fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIM) 2008 |
1. | การสมดุลสายการผลิตโดยเทคนิค Maynard Operation Sequence Technique (MOST) กรณีศึกษา สายการผลิตเบาะรถยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เหมันต์ วิเศษสิงห์ | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการหาเวลามาตรฐานโดยใช้วิธีการศึกษาเวลาแบบ MOST (Maynard Operation Sequence Technique) ซึ่งเป็นหนึ่งในการหาเวลามาตรฐานแบบล่วงหน้า (Predetermined Motion Time : PMT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความผิดพลาดและความคลาดเคลื่อนจากการหาเวลามาตรฐานโดยใช้การจับเวลาโดยตรง (Direct Time Study) ในการศึกษาครั้งนี้ ได้นำสายการผลิตเบาะหน้ารถยนต์เป็นกรณีศึกษา ซึ่งสายการผลิตนี้จะมีเวลาในการผลิตที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากการหาเวลามาตรฐานโดยใช้การจับเวลาโดยตรง และส่งผลให้การวางแผนการผลิตคลาดเคลื่อนจากการประกอบงานจริง การศึกษานั้นเริ่มจากการหาเวลามาตรฐานโดยใช้วิธีการจับเวลาโดยตรง จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานและหาเวลามาตรฐานโดยใช้เทคนิค MOST และเปรียบเทียบกับการหาเวลามาตรฐานโดยใช้วิธีการจับเวลาโดยตรง หลังจากนั้นทำการปรับสมดุลสายการผลิตโดยเอาขั้นตอนที่ได้จากการวิเคราะห์ MOST มาปรับปรุงต่อ ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน 20.22 % และสามารถลดจำนวนพนักงาน ที่ใช้ในการประกอบลงได้ 2 คน เพิ่มความสามารถในการผลิตจาก 293 คันต่อกะ เป็น 345 คันต่อกะ รวมถึงลดความเมื่อยล้าจากการเดินของพนักงานอีกด้วย
Full Text : Download! |
||
2. | การลดต้นทุนด้วยการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผลิตเส้นยางยืดและแถบยางยืด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จักรกรี สนพิบูลย์ | ||
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสม ในการลดต้นทุนด้วยการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ของโรงงานตัวอย่าง โดยการนำเทคนิคการวิเคราะห์คุณค่า/วิศวกรรมคุณค่า มาทำการวิเคราะห์ปัญหารวมทั้งค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากการศึกษาดังกล่าวพบว่าการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์โดยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์คุณค่า/วิศวกรรมคุณค่า ในโรงงานตัวอย่าง จะสามารถลดต้นทุนโดยรวมจากเดิม 42.94 บาท/กล่อง เป็น 34.99 บาท/กล่อง ลดลงร้อยละ 18.51 หรือเป็นมูลค่าถึง 2,289,600 บาท/ปี อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกในการทำงานอีกด้วย
Full Text : Download! |
||
3. | การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจอพาร์ตเม้นท์ในย่านเอกชัย 66 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ฐาปนีย์ อนุตรโชติกุล | ||
โครงการศึกษาฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจ อพาร์ตเม้นท์ให้เช่า ในย่านเอกชัย ซอย 66 โครงการนี้ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 200 ตารางวา ซึ่งที่ตั้งมีความคึกคัก ใกล้แหล่งของกินของใช้ เหมาะกับการอยู่อาศัย ติดกับตลาดที่ใหญ่ที่สุดในย่างบางบอน อาทิเช่น ตลาดสุขสวัสดี ตลาดเอกชัย ตลาดศิริชัย ซึ่งมีพ่อค้า แม่ค้ามากกว่า 4,000 ชีวิต อีกทั้งยังใกล้กับห้างสรรพสินค้าชั้นนำ อาทิเช่น ห้างจัสโก้บางบอน เทสโก้โลตัสบางบอน คาร์ฟูร์บางบอน และเซ็นทรัลพระรามสอง พบว่ามีกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า พนักงานโรงงานและบริษัทบริเวณใกล้เคียงมีแนวโน้มความต้องการเช่าอพาร์ตเม้นท์อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอพาร์ตเม้นท์ที่ใกล้ตลาด มีความปลอดภัย สะอาดสะดวกต่อการเดินทาง ซึ่งอพาร์ตเม้นท์ส่วนใหญ่มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงถึง 99% เมื่อพิจารณาข้อจำกัดในการก่อสร้างอาคารตามกฎหมายและช่องว่างทางการตลาดแล้ว อพาร์ตเม้นท์ที่ทำการศึกษาจะมึีความสูง 4 ชั้น จำนวน 75 ห้อง เน้นใกล้ตลาด การตกแต่ง สิ่งอำนวยความสะดวกของผู้พักอาศัย ความปลอดภัย