกรรมที่แสดงออก ( X =3.81), ด้านความรู้สึก ( X =3.56)
และด้านการรับรู้ ( X =3.52) อยู่ในระดับสูงทุกด้าน
ผลการวิจัยปัจจัยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดี พบว่า ปัจจัยแรงจูงใจ
ด้านความต้องการความสำเร็จ (r=0.698), ปัจจัยแรงจูงใจด้านความต้องการความผูกพัน
(r=0.740), และปัจจัยแรงจูงใจด้านความต้องการอำนาจ (r=0.775) มีความสัมพันธ์กับความจงรัก
ภักดีสูงในทุกด้าน
นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ (เพศ, ระดับการศึกษา, รายได้
เฉลี่ยต่
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัท A [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : น้อมลาภ แก้วชื่น | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรกับ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลที่
แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานในบริษัท
A จำนวน 150 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก
และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการ
หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-35 ปี
สถานภาพโสด ระดับการศึกษาดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับตำแหน่งงานเป็นพนักงานปฏิบัติการ
มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท และมีประสบการณ์ทำงานกับองค์กร 1-5 ปี
ผลการวิจัยระดับวัฒนธรรมองค์กร พบว่า พนักงานให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม
องค์กรทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยให้ความสำคัญกับด้านวัฒนธรรมที่เน้นงาน ( X =3.62) เป็น
อันดับ 1 รองลงมาคือด้านวัฒนธรรมที่เน้นบทบาท ( X =3.53) วัฒนธรรมแบบเน้นผู้นำ ( X =
3.49) และวัฒนธรรมที่เน้นบทบาทอิสระเฉพาะตัวบุคคล ( X =3.43) ตามลำดับ
ผลการวิจัยระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน พบว่า พนักงานให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานทุกด้านในระดับสูง โดยให้ความสำคัญกับด้านวิธีการ ( X =3.74) เป็นอันดับ 1
รองลงมาคือด้านเวลา (X =3.67) ด้านปริมาณ (X =3.59) ด้านค่าใช้จ่าย (X =3.56) และด้านคุณภาพ
( X =3.54) ตามลำดับ
ผลการวิจัยความสัมพันธ์ของปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
พบว่า ด้านวัฒนธรรมที่เน้นบทบาทอิสระเฉพาะตัวบุคคลมีความสัมพันธ
Full Text : Download! |
||
3. | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานแบ่งตามคุณลักษณะของบุคคล กรณีศึกษา บริษัทแมทธีเรียลออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นันท์นภัส กูนาติลกา | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของพนักงานตามทัศนะของ
แม็กเกรเกอร์(Douglas McGregor’s Theory X and Theory Y) ที่กล่าวไว้ในทฤษฎีX และ
ทฤษฎีY กรณีศึกษา บริษัทแมทธีเรียล ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำนวน 150 คน โดยแบ่ง
พนักงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พนักงานกลุ่ม Y และพนักงานกลุ่ม X ด้วยแบบทดสอบของ Alan
Chapman, (2001-2008) ผลของการทดสอบด้วยเครื่องมือดังกล่าวพบว่าพนักงานที่จัดอยู่ใน
กลุ่ม Y จำนวน 142 คน พนักงานกลุ่ม X จำนวน 8 คน จากนั้นจึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง
ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยสุขอนามัย ส่งผลต่อความจงรักภักดีเฉพาะพนักงานในกลุ่ม Y ที่มีต่อองค์กร
ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัย
จูงใจ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความสำเร็จ ด้านการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ด้านลักษณะงาน
ด้านความรับผิดชอบ และด้านความก้าวหน้า ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานกลุ่ม Y ใน
ทำนองเดียวกัน ปัจจัยสุขอนามัย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านนโยบายการบริหาร ด้านการบังคับ
บัญชา ด้านสภาพการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านเงินเดือนและความมั่นคง
ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานกลุ่ม Y เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์กลุ่ม
ตัวอย่าง จำนวน 150 คน (พนักงานกลุ่ม Y และกลุ่ม X) ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
