fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (EEM) 2014 |
1. | ความต้องการการออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อมรรัตน์ เหมทานนท์ | ||
ในการศึกษานี้ได้ทำ การศึกษาความต้องการการออกกำ ลังกายของนิสิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความต้องการเกี่ยวกับการ
ออกกำลังกายในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านหน่วยงานและด้านบุคลากรผู้รับผิดชอบในการให้บริการ
ด้านสถานที่อุปกรณ์ และสงิ่ อำนวยความสะดวก ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณสนับสนุน ด้าน
ชนิดของ กิจกรรรม และด้านช่วงเวลาในการออกกำลังกาย ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางใน
การดำเนินการ จัดเสริมรวมทั้งการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาให้การบริการทางด้านการ
ออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้บังเกิดผลดี มีประสิทธิภาพรวมทั้ง
สอดคล้องและเพียงพอแก่ความต้องการมากยงิ่ ขึ้นต่อไป
โดยกรอบการศึกษาครัง้ นี้ ผู้ศึกษามุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับความต้องการการออกกำลัง
กายของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ชัน้ ปีที่ 1 ถึง 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ จำนวน 400 คน โดย
วิธีการเก็บแบบสอบถามและวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่า S.D และใช้ การวิเคราะห์ T-Test, One
Way ANOVA
ผลการศึกษา พบว่า เพศหญิง (ร้อยละ 53.8) ซึ่งมีจำนวนเกือบเท่าๆ กันกับเพศชาย
(ร้อยละ 46.2) ส่วนใหญ่ออกกำลังกายจำนวน 2 วัน/สัปดาห์ คิดเป็นร้อย 30.2 มีระยะเวลาที่
ออกกำลังกายมากกว่า 20 นาที/ครัง้ คิดเป็นร้อย 54.0 โดยออกกำลังกายในช่วงเวลาระหว่าง
16.30-18.30 น. คิดเป็นร้อย 66.8 และออกกำลังกายที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้
ส่วนใหญ่ต้องการกิจกรรมการออกกำลังกายที่มากที่สุด จากการเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพความ
ต้องการการออกกำลังกายโดยระดับมากที่สุด คือ ด้านส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย
รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านอุปกรณ์ สถานที่และสงิ่ อำนวยความสะดวก และด้าน
หน่วยงานและบุคลากรที่รับผิดชอบในการให้บริการ ตามลำดับ การเปรียบเทียบระหว่าง
สถา
Full Text : Download! |
||
2. | การตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรุชา อิทธิฉันทกิจ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยในการตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานผลิตเครื่องดื่มจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน และวิธีการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน
การศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษาเลือกใช้วิธีการประเมินค่าการตัดสินใจของทำเลที่ตั้งโรงงานผลิต3 วิธี คือวิธีการให้คะแนนปัจจัย (The Factor-Rating Method) วิธีหาจุดศูนย์กลาง (Center of Gravity Method) และรูปแบบค่าน้ำหนักและระยะทาง (The Load–Distance Model) โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่จังหวัดที่อยูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามี 2 ตัวอย่าง คือจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา ใช้แบบสัมภาษณ์ ที่เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญค่า IOC (Index of Item – Objective Congruence) เท่ากับ 0.9
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่มี 6 ข้อ ผลการศึกษาโดยใช้วิธีที่ 1 วิธีการให้คะแนนปัจจัย (The Factor-Rating Method) พบว่าทำเลที่ตั้งในจังหวัดนครราชสีมามีคะแนนปัจจัยรวม 77 คะแนนส่วนทำเลที่ตั้งในจังหวัดขอนแก่นมีคะแนนปัจจัยรวม 84 คะแนน ดังนั้นทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมที่จะตั้งโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่คือทำเลที่ตั้งที่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาโดยใช้วิธีที่ 2 วิธีหาจุดศูนย์กลาง (Center of Gravity Method) พบว่าพิกัดตำแหน่งทำเลที่ตั้งของโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่คือ (16.0,103.1) ซึ่งพบว่าพิกัดตำแหน่งอยู่ใกล้กับทำเลที่ตั้งในจังหวัดขอนแก่นซึ่งมีพิกัดตำแหน่ง (16.3,102.8) มากกว่าทำเลที่ตั้งในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีพิกัดตำแหน่ง (15.0,102.2) ส่วนผลการศึกษาโดยใช้วิธีที่ 3 รูปแบบค่าน้ำหนักและระย
