fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (LMS) 2021 |
1. | การปรับปรุงกระบวนการเสนอราคาของผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : คณิล ศุภฤกษ์ชัยกุล | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์แนวคิดลีนมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหา
สาเหตุ และปญัหาของความล่าช้าที่แผนกวิศวกรรมการผลิต ในการเสนอราคาของผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่
และนำกระบวนการมาปรับปรุง เพื่อลดความล่าช้า ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การเสนอ
ราคาที่รวดเร็ว และแม่นยำโดยทำการเก็บข้อมูลจากพนักงานทั้งหมด 15 คน จากฝ่าย Assembly,
Lathe, Injection, Stamping, Welding ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ กำหนดแนวทาง การหาสาเหตุ
ของปญัหาของขัั้นตอนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยใช้การระดมสมอง เครื่องมือแผนภาพก้างปลา
และการวิเคราะห์หาความสูญเปล่า 7 ประการ กำหนดแผนการปรับปรุงแก้ไข และออกแบบ
กระบวนการใหม่ ด้วยแนวคิด ECRS
จากผลวิจัยพบว่าหลังจากได้วิเคราะห์หาสาเหตุแล้ว พบว่าเกิดจาก 3 สาเหตุหลักที่ทำ
ให้การทำงานเกิดความล่าช้ามี คือ การรอคอยข้อมูลของพนักงานที่ยังไม่ได้ถูกถ่ายทอดมาจาก
หัวหน้างาน ขาดการติดตามข้อมูลจากทางหัวหน้างานและขาดข้อมูลพื้นฐาน (Data Base) โดย
ปรับปรุงวิธีการตามเครื่องมือ ECRS ด้วยแนวคิดดังนี้ ปัญหาการรอคอยข้อมูลของพนักงานที่
ยังไม่ได้ถูกถ่ายทอดมาจากหัวหน้างาน ใช้เทคนิคการกำจัดคือกำจัดการอคอยของพนักงาน
โดยการเพมิ่ Windows Person เข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายข้อมูล และแจกจ่าย
ข้อมูล ปัญหาขาดการติดตามข้อมูลจากทางหัวหน้างาน ใช้เทคนิคคือการจัดเรียงใหม่เพื่อให้การ
ทำงานเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน โดยจากเดิมที่การประชุมจะมีก็ต่อเมื่องานมีปัญหาเปลี่ยน
เป็นการจัดประชุมทุกอาทิตย์เพื่อรายงานความคืบหน้าของงาน ปัญหาขาดข้อมูลพื้นฐาน (Data
Base) ใช้เทคนิคการร่วมกันเพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนด้วยวิธีการจัดทำ ไฟล์กลาง หรือ ข้อมูล
พื้นฐาน (Data Base)และข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เ
Full Text : Download! |
||
2. | การปรับปรุงกระบวนการนำเข้าสินค้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น : กรณีศึกษา บริษัทนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปิยธิดา ไชยปัญญา | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขั้นตอนการนำเข้าสินค้าของบริษัท วิเคราะห์
สาเหตุของปญัหาของการนำเข้าสินค้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการนำเข้าสินค้า โดยออกแบบ
ขั้นตอนการทำงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการนำเข้าในปัจจุบัน ศึกษาขั้นตอนการทำงานเริ่มตั้งแต่
สินค้ามาถึงยังท่าเรือ จนกระทั่งสินค้าถูกจัดส่งมายังโรงงานผู้นำเข้า มีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทำงาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูล
ทุติยภูมิ ใช้เครื่องมือก้างปลาในการหาสาเหตุหลักของปัญหา รวมทั้งการใช้เครื่องมือระดมความคิด
เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานแบบให้แก่พนักงานปฏิบัติงาน อีกทั้งใช้เครื่องมือ Swim Lane
Diagram ในการนำเสนอขั้นตอนการทำงานแบบใหม่ รวมทั้งเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการทำงาน
ก่อนและหลังปรับปรุง
ผลจากการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์หาสาเหตุหลักของปัญหาในการใช้เครื่องมือก้างปลา
