fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (IM) 2010 |
1. | การอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรมโดยใช้ไดโอดเรืองแสง:กรณีศึกษาบริษัทไทยโทเรซินเทติคส์ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อทิตยา บูรพาสิงห์ | ||
โครงงานสหกิจศึกษาฉบับนี้ ทำการศึกษาเกี่ยวกับการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณการใช้ไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน การลดปริมาณการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลการใช้พลังงานในองค์กรเพื่อนำมาวิเคราะห์ และหาข้อมูลของเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมจะนำมาใช้ โดยเทคโนโลยีที่ถูกเลือกมานั้นคือ ไดโอดเรืองแสงหรือ หลอด LEDs ซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากหลอด LEDs ใช้พลังงานน้อยแต่ประโยชน์สูง และยังให้แสงสว่างที่มีความเหมาะสมอันส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรตามหลักการยุธศาสตร์
จากการศึกษาพบว่า หลอด LEDs สามารถลดการใช้พลังงานด้านแสงสว่างจากในปัจจุบันลงได้กว่า 60 เปอร์เซนต์ต่อปี และลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 63 เปอร์เซนต์ต่อปี มีระยะคืนทุนที่ 1.35 ปี
Full Text : Download! |
||
2. | การอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรมโดยใช้ไดโอดเรืองแสง กรณีศึกษา บริษัท ไทยโทเรซินเทติคส์ จากัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อทิตา บูรพาสิงห์ | ||
โครงงานสหกิจศึกษาฉบับนี้ ทำการศึกษาเกี่ยวกับการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณการใช้ไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน การลดปริมาณการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลการใช้พลังงานในองค์กรเพื่อนำมาวิเคราะห์ และหาข้อมูลของเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมจะนำมาใช้ โดยเทคโนโลยีที่ถูกเลือกมานั้นคือ ไดโอดเรืองแสงหรือ หลอด LEDs ซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากหลอด LEDs ใช้พลังงานน้อยแต่ประโยชน์สูง และยังให้แสงสว่างที่มีความเหมาะสมอันส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรตามหลักการยศาสตร์
จากการศึกษาพบว่า หลอด LEDs สามารถลดการใช้พลังงานด้านแสงสว่างจากในปัจจุบันลงได้กว่า 60 เปอร์เซนต์ต่อปี และลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 63 เปอร์เซนต์ต่อปี มีระยะคืนทุนที่ 1.35 ปี
Full Text : Download! |
||
3. | การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเก็บชิ้นงาน กรณีศึกษา บริษัท แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธีรนัย กาญจนาวิลาส | ||
โครงงานสหกิจศึกษานี ศึกษาเรืองการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเก็บ
ชินงาน มีวัตถุประสงค์เพือลดระยะเวลาในการทำงานและเพิมประสิทธิภาพในการทำงานของ
พนักงาน โดยใช้ทฤษฎีการศึกษาการทำงาน ความสูญเสีย 7 ประการในกระบวนการผลิตและ
การปรับปรุงวิธีการทำงาน ในการวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไข โดยเก็บข้อมูลของการ
ทำงานในแต่ละขันตอนและเวลาในการทำงาน ภายหลังจากการเปลียนขันตอนการทำงาน
พนักงานสามารถรองรับปริมาณกำลังการผลิตจาก 360 พาเลทต่อวัน เพิมเป็น 720 พาเลทต่อวัน
เท่ากับว่าพนักงานมีประสิทธิภาพทีจะสามารถรองรับปริมาณงานทีออกมาเพิมขึน 66 % ต่อวัน
คำสำคัญ : สหกิจศึกษา / ประสิทธิภาพ / ความสูญเสีย 7 ประการ
Full Text : Download! |
||
4. | การเปลี่ยนขั้นตอนการตรวจรับ Tooling เพื่อลดระยะเวลาในการทางาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทางานของพนักงาน กรณีศึกษา แผนก Mechanical Assembly บริษัท เอ็นเอ็มบี-มินีแบ ไทย จากัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรัฐ กาพลกิจรัตน์ | ||
โครงงานสหกิจศึกษานี้ ศึกษาเรื่องการเปลี่ยนขั้นตอนการตรวจรับ Tooling มีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน โดยใช้ทฤษฎีการผลิตแบบโตโยต้า และทฤษฎีการตรวจสอบคุณภาพ ในการวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไข โดยเก็บข้อมูลของการทำงานในแต่ละขั้นตอน เวลาในการทำงาน จานวนครั้งในการรับ Tooling ภายหลังจากการเปลี่ยนขั้นตอนการทางาน สามารถลดระยะเวลาในการทำงานของพนักงานในการตรวจรับ Tooling ลงได้ 156.33 นาทีต่อวัน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทางานของพนักงานได้ถึง 32.10 % ของการทางานในขั้นตอนการตรวจรับ Tooling
