fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (CE) 2010 |
1. | การ Kaizen ในกระบวนการการผลิต [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อดิศร เอมทิพย์ | ||
Kaizen (การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง) เป็นกุญแจที่สำคัญตัวหนึ่งของ TPS(Toyota Production System) ที่จะทำให้องค์กรมีประสิทธิเพียงพอที่จะแข่งขันในตลาดโลกได้ ในรายงานเล่มนี้กล่าวถึงวิธี Kaizen ในแผนก Production Engineering ในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงจุดประสงค์วิธีการ รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการ Kaizen ในแต่ละครั้ง เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหาต่าง หาสาเหตุของปัญหาเหล่านั้น วิธีการแก้ไข ทั้งหมดล้วนเป็นการ Kaizen ทั้งสิ้น โดยจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในกรรมวิธีการผลิต 3 ปัญหานั้นคือ 1. ปัญหาสิ่งสกปรกใน Final assembly pallets 2. ปัญหากลิ่นเหม็นในน้ำหล่อเย็น 3. ปัญหาภาระของ Kit carry ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการการผลิต ณ ปัจจุบันในรายงานเล่มนี้จะบอกถึงการทำ Kaizen ปัญหาเหล่านี้แม้ว่าจะไม่สามารถทำจนจบก็ตามแต่ก็มีประโยชน์อย่างมากต่อบริษัทในอนาคตและต่อตัวผู้เขียนเอง
Full Text : Download! |
||
2. | การจับเวลาการประกอบรถยนต์ Mitsubishi Pajero Sport บริษัท Mitsubushi motor (Thailand) Co.,Ltd [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อโณมา เลิศธนาวัช | ||
การศึกษาเวลาในกระบวนการประกอบรถยนต์เป็นการศึกษาเพื่อดูแนวทางการวางProcess
Plan ของไลน์ประกอบรถยนต์ ศึกษาชิ้นงานและจำนวนงานของแต่ละสถานนีการประกอบ การจัด
สมดุลย์ในสายการผลิต (Line Balancing) หรือการจัดแบ่งงานให้กับพนักงาน และเป็นการแก้ปัญหา
กระบวนการประกอบที่เป็นคอขวด
การศึกษาเวลาในกระบวนการประกอบรถยนต์เริ่มจากการ ศึกษาชื่อของกลุ่มชิ้นส่วนหรือ
เรียกว่า UPG (Unique Part Group) และศึกษาชื่อของชิ้นส่วนแต่ละชิ้น เรียนรู้ความหมายของCode
name การอ่านDrawing ของบริษัทมิตซูบิชิ จากนั้นศึกษากระบวนการในการประกอบของพนักงาน
ประกอบแต่ละคน จากนั้นจึงจับเวลาของพนักงานประกอบแต่ละคนด้วยการใช้นาฬิกาจับเวลา และ
ใช้กล้องถ่ายวีดีโอเป็นตัวบันทึกภาพพนักงานประกอบขณะทำการประกอบแล้วจึงนำมาจับเวลาใน
คอมพิวเตอร์ จากนั้นนำเวลาที่ได้บันทึกข้อมูลลง Process Plan และสร้างกราฟแท่งเวลาของพนักงาน
ประกอบแต่ละคน แล้วทำการบาลานซ์ไลน์ให้ไม่เกินค่า Takt Time
Full Text : Download! |
||
3. | ระบบติดตามการสั่งอะไหล่ค้างซ่อม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อามิน ศรีตระกูล | ||
งานที่ปฎิบัติ (ประกอบด้วย รูปแบบ วิธีการดำเนินงาน ข้อมูล และการวิเคราะห์)
1. ทดสอบโปรเเกรมระบบติดตามการสั่งอะไหล่ค้างซ่อม
2.ปรับปรุงโปรแกรมเพื่อทำให้โปรแกรมทำงานได้ดีขึ้น
Full Text : Download! |
||
4. | การปฏิบัติงานใน Inspection Process และลดของเสีย Line 3 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อัทธเมศร์ ธนเดชเรืองโรจน์ | ||