ผู้วิจัยได้เลือกสาเหตุใน 2 ส่วน ได้แก่ Method เนื่องจากบริษัทไม่ได้กำหนดวิธีการทำงานที่มี
ความละเอียด ไม่มีความชัดเจนในขั้นตอนการปฏิบัติงาน ส่วน Material เนื่องจากเอกสารภายใน
บริษัทไม่ระบุความชัดเจนในเรื่องของการใช้งานของเอกสารแบบฟอร์มที่ไม่มีมาตรฐาน รวมถึง
ไม่มีคู่มือในการปฏิบัติงาน การออกแบบวิธีการทำงานแบบใหม่สามารถกำหนดขั้นตอนการ
ทำงานและสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รวมทั้งสามารถสร้างเป็นมาตรฐานในการนำเข้าสินค้า
ของบริษัทให้แก่พนักงานในการปฏิบัติงานในการนำเข้าสินค้า โดยผลลัพธ์ที่ได้ จำนวนระยะ
เวลาในการทำงานมีความสามารถในการจัดการการนำเข้าสินค้าดีขึ้น 20.20 % และสามารถลด
ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ 45.53% ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่า การปรับปรุงกระบวน การนำเข้า
โดยกา
Full Text : Download! |
||
3. | การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการจัดการกระบวนการทดลองแม่พิมพ์สำหรับชิ้นส่วนรถยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อัญเชิญ เอนกบุญสถาพร | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพของกระบวนการทดลองแม่พิมพ์ ณ โรงงานกรณีศึกษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
ครัง้ นี้คือ แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกกันชน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีการสำรวจสภาพปัจจุบันจาก
การไปพื้นที่หน้างานจริงและทำการะดมความคิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ Swim Lane Diagram
ในการนำเสนอกระบวนการทำงาน จากนั้นใช้การวิเคราะห์หาความสูญเปล่าด้วย MUDA (7 Waste)
และทำการจัดกระบวนการทำงานใหม่โดยหลักการ ECRS จากนั้นเปรียบเทียบผลก่อนปรับปรุง
และหลังปรับปรุง โดยทำการเปรียบเทียบเวลาจากก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง
ผลจากการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์หาความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น มีขั้นตอนที่เกิด
ความสูญเปล่าจากการรอคอย ขั้นตอนสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวที่มากเกินไป ขั้นตอนสูญ
เปล่าที่มากเกินความจำเป็น ขั้นตอนสูญเปล่าจากการใช้คนไม่คุ้มค่า หลังจากนั้นได้ใช้หลักการ
ECRS ทั้งการกำจัด รวมขั้นตอน การจัดใหม่ การทำให้ง่าย การประยุกต์ใช้เทคนิคแบบลีน สามารถ
ลดจำนวนขั้นตอนกระบวนการทำงานลงคิดเป็นร้อยละ 24 และลดรอบเวลาทัง้ หมดของกระบวน
การทำงานได้คิดเป็นร้อยละ 45.4 ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่า ดังนั้นการใช้วิธีการคิดแบบลีน
เพื่อหาของเสียและการกำจัดของเสียจึงเป็นการปรับปรุงกระบวนการทดลองแม่พิมพ์
Full Text : Download! |
||
4. | การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดส่งสินค้าเข้าศูนย์กระจายสินค้า : กรณีศึกษา บริษัทให้บริการขนส่งเครื่องใช้ไฟฟ้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชนาพร สีชัยปัญหา | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบรรทุกสินค้า ลดเวลาในกระบวน
การจัดเรียงสินค้าของเจ้าหน้าที่วางแผนการขนส่ง และลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดส่ง
สินค้าเข้าศูนย์กระจายสินค้า โดยใช้แนวคิดปัญหาการจัดเส้นทางสำหรับยานพาหนะที่มีข้อจำกัด
น้ำหนักบรรทุกและปัญหาการจัดวางบรรจุภัณฑ์ในอุปกรณ์บรรจุเข้ามาช่วยในการปรับปรุงกระบวนการ
จากการวิเคราะห์ปัญหาของขั้นตอนการจัดส่งสินค้าเข้าศูนย์กระจายสินค้าพบว่า กระบวนการ
จัดเรียงสินค้าเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลานานที่สุด และยังเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความชำนาญของ
เจ้าหน้าที่วางแผนการขนส่ง จึงได้ปรับปรุงกระบวนการเริ่มจากการสร้างมาตรฐานการจัดเรียง
สินค้า และพัฒนาเป็นแบบจำลองการจัดเรียงสินค้า โดยใช้ฟังก์ชัน Solver ใน Microsoft Excel
จากนั้นทำการเปรียบเทียบข้อมูลการจัดส่งสินค้าเข้าศูนย์กระจายสินค้าเดือนตุลาคม-ธันวาคม
พ.ศ. 2564 จำนวนวันจัดส่งสินค้า 61 วัน
การจัดเรียงสินค้าโดยใช้เจ้าหน้าที่วางแผนการขนส่ง ใช้รถบรรทุกจำนวน 1,076 คัน
ต้นทุนค่าขนส่งสินค้า 4,702,400 บาท จำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา 155 ชั่วโมง ต้นทุนค่าล่วงเวลา
27,900 บาท การจัดเรียงสินค้าโดยใช้แบบจำลองการจัดเรียงสินค้า ใช้รถบรรทุกจำนวน 1,035 คัน
ต้นทุนค่าขนส่งสินค้า 4,515,000 บาท จำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา 124 ชั่วโมง ต้นทุนค่าล่วง
เวลา 22,320 บาท จากการเปรียบเทียบข้อมูลในไตรมาส 4 พบว่าการใช้แบบจำลองการจัดเรียง
สินค้าสามารถลดจำนวนการใช้รถบรรทุกลงได้ 41 คัน ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าลดลง 187,400 บาท
คิดเป็นร้อยละ 3.81 และ 3.99 ตามลำดับ ลดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาลงได้ 31 ชั่วโมง ต้นทุน
ค่าล่วงเวลาลดลง 5,580 บาท คิดเป็นร้อยละ 20 ประสิทธิภาพการบรรทุกสินค้าต่อเที่ยวเฉลี่ยร
Full Text : Download! |
||
5. | การลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรในกระบวนการบานหัวท่อพีวีซี : กรณีศึกษา โรงงานผลิตท่อพีวีซี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศิระ เดชะศิริ | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษากระบวนการเปลี่ยนและปรับตั้ง หัวแบบบานท่อพีวีซี
ของ บริษัทกรณีศึกษาผลิตท่อพีวีซี โดยนำแผนภูมิการไหลของกระบวนการ (Flow Process
Chart) มาช่วยในการบันทึกและวิเคราะห์กระบวนการปัจจุบันเพื่อ หาแนวทางการปรับปรุง
หลังจากที่ได้ทำการศึกษากระบวนการตามแผนภูมิการไหลของกระบวนการแล้ว
เทคนิค Single-Minute Exchange of Die (SMED) ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อหาแนวทางการ
ปรับปรุงกระบวนการโดยมี 3 ขั้น ตอนดังนี้ 1. ทำการแยกงานภายในและงานภายนอกออกจาก
กัน 2. แปลงการตั้ง เครื่องภายในให้เป็นการตั้ง เครื่องภายนอก 3.ปรับปรุงการติดตั้ง เครื่องจักรใน
ทุก ๆ แง่มุมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งในแต่ละขั้น ตอนได้นำหลักการ ECRS (Eliminate
Combine Rearrange และ Simplify) มาเป็นแนวทางควบคู่ไปด้วย เพื่อให้การปรับปรุง
กระบวนการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หลังจากทำการปรับปรุงตามขั้น ตอนของ SMED ทั้ง 3 ขั้น ตอนข้างต้นแล้ว แผนภูมิ
การไหลของกระบวนการ (Flow Process Chart) ถูกนำมาใช้อีกครั้ง เพื่อแสดงผลเปรียบเทียบ
ก่อนและหลังการปรับปรุง ซึ่ง หลังจากทำการปรับปรุงครั้ง สุดท้ายพนักงานสามารถเปลี่ยนและ
ปรับตั้ง หัวแบบบานท่อพีวีซีเร็วขึ้น จากเดิม 164 นาที เป็น 71 นาที ใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิม 93
นาที หรือคิดเป็นร้อยละ 56 ส่งผลทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนได้ประมาณ 817,200 บาทต่อปี
Full Text : Download! |
||
6. | การลดขั้นตอนการทำงานของกระบวนการจัดซื้อโดยใช้เทคนิคลีน : กรณีศึกษา บริษัท นิปปอน คิไค เอนจิเนียริ่ง จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธิติวัฒน์ จิวะสมบูรณ์กุล | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และอุปสรรคใน
กระบวนการจัดซื้อ ลดขั้นตอนและระยะเวลาของกระบวนการจัดซื้อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ
กระบวนการจัดซื้อและขยายผลการวิจัยไปยังหน่วยงานสำนักงานหน่วยงานอื่น โดยนำแนวคิด
แบบลีน ที่เป็นแนวคิดการปรับปรุงในสายการผลิต มาประยุกต์ใช้ปรับปรุงในงานสำนักงาน ทั้งนี้
ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาวิเคราะห์ ปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการ โดยได้
ศึกษาในหน่วยงานของจัดซื้อ ของบริษัท นิปปอน คิไค เอนจิเนียรงิ่ จำกัด
จากการวิเคราะห์ ปัญหา สาเหตุและอุปสรรคของกระบวนการจัดซื้อพบว่า
กระบวนการจัดซื้อใช้เวลาในการจัดซื้อ 1,599 นาที โดยเป็นกระบวนการสูญเปล่าในการรอคอย
ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการจัดซื้อในการจัดซื้อให้ทันต่อความต้องการในสภาพธุรกิจที่ต้องแข่งขัน
กันในปัจุบัน โดยใช้กระบวนการจัดซื้อเป็นต้นแบบในการขยายผลต่อไปยังหน่วยงานสำนักงาน
อื่น ๆ ภายใน ศึกษาผลกระทบและแนวทางการปรับปรงุ
การศึกษาสารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งวิเคราะห์กระบวนการทำงาน
ทางด้านเอกสาร ขัน้ ตอนการทำงาน ตลอดจนกระบวนการไหลของงาน เพื่อวิเคราะห์ความสูญ
เปล่าของกระบวนการที่เกิดขึ้น นำไปปรับปรงุ กระบวนการโดยใช้เทคนิค ECRS
เมื่อนำกระบวนการจัดซื้อใหม่หลังจากการวิเคราะห์ ผลการจากการศึกษา พบว่า ผล
จากการศึกษา สามารถหาความสูญเปล่าในกระบวนการได้ 20 กระบวนการ เหลือกระบวนการ
ที่ยังต้องคงอยู่ 6 กระบวนการ ลดเวลาการทำงาน 1,523 นาที คงเหลือ 76 นาที คิดเป็นอัตรา
ร้อยละ 95.24% โดยลดค่าใช้จ่ายจากกระบวนได้เป็นจำนวน 240,000 บาทต่อปี
Full Text : Download! |
||
7. | การวางแผนจัดการการขนส่งเพื่อลดต้นทุนด้านการขนส่งสำหรับผลิตภัณฑ์แคมเซียมคาร์บอเนต : กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วสันต์ กัลยา | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการขนส่งและส่งมอบสินค้าของบริษัท
วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาจากการส่งมอบสินค้าไม่ทันตามที่ลูกค้ากำหนด เพื่อเป็นการลดต้นทุน
ทางด้านค่าขนส่ง และลดการร้องเรียนจากลูกค้า โดยการศึกษากระบวนการทำงานตั้งแต่กระบวนการ
จัดรถขนส่งสินค้าจากโรงงานจนกระทั่งมีการนำไปส่งมอบถึงมือลูกค้า โดยมีการเก็บข้อมูลในการส่งมอบ
สินค้าย้อนหลังเป็นจำนวน 6 เดือนซึ่งปัญหาที่พบคือมีการส่งมอบสินค้าไม่ทันตามกำหนด จึงทำ
การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ และใช้เครื่องมือแผนผังก้างปลาในการหาสาเหตุหลักของปัญหา เพื่อ
ปรับปรุงกระบวนการส่งมอบแบบใหม่และเป็นการสร้างมาตรฐานในการทำงานให้กับพนักงาน
รวมทั้งเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการทำงานก่อนและหลังปรับปรุง
ผลจากการวิจัยพบว่าสรุปผลพบว่าก่อนดำเนินการปรับปรุงนั้นพบว่าปัญหาจากการส่งมอบ
สินค้าไม่ทันตามกำหนด 5 บริษัท คิดเป็นเที่ยวขนส่งทั้งหมด 133 ครั้งพบปัญหาส่งมอบไม่ทัน
ตามกำหนด 11 ครั้งคิดเป็น 9% และมีมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจาการการส่งมอบสินค้าไม่ทัน
ตามกำหนด 152,400 บาท หลังจากมีการปรับปรุงพบว่ามีการการส่งมอบสินค้าไม่ทันตามกำหนด
เหลือเพียง 1 ครั้งคิดเป็น 0.8% จากจำนวนเที่ยวขนส่งทั้งหมด 121 เที่ยว และไม่มีความสูญเสีย
แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เพียงเป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงานของของแผนกจัดส่งของบริษัท
กรณีศึกษาให้เป็นมาตรฐานเพียงอย่างเดียวยังส่งผลให้บริษัทสามารถที่จะส่งมอบสินค้าได้ตรง
ตามเวลาเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการส่งสินค้าไม่ทันตามกำหนดรวมทั้งเป็นการเพิ่ม
ความเชื่อมั่นให้กับทางลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250