fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIM) 2017 |
1. | การบริหารเวลาและความเครียดในการทำงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา พนักงานขับรถส่งอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ฐิติกานต์ จรจวบโชค | ||
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการ
บริหารเวลากับผลการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อ
ศึกษาความสัมพันธ์ของความเครียดกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งอาหารในเขต
กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากเป็นพนักงานขับรถส่งอาหารให้กับลูกค้า
โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครในการศึกษาจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสหสัมพันธภาพเพียร์สัน (Pearson Correlation)
การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม
โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20-24 ปี สถานภาพการสมรสเป็นโสด ระดับการศึกษา
ปวช./ มัธยมศึกษาตอนปลาย สภาพการจ้างงานเป็นพนักงานรายวัน มีประสบการณ์ในการ
ทำงาน 1-2 ปี และมีรายได้ต่อเดือนระดับ 12,001-15,000 บาท 2) การบริหารเวลาในการ
ทำงาน พบว่าพนักงานขับรถส่งอาหารได้ให้ความสำคัญในเรื่องของวางแผนและกำหนดเวลาใน
การปฏิบัติงาน ตลอดจนการจัดเตรียมอุปกรณ์และพาหนะให้พร้อมต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้
งานสามารถดำเนินได้อย่างราบรื่นตามแผนที่ได้กำหนดไว้มากที่สุด ความเครียดในการทำงาน
พบว่าพนักงานขับรถส่งอาหารได้ให้ความสำคัญในเรื่องของลักษณะของงานที่ต้องทำงานอย่าง
เร่งรีบเพื่อส่งอาหารให้ตรงเวลา และสภาพการจราจรที่ติดขัดในการเดินทางไปส่งอาหารให้กับ
ลูกค้ามากที่สุด 3) การบริหารเวลาและความเครียดในการทำงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน
ของพนักงานขับรถส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับข้อสมมติฐานที่ระดับ
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Full Text : Download! |
||
2. | การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปทำงานประเทศญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุญญ์กนิษฐ์ รัตนทุมมาพร | ||
การศึกษานี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของแรงงานไทยที่ย้ายถิ่นไป
ประเทศญี่ปุ่น และปัจจัยการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปญี่ปุ่น รวมถึงศึกษาเพื่อการเปรียบเทียบ
ปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปทำงานประเทศญี่ปุ่น
ระเบียบวิธีศึกษาเป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ แรงงานไทยที่ทำงานในประเทศญี่ปุ่น
จำนวน 375 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณ หาค่าร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์
ค่าที (T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) และการวิเคราะห์
ความแตกต่างเป็นรายคู่โดยทดสอบความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSD) ซึ่ง
การวิเคราะห์ทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS for Windows
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง
26-35 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ 1-3 คน
ระดับการศึกษาปริญญาตรี โดยสำเร็จการศึกษาจากประเทศไทย มีความรู้ทั้งภาษาอังกฤษและ
ภาษาญี่ปุ่น มีอาชีพวิศวกร ไม่มีประสบการณ์การไปทำงานต่างประเทศ ผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนใหญ่มีรายได้ก่อนการเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น 20,001-40,000 บาทมีรายได้เฉลี่ย
ต่อเดือนเมื่อเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น 45,001-60,000 บาทส่วนใหญ่ไม่มีภาระหนี้สิน
ก่อนการเดินทาง และไม่มีเครือญาติ/คนรู้จักในประเทศญี่ปุ่น
ผลการศึกษา พบว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ
ประสบการณ์การไปทำงานต่างประเทศ รายได้ การมีเครือข่าย/คนรู้จักในต่างประเทศ มีผลกับ
ปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติP <0.05 ยกเว้นการมีภา
