fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (PE) 2014 |
1. | โครงงานศึกษาและปรับปรุงกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีสะอาด : กรณีศึกษา การลดปริมาณการใช้สารเคมี (โซดาไฟ) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อนีส เฉลิมศิลป์ | ||
จากการศึกษาการทำงานของกระบวนการ Recovery Process ซึ่งเป็นกระบวนการนำของเสียที่เกิดจากกระบวนการหลัก มาฟื้นฟูสภาพสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการผลิตอีกครั้ง โดยใช้เทคโนโลยีสะอาดในการประเมินเบื้องต้นและใช้แผนภาพต่างๆเพื่อค้นหาสภาพปัญหาและนำมาวิเคราะห์ด้วย Why-Why Analysis เพื่อค้นหาแนวทางในการปรับปรุงการลดปริมาณการใช้สารเคมีที่มีความสิ้นเปลืองจากการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยขั้นตอนการกลั่น 1 รอบ จะใส่โซดาไฟซึ่งมีคุณสมบัติเป็นด่างเพื่อลดค่าความเป็นกรดในของเสียให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ virgin caprolactam
จากการปรับปรุงการทำงานสามารถลดความสูญเสียจากการใช้สารเคมีลงไปได้ 20กิโลกรัม จากปริมาณ 60 กิโลกรัม ลดเหลือ 40 กิโลกรัมต่อการกลั่น 1 รอบ คิดเป็น 33%
Full Text : Download! |
||
2. | ระบบตรวจสอบคัมบังกรณีศึกษา บริษัท สยามไอซิน จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชยกร บุญมี | ||
ในโครงงานสหกิจศึกษานี้ได้ออกแบบระบบตรวจสอบคัมบัง (Kanban Verifier) โดยหลักการทำงานของระบบคือBarcode readerจะอ่านข้อมูลบนคัมบัง หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกดึงเข้าไปในคอมพิวเตอร์เกรดระดับโรงงานเพื่อเก็บข้อมูล, ตรวจสอบว่าคัมบังกับงานที่กำลังผลิตตรงกันหรือไม่และตรวจสอบค่าจำนวนชิ้นงานที่กำลังผลิตให้ได้ตามที่ตั้งไว้
ระบบตรวจสอบคัมบังนี้ถูกคิดขึ้นมาเพื่อยับยั้งการตีของกลับจากลูกค้า เนื่องจากKanbanบนกล่องไม่ตรงกับงานที่อยู่ในกล่อง หรืองานที่อยู่ในกล่องไม่เท่ากับจำนวนบนคัมบัง ซึ่งระบบนี้ได้ถูกพัฒนามาจากระบบเดิมซึ่งนับแค่จำนวนงานดีงานเสียและเก็บข้อมูล
Full Text : Download! |
||
3. | การศึกษากระบวนการผลิตและออกแบบ เช็คกิ้งฟิกเจอร์ : กรณีศึกษา บริษัท ฟิลพาร์ท เอ็นจิเนียริ่ง 1999 จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปภพ เจริญพร | ||
จากการที่ได้มาฝึกงานที่บริษัทฟิลพาร์ท เอ็นจิเนียริ่ง 1999 จำกัดได้เห็นกรรมวิธีการผลิตชิ้นงานแล้วได้เห็นการใช้โปรแกรมNXในการออกแบบ และกระบวนการควบคุมเครื่องจักร CNC millingให้กับลูกค้า ข้าพเจ้าได้ศึกษากระบวนการผลิตเริ่มจากวิธีการใช้โปรแกรมNX ในการออกแบบงานเมื่อออกแบบงานแล้วเราก็จะส่งไปแผนกtoolingเพื่อทำการขึ้นรูปโดยถ้าเป็นงาน2Dเราจะใช้ manual milling ถ้าเป็นงาน3D จะใช้ CNC milling ในการขึ้นรูปโดยใช้ cam แปลงข้อมูลออกมาเป็น g-code เพื่อป้อนข้อมูลเข้าเครื่องCNC เมื่อได้แต่ละชิ้นส่วนแล้วก็นำมาประกอบเพื่อส่งให้กับลูกค้า
Full Text : Download! |
||
4. | ต้นแบบเครื่องเปิดถุงอัตโนมัติ กรณีศึกษา บริษัท ไดวา คาเซอิ(ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปภพ เจริญพร | ||
