fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIM) 2013 |
1. | การลดเวลาการปรับตั้งแม่พิมพ์ในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอกตระกูล สุมาลา | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำหลักการและเทคนิคการปรับตั้งแม่พิมพ์โดยใช้เวลาเป็นจำนวนนาทีที่เป็นตัวเลขหลักเดียว (Single Minute Exchange of Die: SMED) เพื่อลดเวลาในการปรับตั้ง (Setup Time) แม่พิมพ์ที่กระบวนการฉีดพลาสติกอย่างน้อย 50% โดยอาศัยเครื่องมือในการวิเคราะห์ ได้แก่ Routing Diagram การจับเวลา แผนภูมิการไหลของกระบวนการ (Process Flow Chart) แผนภูมิกิจกรรมพหุคุณ (Multiple Activity Chart)
จากสภาพปัจจุบันของกระบวนการฉีดพลาสติก พบว่า กระบวนการปรับแต่งแม่พิมพ์ใช้เวลาปรับตั้ง (Setup Time) เท่ากับ 211 นาที และมีขั้นตอนเท่ากับ 21 ขั้นตอน จึงได้แยกงานภายใน ออกจากงานภายนอกตามหลักการและเทคนิค SMED นอกจากนั้นได้ประยุกต์หลักการกำจัดความสูญเปล่าของกระบวนการรอคอย และการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็นในขั้นตอนการปรับตั้งแม่พิมพ์ ได้ประยุกต์ใช้ร่วมกับเครื่องมือและเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ (IE Technique) ใช้ในการปรับปรุง โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายตั้งแต่ผู้บริหาร ไปจนถึงผู้ปฏิบัติงาน
การปรับปรุงขั้นตอนที่ 1 ทำให้สามารถลดเวลาปรับตั้งแม่พิมพ์จาก 211 นาที เหลือ 140 นาที คิดเป็น 33.65% และลดขั้นตอนจาก 21 ขั้นตอน เหลือ 13 ขั้นตอน การปรับปรุงขั้นตอน เหลือ 6 ขั้นตอน และการปรับปรุงขั้นตอนที่ 3 สามารถลดเวลาการปรับตั้งแม่พิมพ์จาก 100 นาที เหลือ 33 นาที คิดเป็น 67% จากนั้นได้กำหนดมาตรฐานและคู่มือปฏิบัติงานไว้สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานการปรับตั้งแม่พิมพ์
Full Text : Download! |
||
2. | การประยุกต์การแก้ปัญหาคุณภาพด้วยคิวซีสตอรี กรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรรคมงคล จันฤาไชย | ||
วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อหามาตรการการลดข้อร้องเรียนของลูกค้าและอัตราส่วนของเสียต่อล้านส่วนของชิ้นส่วนวงกบประตูรถยนต์เพื่อการส่งออก เพื่อลดความไม่พึงพอใจของลูกค้า โดยดำเนินตามขั้นตอนของคิวซีสตอรีทั้ง 7 ขั้นตอนของ JUSE (Union of Japanese Scientists and Engineers)
การศึกษาได้ประยุกต์ใช้ขั้นตอนของคิวซีสตอรี ในการวิเคราะห์ปัญหาคุณภาพที่เคยได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าในช่วง ตุลาคม 2555-กรกฎาคม 2556 พบว่าปัญหาข้อร้องเรียนที่ได้รับจากลูกค้ามากที่สุด มาจากการขัดแต่งผิวชิ้นส่วนไม่ได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ เนื่องจากพนักงานขัดแต่งมีความเข้าใจคาดเคลื่อนเรื่องลักษณะของผิวชิ้นส่วนตามข้อกำหนดที่ลูกค้าต้องการ และวิธีการตรวจสอบที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ชิ้นส่วนตำหนิบางส่วนหลุดรอดไปยังลูกค้า
ผลการแก้ปัญหาตามขั้นของคิวซีสตอรี สามารถหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหาเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไข หลังการดำเนินกิจกรรม ข้อร้องเรียนปัญหาคุณภาพที่เกิดจากการขัดแต่งผิวที่ไม่ได้มาตรฐานลดลงจากเดิม 20 ครั้ง เหลือศูนย์ โดยไม่เกิดปัญหาเดิมซ้้ำจนถึงปัจจุบัน และจำนวนการได้รับข้อร้องเรียนสำหรับปัญหาอื่นทุกปัญหา จากเดิม 4.5 ฉบับต่อเดือน เหลือ 1 ฉบับต่อเดือน อัตราส่วนของเสียต่อล้านส่วน ลดลงจากเดิม 5,633 DPPM (Defect Part Per Million) ต่อเดือน เหลือ 222.8 DPPM ต่อเดือน
Full Text : Download! |
||
3. | การปรับปรุงเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความพร้อมใช้งาน (Availability) ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนโดยการประยุกต์ใช้เทคนิค SMED กรณีศึกษา บริษัทผลิตสิ่งพิมพ์ฟอร์มต่อเนื่อง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อมลวรรณ บุณยจรัสพงศ์ | ||
