fieldjournalid
![]() | บทความวิจัย (MIM) 2015 |
1. | ปัจจัยในการตัดสินใจของพนักงานที่เลือกบริษัทขนาดใหญ่เข้าทำงาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จักร ติงศภัทิย์, อัครพนธ์ สงวนสินวัฒนา | ||
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่และระดับความสำคัญของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ของบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์บนโปรแกรม Google Forms เพื่อสารวจความคิดเห็นของบัณฑิตที่จบจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 ถึง 2557 และทำงานอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) โดยใช้โปรแกรมประมวลผลสาเร็จรูปและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านการทำงานมีระดับความสำคัญสูงสุด สูงกว่าปัจจัยด้านสังคมและด้านผลตอบแทน โดยองค์ประกอบด้านสัมพันธภาพในการทำงาน ด้านความมั่นคงของงาน และด้านความรับผิดชอบ มีความสำคัญ 3 อันดับแรกต่อการตัดสินใจเลือกทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ ผลการทดสอบทางสถิติ พบว่า เพศที่ต่างกันให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ความแตกต่างในระดับอายุทำให้การตัดสินใจในองค์ประกอบด้านชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทแตกต่างกัน องค์ประกอบด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการเป็นปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ที่มีอายุการทำงานที่แตกต่างกัน และฐานเงินเดือนที่แตกต่างกันจะใช้องค์ประกอบด้านเงินเดือน ความก้าวหน้าในอาชีพ ความรับผิดชอบ และด้านวิธีการปกครองและดูแลพนักงานในการตัดสินใจเลือกทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารสินค้าคงคลัง โดยใช้โปรแกรม Excel และ ERP [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ดวงหทัย ลิมตโสภณ, จักร ติงศภัทิย์ | ||
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสินค้าคงคลังระหว่างการใช้โปรแกรม Excel และโปรแกรม ERP Plus 2010 โมดูลระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ดำเนินการศึกษากระบวนการรับเข้าและกระบวนการเบิกจ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบคงคลังประเภทสารออกฤทธิ์สาคัญ (Active Ingredient) 76 ชนิดของฝ่ายคลังสินค้า บริษัท ควอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จากัด เก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินงานเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงที่ 1 ระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 เป็นข้อมูลที่ใช้โปรแกรม Excel และช่วงที่ 2 ระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือนมกราคม 2559 เป็นข้อมูลที่ใช้โปรแกรม ERP Plus 2010 โมดูลระบบควบคุมสินค้าคงคลัง เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเวลาในการบริหารสินค้าคงคลัง เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของการบริหารสินค้าคงคลังของทั้ง 2 โปรแกรมโดยใช้ค่าความแตกต่างสัมบูรณ์ และเปรียบเทียบผลเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุนของการลงทุนในโปรแกรม ERP Plus 2010 โมดูลระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ผลการศึกษาพบว่า เวลาการบันทึกในกระบวนการรับเข้าและกระบวนการเบิกจ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบคงคลังโดยใช้โปรแกรม ERP Plus 2010 น้อยกว่าการใช้โปรแกรม Excel เท่ากับ 36 วันทำงานต่อปี ต้นทุนแรงงานต่อปีลดลง 21,600 บาท มูลค่าความคลาดเคลื่อนลดลง 337,200.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 96.89 โดยการลงทุนโปรแกรม ERP Plus 2010 โมดูลระบบควบคุมสินค้าคงคลังมีระยะเวลาคืนทุน 8.5 เดือน
Full Text : Download! |
||
3. | การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตสบู่ด้วยการวางผังใหม่ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธณากร สงกาที, จักร ติงศภัทิย์ | ||
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตสบู่ SB-003 ขนาด 160 กรัม ในสายการผลิต 1 และ 2 โดยวัดผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น และพัฒนาเป็นวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐานให้แก่สายการผลิต 1 และ 2 ดำเนินการศึกษาวิธีการทำงาน การปรับสมดุลการผลิต และการจัดวางผังกระบวนการใหม่ ผลการศึกษาพบว่า เวลาในการผลิตต่อปริมาณความต้องการของลูกค้า (Takt Time) ของกระบวนการบดและอัดเม็ดสบู่และกระบวนการห่อสบู่ มีความล้าช้าส่งผลให้เกิดคอขวดและชิ้นงานระหว่างรอการผลิต (WIP) เป็นจำนวนมาก มีการขนย้ายชิ้นงานและใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมาก หลังจากปรับปรุงด้วยหลักการ ECRS การปรับสมดุลการผลิต และการวางผังกระบวนการใหม่ในกระบวนการติดฉลาก แพ็คและบรรจุกล่องทำให้สามารถลดพนักงานปฏิบัติการและพนักงานขนย้ายในสายการผลิตลงได้ 6 คน มีประสิทธิภาพสมดุลการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.66 และสายการผลิต 1 และ 2 มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.77
