fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (LMS) 2022 |
1. | การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดข้อบกพร่องในกระบวนการหล่อเครื่องประดับเงินด้วยเทคนิคกาารออกแบบการทดลองแบบทากูชิ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปริญญา ทราจารวัฒน์ | ||
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้ คือการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดข้อบกพร่อง
กระบวนการหล่อเครื่องประดับเงิน และการนำวิธีการออกแบบมาทดลองมาใช้เพื่อลดข้อบกพร่อง
ที่เกิดจากกระบวนการหล่อเงินให้น้อยที่สุด โดยเริ่มศึกษาในกระบวนการผลิตดั่งเดิมเพื่อกำหนด
ปัจจัยที่จะนำมาศึกษา และเก็บข้อมูลจำนวนของข้อบกพร่องที่เกิดและนำไปเปรียบเทียบกับ
ข้อบกพร่องที่พบภายหลังการดำเนินการปรับปรุง
จากการเก็บข้อมูลสามารถกำหนดปัจจัยที่จะทำศึกษาจำนวน 8 ปัจจัย โดยแบ่งปัจจัย
เป็นปัจจัยที่มี 2 ระดับ 1 ปัจจัย และปัจจัยที่มี 3 ระดับ 7 ปัจจัย จึงได้นำการออกแบบการ
ทดลองแบบทากูชิมาใช้ โดยจะได้ตรงตามรูปแบบที่ L18 (2^1x3^7) ซึ่งมีการทดลองเพียง 18
การทดลอง เมื่อทำการทดลองทั้ง 18 ครั้ง พบว่าการทดลองที่ดีที่สุดพบข้อบกพร่องเฉลี่ย 7.6
จุดต่อวง ขณะที่พบตำหนิมากที่สุด 27 จุดต่อวง และเมื่อทำการวิเคราะห์ด้วย S/N Ratio ก็จะได้
ระดับของแต่ละปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดข้อบกพร่องน้อยที่สุด และเมื่อทำการทดลองยืนยันผลตาม
การวิเคราะห์พบว่าตำหนิที่ได้นั้นมีเพียง 3.75 จุดต่อวง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับข้อบกพร่องเฉลี่ย
ก่อนของการผลิตแบบเดิมที่ 30.48 จุดต่อวง แสดงให้เห็นว่าหากผลิตตามผลที่ได้จากงานวิจัยนี้
จะสามารถลดการเกิดข้อบกพร่องได้ถึง 87.69% และช่วยลดค่าใช้จ่ายได้การซ่อมงานได้ถึง 960,000
บาทต่อปี หรือลดลง 80%
Full Text : Download! |
||
2. | การลดเวลาเบิกจ่ายอะไหล่สำรองคงคลัง : กรณีศึกษา บริษัทผลิตกระป๋องบรรจุภัณฑ์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปริญญา โตงามรักษ์ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการเบิกจ่ายอะไหล่สารองคงคลังกรณีศึกษาบริษัทผลิตกระป๋องบรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการลดความสูญเปล่า (ECRS) โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนและระยะเวลาในการรอคอยของกระบวนการเบิกจ่ายอะไหล่สารองคงคลัง โดยเริ่มจากการศึกษาข้อมูลกระบวนการดาเนินงาน เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานและเบิกอะไหล่สารองคงคลังได้รวดเร็วและลดเวลาในการซ่อมเครื่องจักรในแต่ละครั้ง
ในปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นพบว่ามาจากการควบคุมการเบิกจ่ายอะไหล่ที่พบในบริษัทกรณีศึกษา ในขั้นตอนการรออนุมัติอะไหล่สารอง งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการปรับปรุงของกระบวนการเบิกอะไหล่สำรองคงคลัง
โดยผู้วิจัยใช้ทฤษฎีแผนผังก้างปลาเพื่อหาสาเหตุของปัญหาและได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแผนภูมิกระบวนการไหล (Flow Process Chart) จับเวลาการทำงานและหาเวลามาตรฐานของแต่ละกระบวนเพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าและหาแนวทางแก้ไขด้วยหลักการลดความสูญเปล่า (ECRS) ได้แก่ การกำจัดกระบวน (Eliminate) การนำกระบวนหรือขั้นตอนมารวมกัน (Combine) การจัดลำดับขั้นตอนใหม่ (Rearrange) การทำให้ง่ายขึ้น (Simplify) ผลจากการปรับปรุงสามารถลดระยะเวลาของการปฏิบัติงานจากเดิมใช้เวลา 354 นาที ลดลงเหลือ 71 นาที คิดเป็นร้อยละ 80 ลดขั้นตอนการปฏิบัติลงเหลือ 15 ขั้นตอนและลดระยะทางจากเดิม 653 เมตร ลดลงเหลือ 359 เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ส่งผลทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสทางการผลิตได้ประมาณ 483,075 บาท./ปีและลดต้นทุนแรงงานที่เกิดจากการรอคอยการอนุมัติได้ประมาณ 470,916 บาท. / ปี