Full Text : Download! |
||
3. | การสร้างมาตรฐานพื้นฐานร่วมสำหรับงานล่ามญี่ปุ่น-ไทย กรณีศึกษา บริษัท A [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เบ็ญจพร จูละยานนท์ | ||
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัญหาของการปฏิบัติงานล่าม
ภาษาญี่ปุ่น-ไทยในบริษัทญี่ปุ่น, แนวทางและวิธีการแก้ไข ปญั หาการปฏิบัติงานล่ามภาษา
ญี่ปุ่น-ไทยในบริษัทญี่ปุ่น และเพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน ล่าม
ภาษาญี่ปุ่น-ไทย ในบริษัทญี่ปุ่นเพื่อให้ทั้งผู้ใช้งานล่าม และตัวล่ามเองเข้าใจถึงกระบวนการ
ทำงานไปในแนวทางเดียวกัน
โดยการศึกษาฉบับนี้ ใช้แนวทางการศึกษาเชิงวิเคราะห์ โดยนำหนึ่งในเครื่องมือของ
New QC 7 Tools คือ Tree Diagram เข้ามาช่วยในการค้นหาปญั หาและความสัมพันธ์ของ
ปญั หา จากการศึกษาในครัง้ นี้ ผู้ศึกษา พบว่า มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่เป็นปญั หาและเป็น
อุปสรรคต่อการทำงานของล่ามญี่ปุ่น-ไทย ทว่าผู้ศึกษาได้ดึงประเด็นปรากฏการณ์ที่ต้องการ
ศึกษาเพมิ่ ออกมาให้เหลือเพียงเรื่อง “แปลแล้ว ไม่สามารถเข้าใจได้” นำมาศึกษาต่อยอดเพื่อหา
มาตรการแก้ไขปรับปรุงด้วยหลักการไคเซ็นต่อไป
ผลการศึกษาในครัง้ นี้ พบว่า “แปลแล้ว ไม่สามารถเข้าใจได้” ของล่ามญี่ปุ่น-ไทย มี
ปจั จัยหลักๆ อยู่ด้วยกัน 4 หัวข้อ โดยจำแนกเป็น
1. ปจั จัยที่เกิดจากตัวล่ามเอง
2. ปัจจัยที่เกิดจากผู้ใช้งานล่ามที่เป็นคนญี่ปุ่น
3. ปจั จัยที่เกิดจากผู้ใช้งานล่ามที่เป็นคนไทย
4. ปจั จัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
จากแผนผังต้นไม้ ทำให้ทราบว่าปัจจัยดังกล่าวมีความสอดคล้องกัน จึงกำหนด
มาตรการแก้ไข และนำวิธีการไคเซ็นมาศึกษาปญั หามีส่วนหนึ่งที่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ
ภายในช่วงที่ทำการศึกษา โดยส่วนใหญ่จะเป็นการปรับปรุงที่ตัวล่ามเอง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้
ได้นำเสนอวิธีการแก้ไขปญั หาด้วยวิธีการไคเซ็นทั้งหมด 8 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถทำ
การปรับปรุงจนเสร็จสมบูรณ์ภายในระยะเวลาของการศึกษา และได้รับการประเมินจ
Full Text : Download! |
||
4. | การตลาดบริการด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัย กรณีศึกษา บริษัท ซี.ซี.ที. เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชัยกฤต ศรีกาญจนาเวช | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการตลาดและวางกลยุทธ์ทางการตลาดของ
องค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับธุรกิจบริการด้านวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสิ่งแวดล้อม ของบริษัท เอ.ซี.ที. เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยการใช้ข้อมูลในอุตสาหกรรมบริการและลักษณะ
ธุรกิจ มาวิเคราะห์ลูกค้าและตลาด วิเคราะห์กระบวนการแบ่งส่วนตลาด การกำหนดตลาดเป้าหมาย
และตำแหน่งทางการตลาด (Segmentation, Target Market, Positioning) วิเคราะห์และศึกษา
ถึงส่วนผสมทางการตลาดบริการ (Service Marketing Mix) และนำข้อมูลมาจัดทำเป็นแผนการ
ตลาดและกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดบริการ
ผลการศึกษาพบว่า แผนการตลาดและกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
สามารถทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น 20% จากเดิม 14.991,362 บาท เป็น 17,980,000 บาท โดยประมาณ
จากรายได้ที่เติบโตเฉลี่ย 10% และจากการดำเนินการแผนการตลาดส่งเสริมงานบริการอย่าง
ต่อเนื่อง ด้วยกลยุทธ์ส่วนผสมการตลาดบริการ เมื่อพิจารณาในงบการเงินจะเห็นได้ว่ามีอัตรา
กำไรสุทธิ(Net Profit Margin) เพิ่มขึ้นปีละ 3% สำหรับแผนระยะสั้น 3 ปี
ถึงแม้ว่าการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นเพียงการกำหนดและจัดทำแผนการตลาดเท่านั้น แต่
ก็มั่นใจว่าข้อมูล ความรู้ และกระบวนความคิดที่ได้ทั้งหมด สามารถนำไปใช้เพื่อฝ่าฟันวิกฤต
