fieldjournalid
![]() | บทความวิจัย (MBJ) 2016 |
1. | การศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท A [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กนกวรรณ มาลาพิเชฐ, บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่
มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของพนักงาน และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วน
บุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงาน องค์กรญี่ปุ่นแห่ง
หนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ
ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความ
แปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการหาค่า
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000
บาท และมีประสบการณ์ในการทำงานกับองค์กร 1-2 ปี
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการปฏิบัติงานกับองค์กร มีความจงรักภักดีต่อ
องค์กรแตกต่างกัน และพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจด้านความต้องการความสำเร็จ
(r=0.698) ปัจจัยแรงจูงใจด้านความต้องการความผูกพัน (r=0.740) และปัจจัย
แรงจูงใจด้านความต้องการอำนาจ (r=0.775) มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีใน
ระดับสูงในทุกด้าน
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท A [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : น้อมลาภ แก้วชื่น, บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ
วัฒนธรรมองค์กร 2.เพื่อเปรียบเทียบลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยวัฒนธรรม
องค์กรกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างคือพนักงาน
ในบริษัท A จำนวน 150 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
สุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์
ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการหาค่า
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยระดับวัฒนธรรมองค์กร พบว่า พนักงานให้ความสำคัญ
กับวัฒนธรรมองค์กรทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยให้ความสำคัญกับด้าน
วัฒนธรรมที่เน้นงาน (X=3.62) เป็นอันดับ 1 รองลงมาคือด้านวัฒนธรรมที่เน้น
บทบาท ( X=3.53) วัฒนธรรมแบบเน้นผู้นำ (X=3.49) และวัฒนธรรมที่เน้น
บทบาทอิสระเฉพาะตัวบุคคล (X=3.43) ตามลำดับ
ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และรายได้
เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน
ผลการวิจัยความสัมพันธ์ของปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรกับ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน พบว่า ด้านวัฒนธรรมที่เน้นบทบาทอิสระ
เฉพาะตัวบุคคลมีความสัมพันธ์ระดับสูง (r=0.606) ด้านวัฒนธรรมแบบเน้น
ผู้นำ ด้านวัฒนธรรมที่เน้นบทบาท และด้านวัฒนธรรมที่เน้นงานมี
ความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (r=0.528, r=0.521, r=0.486) ตามลำดับ
Full Text : Download! |
||
3. | ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นกับสถาบันสอน ภาษาญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พัชรี ภักดีชาติ, บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1. ศึกษาเปรียบเทียบประชากรศาสตร์
ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นกับสถาบันภาษาญี่ปุ่นที่แตกต่าง
กัน 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ภาพลักษณ์ตราสินค้า
(Brand Image) ความภักดีต่อตราสินค้า (Brand Loyalty) และความเชื่อมั่นใน
ตราสินค้า (Brand Trust) กับการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นกับสถาบัน
สอนภาษาญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่างในกรุงเทพฯ ใช้แบบสอบถามใน
การเก็บข้อมูล ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบ
ค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ การ
วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ
รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่น
กับสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นที่แตกต่างกัน
ผลการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ความเชื่อมั่นในตราสินค้า (r=
0.520) มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นสูงสุด รองลงมา
คือภาพลักษณ์ตราสินค้า (r=0.507) และความภักดีต่อตราสินค้า (r=0.443)
Full Text : Download! |
||
4. | การบริการสไตล์ญี่ปุ่นที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรม กรณีศึกษา โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จรินทร์ยา แสงศิลป์มณี | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การบริการสไตล์ญี่ปุ่นที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรม และ 2) ปัจจัยการบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมของผู้เข้าพัก โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้เข้าพักโรงแรมกรณีศึกษา จำนวน 20 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นพบว่า ผู้เข้าพักมีความคิดเห็นด้านการบริการสไตล์ญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงมาเป็นการตอบสนองต่อลูกค้า ความมั่นใจ ความใส่ใจ องค์ประกอบที่เป็นรูปธรรม และความน่าเชื่อถือ ตามลาดับ (X̅ = 4.55, 4.53, 4.484.41, 4.10 และ 3.66) และผู้เข้าพักคิดว่าจะเลือกกลับมาพักที่นี่และจะแนะนาให้ผู้อื่นมาพักในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.60)
ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ผู้เข้าพักไม่ให้ความสนใจเรื่องความจริงใจ หรือการใส่ใจในเรื่องเล็กน้อย เพียงแค่มีการทักทายและยิ้มแย้มในทุกครั้งก็ทาให้รู้สึกประทับใจ รวมทั้งเรื่องการติดตามการแก้ไขปัญหาของพนักงานมีความรวดเร็วและถูกต้องตามความคาดหวัง
Full Text : Download! |
||
5. | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานใหม่ของล่าม หรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทางานในองค์กร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ขนิษฐา กุลคำ | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยตำแหน่งงานตามสัญญาจ้างและแผนกหรือหน่วยงานที่สังกัดส่งผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานของล่ามหรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทำงาน และ 2) ปัจจัยองค์กรที่มีผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานใหม่ของล่ามหรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทำงาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นล่ามหรือพนักงานที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทำงาน จานวน 410 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม และการทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการลาออกหรือเปลี่ยนงานด้านสวัสดิการ มีผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานของล่ามหรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทำงานในทุกตำแหน่งตามสัญญาจ้างและแผนกที่สังกัด และยังพบว่าปัจจัยองค์กรด้านการปกครองบังคับบัญชาและความสัมพันธ์ ความก้าวหน้าในงาน ความมั่นคงในงาน ความพึงพอใจในรายได้ ความพึงพอใจในสวัสดิการ และสภาพการทำงานโดยทั่วไป มีผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานของล่ามหรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นทำงานในองค์กร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Full Text : Download! |
||
6. | การรับรู้ข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมเงิน ส่วนบุคคลของพนักงานในโรงงานญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศิริภา เท่าเทียมตน | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารกับพฤติกรรมการออมเงิน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงงานญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จานวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง และหาค่าความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในระดับปานกลางทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ย (X̅) อยู่ระหว่าง 2.89 – 3.28 ด้านพฤติกรรมการออมเงินพบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีการออมเงินเพื่อใช้ในยามจาเป็น ร้อยละ 36.06 โดยเป็นการออมในรูปแบบการฝากธนาคาร ร้อยละ 41.07 และมีการออมโดยเฉลี่ย 1,001-2,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 29.00 ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั่วไป ไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการออม ในขณะที่ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากภายในองค์กร ด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องการออมและการวางแผนทางการเงิน และด้านภาวะทางเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์กับปริมาณการออม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าความสัมพันธ์ (Eta) อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.28
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250