โครงงานนี้เป็นการปฏิบัติงานใน Inspection Process ของแผนก IM(Insert Machine) และลด
ของเสีย (Non-Good Product) ใน Line การผลิตที่ 3
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ
2. เพื่อเป็นแนวทางให้พนักงานใหม่ๆ ดำเนินการได้ถูกต้องและแม่นยำ
3. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนงานที่เป็นของเสีย
ทฤษฎีที่นำมาใช้การปฏิบัติงาน
1. QC Story
2. ผังก้างปลา
3. ผังพาเรโต
ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน
1. ลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการได้มากกว่า 30%
2. พนักงานใหม่และพนักงานเก่ามีการสื่อสารกันมากขึ้น และมีแนวทางในการปฏิบัติใน
ทิศทางเดียวกัน
3. ลดค่าใช้จ่ายในส่วนงานที่เป็นของเสีย(ข้อมูลที่เป็นตัวเลขไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผย)
Full Text : Download! |
||
5. | การปรับปรุงความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพ (รอยตำหนิ) ของพนักงาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อาทิตยา แซ่โอ | ||
บริษัท เอนไกไทย จำกัด เป็นโรงงานผลิตล้ออลูมินัมอัลลอยและชิ้นส่วนรถยนต์และ
รถจักรยานยนต์ ซึ่งปัญหาสำคัญที่พบคือ ปัญหาการเคลมของลูกค้าในเรื่องรอยตำหนิล้อแม็กรถยนต์
ในขณะที่มีพนักงานตรวจสอบคุณภาพของล้อทุกวง ก่อนทำการจัดส่ง จึงได้จัดกิจกรรมการปรับปรุง
ความสามารถในการตรวจสอบรอยตำหนิให้ดียิ่งขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาการเคลมจากลูกค้า
โดยจัดการอบรมพนักงานเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจในเรื่องรอยตำหนิทุกๆคนโดยเฉพาะพนักงาน
ใหม่ และพนักงานที่มีผลการเคลมสูง การฝึกอบรมในเรื่องมาตรฐานการทำงานขั้นตอนที่ถูกต้องใน
การตรวจสอบคุณภาพ และจัดทำการประเมินผลงานของพนักงานแต่ละคนเพื่อคัดกรองพนักงานที่
เหมาะสมกับการทำงาน โดยแบ่ง คะแนนประเมิน เป็น 100 % มีรูปแบบการประเมิน ได้แก่ การ
Recheck พนักงานเพื่อวัดการตัดสินใจว่าพนักงานตัดสินใจถูกต้องหรือไม่ เช่น การตัดสินใจล้อดีเป็น
ล้อเสีย หรือ ตัดสินใจล้อเสียเป็นล้อดี การออกแบบข้อสอบพื้นฐานจำนวน 20 ข้อ การตรวจวัด
สายตาต้องปกติเท่านั้น นอกจากนี้ได้นำการศึกษาคู่มือการวิเคราะห์ระบบวัด (Measurement
System Analysis Instruction) โดยใช้การประเมินผลของ Attribute Gauge R&R เพื่อวัด การ
ตัดสินใจของพนักงาน ตั้งเป้าหมายของผลการประเมินพนักงานคือผ่าน 80% ผลการดำเนินกิจกรรม
นี้พนักงานมีการพัฒนาทักษะการตรวจสอบรอยตำหนิผิดพลาดลดลง 45 % ปัญหาการเคลมลดลง
53% พนักงานทั้งหมด 21 คน ผ่านการประเมิน 17 คน
Full Text : Download! |
||
6. | การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรและลดของเสียในกระบวนการ:กรณีศึกษาบริษัทอุตสาหกรรมท่อเหล็ก จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรรถกร ถาวรคุโณ | ||