จากการที่ได้เข้าไปศึกษาภายในโรงงานของบริษัท ไดวา คาเซอิ(ประเทศไทย) จำกัด ในส่วนงานของ Stand Part Assembly 82711- 45020 ซึ่งเป็นส่วนงานของการประกอบผลิตภัณฑ์ Belt เข้ากับ Spring และทำการบรรจุถุง ซึ่งในส่วนของการบรรจุถุงนั้นพนักงานจะต้องก้มลงไปคล้องถุงกับโครงเหล็กด้านล่าง Stand ซึ่งเป็นทำงานที่เกิดความเมื่อยล้าและอาจจะเกิดอุบัติเหตุศีรษะชนขอบโต๊ะได้ ดังนั้นนักศึกษาจึงทำการออกแบบเครื่องเปิดถุงอัตโนมัติ ไว้ที่ด้านล่าง Stand เพื่อเพิ่ม Productivity ของผลิตภัณฑ์ และช่วยลดความเมื่อล้าของพนักงาน ซึ่งเครื่องมือนี้จะทำงานด้วยระบบนิวเมตริกซ์และควบคุมการทำงานด้วยระบบ PLC
จากที่นักศึกษาทำการออกแบบเครื่องเปิดถุงอัตโนมัติ นักศึกษาพบว่า เครื่องมือนี้ใช้ต้นทุนไม่สูงนัก มีจุดคุ้มทุนในเวลาอันสั้น สามารถเพิ่ม Productivity ของผลิตภัณฑ์ โดยสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นอีก 400 ชิ้นต่อวัน และยังเพิ่มความสะดวกในการทำงานของพนักงาน เมื่อศึกษาความเป็นไปได้ในทางทฤษฎีแล้ว นักศึกษาจึงได้ทำการสร้างเครื่องต้นแบบเครื่องเปิดถุงอัตโนมัติ เพื่อทำการศึกษาทดลองระบบการทำงานเบื้องต้น ของอุปกรณ์เครื่องมือและระบบนิวเมตริกซ์ ซึ่งเห็นผลว่าเครื่องมือนี้สามารถทำงานได้จริง และสามารถส่งให้พี่ Maintenance นำไปทดสอบเพื่อทาการสร้างเครื่องเปิดถุงอัตโนมัติ ที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบ Automation ในโรงงานต่อไป
Full Text : Download! |
||
5. | การควบคุมคุณภาพของเครื่องปรับตั้งมุมล้อ : บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ เอเชียแปซิฟิค เอนจิเนียริ่งแอนด์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศิริพร ศรีจันทร์กลัด | ||
โครงงานชิ้นนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาการปฏิบัติงาน การตรวจสอบและการยืนยันคุณภาพของเครื่อง Front Wheel Alignment M/C ทั้งนี้เพื่อการรองรับรถยนต์รุ่นใหม่และเก่าที่จะถูกผลิตขึ้น และทำการส่งมอบตัวเครื่องให้ทางฝ่ายซ่อมบำรุงของทางโรงงานเป็นผู้ดูแลต่อไป โดยเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ
1. ค่าของมุม Caster และ Camber ต้องอยู่ในช่วงที่รถยนต์ประเภทนั้นกำหนดโดยที่มีค่า tolerance ± 0.5◦
2. ค่า Camber ตาม KATASHIKI ต้องได้มาตรฐานตามที่รถยนต์ประเภทนั้นกำหนดขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการทำโครงงานคือ CF Gauge Attachment ใช้สำหรับวัดค่า Gab ของเครื่อง Front Wheel Alignment M/C และ Caster & Camber Gauge ใช้สำหรับตรวจสอบตัว Sensor ของเครื่อง
ในการปฏิบัติงานภายหลังการปรับปรุงเครื่องจักรแล้ว ขั้นตอนแรกเราจะทำการตรวจสอบ Gab โดยใช้ CF Gauge Attachment ผลปรากฏว่าค่าที่ได้แตกต่างจากของเดิมจึงต้องมีการแก้ไขให้ได้ตามค่า Standard Setting ภายหลังจากการแก้ไข จะทำการสอบเทียบตัว Sensor ของเครื่องเป็นขั้นตอนถัดไป โดยกำหนดมุม 3 มุมที่ใช้สอบเทียบคือ Caster : 0◦, 1◦, 3◦ และ Camber : 0◦, -1◦, -3◦ ผลคือ ค่าไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ จึงทาการวิเคราะห์หาสาเหตุโดยวิธี Why-Why analysis ทำให้ทราบว่า Sensor ของตัวเครื่องมีการขยับตำแหน่งเล็กน้อยเป็นผลมาจากน้าหนักของเครื่องที่มากขึ้นภายหลังการปรับปรุง จึงทำการแก้ไขและเข้าสู่กระบวนการยืนยันคุณภาพ โดยได้ใช้รถยนตร์ 4 ประเภท ประเภทละ 30 คัน เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยวัดค่า Caster และ Camber ที่แสดงผลที่ตู้ MAIN และทำการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปของกราฟโดยแบ่งการวิเคราะห์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3 ข้อ ผลปรากฎว่า ผ่านมาตรฐานหมดทั้ง 3 เงื่อนไข
