fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (IM) 2012 |
1. | การลดเวลาการประกอบชิ้นส่วนเบ้ายางโช้คอัพหน้าพร้อมลูกปืน กรณีศึกษา บริษัท เอ็น.โอ.เค อุตสาหกรรม จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อมราวรรณ แจ่มถนอม | ||
โครงงานวิจัยอุตสาหกรรมนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการประกอบชิ้นส่วนของกระบวนการในแผนกประกอบ ด้วยวิธีการลดความสูญเสียจากปัจจัยทางด้านความสูญเปล่าจากการกดย้ำเครื่องจักร จากการศึกษาการทำงานในแผนกประกอบในช่วงเวลาหนึ่งพบว่าปัญหาความสูญเสียดังกล่าวเกิดขึ้นกับกระบวนการงานแปรรูปชิ้นส่วนซึ่งใช้เครื่องประกอบกับงานประเภทเบ้ายางโช้คอัพหน้าพร้อมลูกปืน โดยขั้นตอนที่เกิดการสูญเสียมากนั้นเป็นขั้นตอนของการย้าสกรูและลูกปืน ซึ่งขั้นตอนของการประกอบเบ้ายางโช้คอัพหน้าพร้อมลูกปืนนั้นได้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ 1. ตั้งศูนย์หัวพิมพ์ประกอบ 2. ตรวจสอบและติดตั้งเครื่องมือ 3. ทำการประกอบ 4. ตรวจสอบชิ้นงาน ผู้จัดทาได้เสนอแนวทางการปรับปรุงเพื่อลดเวลาสูญเสียจากการประกอบเบ้ายางโช้คอัพหน้าพร้อมลูกปืน โดยการจำลองหัวพิมพ์ประกอบใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการกดเครื่องประกอบเพียงครั้งเดียว ทำให้สามารถลดเวลาในการประกอบลงจากเดิม 128.6 วินาที เหลือ 81 วินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 37.01 และทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตต่อวันได้
Full Text : Download! |
||
2. | ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการบริการ : กรณีศึกษา บริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรณิชา ชูเชิด | ||
จากการศึกษาการทำงานของพนักงานและเครื่องจักรในการประกอบ Evaporator ที่ Core Assembly Line โดยใช้ทฤษฎีการศึกษาเวลาการทำงาน (Time Study) วิเคราะห์กระบวนการทำงานโดยใช้แผนผังการไหลของงาน (Flow Process Chart) วิเคราะห์การทำงานของคนโดยใช้แผนภูมิคน-เครื่องจักร (Man-Machine Chart) และใช้แผนภาพต่างๆ เพื่อค้นหาสภาพปัญหาและนำมาวิเคราะห์ด้วยแผนผังก้างปลา ( Fish bone Diagram ) ค้นหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเปล่าจากการทำงาน และลดเวลาการทำงานของพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งในการทำโปรเจคได้นำหลักการ ECRS ประกอบด้วย การกำจัด (Eliminate) การรวมกัน (Combine) การจัดใหม่ (Rearrange) และ การทำให้ง่าย (Simplify) เพื่อนำมาใช้ในการลดความสูญเปล่าของกระบวนการ
จากการปรับปรุงการทำงานของพนักงานและเครื่องจักรสามารถลดความสูญเปล่าจากกระบวนการที่ไม่จำเป็น (Over process lost) และการเคลื่อนไหวที่มากเกินความจำเป็น (Motion lost) ของพนักงานลงจากเวลา 17.5 วินาที เหลือ 8.4 วินาที คิดเป็น 52 % และลดความสูญเปล่าจากการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็นในกระบวนการ (Transportation lost) จากเวลา 6.2 วินาที เหลือ 0 วินาที คิดเป็น 100 % และสามารถลดเวลา (Cycle Time) ในกระบวนการมัดลวด จาก 34 วินาที เหลือ 27.5 วินาที คิดเป็น 19 %
Full Text : Download! |
||
3. | การจัดทำคู่มือการปฏิบัติแผนก บุคคลและธุรการ บริษัท เฟรทลิ้งค์สเอ๊กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อภิชา คงอภินันทน์ | ||
จากการศึกษาการทำงานของพนักงานแผนก บุคคลและธุรการโดยใช้ทฤษฎีการศึกษา
วิธีการทำงานและใช้หลักการ 5W1H เข้ามาช่วยในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติของแผนก บุคคลและ
ธุรการโดยใช้เครื่องมือ Flow Chart และ Procedure ในการจัดทำเพื่อให้การปฏิบัติงานในแผนก
บุคคลและธุรการเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อเตรียมความพร้อมของแผนก บุคคลและ
ธุรการเข้าสู่ระบบ ISO 9001-2008
จากการจัดทำคู่มือการปฏิบัติของแผนก บุคคลและธุรการสามารถจัดทำกระบวนการ
ทั้งหมดในแผนกได้เป็น 6 Flow Chart และ 6 Procedure โดยมีรายละเอียดดังนี้
-Flow Chart และ Procedure ขั้นตอนการรับสมัครงาน
- Flow Chart และ Procedure ขั้นตอนการคัดเลือกพนักงานดีเด่น
- Flow Chart และ Procedure ขั้นตอนการจัดการฝึกอบรม
- Flow Chart และ Procedure ขั้นตอนการเบิกจ่ายอุปกรณ์
- Flow Chart และ Procedure ขั้นตอนการจัดส่งเอกสาร
- Flow Chart และ Procedureขั้นตอนการบริการรถยนต์
Full Text : Download! |
||
4. | การพัฒนาการล้างระบบหล่อเย็นแม่พิมพ์ขึ้นรูป เพื่อลดเวลาและคนในทำงาน กรณีศึกษา บริษัท ไทย ฮอนด้าเมนูแฟคเจอริ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อธิวัฒน์ อริยภูวพูลสิน | ||
โครงงานสหกิจศึกษานี้เป็นการดำเนินการพัฒนาการล้างระบบหล่อเย็นของแม่พิมพ์ขึ้นรูปเพื่อที่จะลดการอุดตันในระบบและลดเวลาในการ Maintenance ลง โดยการศึกษาสภาพปัจจุบันนำมาค้นหาสาเหตุและสร้างแบบจำลองเครื่องจักรเพื่อทำการทดสอบและทดลองก่อนจะทำการผลิตเครื่องจักรจริง จากการทดสอบพบว่าสามารถลดเวลาในการ Maintenance ได้ 70% และ ลดปัญหาการอุดตันของระบบหล่อเย็นได้ 75% และยังสามารถลดคนที่รับหน้าที่ล้างระบบหล่อเย็นแม่พิมพ์จากเดิม 2 คน เหลือ 1 คน
ในช่วงดำเนินการทดสอบจะต้องมีการใช้สารเคมีส่งผลให้จำเป็นต้องทำความสะอาดถังใส่น้ำ 200 ลิตรอยู่บ่อยครั้ง จึงอยากให้ทำการออกแบบถัง 200 ลิตรใหม่ให้ง่ายต่อการทำความสะอาด โดยการเจาะรูระบายน้ำออกและทำส่วนพื้นของถังน้ำให้มีการเอียงลงไปทางรูเล็กน้อยเพื่อน้ำในถังจะได้ไหลออกไปทางรูที่เจาะไว้ จะทำให้ไม่เสียเวลาในการทำความสะอาดมาก
Full Text : Download! |
||
5. | การศึกษาความเป็นไปได้โครงการHONDA Swing armModel KPWP เพื่อนำหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิต [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เบญจพล ธัญญชีวี | ||
ในปัจจุบันการผลิต HONDA Swing arm Model KPWP ยังเป็นแบบ Manual ซึ่งการผลิตในปัจจุบันยังไม่ตอบสนองต่อนโยบายของผู้บริหารในเรื่องเทคโนโลยีในการผลิต และการใช้พื้นที่จำนวนมากในการผลิต ทำให้โรงงาน 1 ยังไม่สามารถรับ New Model มาผลิตเพิ่มได้ ทำให้เสียโอกาส จึงมีนโยบายจากผู้บริหารกำหนดว่า ต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต เพื่อลดการทำงานของพนักงานและลดต้นทุนในการผลิต
จึงเป็นที่มาของการศึกษาโครงการ HONDA Swing arm Model KPWP เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายผู้บริหาร และในการศึกษาโครงการครั้งนี้ยังได้นำหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตเพื่อลดพนักงานในสายการผลิต HONDA Swing arm Model KPWP เพราะในปัจจุบันใช้พนักงานในการผลิต 15 คน แต่เมื่อนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการผลิตสามารถลดพนักงานได้ถึง 5 คน และในรายละเอียดยังแสดงการประหยัดต้นทุนของการนำหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตอีกด้วย มากกว่านั้นเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่วัดมูลค่าไม่ได้
Full Text : Download! |
||
6. | เทคนิคการลดปริมาณงานซ่อมสเปคเอวยาวในสายการผลิตด้วยกิจกรรมกลุ่มย่อย ของแผนกควบคุมคุณภาพ กรณีศึกษา บริษัท ซาบีน่าฟาร์อีสท์ จำกัด (โรงงานท่าพระ) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เบญจพร ย่อมเจริญ | ||
