fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (EEM) 2010 |
1. | พฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จุฬาลักษณ์ สุกิจปาณีนิจ | ||
การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจ
ของผู้ใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์
ของผู้ใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาถึงความ
พึงพอใจการใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3. เพื่อศึกษา
ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความพึงพอใจการใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของผู้บริโภค
ในเขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ ในเขต
กรุงเทพมหานคร ทั้งหมดจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น
แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้ทดสอบค่าที (T-Test) และการวิเคราะห์ความ
แปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการประมวลผล
ผลการศึกษาพบว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ผู้ใช้บริการที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้
ของครอบครัว แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการบริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.05 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการบริการ
2. ความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารด้านคุณภาพของสื่อ ด้านความเพียงพอของ
ข่าวสาร และด้านปริมาณของข่าวสารที่ได้รับ แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการบริการ
แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งหมายความว่า ความพึงพอใจในการ
ติดต่อสื่อสารมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงาน
3. พฤติกรรมการใช้บริการ ได้แก่ ระยะเวลาในการออกกำลังกายแตกต่างกัน มี
ความพึงพอใจในการบริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Full Text : Download! |
||
2. | กลยุทธ์ในการนำเอาต์ซอร์สมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ตัวอย่าง จำกัด ส่วนควบคุมระบบโทรคมนาคม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เจริญชัย ขุนจันทร์ | ||
จุดมุ่งหมายของการทำสารนิพนธ์ครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการองค์กร
ยุคใหม่ ในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทางบริษัทต้องการลดค่าใช้จ่าย และในขณะเดียวกันการ
ดำเนินการธุรกิจ ต้องดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดความเสี่ยงให้กับบริษัท
กรณีศึกษาการใช้กลยุทธ์ในการนำเอาต์ซอร์ส (Outsource) มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การทำงานให้กับองค์กร ดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับบริษัททั่วไป
จากกรณีศึกษา และประเมินปัจจัยแห่งความสำเร็จ พบว่า การบริหารจัดการ โดยการ
นำเอาต์ซอร์ส (Outsource) มาใช้ในบริษัทตัวอย่าง จำกัด สามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ
ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ และสามารถประเมินวัดผลได้ ทำให้การดำเนินงานของบริษัท ตัวอย่าง
จำกัด เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Full Text : Download! |
||
3. | การปรับปรุงผลิตภาพการทำงานของสายการประกอบอุปกรณ์เครื่องรับโทรศัพท์ โดยการจัดสมดุลสายการผลิต กรณีศึกษาบริษัท ตัวอย่าง จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชัชวาล โต๊ะทอง สา | ||
กรณีศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของ
สายการประกอบเครื่องรับโทรศัพท์ โดยนำความรู้ทางด้านการจัดสมดุลสายการผลิต (Line
Balancing) มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิมอัตราผลิตภาพด้านแรงงาน ลดเวลาในการ
ทำงาน และลดต้นทุนในการผลิต นอกจากนี้แล้ว การศึกษาข้อมูลภาพรวมของบริษัท ตัวอย่าง
จำกัด และวิเคราะห์การทำงานพบว่า บริษัท ตัวอย่าง จำกัด มีอัตราการเติบโตของยอดขายที่ดี
แต่มีผลกำไรที่ต่ำ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมุ่งเน้นศึกษา และเสนอแนวทางการปรับปรุงสายการ
ประกอบที่มีอยู่เดิม ให้สามารถตอบสนองต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต โดยการลดรอบ
เวลาการผลิตของผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง โดยใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เช่น
การศึกษางาน การจัดสมดุลสายการผลิต กิจกรรมสังเกตการณ์ ในการค้นหาปัญหาและนำมา
แก้ไขปรับปรุง เพื่อเพิ่มผลิตภาพ ลดความสูญเปล่าทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและ
พัฒนาคุณภาพด้านการผลิต
ผลของการปรับปรุงสายการประกอบเครื่องรับโทรศัพท์ตามแนวทางดังกล่าว ทำให้
สามารถลดเวลาทำงานลงร้อยละ 21 กำลังการผลิตสูงสุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 อัตราผลิตภาพ
แรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 48 และต้นทุนการผลิตลดลงร้อยละ 32 จากการปรับปรุง สามารถทำให้
สายการประกอบเดิมมีผลิตภาพเพิ่มขึ้น จากก่อนปรับปรุงมีรอบการทำงาน (Cycle Time)
เท่ากับ 6 นาทีต่อชิ้น หรือ 180 ชิ้นต่อชั่วโมง ที่ถูกกำหนดด้วยแท็กไทม์ (Takt Time) 19 วินาที
หลังการปรับปรุงมีรอบการทำงาน (Cycle Time) ใหม่คือ 4.25 นาที หรือ 240 ชิ้นต่อชั่วมง
ด้วยแท๊กไทม์ 15 วินาที
Full Text : Download! |
||
4. | ความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพการให้บริการของสถานีบริการน้ำมัน กรณีศึกษา บริษัท น้ำมันพีทีพีแอล จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชื่นกมล ทิพยไพฑูรย์ | ||
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการ เปรียบเทียบ
การรับรู้และการคาดหวังของคุณภาพการให้บริการ และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อ
คุณภาพการให้บริการของสถานีบริการน้ำมัน PTPL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่เข้าใช้บริการใน
สถานีน้ำมัน PTPL สาขาทีพีไอทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร และสาขามวกเหล็ก จังหวัด
สระบุรี จำนวน 400 คน สาขาละ 200 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยค่า ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน Paired Samples
T-Test, Independent Sample T-Test และ One-way Analysis of Variance
ผลการศึกษาพบว่าผู้รับบริการส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 30–39 ปี ใช้
ยานพาหนะเป็นรถเก๋ง ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/ธนาคาร และมีประสบการณ์
ในการใช้บริการ 5-10 ครั้ง ผู้รับบริการมีความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการก่อนใช้
บริการ หลังใช้บริการโดยรวม อยู่ในเกณฑ์มาก ความคาดหวังก่อนใช้บริการและระดับการ
รับรู้หลังใช้บริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้รับบริการที่มีเพศต่างกันมีผลต่อความคาดหวัง
คุณภาพการให้บริการโดยรวมไม่แตกต่างกัน ผู้รับบริการที่มีอายุ ยานพาหนะที่ใช้ประจำ
อาชีพ และประสบการณ์การมาใช้บริการต่างกันมีผลต่อความคาดหวังคุณภาพการให้บริการ
โดยรวมแตกต่างกัน ผู้รับบริการที่มีเพศ อายุ ยานพาหนะที่ใช้ประจำและอาชีพต่างกันมีผล
ต่อคุณภาพการให้บริการโดยรวมไม่แตกต่างกัน ผู้รับบริการที่มีประสบการณ์การมาใช้
บริการต่างกันมีผลต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกัน
เกี่ยวกับผลการศึกษาองค์กรธุรกิจควรให้บริการฝึกอบรมที่มีคุณภาพให้กับ
พนักงานในทุกระดับโดยเฉพาะพนักงานผู้ที่มีจุดติดต่อกับลูกค้า นอกจากนี
Full Text : Download! |
||
5. | พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับนักร้องเกาหลีของแฟนคลับในกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชุติมา เกียรติสันติสุข | ||
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับนักร้องเกาหลีของแฟนคลับในกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างที่มีความชื่นชอบหรือคลั่งไคล้นักร้องเกาหลี จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าสถิติสัมพันธ์แบบเพียรสัน โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS ในการประมวลผล
ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า พฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับนักร้องเกาหลีของ “แฟนคลับไทย” นิยมเลือกซื้อสินค้าที่สื่อถึงศิลปินนักร้องที่ตนเองชื่นชอบ เหตุผลในการเลือกซื้อส่วนใหญ่คือซื้อเพื่อการสะสมเป็นหลัก โดยไม่สนใจอัตถประโยชน์ของสินค้าในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งจะพิจารณาจากคุณภาพสินค้า (วัตถุดิบที่ใช้ผลิตและการออกแบบ) เป็นอันดับแรก ดังนั้นสินค้าที่คนกลุ่มนี้นิยมซื้อจึงเป็นสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศที่ได้รับลิขสิทธิ์ผลิต เพราะสินค้ามีคุณภาพดี รูปคมชัด และมีสีสันสวยงาม แม้ว่าบางครั้งสินค้าจะมีราคาสูงก็ตามแต่แฟนคลับกลุ่มนี้ก็ยอมจ่ายเงิน และทางเดียวที่จะลดภาระเรื่องราคาสินค้าที่สูงได้คือการฝากคนที่รู้จักซื้อสินค้าเมื่อไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการซื้อสินค้าตามร้านค้าในประเทศก็ยังได้รับความนิยมเช่นกัน กลุ่มแฟนคลับกลุ่มนี้จะนิยมซื้อสินค้าเมื่อนักร้องมีการออกอัลบัมใหม่หรือมีสินค้าคอลเลคชั่นออกใหม่และยังนิยมซื้อตามงานคอนเสิร์ตอีกด้วย ส่วนการซื้อสินค้าโปรโมชั่นจะถูกพิจารณาลำดับท้ายๆ
Full Text : Download! |
||
6. | ระบบการวินิจฉัยสถานประกอบการของไทยกับการสนองตอบต่อความต้องการของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณรงค์ อำพินธ์ | ||