ต่างๆ ของกิจการ เพื่อนำพาความสำเร็จมาได้อย่างแน่นอน โดยวางแผนไว้ว่าจะมีการนำงบ
การเงินที่ประมาณการไว้กับงบการเงินจากผลประกอบการมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ และ
วิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ไปว่ากลยุทธ์ใดที่ส่งผลให้ประมาณการรายได้เพิ่มขึ้น หรือ
กลยุทธ์ใดต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพิ่มเติมต่อไป
Full Text : Download! |
||
5. | การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตแผงกระบะทึบด้านข้าง (Side Panel) ของรถกระบะยกเทประเภทขนส่งงานโยธาและงานภาคเกษตร กรณีศึกษา โรงงานผลิตรถพ่วงและรถกึ่งพ่วง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชาติชาย หมอกเจริญ | ||
การจัดทำสารนิพนธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพ
การผลิตให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิตและวิเคราะห์ปรับปรุงสายการผลิตให้มีกระบวนการ
ไหลอย่างราบรื่น ในกระบวนการประกอบชิ้นส่วนรถพ่วงและรถกึ่งพ่วงของบริษัทกรณีศึกษา
รายหนึ่ง ซึ่งปจั จุบันบริษัทกรณีศึกษามีความต้องการจะลด Lead Time ในการผลิตให้สัน้ ลง
เพื่อเพมิ่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน เพมิ่ ส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากขึ้น และรองรับ
การขยายตัวของตลาดด้วยการเพมิ่ ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต
ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์สภาพการณ์ และทำการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการ
ปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการวิเคราะห์ Flow Process Chart, 7 Waste, MIFC, JIT, Pull
System
หลังจากทำการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกระบวนการในการจัดการการผลิตแล้ว พบว่า
Lead Time รวมลดลงจากเดิม 6.4 ชัว่ โมง ลดลงเหลือ 4.3 ชัว่ โมง โดยลดลง คิดเป็นร้อยละ 33
ลดระยะทางในการขนย้ายจากเดิม 23 เมตร เหลือ 16 เมตร ลดลงร้อยละ 30
Full Text : Download! |
||
6. | การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรมการผลิตรถกึ่งพ่วง กรณีศึกษา บริษัทตัวอย่างการผลิตรถกึ่งพ่วง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ดำรงค์ชัย อินธิแสง | ||
การจัดทำสารนิพนธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางเพื่อลดความ
สูญเปล่าในกระบวนการผลิต การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนและลดเวลานำ (Lead Time) ใน
การผลิตรถกึ่งพ่วงลดลง ซึ่งปจั จุบัน พบว่า โรงงานกรณีศึกษาประสบปญั หาการผลิตส่งมอบ
ล่าช้า ไม่ตอบสนองความต้องการลูกค้า โดยอดีตโรงงานกรณีศึกษามีการหยุดรอคอยระหว่าง
กระบวนการผลิต ซึ่งทำให้การใช้เครื่องจักรยังไม่เต็มประสิทธิภาพ มีการจัดเก็บสินค้าคงคลัง
จำนวนมากใช้ระยะเวลานานและมีเวลานำในการผลิต (Production Lead Time) ยาวนาน โดย
กำหนดเป้าหมายลดเวลานำ (Production Lead Time) ลดลงร้อยละ 30 ผลการศึกษา พบว่า มี
ประเด็นที่ปรับปรุง 3 ประเด็น 1) ลดเวลานำ (Lead Time) คลังสินค้า โดยการเปลี่ยนแปลงวิธี
จัดทำการวางแผนวัสดุ ไม่สต๊อควัตถุดิบนานและปริมาณมาก โดยปรับปรุงวิธีการทำแผนความ
ต้องการวัสดุ ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ โดยปรับปรุงจุดสัง่ ซื้อ (Re-Oder Point) และ Two-
Bin System และปรับปรุงรอบการส่งวัตถุดิบ พบว่า สามารถลดลง 96 ชัว่ โมง คิดเป็น ร้อยละ
85.71 2) การเพมิ่ ประสิทธิภาพการจัดส่ง การจัดเก็บชิ้นส่วนด้านท้ายไลส์ประกอบ ลดเวลา
การค้นหาชิ้นส่วน โดยการปรับปรุงอุปกรณ์เพื่อจัดส่งชิ้นส่วน คือ Dolly Cart ซึ่งสามารถระบุ
ลักษณะการวาง การจัดเรียงสามารถลดลง 56 ชัว่ โมง คิดเป็นร้อยละ 98 3) ลดเวลานำการ
ทำสี โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ จากการทำสีระบบสีน้ำมัน เป็นระบบสีแห้งเร็ว
โพลียูรีเทรน สามารถลดลง 22.17 ชัว่ โมง คิดเป็น ร้อยละ 51.83 ภาพรวมการปรับปรุงด้วย
การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบลีน สามารถลดเวลานำ (Production Lead Time) จากเดิม
459 ชัว่ โมง ลดลงเหลือ 289.85 ชัว่ โมง คิดเป็นลดลง ร้อยละ 37.53
Full Text : Download! |
||
7. | ความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อการตัดสินใจเลือกใช้แรงงานไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้าน ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอกลักษณ์ เทพนิกร | ||
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อการตัดสินใจเลือกใช้แรงงาน
ไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี และเพื่อศึกษาคุณลักษณะในมุมมอง
ของผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับปัญหาในแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างไร และให้ความสำคัญ
กับปัญหาใดโดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยทำการศึกษา
ความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อการตัดสินใจเลือกใช้แรงงานไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านใน
เขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จำนวน 128 สถานประกอบการ ตอบกลับมาทั้งหมด 97 ราย โดยสถิติ
ที่ใช้ในการศึกษามีดังนี้คือ สถิติการบรรยาย (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ (Frequency)
ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าสถิติF-test
ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) พบว่า จากสมมุติฐานว่า
ผู้ประกอบการที่มีกลุ่มอุตสาหกรรมต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเลือกใช้แรงงานไร้ฝีมือจาก
ประเทศเพื่อนบ้านต่างกันนั้น พบว่าผู้ประกอบการในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นต่อการ
เลือกใช้แรงงานไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านไม่แตกต่างกันแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมี
ความต้องการแรงงานไร้ฝีมือเหมือนกันโดย และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้ประกอบการ
ไม่ได้ให้ความสำคัญกับด้านใดใน 4 ด้านในระดับมากที่สุดเลยแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการอาจ
กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร้มือเป็นอย่างมากทำให้ไม่สนใจคุณสมบัติทั้ง 4 ด้าน
ในระดับมากที่สุด
Full Text : Download! |
||
8. | การศึกษาพฤติกรรมการเลือกร้านขายยาแผนปัจจุบันของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กัญญมาศ ชื่นอารมณ์ | ||
การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเลือกร้านขายยาแผนปัจจุบันในอำเภอเมือง จังหวัด
นนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจในการเลือกร้านขายยา
แผนปัจจุบันของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีและเพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการเลือก
ร้านขายยาแผนปัจจุบันของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยแยกแยะตามหลัก
ประชากรในด้าน เพศ, อายุ, สถานภาพ, การศึกษา, อาชีพ, รายได้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
ครั้งนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ
รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าสถิติต่างๆ ดังนี้ ค่าความถี่,
ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าเฉลี่ยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ T-test
เพื่อหาค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม, ค่าความแตกต่างระหว่าง
ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และ One-Way ANOVA
จากผลการศึกษาพบว่า ลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยด้านส่วน
ประสมทางการตลาดของร้านขายยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% มี
ดังนี้ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดในด้านราคา (Price) ได้แก่ เพศ, อายุ, อาชีพ ด้าน
สถานที่(Place) ได้แก่ อายุด้านผลิตภัณฑ์(Product) ได้แก่ อายุ, ระดับการศึกษา, สถานภาพ,
อาชีพ, รายได้ด้านส่งเสริมการตลาด (Promotion) ได้แก่ระดับการศึกษา, สถานภาพ
พฤติกรรมการเลือกร้านขายยาของผู้บริโภคที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยด้านส่วน
ประสมทางการตลาดของร้านขายยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% มี
ดังนี้ ปัจจัยด้านส่วน ประสมทางการตลาดในด้านราคา (Price) ได้แก่ บุคคลที่มีส่วนช่วย
ตัดสินใจในการเลือกร้าน
Full Text : Download! |
||
9. | การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้คาราโอเกะ ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กวี บุญพิมพ์ | ||
วัตถุประสงค์ของการศึกษาสารนิพนธ์ครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้
บริการคาราโอเกะ ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ
ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยใช้บริการคาราโอเกะในเขตกรุงเทพมหานคร โดยนำมา
เทียบตามรางของ Yamane โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างร้อยละ 5
คำนวณได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถาม
โดยสถิติที่ใช้ในการศึกษามีดังนี้ คือ สถิติการบรรยาย (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่
(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการ
วิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการทั้ง 7 ด้าน มีผลต่อการ
ตัดสินใจในการเลือกใช้บริการคาราโอเกะอยู่ในระดับสูง โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ย
สูงสุด ดังต่อไปนี้ คือ ปัจจัยด้านบุคคลากรหรือพนักงาน รองลงมา คือ ปัจจัยด้านกายภาพ
ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยราคา ปัจจัยด้านสถานที่จัดจำหน่าย และ
ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบ
ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการคาราโอเกะของผู้ตอบแบบสอบถามนั้น มีทั้งหมด 8 องค์ประกอบ
โดยเรียงลำดับจากองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ องค์ประกอบ
ที่1 ด้านผลิตภัณฑ์/บริการ และความเหมาะสมของราคา องค์ประกอบที่ 2 ด้านกระบวนในการ
ใช้งาน และบริการ องค์ประกอบที่ 3 ด้านบุคลากร และการให้บริการมีองค์ประกอบที่ 4 ด้าน
บรรยากาศของสถานที่ องค์ประกอบที่5 ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย องค์ประกอบที่ 6
ด้านทำเลที่ตั้ง สถานที่ องค์ประกอบที่7 ด้านสื่อ
Full Text : Download! |
||
10. | การปรับปรุงกระบวนการจ่ายค่าแรงคนงานรายวันในภาคการเกษตร โดยนาระบบสารสนเทศเข้ามาช่วย กรณีศึกษาบริษัท อ้อย จากัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กฤตยา กาญจโนภาศ | ||
กรณีศึกษาบริษัท อ้อย จากัด เป็นบริษัทที่ทาธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตร
ปลูกพืชอ้อย บริษัทมีสานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ และมีหน้าแปลงปลูกอ้อยกระจายตัวอยู่
ทั่วประเทศ บริษัทได้ประสบปัญหาการจ่ายค่าแรงคนงานล่าช้า ส่งผลกระทบให้บริษัทมีปัญหา
เรื่องแรงงานและต้นทุนที่สูงขึ้น จากการศึกษาพบว่าสาเหตุที่ทาให้การจ่ายค่าแรงคนงานล่าช้า
เกิดมาจากกระบวนการการทาจ่ายค่าแรงที่มีลาดับการทางานหลายฝ่าย หลายขั้นตอน และมี
เอกสารที่ต้องอ้างถึงและใช้งานร่วมกันในปริมาณมาก ต้องมีการรอเอกสารกันในแต่ละฝ่ายทาให้
เกิดความสูญเปล่า (WASTE) ระหว่างกระบวนการมาก เป็นสาเหตุให้ใช้เวลานานและเกิด
ข้อผิดพลาดได้ง่าย จึงได้มีการนาเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการนาเอาการบริหารแบบลีน
(Lean Management) เข้ามาช่วยเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น แนวทางการแก้ไขปัญหาได้มี
การเสนอแนะให้ทาการปรับปรุงกระบวนการโดยการนาระบบสารสนเทศ (IT) เข้ามาช่วยในเรื่อง
การจัดการเอกสารและข้อมูลที่ต้องมีการใช้งานร่วมกัน ระหว่างหน้าแปลงและสานักงานใหญ่
และระหว่างแผนกที่ต้องมีการทางานร่วมกัน เบื้องต้นเสนอให้มีการปรับปรุงโดยทดลองใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยให้แต่ละฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เพื่อ
ลดเวลารอเอกสารจากหน้าแปลงมายังสานักงานใหญ่ และเปลี่ยนวิธีการจากการโอนเงินไปหน้า
แปลงทาจ่ายเป็นเงินสด เป็นโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของคนงานโดยตรงเลย ขั้นตอนต่อมาได้
มีการปรับปรุงกระบวนการทางานให้ถูกต้องปลอดภัยและแม่นยาขึ้น โดยการพัฒนาระบบ
โปรแกรมจ่ายค่าแรงคนงานขึ้น เพื่อใช้งานร่วมกันระหว่างหน้าแปลงกับสานักงานใหญ่
ผลจากการศึกษาพบว่าเมื่อมีการปรับปรุงกระบวนการนาเอาระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศ มาช่วยสามารถลดจานวนวันที่ใช้ในการทาจ่
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250