คาสาคัญ : ทฤษฎีการผลิตแบบโตโยต้า / ทฤษฎีการตรวจสอบคุณภาพ
Full Text : Download! |
||
5. | โครงงานศึกษาแนวทางการลดปริมาณกล่องสำรองจากการจ่ายกล่องผิดประเภท กรณีศึกษา บริษัท บีฟู๊ด โปรดัก อินเตอร์เนชัลเนล จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เกศกนก อรรถกุล โค | ||
ในรายงานฉบับนี้ เป็นการศึกษาเรื่องการลดปริมาณกล่องสำรองจากการจ่ายกล่องผิดประเภท โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาแนวทางการลดปริมาณการใช้กล่องสำรองอันเนื่องมาจากการจ่ายกล่องผิดประเภท โดยจากการศึกษาพบว่า 20.17% ของปริมาณกล่องสำรองที่นำมาใช้จากปัจจัยภายใน เกิดจากการจ่ายกล่องผิดประเภทของฝ่ายคลังสินค้า ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษากระบวนการทำงานและการติดต่อประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายกล่อง และค้นหาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงานตรงจุดที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้การจ่ายกล่องผิดประเภทลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการนำกล่องสำรองมาใช้จากสาเหตุดังกล่าวลดลงด้วย
จากการศึกษาพบว่า การปรับปรุงกระบวนการทำงานของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายกล่องจะส่งผลให้ปริมาณการใช้กล่องสำรองลดลง 20% ของปริมาณการใช้กล่องสำรองจากปัจจัยภายในทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นกล่องสำรองลดลง 1,385 ใบ จาก 6,921 ใบ คิดเป็นมูลค่ากล่องลดลง 49,812 บาท/ปี อีกทั้งยังเพิ่มพื้นที่การทำงานอีก 8 ตารางเมตร หรือ 10% ของพื้นที่เก็บกล่องสำรองด้วย
Full Text : Download! |
||
6. | ระบบการควบคุมอะไหล่เครื่องจักรโรงงาน กรณีศึกษา บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จากัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กมลวรรณ โพธิ์คา | ||
สาระสำคัญในโครงงานฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีการปรับปรุงการจัดเก็บอะไหล่เครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขอบเขตการจัดทำโครงงานเฉพาะอะไหล่เครื่องจักร General Welding Robot Machine ภายในกลุ่มงานซ่อมบำรุง แผนก Welding 1 เท่านั้น เพื่อเป็นตัวอย่างให้กลุ่มงานซ่อมบำรุงได้นำไปปรับปรุงในการจัดเก็บอะไหล่เครื่องจักรอื่นๆต่อไป
เนื้อหาหลักของโครงงานนี้ประกอบไปด้วย ข้อมูลพื้นฐานของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จากัด แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับ 5ส และ Work flow process chart ที่ใช้ในการวิเคราะห์และปรับปรุงวิธีการจัดเก็บอะไหล่เครื่องจักรซึ่งสามารถช่วยลดขั้นตอนและเวลาในการค้นหาอะไหล่เครื่องจักรลงได้ 70%
Full Text : Download! |
||
7. | ารศึกษาการตรวจสอบชิ้นส่วนโดยใช้ Check sheet ก่อนส่งเข้าไลน์การผลิต : กรณีศึกษาบริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กัลยณัฎฐ์ ฉายาลักษณ์ | ||
ในรายงานการศึกษาฉบับนี้ ศึกษาการตรวจสอบชิ้นส่วนโดยใช้ Check sheet ก่อนส่งเข้าไลน์การผลิตซึ่งเดิมทีในการรับชิ้นส่วน ไม่มีเครื่องมือในการตรวจเช็คถึงความครบถ้วนของชิ้นส่วน จึงได้มีการจัดทำ Check sheet ซึ่งเป็น 1 ในเครื่องมือ QC 7 tools ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ Part ก่อนที่จะมีการส่งเข้าไลน์การผลิตเพื่อไม่ให้ของเสียหลุดเข้าไปยังกระบวนการถัดไปได้
จากผลการศึกษา พบว่า ก่อนที่จะมีการใช้ Check sheet ได้พบปัญหาของ Part ประกอบมาไม่ครบคิดเป็น 33 % หลังจากได้มีการใช้ Check sheet 1 แล้วพบว่าสามารถลดปัญหาของเสียลงได้ถึง 67% แต่การใช้ Check sheet 1 ก็ได้มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นคือปัญหาสีของ Part ส่งมาไม่ตรงตามการ Production คิดเป็น 50 % แต่หลังที่ได้มีการปรับปรุง Check sheet 2 แล้วก็สามารถลดปัญหาของเสียลงไปได้ 50% และประสิทธิภาพของ Check sheet 2 ก็สามารถดักจับปัญหาได้ครบถ้วน
คำสำคัญ : ควบคุมคุณภาพ / QC 7 tools / Check sheet