โครงงานนี้เป็นการศึกษา การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรและลดปริมาณของเสียในกระบวนการตัดสั้นท่อรีดเย็น โดยมีวัตถุประสงค์เพือศึกษาหาแนวทางในการเพิมประสิทธิภาพของเครืองตัดในกระบวนการผลิตวิธีการแก้ปัญหาเพือเพิมประสิทธิภาพ เริมจากศึกษาขั้นตอนการทำงานของเครือตัดและเก็บข้อมูลประสิทธิภาพของเครืองตัดและของเสียแต่ละเครืองในกระบวนการ โดยพบว่าปัญหาของเสียเกิดขึ้นจากเครืองจักร ดังนั้นจึงได้เริ่มทำการศึกษาปัญหาและปรับปรุงเครืองจักรเพือให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพผลการปรับปรุง สรุปได้ว่าสามารถปรับปรุงเครืองจักรให้มีประสิทธิภาพมากขึIน และ ปริมาณของเสียทีเกิดขึIนจากเครืองจักรลดน้อยลง ซึงผลการเปรียบเทียบอัตราส่วนของเสียทีเกิดขึIนก่อนการปรับปรุงจากค่าประสิทธิภาพเท่ากับร้อยละ 41.90 ส่งผลให้เวลาผลิตชิIนงานเกิดของเสียโดยคิดเป็นอัตราส่วนคุณภาพเท่ากับร้อยละ 97.16 แต่เมือทำการปรับปรุงการค่าประสิทธภาพของเครืองจักรมีอัตราส่วนทีเพิมขึIนเป็นร้อยละ 57.83 และมีอัตราคุณภาพเพิมขึIนเป็นร้อยละ 99.02
Full Text : Download! |
||
7. | การปรับปรุงกระบวนการ MAP X [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรวี แสงบุษราคัม | ||
โครงงานสหกิจศึกษาฉบับนี้ มีที่มาจากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาที่บริษัทโรม อินทิเกรตเต็ด ซิสเต็มส์ ประเทศไทย จำกัด ในตำแหน่ง FT Supervisor แผนก Production 6 ที่ผลิตตัว IC ประเภท MAP Package โดยได้ทำโครงการปรับปรุงกระบวนการทั้งหมด 6 โครงการ ภายในระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน 2553
ทั้ง 6 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยตัวชี้วัด ได้แก่ ต้นทุนที่ลดลง ความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ของเสียน้อยลง ความสูญเปล่าลดลง เป็นต้น 6 โครงการดังกล่าวประกอบด้วย โครงการใช้รถเข็นติดสปริงลดแรงกระแทกเพื่อลดรอยขีดส่วนบนพื้นผิวชิ้นงาน โครงการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยด้วยการป้อนPassword ความผิดพลาดในการ Feedback Data ได้หมดไปหลังทำโครงการ โครงการสร้างมาตรฐานการจัดการ Mapping Data ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลดลง 29 วินาที โครงการยกเลิกการพิมพ์ MAP data print out จาก Office Computer เพื่อลดความสูญเสีย ผลิตภาพเพิ่มข้น 1.69 % โครงการลดสีของ MAP data print out จากเครื่องจักร IPBC ให้จางลง ค่าใช้จ่ายของหมึก Printer ลดลง 51 % และ โครงการใช้ระบบ Kanban ผลิตภาพเพิ่มข้น 2.7 % ซึ่งผลการดำเนินงานประผลสำเร็จสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 5 โครงการจาก 6 โครงการ
Full Text : Download! |
||
8. | การศึกษาการวางแผนการผลิตผลิตภัณฑ์ GS Evaporator [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เบญจมาศ ปานภู่ | ||
บริษัท พานาโซนิค รีฟริกเจอเรชั่น ดิไวซ์ ไทยแลนด์ จำกัด เป็นการดำเนินธุรกิจ
ระหว่างประเทศ บริษัท ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับชิ้นส่วน อุปกรณ์เกี่ยวกับความเย็น อาทิ ชิ้นส่วนตู้เย็น
ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง
หากการวางแผนและการจัดตารางการผลิตดี ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจก็จะสูงขึ้น