โครงงานสหกิจศึกษาฉบับนี้ ศึกษาการใช้เทคนิคการลดปริมาณงานซ่อมสเปคเอวยาวในสายการผลิตด้วยกิจกรรมกลุ่มย่อยของแผนกควบคุมคุณภาพ โดยเป็นกรณีศึกษาของ บริษัท ซาบีน่า ฟาร์อิสท์ จำกัด (โรงงานท่าพระ) ซึ่งได้นำเอาความรู้ทางด้าน กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ(Quality Control Circle: QCC) มาทำการแก้ไขปัญหา ซึ่งในกระบวนการแก้ไขปัญหาโดยใช้ QCC นั้นจะมีการแก้ไขปัญหาซึ่งเรียงตามขั้นตอน ทั้ง 7 ขั้นตอน และใช้เครื่องมือ 7 QC Tools เข้ามาช่วยเพื่อค้นหาปัญหา ตรวจสอบ และแก้ไข เพื่อกำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะนำไปถึงการกำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อดำเนินการต่อไป
และเมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอน QC เพื่อแก้ไขในปัญหางานซ่อมในเรื่องสเปคเอวยาว แล้วได้ข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาจากที่ตั้งเป้าไว้ที่ มีเปอร์เซ็นงานซ่อมที่ลดลง จากที่ตั้งเป้าไว้ 30% คือ 316-189 = 127 ชิ้นงาน คิดเป็น 127/316x100 % = 40.18% คือได้มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่ในการทำกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพครั้งนี้
Full Text : Download! |
||
7. | การลดปัญหาคอขวดและคุณภาพในกระบวนการผลิต MFG 3 กรณีศึกษา บริษัทแคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชัยพงศ์ โชติภัทร์เดชารัตน์ | ||
การลดปัญหาคอขวดและคุณภาพในกระบวนการผลิตของแผนก MFG 3 มีจุดมุ่งหมายของการลดปัญหาในครั้งนี้คือ (1)เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและประสิทธิภาพในการใช้คนและเครื่องจักร(2)เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพโดยไม่ส่งของเสียออกไปสู่กระบวนการถัดไปและลดเวลาในการตรวจสอบ(3)เพื่อขยายผลในการปฏิบัติในครั้งนี้ให้เป็นมาตรฐานในการปรับปรุงครั้งต่อไปขอบเขตในการลดปัญหาในครั้งนี้ในส่วนงาน MFG 3 ได้แก่ SMT Line Assembly Line และ Hand Soldering ซึ่งเป็นส่วนงานในบริษัท Canon Hi-Techผลในการปรับปรุงมีดังนี้
ปัญหาคอขวดนี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานและเครื่องจักร ซึ่งเกิดจากเวลาในการผลิตของแต่ละสถานีแตกต่างกัน ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั้น ทำให้เพิ่มความสามารถการใช้คนและเครื่องจักรได้มากขึ้น เนื่องจากลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต และลดเวลาในการผลิตได้ ในด้านปัญหาคุณภาพจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท และความสูญเสียที่เกิดจากการซ่อมแซมงานใหม่หรืองานเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมากไม่ควรมองข้ามปัญหานี้
Full Text : Download! |
||
8. | โครงงานการลดค่าใช้จ่ายจากการเคลมสินค้าและ ลดต้นทุนบรรจุภณฑ์ประเภท LCD บริษัท ซีเจ จีแอลเอส (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชาคร คชรัตน์ | ||
จากการศึกษาการทำงานของพนักงาน PACKING สินค้าพบว่าเกิดปัญหาในเรื่องของการ เคลมสินค้า LCD รุ่น 32” 49” 46” จึงทำการค้นหาสภาพปัญหาและสาเหตุการเกิดปัญหาโดยใช้ทฤษฏี Why-Why analysisค้นหาแนวทางในการปรับปรุงในส่วนของบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ลงได้โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการกระแทกเพิ่มขึ้น และได้นำทฤษฏีการทดสอบบรรจุภัณฑ์ ดังนี้ Impack Test, Knee drop & Laydown ankle drop Test, Drop Test, Stack Test และเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า จึงใช้ทฤษฏีการทดสอบสมมติฐานที่ความเชื่อมั่น 99%
จากการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ สามารถลดการเคลมสินค้าจากลูกค้าลงได้ 0% และสามารถลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ LCD 32” ลดลง 119.6435 บาท LCD 40” ลดลง 106.927 บาท LCD 46” ลดลง 110.839 บาท และผลการทดสอบความเชื่อมั่นที่ 99% สามารถใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่ได้
Full Text : Download! |
||
9. | การลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าโดยใช้หลอดไฟ LED กับอาคารจอดรถยนต์ P-1 ในพื้นที่เขตปลอดอากรและคลังสินค้า ท่าอากาศสุวรรณภูมิ : กรณีศึกษา บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชไมพร นิธิธราดล | ||
จากการศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของอาคารจอดรถยนต์ P - 1 ภายในเขตปลอดอากร
และคลังสินค้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ปัจจุบันอาคารจอดรถยนต์ P - 1 มีการใช้พลังงานไฟฟ้า
โดยเฉพาะระบบแสงสว่างเป็นจำนวนมาก ซึ่งระบบแสงสว่างแบบเดิมของอาคารได้ใช้หลอดไฟ
Fluorescent ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้ าอยู่ที่ 206,713.728 kW.h / ปี และมีค่าบำรุงรักษา
เพิ่มขึ้นมา ทำให้ค่าไฟฟ้าระบบแสงสว่างเท่ากับ 625,927 บาท / ปี ทางผู้ศึกษาโครงการจึงได้ทำ
แผนการเปลี่ยนหลอดไฟ Fluorescent เป็นหลอดไฟ LED ซึ่งหลอดไฟ LED มีการใช้ปริมาณไฟฟ้าที่
น้อยกว่าและสามารถใช้ทดแทนกันได้ โดยมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 76,328.096 kW.h / ปี
ไม่มีค่าบำรุงรักษา ทำให้ค่าไฟฟ้าระบบแสงสว่างเท่ากับ 205,170 บาท / ปี
เมื่อทำการเปลี่ยนหลอดไฟ LED แล้วจะทำให้ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ลดลงจากเดิมไป 63.08% อีก
ทั้งจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ 67.22% และ สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลา 1.91 ปี ซึ่งถือว่า
ไม่นานอีกด้วย ก็ถือได้ว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนมาก
Full Text : Download! |
||
10. | การสร้างระบบควบคุมเวลาการส่งสินค้า กรณีศึกษาบริษัท ซี.เจ.จี.แอล.เอส (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชนาธิป ปิลันธนดิลก | ||
สาระสำคัญในรายงานการสหกิจศึกษาฉบับนี้ แสดงให้เห็นถึงการไม่มีการวางแผนการขนส่งทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งสินค้า ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด และมีการจ้าง Out source มากเกินความจำเป็น จึงได้สร้างระบบควบคุมเวลาการส่งสินค้า เพื่อใช้ในการวางแผนการใช้งานรถเป็นแบบวันต่อวัน โดยใช้การพยากรณ์จากสถิติการใช้งานรถในอดีตคู่กับตารางวางแผนการใช้รถ ข้อมูลที่ใช้ในการพยากรนั้นจะอ้างอิงจากสถิติการใช้งานรถในอดีตรวมกับเวลาที่ลูกค้าใช้ในการตรวจเช็คสินค้าโดยระยะเวลาที่ลูกค้าใช้ในการตรวจเช็คสินค้านั้นประกอบด้วยเวลาในการเช็คสินค้าและเวลาทำใบเสร็จรับสินค้าซึ่งสามารถคำนวณได้จากสมการ y=0.18x+21.4 และมีการเก็บบันทึกข้อมูลที่ได้จากการวางแผนเทียบกับข้อมูลจริงเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานต่อไป เพราะไม่สามารถทราบการสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้าได้ เนื่องจากบริษัทมีข้อตกลงกับลูกค้าว่าต้องส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าภายใน 4ชั่วโมงหลังจากมีคำสั่งซื้อ จากการดำเนินการเป็นระยะเวลา 1เดือน ทำให้จำนวนความถี่ในการจ้าง Out source ลดลงคิดเป็นร้อยละ 77 สามารถส่งสินค้าได้ทันเวลา เป็นไปตามเป้าหมายที่ลูกค้าได้กำหนดไว้คือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 99 และประสิทธิภาพการใช้รถของบริษัทดีขึ้น
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250