Full Text : Download! |
||
8. | การลดสินค้าคงคลังในกระบวนการผลิตโดยใช้ระบบการผลิตแบบดึง กรณีศึกษา บริษัท แคนนอน ไฮเทค ประเทศไทยจำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กานต์ ศิริชื่นวิจิตร | ||
โครงงานนี้เป็นการศึกษา การลดสินค้าคงคลังในกระบวนการผลิตโดยใช้ระบบการผลิตแบบดึงโดยจะทำการใช้ระบบการผลิตแบบดึงกรณีศึกษาบริษัทแคนนอนไฮเทค ประเทศไทยจำกัด ใน Line การผลิต Power supply unit และ PCB Assembly Line 2 โดยมีวัถตุประสงค์เพื่อลดสินค้าคงคลังลด 50 % ในการนำระบบการผลิตแบบดึงเข้ามาใช้ใน Line การผลิตนั้นจะเริ่มตั้งแต่ศึกษาสภาพปัจจุบัน เก็บข้อมูลต่างสภาพปัจจุบัน วางแผนการผลิต เตรียมอุปกรณ์ และฝึกหัดพนักงานให้เข้าใจในระบบการผลิตแบบดึง
หลังจากใช้ระบบการผลิตแบบดึงพบว่าสินค้าคงคลังลดลงจาก 31 ชั่วโมงเหลือ 8 ชั่วโมงคิดเป็น 74.19% ใน Line Power supply unit และจาก 17.19 ชั่วโมงเหลือ 8 ชั่วโมง คิดเป็น 53.46% ใน PCB Assembly Line2
คำสำคัญ : ระบบการผลิตแบบดึง/Kanban/สินค้าคงคลัง/PCB
Full Text : Download! |
||
9. | การปรับปรุงคุณภาพ : กรณีศึกษาการลดของเสียใน AC Solenoid บริษัทพานาโซนิค รีฟริกเจอเรชั่น ดิไวซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มณีรัตน์ วีระพลานนท์ | ||
โครงงานสหกิจศึกษาฉบับนี้ เป็นเรื่องการลดของเสียในแผนก AC Solenoid ของบริษัท
พานาโซนิค รีฟริกเจอเรชั่น ดิไวซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งนำความรู้จากวิชาการควบคุมคุณภาพ
และวิชาการผลิตแบบโตโยต้ามาเป็นแนวทางในการหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาของเสีย
ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต โดยเรียนรู้ลักษณะการทำงานของพนักงาน ขั้นตอนการทำงานและข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาของเสีย นำเสนอให้บริษัทได้นำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้และนำไปพัฒนาให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
คำสำคัญ : การควบคุมคุณภาพ / การผลิตแบบโตโยต้า / ประสิทธิภาพ / ประสิทธิผล
Full Text : Download! |
||
10. | การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษาแผนกตู้เย็นบริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐภัสร์ศร เสรีธวัช | ||
โครงงานสหกิจศึกษานี้เป็นการดาเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาบริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จากัด มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขอุปสรรคเรื่องพื้นที่การทางานที่มีอยู่อย่างจากัด อันเป็นอุปสรรคสาคัญในการจัดการตรวจสอบ และควบคุมการใช้ชิ้นส่วนภายในพื้นที่ Door urethane R3 ซึ่งเป็นพื้นที่การทางานที่มีชิ้นส่วนหลายรุ่นในการประกอบประตูตู้เย็นเข้ามาเกี่ยวข้อง และพื้นที่การติด Spacer R2 ซึ่งไม่สามารถรวมอยู่ในสายการผลิต Pre-Assembly R2 ได้ ผลจากอุปสรรคเหล่านี้คือการผลิตชิ้นงานเกินความต้องการ และหรือน้อยกว่าความต้องการในบางรุ่น โครงงานนี้มีระยะเวลาดาเนินโครงงานทั้งหมด 4 เดือน โดยมีกาหนดเวลา 2 เดือน สาหรับแต่ละพื้นที่
โครงงานนี้ได้ทาการศึกษาปัญหาที่สถานที่ปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภาพเหตุและผล Why-Why Analysis การศึกษาเวลาการทางาน และออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้แนวคิด Just in time และ 5ส รวมทั้งได้นา Yamazumi Chart มาประยุกต์ใช้ในการจัดการปรับจานวนคนให้เหมาะสมกับงาน และใช้ความรู้พื้นฐานการเขียนแบบด้วยโปรแกรม AutoCAD 2004 มาช่วยในการเขียน และออกแบบโต๊ะงานและกล่องชิ้นส่วน รวมทั้งตาแหน่งจัดวางต่างๆ โดยผลที่ได้จากการดาเนินการปรับปรุงพื้นที่ Door urethane R3 มีพื้นที่ว่างเพิ่มมากขึ้น 40% ระยะทางเคลื่อนที่ของพนักงานประกอบลดลง 19.03 % ส่งผลให้เวลาในประกอบของพนักงานประกอบ 7 คนรวมเฉลี่ยลดลง 10% รวมทั้งสามารถลดชิ้นส่วนเหลือในพื้นที่ลง 2% ต่อวัน และจากการออกแบบการปรับปรุงพื้นที่การติด Spacer R2 สามารถลดระยะทางเคลื่อนที่ในการขนส่งชิ้นงานลง 31% ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดพนักงานลงได้ 1 คนในส่วนพื้นที่นี้
คาสาคัญ: การปรับปรุง / พื้นที่การทางาน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250