และความสะดวกในการเดินทาง โดยมีอัตราค่าเช่า 3,500 บาทต่อเดือน การดำเนินงานจะอยู่ในรูปบริษัทจำกัด สำหรับการวิเคราะห์การเงินกำหนดอายุของโครงการ 20 ปี โดยใช้ระยะเวลาในการวางแผนขออนุญาตและก่อสร้าง เวลา 1 ปี พบว่าต้องใช้เงินลงทุนทั้งหมด 19,290,000 บาท โดยไม่รวมมูลค่าที่ดินซึ่งมีอยู่แล้วซึ่งมีมูลค่า 8,000,000 บาท โดยจำนวนเงินทุนดังกล่าวจัดหามาจากผู้ถือหุ้น 7,000,000 บาท และเงินกู้ระยะยาวจากสถาบันการเงินจำนวน 12,888,850 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดอายุโครงการ 7.09% ต่อปี จากการประเมินการลงทุนจะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 17,400,203 บาท อัตราผลตอบแทนของโครงการ 13.50% ระยะเวล
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาแนวทางการประหยัดพลังงานในกระบวนการหุ้มฉนวนสายไฟรถยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นันทพล ผลคำ | ||
การศึกษาแนวทางการประหยัดพลังงานในกระบวนการหุ้มฉนวนสายไฟรถยนต์ครั้งนี้ เป็นการศึกษาจากโรงงานตัวอย่าง โรงงานผลิตสายไฟรถยนต์ โดยมุ่งศึกษาถึงแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในกระบวนการหุ้มฉนวนสายไฟ ซึ่งวัดผลด้วยดัชนีการใช้พลังงานต่อปริมาณการผลิต จากการศึกษาสามารถนาเสนอแนวทำงการประหยัดพลังงานทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ทั้งหมด 9 มาตรการคือ 1. การเปลี่ยนเงื่อนไขการทำงานของมอเตอร์เครื่องสูบน้ำมัน หล่อลื่น (Oil Pump Motor) ให้สอดคล้องกับเครื่องฉีดพลาสติก (Extruder) 2. ปิดช่องทางผ่านสายไฟของตู้ควบคุมเพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ (Air Cooling) 3. ควบคุมการทำงานของเครื่องปรับอากาศ (Air Cooling) ให้สัมพันธ์กับเครื่องจักร 4. การตัดกระแสไฟฟ้าของสายการผลิตเมื่อไม่มีการผลิต 5. ลดของเสียโดยการขยายขอบเขตการควบคุมขนาดสายไฟของมาตรฐานการผลิตที่เข้มงวดเกินข้อกำหนดของลูกค้า 6. ลดของเสียช่วงเริ่มเดินเครื่องจักร (Start up Loss) 7. ลดปัญหาลิ้นเปิด-ปิด (Shutter) ของชุดจ่ายเม็ดพลาสติกติดขัดด้วยการเปลี่ยนตัวยึดลิ้นเปิด-ปิดกับกระบอกลูกสูบจากการยึดแบบตายตัวเป็นการยึดด้วยข้อต่ออ่อน (Floating Joint) 8. การยกเลิกเงื่อนไขกำจัดของเสีย (Scrap Loss) จากการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิต และ 9. การจัดทำมาตรฐานการทำงาน (Work Instruction) การต่อเทป (Tape) ของสายชีลล์ (Shield wire) เพื่อลดการสูญเสียจากการทำงานไม่ถูกขั้นตอนของพนักงาน จากการศึกษาผลที่ได้จากมาตรการทั้ง 9 มาตรการพบว่าดัชนีการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อปริมาณการผลิตทั้งหมดลดลง 7.64% จำก 0.0772 kWh/kg เหลือ 0.0713 kWh/kg และดัชนีการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปลดลง 7.58% จาก 0.0805 kWh/kg เหลือ 0.0744 kWh/kg โดยสามารถประหยัดการใช้พลังงาน
Full Text : Download! |
||
5. | การประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิตถุงมือยางแบบจุ่ม : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยาง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปภาดา ธนัตถปรตกูล | ||
In order to support government energy saving policy and energy cost reduction of the company, this study is implemented in applying energy saving techniques in dipping process of rubber glove production industry. With the growing concern of global warming, its environmental impact, and involvement of all parties at the company, the awareness of energy saving has been created. In addition, the energy saving problem helps to create better image of the company for caring about the environmental issues. With the initial investment of 766,980 Baht in energy saving program, the company can save the energy cost in the amount up to 26,911,812 Baht. The energy index has been decreased from 7.8 kWh/ton to 6.0 kWh/ton which is equivalent to 23 percent of energy index reduction.