กำรศึกษาอิสระเรื่อง “ระบบการวินิจฉัยสถานประกอบการของไทยกับการสนองตอบต่อความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมารวมทั้งพัฒนากรของระบบการวินิจฉัยสถานประกอบการทั้งในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นต้นกำเนิดของระบบ และในประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับเอาระบบเข้ามาประยุกต์ใช้ ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของสถานประกอบการไทย ศึกษาถึงการรับรู้ของสถานประกอบการไทยต่อระบบการวินิจฉัยสถานประกอบการ และศึกษาถึงความพึงพอใจของสถานประกอบการไทยที่มีต่อระบบการวินิจฉัยสถานประกอบการ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบของการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการอุตสำหกรรมในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่ได้ตอบแบบสอบถามกลับมาและมีความสมบูรณ์จำนวน 124 กิจการ นำมาวิเคราะห์และแจกแจงค่าพารามิเตอร์ทำงสถิติ กำรทดสอบสมมติฐาน พร้อมออกรายงานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการที่ตอบแบบสำรวจกลับมามีความพึงพอใจในประโยชน์ที่ได้รับจำกระบบการวินิจฉัยสถานประกอบการ อยู่ในระดับมาก อีกทั้ง ผลการศึกษำในครั้งนี้ ได้สะท้อนถึงว่ากิจการส่วนใหญ่มีการรับรู้ข้อมูล และประโยชน์ของระบบการวินิจฉัยสถานประกอบการ อีกทั้งผลการศึกษายังได้จัดลำดับความต้องการ และข้อจำกัดของกิจการไว้ตามลำดับความสำคัญ
Full Text : Download! |
||
7. | การทำแผนกลยุทธ์ทางการตลาดในสินค้าอุตสาหกรรม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณรงค์ศักดิ์ ศรีเสาวคนธร | ||
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการเขียนแผนธุรกิจในการเพิ่มยอดขายใน
ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม โดยใช้ข้อมูลจากบริษัทหนึ่งประเภทขายและบริการ ในตลาดสินค้า
ประเภทอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมโดยมีการจ้างผลิตสินค้า
ในตราสินค้าของตนเองจากผู้ผลิตในและต่างประเทศ ซึ่งเปิดดำเนินกิจการมาแล้วกว่า 10 ปี
โดยมียอดขายเฉลี่ยในปัจจุบันอยู่ที่ 25 ล้านบาทต่อปี
ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาข้อมูลสภาวะแวดล้อมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านมาจาก
ข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจ จาก Internet ในปีที่ผ่านมา จากนั้นศึกษาประเภทของสินค้า จุดอ่อน
จุดแข็งขององค์กร สินค้าเป้าหมาย ตลาดเป้าหมาย ตลอดจนการบริหารจัดการองค์กรต่อด้วย
ทำการวางแผนธุรกิจ 5 ปี โดยมีเป้าหมายที่ยอดขาย 100 ล้านบาทในปีที่ 5 โดยมีการกำหนด
สินค้าทั้งหมด 11 รายการ โดยการขายจะมีผลต่อช่วงเวลา ซึ่งในแต่ละช่วงเดือนจะมีจำนวนขาย
ที่แตกต่างไป จากนั้นวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยเริ่มตั้งแต่การแบ่งภาคส่วนตลาด
เป้าหมายให้ชัดเจน และกำหนดตำแหน่งทางการตลาดที่ได้เปรียบ เพื่อกำหนดแผนส่วนผสม
ทางการตลาดทั้ง 4 ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวสินค้าที่ใช้ทำตลาด การกำหนดราคากับตลาด
เป้าหมาย ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย ต่อมาได้ทำการเก็บข้อมูลการ
ประเมินความพึงพอใจจากลูกค้า เพื่อพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความ
ภักดีต่อตราสินค้าจากธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของกิจการ จากนั้นทำการวางแผนทางการเงิน ทำ
การวิเคราะห์ประเมินการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น 3 กรณี และความเป็นไปได้ของธุรกิจที่อาจ
เกิดขึ้นได้ 3 สถานการณ์ การทำแผนฉุกเฉินและสรุปภาพรวมของแผนกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อให้เห็น
ถึงความน่าสนใจ และปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ ข้อแนะนำที่
Full Text : Download! |
||
8. | ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม ของผู้ประกอบการยานยนต์และชิ้นส่วน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ดลฤดี สมัยมงคล | ||
การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนประสมการตลาด ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายหลักผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล ที่มีแนวโน้มทางธุรกิจกันได้ (High Potential Customer) จำนวน 185 บริษัท เครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample, T-Test, One-Way Analysis of Variance, Least
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 26-35 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นวิศวกรฝ่ายควบคุม/ประกันคุณภาพ ประสบการณ์การทางานระหว่าง 3-8 ปี มีระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมในอนาคตในระดับมากที่สุด ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยภาพรวมมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมอยู่ในระดับมาก