Full Text : Download! |
||
3. | การศึกษารูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมเพื่อใช้พยากรณ์ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศไทยและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วรพงษ์ ใหม่นิ่ม | ||
น้ำมันปาล์มดิบเป็นสินค้าหลักของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่ง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา โดยมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และ
ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากราคาน้ำมันปาล์มดิบตกต่ำจะส่งผลให้เกษตรกรเดือดร้อน หากราคา
น้ำมันปาล์มดิบสูงเกินไป ทำให้เกิดปัญหาต้นทุนวัตถุดิบสูงในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและ
ส่งผลต่อการแข่งขันราคากับต่างประเทศด้วย
ปัจจุบันรัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือภาคเกษตรกรรมด้วยการนำน้ำมันปาล์มดิบส่วน
หนึ่งไปใช้ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B5) แต่เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มดิบเคลื่อนไหวตาม
ฤดูกาลจึงยังคงพบปัญหาราคาตกต่ำได้ในบางช่วงเวลา จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผล
กระทบต่อราคา คือ 1. ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้ในประเทศไทย กล่าวคือ เมื่อมีผลผลิต
ออกสู่ตลาดจำนวนมาก (โดยเฉพาะฤดูฝน) จะทำให้ราคาตกต่ำ 2. ปริมาณการนำเข้าน้ำมัน
ปาล์มดิบ กล่าวคือ หากน้ำมันปาล์มดิบมีราคาสูงขึ้น ภาครัฐจะมีมาตรการในการนำเข้าน้ำมัน
ปาล์มดิบมากขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ราคาตกต่ำ รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงราคาในหลายๆ วิธี
เช่น การเพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์มดิบในการผลิตไบโอดีเซล การนำน้ำมันปาล์มดิบมาใช้เป็น
เชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้ากระบี่ เป็นต้น แต่การแทรกแซงราคาดังกล่าวยังมีความ
ล่าช้า และเพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าของนโยบาย จำเป็นที่จะต้องมีการพยากรณ์ราคาล่วงหน้า
เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเตรียมการรับมือกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที
จากการศึกษา พบว่า รูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้พยากรณ์ราคา
น้ำมันปาล์มดิบในประเทศไทย คือ Time Series แบบ Additive ซึ่งสามารถพยากรณ์ราคา
น้ำมันปาล์มดิบล่วงหน้า 11 เดือน ได้อย่างแม่นยำที่สุด
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาเนื้อหาสื่อประชาสัมพันธ์บน Facebook ของบริษัท เอสเทรด (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศุภกร อินทยานนท์ | ||
สารนิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเนื้อหาสื่อประชาสัมพันธ์บน Facebook ของบริษัท เอสเทรค
(ประเทศไทย) จำกัด” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาสื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึงพฤติกรรมการ
ใช้งานและการรับรู้เกี่ยวกับสื่อประชาสัมพันธ์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้ติดตามเพื่อค้นหา
รูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ที่ผู้ติดตามแต่ละกลุ่มเลือกติดตามและเพื่อสามารถนำเสนอรูปแบบ
เนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการ
และเกิดปฏิสัมพันธ์ต่อเนื้อหาจากผู้ติดตามในแต่ละกลุ่ม
สารนิพนธ์นี้มีวิธีการศึกษาและดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลทางสถิติจากการใช้
แบบสอบถามจากประชากรผู้ติดตามเครือข่ายสังคมออนไลน์ของบริษัทฯ จำนวน 21,724 คน
และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 393 คน โดยเป็นแบบสอบถามที่ใช้เพื่อศึกษาและทำความ
เข้าใจในด้านประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์และเหตุผลในการ
รับรู้และติดตามข้อมูลและเนื้อหาสื่อประชาสัมพันธ์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้ติดตาม
เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า IT และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 25-30 ปี มี