Full Text : Download! |
||
6. | การลดอัตราการหยุดเดินเครื่องจักร ในงานเป่าขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติก กรณีศึกษา งานเป่าขึ้นรูปจากเม็ดพลาสติก PET-G ของบริษัท ตัวอย่าง จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภาณุทัต ลิมธงชัย สา | ||
การศึกษาในครั้งนี้มุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของอัตราการหยุดเดินเครื่องจักรที่มีต่ออัตราการเกิดของเสียในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก และหาสาเหตุสำคัญของการหยุดเดินเครื่องจักร รวมทั้งวิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการลดอัตราการหยุดเดินเครื่องจักร เพื่อลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยทาการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเครื่องจักรที่ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกด้วยกระบวนการเป่าขึ้นรูปจากเม็ดพลาสติกประเภท PET-G ของบริษัท ตัวอย่าง จำกัด ด้วยเครื่องมือต่างๆ อาทิเช่น QC Story, Control Chart และวิเคราะห์ด้วยสถิติต่างๆ เช่น การทดสอบสมมุติฐาน การวิเคราะห์ถดถอย และ T-Test เป็นต้น ผลจากการศึกษาพบว่า อัตราการหยุดเดินเครื่องจักรมีความสัมพันธ์ทางบวกต่ออัตราการเกิดของเสียในกระบวนการเป่าขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยสาเหตุสาคัญของการหยุดเดินเครื่องจักร ได้แก่ การปรับตั้งปรับแต่งเครื่องจักร และการขาดแรงงาน ซึ่งเมื่อทดลองปรับปรุงกระบวนการปรับตั้งปรับแต่งเครื่องจักร ด้วยการจัดชุดอุปกรณ์แม่พิมพ์ให้เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละงาน และเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าก่อนเริ่มเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ขึ้นผลิต รวมทั้งเพิ่มพูนทักษะของพนักงานช่าง และจัดทาเอกสารคู่มือการปรับตั้งปรับแต่งเครื่องจักรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่งผลให้สามารถลดอัตราการหยุดเดินเครื่องจักรลงเหลือ 13.9% จากเดิม 34.2% และลดอัตราการเกิดของเสียลงเหลือ 1.01% ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากอัตราการเกิดของเสียก่อนทาการปรับปรุง ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยคิดเป็นยอดเงินที่สามารถประหยัดได้ ปีละ 201,212 บาท (เมื่อคำนวณเฉพาะกรณีการใช้เม็ดพลาสติกประเภท PET-G)
Full Text : Download! |
||
7. | การปรับปรุงผลิตภาพการทางานของสายการประกอบโดยการใช้การจัดการแท็กไทม์ กรณีศึกษาโรงงาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มานิดา ฉวีวงษ์ | ||
กรณีศึกษานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มผลิตภาพของสายการประกอบ เนื่องจากลูกค้าจะเลือกสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตใดนั้น นอกจากความน่าเชื่อถือด้านคุณภาพ ยังมีเรื่องที่คำนึงที่สำคัญคือเรื่องการส่งมอบ ดังนั้นลูกค้าจึงเป็นผู้กำหนดเวลาในการผลิตสินค้าหนึ่งชิ้น หรือที่เรียกกันว่า แท็กไทม์ (Takt Time) ผู้ผลิตที่ต้องการได้รับคำสั่งซื้อ มีความจำเป็นต้องยืนยันให้ลูกค้าแน่ใจว่า สามารถปฏิบัติได้ตามข้อกำหนดของลูกค้าตามความต้องการของลูกค้า โรงงานที่เป็นกรณีศึกษานี้ ต้องการได้รับคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มเติม โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มสายการประกอบสายใหม่อีก 