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการประยุกต์ใช้เทคนิค Single Minute
Exchange of Die (SMED) เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความพร้อมใช้งาน
(Availability) ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน โดยลดเวลาการ
ปรับตั้งเครื่องพิมพ์ป้อนม้วน และลดเวลาความสูญเปล่าในกระบวนการ
พิมพ์แบบฟอร์มต่อเนื่อง โดยการเก็บข้อมูลของขั้นตอนการปฏิบัติงาน
จากโรงงานผลิตสิ่งพิมพ์ฟอร์มต่อเนื่องซึ่งเป็นโรงงานตัวอย่างในการ
ปรับปรุงและเลือกเครื่องพิมพ์ต้นแบบและนำความสูญเสียรวมของ
บริษัทมาพิจารณาประกอบในส่วนของการผลิต (Production Loss) เมื่อ
แยกความสูญเสียในแต่ละส่วนจะเห็นว่าความพร้อมการใช้งานของ
เครื่องจักรมีการสูญเสีย 13.91 ล้านบาท ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากความ
พร้อมในการทำงานของเครื่องพิมพ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ต่ำ เมื่อวิเคราะห์
ข้อมูลสัดส่วนความพร้อมในการทำงานนั้นจะเห็นถึงสัดส่วนการปรับตั้ง
(Setup) มีค่าที่สูงถึง 53% จึงนำมาดำเนินการปรับปรุงโดยประยุกต์ใช้
เทคนิค SMED เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลขั้นตอนและเวลาการทำงาน
พิมพ์มีเวลาโดยรวม 266.29 นาที พร้อมทั้งแยกแยะงานตาม
วัตถุประสงค์ของการทำงาน งานสูญเปล่า 3.45 นาที งานปรับตั้งภายใน
247.50 นาที งานปรับตั้งภายนอก 15.04 นาที หลังจากการปรับปรุง
พบว่า สามารถลดเวลางานสูญเปล่าจากกิจกรรม 5ส เปลี่ยนงานปรับตั้ง
ภายในให้เป็นงานปรับตั้งภายนอก เหลือเวลางานปรับตั้งภายใน 218
นาที วิเคราะห์งานปรับตั้งภายในเพื่อลดเวลาโดยรวม ทำการปรับปรุง
เวลาการปรับตั้งภายในโดยใช้หลักการ Eliminate Combine Rearrange
Simplify (ECRS) ในการปรับปรุงขั้นตอนเวลาลดลงเหลือ 92.37 นาที
สำหรับงานปรับตั้งภายนอกปรับปรุงจากกิจกรรม 5ส เวลาลดลงเหลือ
33.03 นาที บริษัทสามารถลดต้นทุนได้ 245,185 บาทต่อปี
Full Text : Download! |
||
4. | ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS16949:2009 ในนิคมอุตสาหกรรม อมตะนคร จังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อัจฉรา ศรีสุข | ||
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS16949:2009 ในนิคมอุตสาหกรรม อมตะนคร จังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา เป็นการวิจัยเชิงประมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS16949: 2009 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 บริษัท และได้กำหนดสมมติฐานว่า คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อายุงาน และระดับการศึกษาของพนักงานที่รับผิดขชอบการบริหารระบบบริหารคุณภาพที่ต่างกันมีอิทธิพลต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS16949: 2009 ต่างกัน ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์พบว่า ลักษณะทั่วไปผู้บริหารระบบบริหารคุณภาพ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ตำแแหน่งเป็นผู้ประสานงานด้านระบบบริหารคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารระบบบริหารคุณภาพ อยู่ในระดับสูง ปัจจัยแห่งความสำเร็จเรื่อง การกำหนดนโยบายคุณภาพ และการทบทวนโดยฝ่ายบริหารและทุกหน่วยงานในองค์กรมีการกำหนดเป้าหมายสอดคล้องกับนโยบายและข้อกำหนดระบบบริหารคุณภาพ อย่างเป็นรูปธรรม อยู่ในระดับสูงที่สุด ส่วนระดับต่ำที่สุดแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์คะแนนระดับสูง อย่างเป็นรูปธรรม อยู่ในระดับสูงที่สุด ส่วนระดับต่ำที่สุดแต่ก็ยังในเกณฑ์คะแนนระดับสูง คือ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เรื่อง พนักงานทุกคนรวมถึงผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตามข้อกำหนด ISO/TS16949: 2009