จากผลที่ได้ทำให้คอนเฟิร์มได้ว่าเครื่อง Front Wheel
Full Text : Download! |
||
6. | ปรับปรุงกระบวนการเก็บข้อมูลการทำงานของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศิวะพร นนท์ธนประกิจ | ||
งานที่ปฏิบัติ (ประกอบด้วย รูปแบบ วิธีการดำเนินงาน ข้อมูล และการวิเคราะห์) ปฏิบัติงานในส่วนของการเก็บบันทึกข้อมูลชั่วโมงการทำงานของพนักงานในแต่ละหน่วยงาน โดยเริ่มเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตตั้งแต่หน่วยงานที่ผลิตแม่พิมพ์หน่วยงานแรกไปจนถึงขั้นตอนการผลิตในหน่วยงานสุดท้าย แล้วจึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของการบันทึกชั่วโมงการทำงานว่ากรอกไปเพื่อใช้ทำอะไร และข้อมูลกรอกที่ถูกต้องหรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้นอย่างไร เพื่อศึกษาปัญหาอย่างชัดเจนและทำการแก้ไขตามลำดับถัดไป ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานและประโยชน์ที่ได้รับ ในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ ผู้จัดทำสามารถเข้าใจกระบวนการบันทึกชั่วโมงการทำงาน เรียนรู้วิธีการเก็บข้อมูล อีกทั้งสามารถเรียนรู้ได้ถึงวิธีการปรับตัว สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาต่างๆ เพื่อที่หาวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และสามารถเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ความสามารถและพัฒนาศักยภาพของตนเองก่อนที่จะเริ่มทำงานจริงหลังจบการศึกษา
Full Text : Download! |
||
7. | การปรับปรุงสายการผลิต IMV 408W โดยใช้ระบบการผลิตแบบโตโยต้า : กรณีศึกษา บริษัท มูราคามิแอมพาส (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สุรัช ปัญญา | ||
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรอบเวลาในการผลิตโดยใช้เครื่องมือในระบบผลิตแบบโตโยต้าเข้ามาช่วยในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ของบริษัท มูราคามิแอมพาส จำกัด โดยจะทำการศึกษาเฉพาะสายการผลิต IMV 408W กับผลิตภัณฑ์ 408W E/T และ 408W M/N
การศึกษางานนี้จะเริ่มจากการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในสภาพปัจจุบันของสายการผลิต โดยใช้วิธีการสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์ และการจดบันทึก จากหัวหน้าสายการผลิตและพนักงานในสายการผลิต จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาศึกษาและวิเคราะห์ โดยการใช้เทคนิคการศึกษา งานมาตรฐาน แผนภาพแบ่งภาระงานและการเคลื่อนไหว มาเพื่อทำให้ทราบถึงปัญหาของสายการผลิต ผลิตภัณฑ์ 408W E/T และ 408W M/N มีปัญหาการ ใช้เวลาในการผลิตมาก สาเหตุจากการเคลื่อนไหวในแต่ละขั้นตอนที่มาก วิธีการจับอุปกรณ์ที่ ไม่ถนัด และมีความลำบากในการ
จัดวางชิ้นงาน ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำการปรับปรุงโดยการโยกย้ายอุปกรณ์ แบ่งภาระงาน และจัดทำ เครื่องมือ ที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพในการทำงานมากขึ้น โดยเมื่อทำการเปรียบเทียบเวลาในการผลิตชิ้นงาน 408W E/T เดิมใช้เวลาในการผลิต 65.6 วินาทีต่อชิ้น เมื่อทำการปรับปรุงแล้ว จะใช้เวลาในการผลิตเหลือเวลา 57.3 วินาทีต่อชิ้น สามารถลดเวลาใน การผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 12.65 และ ผลิตภัณฑ์ 408W M/N เดิมใช้เวลาในการผลิต 55.3 วินาทีต่อชิ้น เมื่อทำการปรับปรุงแล้ว จะใช้เวลาในการผลิตเหลือเวลา 45.3 วินาทีต่อชิ้น สามารถลดเวลาใน การผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 9.94 ทาให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 9.85 ซึ่งการปรับปรุงสามารถลดเวลาในการทำงานต่อชิ้นลดลงจากการผลิตแบบเดิม เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจเช็คงานและความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น