อาชีพเป็นพนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท และมีระดับการศึกษาอยู่
ในระดับปริญญาตรี และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มี
ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันส่งผลให้มีพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคม
ออนไลน์และการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า IT และ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แตกต่างกัน
รูปแบบของเนื้อหาสื่อประชาสัมพันธ์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพและ
ผู้ติดตามเ
Full Text : Download! |
||
5. | การศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจและความจงรักภักดีของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ขนิษฐา กลึ่งกลาง | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความจงรักภักดีของพนักงาน รวมถึง
ความสัมพันธ์ของปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรเพื่อเป็น
ข้อเสนอแนะแนวทางต่อผู้บริหารในการปรับปรุงและเพิ่มความสามารถในการบริหารงานด้าน
ทรัพยากรบุคคลของบริษัทกรณีศึกษา โดยบริษัทกรณีศึกษา เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
และชิ้นส่วนจักรกลการเกษตรแห่งหนึ่ง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 222 คน จากประชากรซึ่งเป็นบุคลากรของบริษัท
กรณีศึกษาจำนวน 492 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมาน
ได้แก่ Independent Sample T-test One-way ANOVA และ LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า ระดับแรงจูงใจที่มีต่อปัจจัยจูงใจ ในภาพรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.99 ระดับแรงจูงใจที่มีต่อปัจจัยค้ำจุน ในภาพรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67
และระดับแรงจูงใจที่มีต่อความภักดีต่อองค์กร ในภาพรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98
อายุของพนักงาน 40 ปีขึ้นไป มีความจงรักภักดีต่อองค์กร มากกว่ากลุ่มอายุอื่น รายได้มากกว่า
50,000 บาท มีความจงรักภักดีต่อองค์กร มากกว่ากลุ่มรายได้อื่น ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง
ปัจจัยจูงใจกับความจงรักภักดี มีความสัมพันธ์เชิงบวกโดยพบว่า ด้านความสำเร็จของงานมี
ความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรมากสุด โดยมีค่าสหสัมพันธ์ .543 และความสัมพันธ์
ระหว่างปัจจัยค้ำจุนกับความจงรักภักดี มีความสัมพันธ์เชิงบวกโดยพบว่าความสัมพันธ์กับ
ผู้บังคับบัญชา มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรมากสุด โดยมีค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน
เท่ากับ .515
Full Text : Download! |
||
6. | การปรับปรุงการติดตั้งแม่พิมพ์ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์พลาสติก : กรณีศึกษา โรงงานฉีดชิ้นส่วนยานยนต์พลาสติก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วรรณวิมล พงศ์ธาดาพร | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการติดตั้งและลดเวลาการติดตั้ง
แม่พิมพ์ในโรงงานฉีดชิ้นส่วนยานยนต์พลาสติก โดยศึกษาขั้นตอนการเปลี่ยนและติดตั้งแม่พิมพ์
ตามหลักการและเทคนิคการปรับตั้งเครื่องจักรแบบ Single Minute Exchange of Die (SMED) เป็น
การปรับปรุงกิจกรรมภายในและกิจกรรมภายนอกและย้ายกิจกรรมภายในเป็นกิจกรรมภายนอก
เพื่อลดเวลาที่สูญเปล่าและลดความผันแปรของเวลา ทำให้การติดตั้งแม่พิมพ์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
เครื่องฉีดพลาสติกที่ใช้ในการศึกษาคือเครื่องฉีดพลาสติกขนาด 2300 ตัน โดยศึกษา
ขั้นตอนการติดตั้งแม่พิมพ์ในปัจจุบันด้วยการบันทึกขั้นตอนและเวลาที่ใช้แต่ละขั้นตอนเพื่อค้นหา
ปัจจัยที่ทำให้การติดตั้งแม่พิมพ์ใช้เวลานานและมีความผันแปร โดยปรับใช้เทคนิคการปรับตั้ง
เครื่องจักรตามหลักการ SMED
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อเวลาการติดตั้งแม่พิมพ์คือการเตรียมการ
ก่อนการติดตั้งและความพร้อมของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง จึงแยกกิจกรรมภายในและภายนอก