Full Text : Download! |
||
3. | การปรับปรุงวิธีการตรวจสอบคุณภาพด้วยสายตา : กรณีศึกษา สายการประกอบรถจักรยานยนต์รุ่นใหญ่ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สมฤดี ตรีพัชรทิพย์ | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับปรุงวิธีการตรวจสอบด้วยสายตา
กรณีศึกษาการตรวจสอบรถจักรยานยนต์รุ่นใหญ่ ณ โรงงานกรณีศึกษา เป็นศึกษาการตรวจสอบ
ความสมบูรณ์ของจักรยานยนต์รุ่นใหญ่ก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า โดยมีรายละเอียดและจุดสำคัญ
ที่จะต้องทำการตรวจเช็คคุณภาพของรถจักรยานยนต์รุ่นใหญ่หลังการประกอบ สภาพการทำงาน
ก่อนปรับปรุงใช้รูปแบบการตรวจเช็คด้วยแบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพที่เป็นแผ่นกระดาษ มี
จำนวนครั้งของการผิดพลาดในกระบวนการทำงานคิดเป็นร้อยละ 30 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจาก
ความสูญเสียต่างๆ ในขั้นตอนการตรวจสอบและทักษะของผู้ปฏิบัติงาน การนำเทคโนโลยีแสดงผล
ด้วยภาพดิจิทัลของชิ้นงานร่วมกับโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นและบันทึกผลการตรวจสอบคุณภาพ
ผ่านแท็บเล็ต หลักการ ECRS ถูกนำมาใช้เพื่อลดความสูญเปล่าในการทำงานจัดเรียงลำดับความ
สำคัญขั้นตอนใหม่ ช่วยประหยัดทรัพยากร ส่งผลสามารถลดต้นทุนการผลิต และความผิดพลาด
ที่เกิดจากการตัดสินใจของพนักงานได้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในกระบวนการตรวจสอบความสมบูรณ์
ของจักรยานยนต์รุ่นใหญ่เพิ่มขึ้น โดยพบว่าจำนวนครั้ง ของการผิดพลาดในกระบวนการทำงาน
ลดลงเหลือร้อยละ 10 งานวิจัยนี้จึงสามารถใช้เป็นต้นแบบการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การทำงานของแผนกควบคุมคุณภาพการประกอบก่อนส่งมอบลูกค้า
Full Text : Download! |
||
4. | การวินิจฉัยธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยสถานประกอบการ (ชินดัง) : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอัญมณี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศวิษฐ์ ศรีเบญจภานนท์ | ||
การค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เทคนิคชินดังในการวินิจฉัยสภาพปัญหา
และเสนอแนวทางแก้ไขให้แก่ บริษัทกรณีศึกษาอุตสาหกรรมอัญมณี โดยการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บ
รวบรวมขอมูลโดยใช้แบบสอบถามขอมูลเบื้องต้นของกิจการ ร่วมกับการสังเกต และการสัมภาษณ์
เชิงลึกกับผู้บริหาร และพนักงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการสำรวจเฉพาะด้านเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง
และสถานะการดำเนินงานในปัจจุบันโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ครอบคลุมขอบเขต
งานหลัก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการบริหาร
ทรัพยากรบุคคล และ ด้านบัญชี/การเงิน เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม จากการ
วิเคราะห์พบว่า ปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไขอันดับแรกคือ ด้านการผลิต การตลาด การจัดซื้อ