(Pearson’s Correlation Coefficient) พบว่าอายุของพนักงานมีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดี
ในขณะที่ระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อ
องค์กร เป็นที่น่าแปลกใจที่ระดับการศึกษาของพนักงานกลับมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดี
ของพนักงานในทิศทางตรงกันข้าม
Full Text : Download! |
||
4. | ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นกับสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พัชรี ภักดีชาติ | ||
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นกับสถาบันสอน
ภาษาญี่ปุ่น ในเขตกรุงเทพมหานครมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทาง
การตลาดบริการ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า ด้านความภักดีต่อตราสินค้า และด้านความ
เชื่อมั่นในตราสินค้า ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่น 2. เพื่อเปรียบเทียบลักษณะ
ประชากรศาสตร์ที่กับการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่น และ 3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ภาพลักษณ์ตราสินค้า ความภักดีต่อตราสินค้า และความเชื่อมั่นในตราสินค้า กับการตัดสินใจ
เลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธี
สุ่มตามความสะดวก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการหาค่าแจก
แจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง การ
วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 16-20 ปี มีระดับการศึกษา
ปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในปัจจัยด้านบุคลากรเป็นอันดับ1
( X =4.41) รองลงมาคือปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ ปัจจัยด้านราคา ( X =4.30) ปัจจัยด้าน
ลักษณะทางกายภาพ ( X =4.27) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์( X =4.24) ปัจจัยด้านช่องทางการจัด
จำหน่าย ( X =4.10) และอันดับสุดท้ายคือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ( X =3.87)
กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในปัจจัยด้านความภักดีต่อตราสินค้าเป็นอันดับ 1
( X =4.04) รองลงมาคือปัจจัยด้านความเชื่อมั่นในตราสินค้า ( X =4.01) และอันดับสุดท้ายคือ
ปัจจัยด้านภาพลัก
Full Text : Download! |
||
5. | ความคาดหวังของลูกค้าต่อบริษัทเทรดดิ้งของบริษัทญี่ปุ่น กรณีศึกษาบริษัท XYZ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรัมณิยา อินทรวรศิลป์ | ||
การศึกษาความคาดหวังของลูกค้าต่อบริษัทเทรดดิ้งของบริษัทญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของลูกค้าต่อบริษัทเทรดดิ้งของบริษัทญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบ
คุณลักษณะของลูกค้าที่มีต่อความคาดหวัง ได้แก่ ด้านความมั่นใจ (Assurance Dimension),
ด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว (Responsiveness Dimension), ด้านความเชื่อถือได้(Reliability
Dimension), ด้านการเข้าถึงจิตใจลูกค้า (Empathy Dimension) และด้านลักษณะทางกายภาพ
(Tangibles Dimension) แตกต่างกันอย่างไร โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าของบริษัทเทรดดิ้งญี่ปุ่น
จำนวน 110 ราย ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ (Frequency), ร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of
Variance)
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ซึ่งมีทุนจดทะเบียนมากกว่า 200 ล้านบาท เป็นองค์กรที่มีจำนวนพนักงาน 1-50 คน ส่วนใหญ่
เป็นเจ้าหน้าที่ และมีอายุการทำงานระหว่าง 2-5 ปี
ผลจากการศึกษา พบว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับความคาดหวังด้านความมั่นใจต่อ
บริษัทเทรดดิ้ง ( X =4.11) การตอบสนองที่รวดเร็วต่อบริษัทเทรดดิ้งญี่ปุ่น ( X =4.18) ด้านการ
เข้าถึงจิตใจของลูกค้าของบริษัทเทรดดิ้งญี่ปุ่น ( X =4.20) และด้านลักษณะทางกายภาพของ
บริษัทเทรดดิ้งญี่ปุ่น ( X =4.16) ในระดับสูง ยกเว้นด้านความเชื่อถือได้ต่อบริษัทเทรดดิ้งญี่ปุ่น
( X =4.37) ลูกค้าให้ความสำคัญในระดับสูงมาก
และผลจากการศึกษาพบว่า ลูกค้าที่มีความแตกต่างกันด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่
ประเภทของอุตสาหกรรม(Types of Industries), ขนาด
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250