จากนั้นทำการย้ายกิจกรรมภายในไปเป็นกิจกรรมภายนอก 3 ขั้นตอน ทำให้สามารถปรับปรุง
เวลากิจกรรมภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากผลการปรับปรุงสามารถลดเวลารวมการติดตั้ง
แม่พิมพ์จากเดิม 221 นาที ลดเหลือ 185 นาที (ลดลง 36 นาที) และลดเวลากิจกรรมภายในได้
69 นาที หรือ 35% โดยสามารถแปรเวลาที่ลดกิจกรรมภายในเป็นมูลค่าสินค้าได้ถึง 365,400
บาท/เดือน นอกจากนี้ยังสามารถลดเวลาผันแปรของเวลาจากเดิม 78 นาที ลดเหลือ 23 นาที
(ลดลง 55 นาที)
บั
Full Text : Download! |
||
7. | การลดของเสียในกระบวนการผลิตท่อส่งน้ำมันเทอโบชาจเจอร์ กรณีศึกษา โรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณฐพร ทองนาคโคกกรวด | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนของเสียในกระบวนการผลิตท่อส่งน้ำมันเทอโบชาจเจอร์ของบริษัทกรณีศึกษา โดยใช้หลักการคิวซีเซอร์เคิล QCC (Quality Control Circle) เนื่องจากผู้ศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่มอีกทั้งได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องในสายงานผลิตนี้เป็นอย่างดี ผู้ศึกษาจึงสามารถจัดตั้งกลุ่มควบคุมคุณภาพของบริษัทกรณีศึกษาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดขึ้น ทำให้การระดมสมองเพื่อหาปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพนี้เป็นไปได้ด้วยดี กลุ่มควบคุมคุณภาพที่จัดตั้งขึ้นได้เลือกใช้เครื่องมือด้านคุณภาพในการบันทึกเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อหาต้นเหตุของปัญหาพร้อมทั้งแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหา
ก่อนที่จะดำเนินการปรับปรุงกระบวนการของเสียที่ได้ทำการจดบันทึกในระยะเวลา 4เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 69,732 ชิ้น หลังจากได้ดำเนินการลดของเสียโดยใช้หลักการกลุ่มควบคุมคุณภาพในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 2558 แล้วสามารถทำการลดของเสียได้เป็นจำนวน 39,737 ชิ้น ซึ่งของเสียลดลงทั้งสิ้น คิดเป็นร้อยละ 56.99 นอกจากนี้แล้วหลักการกลุ่มควบคุมคุณภาพนี้ยังสามารถนำไปขยายผลใช้ต่อไปยังสายงานผลิตอื่นได้อีกด้วย
Full Text : Download! |
||
8. | การประยุกต์ใช้ ซิกซ์ ซิกม่า เพื่อลดความผันแปรในกระบวนการผลิตไฟท้ายรถยนต์ : กรณีศึกษา กระบวนการเชื่อมประกอบ (Model B299) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภคพล ถาวงษ์ | ||
งานวิจัยฉบับนี้เป็นการนําเอาเครื่องมือ ซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) มาปรับปรุงใน กรณีศึกษา กระบวนการเชื่อมประกอบไฟท้ายรถยนต์ โดยการศึกษาจะมุ่งเน้นการปรับปรุง กระบวนการและนําเอาเครื่องมือ ซิกซ์ ซิกม่า มาช่วยลดความแปรปรวนในกระบวนการผลิต และต้องการลด Tolerance จากค่า 0±1.5 mm เป็น 0±1.0 mm โดยมีขันตอนการดําเนินการ โดยสรุปคือ 1. กําหนดหัวข้อ (D-Define) ระบุปัญหาที่จะทําการปรับปรุง ซึ่งเนื่องจากกระบวนการ ปัจจุบันมีความแปรปรวนมาก และทําให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการประกอบของลูกค้า ดังนั้นจึง ต้องการ ลดความแปรปรวนในกระบวนการผลิต และต้องการลด Tolerance จากค่า 0±1.5 mm เปน 0±1.0 mm 2. การวัด (M-Measure) จากกระบวนการปัจจุบัน เมื่อเก็บข้อมูล ppk ของกระบวนการ ปัจจุบัน พบว่าเมื่อใช้ Tolerance 0±1.0 mm. นั้น มีค่า ppk ไม่ถึง 1.33 นั่นหมายถึงว่า กระบวนการมีความแปรปรวนมาก ต้องทําการปรับปรุงก่อนที่จะเปลี่ยน Tolerance 3. การวิเคระห์ (A-Analysis) จากการวิเคราะห์โดยใช้การระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ และ ผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) พบว่า ปัจจัยที่ทําให้เกิดความแปรปรวนใน กระบวนการเชื่อมประกอบนั้นมาจาก 3 ปัจจัย คือ 1. Vacuum Jig ดูดเลนส์เข้ากับ Jig ตลอด เวลาทําให้ พนักงานไม่สามารถกําหนดตําแหน่งของ เลนส์ก่อนจะทําการเชื่อม, 2 Jig ไม่มี Stopper เพื่อที่จะกําหนดตําแหน่งของเลนส์ ก่อนทําการเชื่อม และ 3 Jig ไม่ Balance 4. การปรับปรุง (I-Improve) ทําการปรุบปรุงกระบวนการโดยการเพิ่ม Foot Switch, เพิ่ม Stopper และทําการ Balance Jig ใหม่ 5.