1 สายการประกอบ ด้วยการมุ่งเน้นศึกษาการปรับปรุงสายการประกอบที่มีอยู่เดิม ให้สามารถตอบสนองต่อแท็กไทม์ใหม่ (Takt Time) ได้ โดยการแก้ไขปรับปรุง ด้วยวิธีการศึกษาการทางาน (Work Study) การจัดสมดุลการผลิต (Line Balancing) ปรับเงื่อนไขการทางานเครื่องจักร การปรับเรียบ (Heijunka) การกำหนดกฏเกณฑ์ของตารางการผลิต (Production Scheduling) จากนั้น ใช้กิจกรรมสังเกตการณ์ ในการค้นหาปัญหาและนำมาแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) เพื่อเพิ่มผลิตภาพ ลดความสูญเปล่า (Muda) และพัฒนาคุณภาพ จากการปรับปรุง สามารถทาให้สายการประกอบเดิม มีผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น จากก่อนปรับปรุง มีรอบเวลาทางาน (Cycle Time) คือ 71.2 วินาทีต่อชิ้น หรือ 50 ชิ้นต่อชั่วโมง ที่ถูกกำหนดด้วยแท็กไทม์ (Takt Time) 58 วินาที หลังการปรับปรุง มีรอบเวลาทางาน (Cycle Time) ใหม่ คือ 43 วินาทีต่อชิ้น หรือ 83 ชิ้นต่อชั่วโมง ในขณะที่แท็กไทม์ที่ลูกค้ากำหนดให้ใหม่ คือ 45 วินาทีหรือ 80 ชิ้นต่อชั่วโมง สายการประกอบนี้มีความสามารถในการผลิตตามคำสั่งซื้อใหม่ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยการปรับปรุงจากสายการประกอบเดิม
Full Text : Download! |
||
8. | การประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศุภนิธิ เรืองทอง | ||
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance : TPM) ของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการพัฒนาความสามารถของบุคลากรและเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรด้วยการประยุกต์ใช้ TPM เนื่องจากการดำเนินกิจกรรม TPM อย่างเต็มรูปแบบ โดยทั่วไปจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและไม่น้อยกว่า 2 ปี สารนิพนธ์นี้จึงทำการศึกษาเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการประยุกต์ใช้ TPM ด้วยการมุ่งเน้นไปที่คณะทำงาน TPM และพนักงานปฏิบัติงานที่เครื่องจักรต้นแบบเท่านั้น จากการศึกษาได้รับผลลัพธ์ดังนี้ สถานประกอบการที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเมื่อผ่านการดำเนินกิจกรรม TPM อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วได้รับประโยชน์ที่ชัดเจนในเรื่องดังต่อไปนี้ การลดลงของข้อขัดข้องที่เครื่องจักรต้นแบบโดยเฉลี่ย 57.33% การลดลงของจำนวนของเสียจากการผลิตที่เครื่องจักรต้นแบบโดยเฉลี่ย 55.08% การลดลงของค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงของเครื่องจักรต้นแบบโดยเฉลี่ย 63.46% และการเพิ่มขึ้นของประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรต้นแบบ (Overall Equipment Effectiveness : OEE) โดยเฉลี่ย 18.87% มีข้อเสนอแนะแนวทางว่า การประยุกต์ใช้ TPM ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยให้ได้รับความสำเร็จ ผู้บริหารระดับสูงควรมีมุมมองและแนวคิดในการบริหารโดยให้ความเคารพในการเป็นมนุษย์ของพนักงานทุกคน มีความจริงใจ ให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม และเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมอย่างมุ่งมั่นที่จะสร้างวัฒนธรรมใหม่แห่งการเรียนรู้ เพื่อทำให้พนักงานทุกคนเป็นทุน (Human Capital) ของสถานประกอบการ ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสถานประกอบการได้อย่างต่อเนื่องไ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250