ผลการทดสอบสมมุติฐานของการศึกษา พบว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลที่ต่างกัน ไม่มีอิทธิพลต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS16949: 2009
Full Text : Download! |
||
5. | ปัญหาด้านแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อธิภัทร วรรธอนันตชัย | ||
การศึกษาปัญหาด้านแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทำการศึกษาสภาพปัจจุบันของ
อุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทย ศึกษาปัญหาด้านแรงงาน สาเหตุที่มาของปัญหา และ
แนวทางผ่อนคลายปัญหาด้านแรงงานในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้การเก็บข้อมูล 2 วิธี
ได้แก่ การทำแบบสำรวจสอบถามสถานประกอบการจำนวน 30 ชุด โดยสุ่มจากรายชื่อสมาชิก
ของสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานประกอบการจำนวน
6 แห่ง จากกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันด้วยวิธีสามเส้า และนำ
ข้อมูลจากแบบสอบถาม หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยขนาดองค์กร และปัจจัยอื่นที่
ทำการศึกษา ด้วยวิธีการทดสอบของฟิชเชอร์
ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสำรวจแบบสอบถาม
มีความสอดคล้องกัน และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ระหว่างปัจจัย
ขนาดองค์กร และปัจจัยอื่นๆ ที่ศึกษา ทั้งนี้สามารถสังเกตได้ว่า สถานประกอบการทุกขนาดใน
อุตสาหกรรมก่อสร้าง ต่างประสบปัญหาแรงงานด้านการขาดแคลนแรงงานมากที่สุด โดยปัญหา
แรงงานรองลงมาในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คือ อัตราค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น
จากนโยบายค่าจ้างขั้นตํ่า ปัญหาของแรงงานรองลงมาของวิสาหกิจขนาดใหญ่ คือ แรงงานขาด
ทักษะ สาเหตุของปัญหาขาดแคลนแรงงาน คือ ความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้น
จากการขยายตัวในภาคก่อสร้าง การปรับตัวระยะสั้น วิสาหกิจขนาดย่อมปรับตัวโดยจ้าง
ผู้รับเหมาช่วง วิสาหกิจขนาดกลางปรับตัวโดยจ้างผู้รับเหมาช่วงและจ้างทำงานล่วงเวลา
วิสาหกิจขนาดใหญ่ปรับตัวระยะสั้นโดยจ้างแรงงานต่างด้าวทดแทน การปรับตัวระยะยาวของ
วิสาหกิจขนาดย่อม ปรับตัวโดยการจ้างผู้รับเหมาช่วง และใช้เครื่องจักรทดแทน วิสาหกิจขนาด
กลางปรับตัวโดยเพิ่มค่าจ้าง
Full Text : Download! |
||
6. | การลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักร : กรณีศึกษา กระบวนการขึ้นรูปแบบอัดรีด ท่อน้ำระบายความร้อนในรถยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชัยรัตน์ เยื่อใย | ||
การศึกษานี้ เป็นกรณีศึกษากระบวนการขึ้นรูปแบบอัดรีดท่อน้ำระบายความร้อนในระยนต์ เพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดจากในกระบวนการปรับตั้งเครื่องจักรด้วยเทคนิค Single
Minute Exchange of Die: SMED โดยกำหนดเป้าหมายเพื่อลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรลงมากกว่า 50% โดยใช้เทคนิค SMED ร่วมกับแผนผังก้างปลาแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาและสาเหตุ และแผนภูมิกระบวนการไหลในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา จากนั้นใช้หลักการ ECRS ในการแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงาน
หลังจากศึกษากระบวนการปัจจุบัน พบว่า กระบวนการปรับตั้งเครื่องจักรของเครื่องขึ้นรูปแบบอัดรีดใช้เวลาในการปรับตั้ง 152.3 นาที และมีขั้นตอนการปรับตั้งภายใน และการปรังตั้งภายนอกปะปนกันอยู่ เมื่อดำเนินการตามหลักการ SMED ทั้ง 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 แยกแยะระหว่างการปรับตั้งเครื่องจักรภายในและการปรับตั้งเครื่องจักรภายนอก จากการศึกษาวิเคราะห์ทำให้สามารถบ่งชี้ได้ว่า ขั้นตอนไหนเป็นการปรับตั้งภายในแยกออกจากการปรับตั้งภายนอก ขั้นที่ 2 การแปลงการปรังตั้งเครื่องจักรภายในให้เป็นการปรับตั้งเครื่องจักรภายนอก สามารถแปลการการปรับตั้งภายในเป็นการปรับตั้งภายนอกได้ 6 ขั้นตอน จากทั้งหมด 31 ขั้นตอนและขั้นที่ 3 ปรับปรุงการปรับตั้งขั้นตอนให้ได้รับการพัฒนาปรับปรุง
หลังจากการพัฒนาปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตามหลักการ SMED ทั้ง 3 ขั้นตอนทำให้สามารถลดระยะทางในการเคลื่อนที่จากเดิม 469 เมตร เหลือ 0 เมตร และ สามารถลดเวลาในการปรับตั้งลงจาก 152.3 นาที เหลือ 63.2 นาที คิดเป็น 58.5% ทำให้จำนวนข้ันตอนลดลงเหลือ 25 ขั้นตอน จาก 31 ขั้นตอน
Full Text : Download! |
||
7. | การประยุกต์ใช้แนวคิด Just in Time ในการจัดการคลังวัตถุดิบ ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทกรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชณิตา วรเทพนันทกิจ | ||
การศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิด Just in Time (JIT) ในการจัดการวัตถุดิบคงคลัง
ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณวัตถุดิบคงคลัง
ทั้งนี้ได้ศึกษาสภาพปัญหา และวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนภูมิก้างปลา (Fish
Bone Diagram) พบว่า สาเหตุของปัญหาประกอบด้วยนโยบายขององค์กรไม่ก่อให้เกิด
ประสิทธิภาพในการบริหารวัตถุดิบคงคลัง พื้นที่ในการจัดเก็บมีพื้นที่จำกัด ขาดการประสานงาน
ที่ดีระหว่างหน่วยงานวางแผนการผลิตกับพนักงานวางแผนวัตถุดิบ และการพยากรณ์ของลูกค้า
ไม่ตรงตามความต้องการจริงของลูกค้า มีผลให้ปริมาณวัตถุดิบคงคลังมากเกินความจำเป็น เพื่อ
แก้ไขปัญหาดังกล่าว มีการวิเคราะห์หาแนวทางการลดปริมาณวัตถุดิบคงคลัง โดยใช้แนวคิด
JIT เพื่อลดความสูญเปล่าต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารปริมาณวัตถุดิคงคลัง ผลลัพธ์ที่
ได้หลังจากปรับปรุงกระบวนการควบคุมปริมาณวัตถุดิบ ได้แก่ ลดปริมาณวัตถุดิบคงคลังลงได้
ร้อยละ 50 ภายใน 5 เดือน (มกราคม-พฤษภาคม 2556) โดยปริมาณความต้องการในการผลิต
ยังคงเสถียร และสามารถลดพื้นที่ในการจัดเก็บวัตถุดิบลงได้ 50 ตารางวา ลดต้นทุนใน
กระบวนการวางแผนและควบคุมวัตถุดิบได้ร้อยละ 50 พนักงานสามารถทำงานง่าย สะดวก
และลดเวลาในการทำงานได้ ร้อยละ 67.8
Full Text : Download! |
||
8. | การศึกษาความพร้อมของซัพพลายเออร์ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถ ในการให้บริการลูกค้า บริษัทกรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชุติมณฑน์ สืบค้า | ||
การศึกษาครั้งนี้ เป็นกรณีศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของ ซัพพลายเออร์ในปัจจุบัน และศึกษาว่าความพร้อมของซัพพลายเออร์มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรตามผลการดำเนินงานที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการซัพพลายเออร์ต่อไป กลุ่มตัวอย่างในที่นี้ คือ ซัพพลายเออร์ที่มีการซื้อขายกันตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย 46 ราย และประเทศจีน 5 ราย รวมทั้งสิ้น 51 ราย โดยซัพพลายเออร์จะถูกจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ตามผลการประเมินของบริษัทกรณีศึกษา ได้แก่ กลุ่ม A B และ C เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ วิเคราะห์และประมวลผลด้วยโปรแกรม Microsoft Excel เพื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA)
จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.3 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในประเทศไทย 41 ราย และผู้ประกอบการในประเทศจีน 2 ราย โดยซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่มีความพร้อมในการพัฒนาในด้านคุณภาพ การขนส่ง ต้นทุน การบริการและมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาความสามารถในการให้บริการลูกค้า จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างซัพพลายเออร์ในแต่ละกลุ่ม พบว่า ความพร้อมในการพัฒนาในด้านคุณภาพ การขนส่ง ต้นทุน การบริการและทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาของซัพพลายเออร์ในแต่ละกลุ่มนั้น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Full Text : Download! |