การควบคุม (C-Control) ทําการแก่ เอกสาร Check Sheet จาก Tolerance 0±1.5 mm เป็น 0±1.0 mm. จากการศึกษากระบวนการผลิตดังกล่าวพบว่า ซึ่งหลังจากการปรับปรุงพบว่า
Full Text : Download! |
||
9. | การประยุกต์ใช้เทคนิค QFD เพื่อช่วยในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Terminal Connector Stud [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ราชาตกุสุมภ์ จันหนู | ||
การศึกษาวิจัย เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคนิค QFD เพื่อช่วยในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ TERMINAL CONNECTOR STUD มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการแปรหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment : QFD) ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ TERMINAL CONNECTOR STUD และกำหนดแนวทางในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ TERMINAL CONNECTOR STUD ทั้งนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ลดระยะเวลาและต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ TERMINAL CONNECTOR STUD ได้
จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับแนวคิดและการพัฒนามาจากแนวคิด QFD ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ประกอบกับการใช้โปรแกรม CAE เป็นตัวช่วยในการประมวลผลเบื้องต้นซึ่งสรุปผลได้ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทำการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถสวมใส่เข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยง่ายกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดเดิม สามารถยึดจับได้สนิทกันพอดีกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ เนื่องจากใช้หลักการประกบกันของตัว Body และ Keeper จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยการยืดหยุ่นของอลูมินัมในการจับยึด และหลักการ QFD สามารถการประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการค้นหา และแก้ไขปัญหาในด้านการออกแบบและ พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะปัญหาที่มุ่งเน้นด้านความสำคัญของลูกค้าเป็นหลัก
นอกจากหลักการ QFD จะสามารถประยุกต์ใช้ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้แล้ว ยังสามารถแก้ปัญหาด้านการลดเวลาการผลิตที่สืบเนื่องมาจากการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อีกด้วย
Full Text : Download! |
||
10. | การลดต้นทุนการเก็บรักษาวัตถุดิบสีในการผลิตงานพิมพ์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศิขริณ เหม่งเวหา | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบคงคลังจากการเลือกใช้เทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมซึ่งคัดเลือกแบบจำลองสำหรับการพยากรณ์ที่เหมาะสม เพื่อศึกษาการพยากรณ์ความต้องการวัตถุดิบและหาเทคนิคในการพยากรณ์ที่เหมาะสม ซึ่งคัดเลือกแบบจำลองสำหรับการพยากรณ์ ความต้องการวัตถุดิบหลักของสถานประกอบการกรณีศึกษา แล้วเปรียบเทียบผลกับการปฏิบัติจริงในปี2560ของสถานประกอบการศึกษาเปรียบเทียบการพยากรณ์การใช้ในช่วง พ.ศ. 2557-2559 วิธีการพยากรณ์ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ มี 3 วิธี คือ วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลอย่างง่าย (Simple Exponential Smoothing) วิธีพยากรณ์แบบฤดูกาลของวินเตอร์ (Winter) การเลือกวิธี การพยากรณ์ที่เหมาะสมพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นความคลาดเคลื่อนที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่าวิธีการพยากรณ์ที่ให้รูปแบบที่เหมาะสมที่สุด คือวิธีการพยากรณ์โดยการวิเคราะห์ปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลอย่างง่าย ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์ที่น้อยที่สุด โดยนำแนวคิดการพยากรณ์มาช่วยในการตัดสินใจ ก่อนนำไปวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม จากกรณีศึกษาจากวัตถุดิบทั้งหมด 175 กลุ่ม ในขั้นตอนแรกได้นำหลักการ ABC Analysis มาใช้ในการแยกกลุ่มวัตถุดิบ จากนั้นนำสินค้ากลุ่มดังกล่าวมาทำการพยากรณ์ปริมาณความต้องการในอนาคตด้วยวิธีการพยากรณ์แบบที่เหมาะสม เพื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณสินค้าคงคลังที่ปลอดภัย และปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม สุดท้ายทำการเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าคงคลังด้วยการสั่งซื้อแบบเดิมกับการวิเคราะห์จากปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250