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ประกอบการยานยนต์และชิ้นส่วนที่มีอายุ และตำแหน่งหน้าที่การงานแตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ส่วนประสมทางการตลาดในทุกๆ ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านภาพลักษณ์ และด้านการบริการหลังการขาย มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมในระดับปานกลาง
จากผลการศึกษา ผู้จำหน่ายเครื่องมือทางอุตสาหกรรมควรให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านอายุ และตำแหน่งหน้าที่การงาน เพื่อพัฒนาระดับของการตัดสินใจซื้อให้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน แนวทางใน
Full Text : Download! |
||
9. | ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ สถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นในอาเภอเมือง จังหวัดนครปฐม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ทิพานันท์ ชัยรัตนาวรรณ | ||
การศึกษาเรื่องปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นในอาเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นในอาเภอเมือง จังหวัดนครปฐมเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เก็บข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ใช้แบบทดสอบกับกลุ่มประชากรตัวอย่างซึ่งกาลังศึกษาภาษาญี่ปุ่นอยู่ในโรงเรียนระดับมัธยมปลายจานวน 200 คน การจัดทาข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 สองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ผลการศึกษาปรากฎดังนี้
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 17 ปี รวมทั้งมีการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนราชิณีบูรณะ ซึ่งมีรายรับเฉลี่ยต่อเดือน 4,000-5,000 บาท โดยมีสาเหตุที่เลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นเพราะต้องการพัฒนาภาษาญี่ปุ่น ในช่วงของวันเสาร์ตอนเช้า ซึ่งใช้ค่าเล่าเรียนโดยเฉลี่ย 2,000-3,000 บาท
ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย ด้านบุคคล ด้านกายภาพ และด้านกระบวนการให้บริการ มีผลต่อการเลือกใช้บริการในระดับสาคัญมาก ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีสถาบันการศึกษาต่างกันมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกัน และผู้ใช้บริการที่มีเพศ ระยะเวลาในการเรียน และค่าเล่าเรียนต่างกันมีผลต่อปัจจัยส่วนประ
Full Text : Download! |
||
10. | การประหยัดน้ำและพลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคนิคการวินิจฉัยด้านการผลิต กรณีศึกษา เครื่องล้างชินงานอัตโนมัติ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธนัฏฐ์พงษ์ ปัญญโรจน์ | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประหยัดน้ำและพลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคนิคการวินิจฉัยด้านการผลิต และได้เลือกเครื่องล้างชิ นงานอัตโนมัติเป็นเครื่องจักรตัวอย่างเพื่อดำเนินการปรับปรุงโดยพิจารณาประโยชน์ 2 ด้าน ด้านแรกจะเป็นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้านที่สองจะเป็นการลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้ธุรกิจสามารถลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ การศึกษานี้จะเริ่มจากการสำรวจหน้างาน (Fact Finding) เพื่อหาความสูญเปล่าโดยใช้หลักความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Wastes) เก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรน้ำและไฟฟ้าของเครื่องจักรตัวอย่าง หลังจากนั้นจะทำการลำดับความสำคัญของปัญหา โดยพิจารณา 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความยากง่ายในการปรับปรุง ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับและต้นทุนที่ใช้ในการปรับปรุง มาเป็นตัวกำหนดแผนการดำเนินงาน และออกแบบการปรับปรุงงานโดยใช้เทคนิค Kaizen และ ECRS
หลังจากดำเนินการปรับปรุงเครื่องจักรและทำการเก็บข้อมูลการใช้น้ำและพลังงานไฟฟ้าอีกครั้ง พบว่า
1. ปริมาณการใช้น้ำของเครื่องจักรได้ลดลงจาก 5,517 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี เป็น 3,806 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี หรือคิดเป็น 31.01% คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 37,642 บาทต่อปี
2. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องจักรได้ลดลงจาก 209,907 KWH ต่อปี เป็น 158,427 KWH ต่อปี หรือคิดเป็น 24.05% คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 159,588 บาทต่อปี
3. คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุง โดยก่อนปรับปรุงมีอัตราของดี 97.41% ของเสีย 2.98% และอื่นๆ (เช่น งานทดลอง) 0.51% และหลังปรับปรุงมีอัตราของดี 97.94% ของเสีย 2.09% และอื่นๆ 0.46%
4. เมื่อเปรียบเทียบเงินลงทุนกับผลตอบแทนที่ได้ (Pay Back Period) เท่ากับ 0.25 ปี หรือประมาณ 3 เดือน
สำหรับสถานประก
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250