Full Text : Download! |
||
8. | การลดรอบเวลาการผลิตในสายการผลิตโคมไฟรถจักรยานยนต์ กรณีศึกษา บริษัทไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด มหาชน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วรัตม์ บุญเติม | ||
รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาเพื่อการดำเนินการปรับลดรอบเวลาในการผลิต และทำการปรับปรุงไลน์ในการผลิต ในแผนกประกอบโคมไฟ ของพนักงาน ในโรงงานผลิตโคมไฟ 2 (Lamp 2) เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า โดยทั้งนี้ได้มีการจับเวลาการทำงานของพนักงาน และรอบเวลาการทำงานของเครื่องจักรในLine A-5 เพื่อนำไปวิเคราะห์หาเวลามาตราฐานการทำงานของคนและรอบเวลาการทำงานของเครื่องจักร (Standard Time) ค่าเวลาที่ได้จากการทำงานจริง (Actual Time) และจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ต่อชั่วโมงการประกอบชิ้นงานของพนักงาน โดยได้พิจารณาถึงอัตราการทำงานของพนักงานโดยตรง จากการศึกษาพบว่า ค่ารอบเวลาการทำงาน (Cycle Time) กับจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ต่อชั่วโมงมีค่าแปรผกผันกัน จากผลการศึกษา ทำให้ทางโรงงานได้มีความเข้าใจในมาตราฐานการทำงานของพนักงาน จึงได้มีการดำเนินการทำการวิเคราะห์ และคำนวณหาค่าเวลามาตรฐาน และลดไซเคิลไทม์การผลิตเพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า(Just In Time) ตามหลักการผลิตโดยใช้ระบบการผลิตแบบโตโยต้า(TPS)
Full Text : Download! |
||
9. | เครื่องใส่จาระบีอัตโนมัติสำหรับ ฮูดล็อค : กรณีศึกษา บริษัท สยามไอซิน จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ยศพนธ์ วนธรรมพงศ์ | ||
ในโครงงานสหกิจฉบับนี้ได้ศึกษาการออกแบบ และทดลองใช้เครื่องใส่จาระบีแบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องให้ผู้ปฏิบัติงานเท่ากับชิ้นงานเอง (Auto Apply Grease) เพื่อแก้ไขข้อกำหนดที่ทางลูกค้ากำหนดมาให้ซึ่งปัญหาที่นำมาศึกษาและแก้ไข ได้ผ่านการเขียนตารางแสดงความสัมพันธ์งาน-ปัญหา (ตาราง Hosotani) โดยจะมีผลต่อเนื่องที่สำคัญคือการผลิตให้ถูกข้อกำหนดและลดการตีกลับของงานที่หลุดมาตรฐานจากลูกค้าซึ่งอาศัยหลักการ PDCA ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามแผนงานที่กำหนด
หลักการคือการทำแคลมป์(Clamp) และ จิ๊ก(Jig) ต่อกับสายจาระบีและลมผ่านโซลินอยด์วาล์ว ที่เชื่อมต่อกับโปรแกรม PLC ให้ทำงานพร้อมกับการตอกหมุดชิ้นงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการผลิต Hood Lockโดยจะฉีดจาระบีในปริมาณที่กำหนดไว้ในชิ้นงานก่อนการนำชิ้นงานไปสู่สถานีงานต่อไป เครื่องใส่จาระบีอัตโนมัติ
จากผลการศึกษา และปฏิบัติ พบว่าสามารถช่วยลดขั้นตอนให้การทำงานของผู้ปฏิบัติงานให้สะดวกขึ้นรวมทั้งยังเป็นการทำให้ระบบเป็นมาตรฐานในการใช้งาน เพื่อการขยายผลไปสู่สายการผลิตอื่นๆและส่วนที่สำคัญที่สุดคือแก้ไขงานทำจาระบีให้ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้า
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250