และจัดหา พบประเด็นปัญหา ว่าสภาพปัจจุบันธุรกิจประสบปัญหาผลกำไรลดลงอย่างต่อเนื่อง
อันเนื่องมาจากสาเหตุหลัก 4 ประการด้วยกัน 1) เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต 2) ขาด
การกำหนดทิศทางในการนำข้อมูลทาวิเคราะห์ และติดตาม 3) ทิศทางการดำเนินธุรกิจไม่ชัดเจน
4) ขาดกาพัฒนาองค์กรในเรื่องของความรู้ด้านการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งสาเหตุของปัญหาทั้งหมด
ที่ได้กล่าวมาจะถูกนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขปรับปรุง
รวมถึงการกำหนดกลยุทธ์ ในการเพิ่มผลกำไรให้กับบริษัทกรณีศึกษา โดยสามารถลดอัตราการ
ทำซ้ำ (Rework) ของงานขัด และงานแต่ง จาก 120 วงต่อวัน เหลือ 40 วงต่อวัน ซึ่งสามารถช่วยลด
ความสูญเสียจากการทำซ้ำเป็นเงิน 1,152,0000 บาทต่อปี อัตราการลาออกของพนักงานลดลง
จากปี พ.ศ. 2563 ที่ 21 คน เหลือ พนักงานลาออกในปี พ.ศ. 2564 เพียง 4 คน สามารถช่วยลด
ความสูญเสียจากการที่พนักงานลาออกได้ถึง 689,520 บาท
Full Text : Download! |
||
5. | การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตกากเมล็ดในปาล์มเกรด Super Premium สำหรับใช้เป็น วัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศุภพิสุทธิ์ พิสุทธิ์ธนนันท์ | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตกากเมล็ดในปาล์ม
เกรด Super Premium สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์โดยการนำแผนภูมิการไหล
ของกระบวนการ (Flow Process Chart) มาช่วยในการบันทึกข้อมูล และ วิเคราะห์กระบวนการผลิต
ปัจจุบันเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยโปรแกรม Technomatix Plant Simulation
เพื่อจำลองกระบวนการผลิตในคอมพิวเตอร์ สำหรับหาคอขวด และจุดที่ต้องพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการผลิต เพื่อนำมาพัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการนั้นด้วยหลักการคิดแบบลีน
โดยในการวิเคราะห์ปัญหาด้วยแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ดังกล่าวพบว่า เกิดคอขวดใน
การผลิตที่กระบวนการบรรจุ ชึ่งและเย็บปิดปากกระสอบกากเมล็ดในปาล์ม จึงได้ทำการสร้าง
แบบจำลอง 3 มิติ (3D) เพื่อปรับปรุง และพัฒนากระบวนการดังกล่าวในโปรแกรม SketchUp ด้วย
หลักการ ECRS และ SMED ก่อนนำมาสร้างระบบการบรรจุกระสอบกึ่งอัตโนมัติ และทำการ
ทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อปรับปรุงในกระบวนการผลิตต่อไป
ผลจากการปรับปรุงกระบวนการการบรรจุ ชึ่งและเย็บปิดปากกระสอบ พบว่า จาก
กระบวนการผลิตดั้งเดิมที่ใช้เวลาในการบรรจุกระสอบ 1 นาที 18 วินาทีต่อกระสอบ เมื่อใช้ระบบ
การบรรจุกึ่งอัตโนมัติที่ทางผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้น สามารถบรรจุได้เร็วขึ้น 29 วินาที เหลือเวลา
ทำงานเพียง 49 วินาทีต่อกระสอบ ลดเวลาการทำงานลงร้อยละ 37.18 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตกากเมล็ดในปาล์มเกรด Super Premium จาก 300 กระสอบ เป็น 500 กระสอบต่อวัน ได้
ผลผลิตเพิ่มขึ้นวันละ 200 กระสอบ หรือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ร้อยละ 66.00 คิดเป็น
รายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 47,000 บาทต่อวัน (ราคาขาย 235 บาทต่อกระสอบ) หรือ 1.18 ล้านบาท
ต่อเดือน หรือ 14.10 ล้านบาทต่อปี และยั
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250