ตามไปด้วย ปัญหาสำคัญที่พบในบริษัท คือ ไม่ทราบเวลามาตราฐานในการผลิตที่แท้จริงการวางแผน
และการจัดตารางการผลิตจึงเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาผลิตไม่ทันตามแผนการผลิต
และเกิดความขัดแย้งกับฝ่ายผลิต การวางแผนการผลิตในปัจจุบันยังใช้ประสบการณ์เป็นหลัก
หากไม่เข้าใจรายละเอียดและความสามารถในการประเมินความเสี่ยงการผลิตที่ชัดเจน ก็อาจทำให้
วางแผนการผลิตผิดพลาดได้ ผู้ศึกษาได้จัดทำตารางแสดงรายละเอียดของการผลิตของเครื่องจักร
มาตรฐานการทำงาน รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนและการจัดตารางการผลิต
เพื่อที่จะนำมาคำนวณหากำลังการผลิตที่แท้จริง และทำให้เกิดความพร้อมในการผลิตผลิตภัณฑ์
รวมทั้งฝ่ายผลิตยังสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ให้บรรลุเป้าหมาย ส่งมอบได้ทันเวลาต่อความต้องการ
ของลูกค้า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการประเมินความเสี่ยง ผู้ศึกษายังไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้อง
เรียนรู้และสะสมประสบการณ์ให้มากกว่านี้ เพื่อช่วยปรับปรุงและพัฒนาการวางแผนการผลิต
ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Full Text : Download! |
||
9. | ศึกษาข้อมูลใบรายงานการผลิต:กรณีศึกษาบริษัทมูราโมโต้ อีเล็คตรอน(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จันทร์ชนก ควันธรรม | ||
สาระสำคัญในรายงานการฝึกงานฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงหน้าที่ของการฝึกงานในแต่ละวันที่ได้รับ
มอบหมายในระยะเวลาสองเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการศึกษาเกี่ยวกับใบรายงานการผลิต
รวมทั้ง แก้ไขปัญหาด้านการผลิตชิน1 ส่วนอิเล็คทรอนิคส์ภายในโรงงาน โดยใช้เครื่องมือต่างๆในการ
ช่วยแก้ปัญหา และมีข้อมูลของของเสียก่อนและหลังการปรับปรุง โดยการสุ่มตรวจสินค้าจำนวน
100 ชิ้น ทั้งก่อนและหลังการปรับปรุง โดยหลังจากการปรับปรุงแล้ว ของเสียลดลงจาก 62%
เป็น 14%
Full Text : Download! |
||
10. | การพัฒนาระบบการจัดการและสนับสนุนการใช้งานเครื่องคอมพิเวตอร์แบบพกพาสำหรับพนักงาน:บริษัท ไอบีเอ็ม โซลูชั่น ดิลิเวอรี่ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชาญยุทธ์ เนตรสุวรรณ | ||
คัดเลือกและตรวจสอบแล้ว และตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ทางบริษัทได้จัดซื้อเข้าใหม่ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานการใช้งานให้อยู่ภายใต้มาตรฐานของบจากนั้นจึงค้นคว้า และประยุกต์ใช้ระบบการคัดลอกข้อมูลให้คอมพิวเตอร์แบบพกพาจำนวนมาก โดยใช้เวลาเท่ากับการคัดลอกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์แบบพกพา 1ตัว โดยนำาระบบที่ค้นคว้ามา งานจริงในระบบการเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาให้แก่พนักงานในบริษัท สุดท้ายจึงจัดทำคู่มือการตั้งค่าคอมพิวเตอร์ บริษัทแก่พนักงานบริษัท และเป็นผู้ช่วยผู้อบรมพนักงานใหม่ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องการตั้งค่าต่างๆ และใช้งานระบบต่างๆ ของบริษัท
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250