||
9. | การลดระยะทางและเวลาการหยิบสินค้าด้วย ABC Classification กรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เจนจิรา สุมาลา | ||
การศึกษานี้ ได้ศึกษาการบริหารสินค้าคงคลัง โดยวิธี ABC Classification เพื่อลดต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อลดระยะทางการเคลื่อนย้ายและเวลาการหยิบสินค้า ตามใบสั่งซื้อ โดยเริ่มจากการจดรายการสินค้า จำนวน 59 รายการ ตามลำดับความสำคัญด้วยวิธี ABC Classification โดยใช้ปริมาณการสั่งซื้อและจำนวนครั้งการสั่งซื้อมาเป็นเกณฑ์ ได้วิเคราะห์ระยะทางการจัดเก็บสินค้าในสภาพปัจจุบันก่อนการปรับปรุงและเปรียบเทียบตำแหน่งการจัดเก็บโดยใช้รูปแบบการจัดเก็บสินค้าแบบ ABC Classification หลังการปรับปรุง พบว่ารายการสินค้าที่มีปริมาณการสั่งซื้อจำนวนมากและจำนวนครั้งการสั่งซื้อจำนวนมากกว่า ควรจัดเก็บสินค้าไว้ใกล้ประตูทางออกเพื่อลดระยะทางสำหรับการเคลื่อนย้ายและลดเวลาในการหยิบสินค้าทำให้การจัดเตรียมสินค้าเพื่อการส่วมอบลูกค้าที่รวดเร็วขึ้น
จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยน Location การจัดเก็บสินค้าโดยใช้เกณฑ์ปริมาณการสั่งซื้อและเกณฑ์ปริมาณการสั่งซื้อและเกณฑ์จำนวนครั้งการสั่งซื้อมาจัดลำดับความสำคัญด้วยวิธี ABC Classification ได้พบว่าเกณฑ์ปริณมาณการส่งมอบลดลงถึงร้อยละ 19.76 และสำหรับเกณฑ์จำนวนคร้ังการสั่งซื้อสามมารถลดระยะเวลาการเคลื่อนย้ายในส่วนขาออกลดลงถึงร้อยละ 29.79 นอกจากนี้ยังสามารถลดเวลาการหยิบสินค้าลงจากเดิมถึงร้อยละ 50
Full Text : Download! |
||
10. | ผลตอบแทนต่อแรงจูงใจของพนักงาน กรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เจษฎา บุญประเสริฐ | ||
ผลตอบแทนต่อแรงจูงใจของพนักงาน กรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของผลตอบแทน ศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของพนักงานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลตอบแทนที่ได้รับจากองค์กร และปัจจัยที่มีอิทธิพบต่อแรงจูงใจในการทำงาน เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบด้านผลตอบแทน
การศึกษาเป็นการผสมผสานการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) และเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยโดยใช้ Likert Scale เป็นมาตรวัด โดยแบบสอบถามจำนวน 264 แจกจ่ายไปยังพนักงานของบริษัทกรณีศึกษาจำนวน 6 บริษัทด้วยวิธีการสุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมารตฐาน การทดสอบด้วยตัวสถิติทีื หรือ T-Test ตัวสถิติเอฟ หรือ F-Test จากการวิเคราะห์ความแปรรวน (Analysis of Variance หรือ ANOVA)
จากผลการศึกษาพบว่าพนังานกลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจนต่อผลตอบแทนในระดับปานกลาง เกี่ยวกับทัศนคติต่อผลตอบแทนที่ได้รับจากองค์กร พนักงานที่ตอบแบบสอบถาม มีทัศนคติว่าผลตอบแทนที่ได้รับไม่เหมาะสบ เนื่องจากพนักงานมีความคาดหวังสูงและมีการเปรียบเทียบกับบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์อิ่น ๆ โดยผลตอบแทนที่มีระดับความพึงพอใจสูงได้แก่ 1.การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน 2.ความรับผิดชอบในการทำงาน 3.การทำงานเป็นทีม 4.ความปลอดภัยในการทำงาน 5.การมีตัวตนในองค์กร จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานสามารถนำมาจัดลำดับความสำคัญได้ดังนี้คือ ลำดับที่ 1. เงินเดือน/ค่าจ้าง 2.โบนัส 3.ความปลอดภัยในการทำงาน 4.ค่าล่วงเวลา (โอที) 5.ความมั่นคงในอาชีพการทำงาน จากการศึกษาพบว่าความพึงพอใจและระดับการมีอิทธิพลบางส่วนมีความไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่าง
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250