Full Text : Download! |
||
4. | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านแรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์การ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วรรธนนัญ ศรีชนะ, จักร ติงศภัทิย์ | ||
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อ
ระดับความผูกพันในงาน และระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน
ดำเนินการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเพื่อสารวจความคิดเห็นของบุคลากรใน
ส่วนบริหารธุรกิจ บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอรงิ่ จำกัด ประกอบด้วย 8
ฝ่าย จำนวน 187 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การทดสอบสถิติ U-test และ H-test และการวิเคราะห์ค่า
สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน โดยใช้โปรแกรมประมวลผลสาเร็จรูปและมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน
อายุ การสมรสและมีบุตร ตำแหน่งงาน อายุงานและระดับรายได้ที่แตกต่างกัน
มีผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานแตกต่างกัน ปัจจัยค้า จุนใน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาพบว่า อยู่ในระดับ
มาก มีค่าเฉลี่ย 3.90 และ 3.58 ส่วนปัจจัยจูงใจในด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ
และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.78 และ
3.75 ตามลำดับ ระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน พบว่า ด้านความ
ภาคภูมิใจในการเป็นพนักงาน ด้านการคำนึงถึงชื่อเสียงของบริษัท และด้าน
การปกป้องความเสื่อมเสียชื่อเสียงขององค์การอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย
4.20 4.15 และ 4.15 ตามลาดับ
Full Text : Download! |
||
5. | การจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกิน : กรณีศึกษา บริษัท ผลิตรถยนต์ ABC [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อนุพันธ์ วิทพันธ์, ปาลีรัฐ เลขะวัฒนะ | ||
กรณีศึกษานี้ เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาสาเหตุการเกิดสินค้าคงคลังส่วนเกิน และหาแนวทางแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยทำการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำสาเหตุและการจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกินที่ได้จากการศึกษามาสร้างแบบสัมภาษณ์แล้วทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุการเกิดสินค้าคงคลังส่วนเกิน และวิธีการจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกินขององค์กรที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำเสนอวิธีการเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการในสภาวะการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และภาวะเศรษฐกิจถดถอย
จากการสัมภาษณ์ พบว่า การเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อจากลูกค้าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสินค้าคงคลังส่วนเกิน ประกอบกับไม่ได้กำหนดนโยบายในการจัดการที่ชัดเจน ขาดการติดต่อประสานงานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้เกิดสินค้าคงคลังส่วนเกิน สาหรับการจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกิน พบว่าการขายเป็นวิธีการหลักในการลดสินค้าคงคลังส่วนเกินลงในระยะสั้น แต่เนื่องจากสินค้าคงคลังส่วนเกินมีมูลค่าสูงจึงทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการขออนุมัติเพื่อทำลาย ส่วนการจัดการระยะยาว ผู้วิจัยนำเสนอการใช้กระบวนการวางแผนการขายและปฏิบัติการ (Sales and Operations Planning, S&OP) เข้ามาจัดการทั้งระบบซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดความสอดคล้องทั้งอุปสงค์และอุปทาน โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหาร หัวหน้างาน และระดับปฏิบัติการ เพื่อกำหนดเป้าหมายขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะทำให้สินค้าคงคลังส่วนเกินไม่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน และจะค่อยๆลดลงในอนาคต
Full Text : Download! |
||
6. | การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพในการให้บริการ : กรณีศึกษา บริษัท สอนภาษาไทยออนไลน์ให้กับคนญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชุตินธร อนุกูล, ปาลีรัฐ เลขะวัฒนะ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการบริษัทสอนภาษาไทยออนไลน์ให้กับคนญี่ปุ่น และศึกษาถึงปัญหาของผู้มาใช้บริการเพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาบริการของบริษัทสอนภาษาไทยออนไลน์ให้กับคนญี่ปุ่นซึ่งมีตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ ภูมิภาค อาชีพ จำนวนครั้งที่เคยเดินทางมาประเทศไทย และจุดประสงค์ในการเรียนภาษาไทยส่งผลต่อระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 80 คน ได้ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการหาอิทธิพลของตัวแปรอิสระต่อตัวแปรตาม ใช้สถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) อายุ อาชีพ และจุดประสงค์ในการเรียนภาษาไทยส่งผลต่อความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (Administration) 2) เพศ อายุ และจุดประสงค์ในการเรียนภาษาไทยส่งผลต่อความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการด้านผู้สอน (Instructor) 3) อายุ และจุดประสงค์ในการเรียนภาษาไทยส่งผลต่อความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการด้านอุปกรณ์ สถานที่ และค่าใช้จ่าย (Facility & Expense)
สำหรับประเด็นความคิดเห็นเพิ่มเติมจากแบบสอบถามที่ได้รับการเสนอมากที่สุด คือ คุณครูสอนสนุก แต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง รองลงมา คือ ระดับภาษาญี่ปุ่นของคุณครูแต่ละคนไม่เท่ากัน
Full Text : Download! |
||
7. | ปัจจัยในการธำรงรักษาบุคลากรขององค์กร IT : กรณีศึกษา บริษัท XYZ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นที อังคณาวิศัลย์ | ||
การศึกษาปัจจัยในการธำรงรักษาบุคลากรขององค์กร IT กรณีศึกษาบริษัท XYZ จากัดนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการธำรงรักษาบุคลากรขององค์กร และนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปประกอบการวางแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์สาเร็จรูปทางสถิติ (SPSS)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยความพึงพอใจ 2 ด้านที่มีผลต่อการธำรงรักษาบุคลากรภายในองค์กร ได้แก่ 1.ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน 2.เงินเดือน สวัสดิการของบริษัท และอื่นๆ และยังพบว่าบุคลากรที่มีช่วงอายุ 36-40 ปีที่จะไม่อยู่ต่อค่อนข้างสูง เนื่องจากพบว่ามี 2 ปัจจัยความพึงพอใจที่มีต่อการธำรงรักษาบุคลากรภายในองค์กร จึงมีการวางแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยมีการจัด Team-Building และการกำหนดนโยบายค่าตอบแทนที่มีเหตุและผล ทั้งหมดเพื่อความเข้าใจของพนักงานขององค์กร
Full Text : Download! |
||
8. | การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธวัช พุฒขุนทด, ปาลีรัฐ เลขะวัฒนะ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานการจัดการคลังสินค้าเพื่อลดปัญหาโลเคชั่นในการเก็บสินค้าคงคลังไม่เพียงพอ รวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ในคลังสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อลดปัญหาที่ทาให้เกิดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่าอันเนื่องมาจากการส่งมอบชิ้นส่วนให้กับสายการผลิตไม่ทันตามเวลา
จากการดำเนินงานพบว่าในพื้นที่คลังสินค้านั้นยังพบพื้นที่ที่จะสามารถปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยการดำเนินการปรับปรุงเชิงกายภาพในการเพิ่มชั้นเก็บงานและเพิ่มโลเคชั่นในการจัดเก็บชิ้นส่วน ในการบริหารจัดการสินค้าสินค้าคงคลังพบว่าในการเรียกชิ้นส่วนจากซัพพลายเออร์เข้ามาจัดเก็บที่คลังสินค้ามีระยะเวลานานานเกินไป จึงพิจารณาปรับปรุงประสิทธิภาพในเชิงการจัดการในการลดระยะเวลานำลงโดยการลดระยะเวลานำของการเรียกชิ้นส่วน
ผลจากการดาเนินงานในการปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงกายภาพสามารถเพิ่มโลเคชั่นในการจัดเก็บชิ้นส่วนได้มากขึ้นจาก 3,645 โลเคชั่น เป็น 3,981 โลเคชั่น ในพื้นที่คลังสินค้า 7,074 ตร.ม. ซึ่งสามารถจัดเก็บชิ้นส่วนเพิ่มจาก 5,007 SKU เป็น 9,686 SKU และการปรับปรุงเชิงการจัดการในการลดเวลาในการเรียกชิ้นส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศจากคลังสินค้าภายนอกลดจาก 8 ชม. เหลือ 4 ชม. และซัพพลายเออร์ A Top Volume จาก 4 ชม. เหลือ 1 ชม. โดยการใช้ระบบการจัดส่งแบบทันเวลาเข้ามาช่วยในการจัดการและลดเวลาการเรียกชิ้นส่วนของซัพพลายเออร์ Top 2-13 ลดจาก 4 ชม. เหลือ 3.5 ชม. และซัพพลายเออร์อื่นๆ และชิ้นส่วนที่ผลิตเองลดจาก 1-2 สัปดาห์ เหลือ 1 สัปดาห์ ทำให้บริษัทสามารถลดความสูญเสียที่เกิดจากการหยุดสายการผลิตได้เฉลี่ยเดือนละ 39,502 บาท
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250