fieldjournalid
![]() | งานวิจัย คณะบริหารธุรกิจ 2014 |
1. | รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับการจัดการสินค้าคงคลังของ กลุ่มบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พงศ์ศักดิ สายธัญญา, อนุวัต เจริญสุข | ||
จุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับการ
จัดการสินค้าคงคลังของ กลุ่มบริษัทผลิตชิ้นนส่วนยานยนต์ กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
ผู้บริหารที่รับผิดชอบในการควบคุมระดับสินค้าคงคลังของคลังสินค้าสถานประกอบการ
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นนส่วนยานยนต์จำนวน 342 บริษัท (นิคมอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการและภาคตะวันออก) ผู้วิจัยกำหนดวิธีการศึกษาการสุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยใช้
วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ(Systematic Random sampling) และได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน
342 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5
ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าสถิติได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
จากผลการศึกษารายด้านพบว่า ด้านระบบการปฏิบัติงาน ส่งผลมากที้สุดต่อนำเอาความรู้ที่
ได้ศึกษา หรือการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ด้านนโยบายบริษัทที่
สนับสนุนการทำงานของพนักงาน รวมถึงปัจจัยทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พิจารณาตาม
รูปแบบการลงทุนของบริษัท พิจารณาตามขนาดของบริษัท ทั้งหมดพบว่าส่งผลอยู่ในระดับมากทุก
ปัจจัย
จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้
กับการจัดการสินค้าคงคลังของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ภาพรวม มีทั้งหมด 10
องค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 ด้านความตระหนักขององค์กรมี 7 ตัวแปร
องค์ประกอบที่ 2 ด้านความร่วมมือภายในองค์กรมี 7 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 ด้านการสนับสนุน
ขององค์กรและเพื่อนร่วมงานมี 6 ตัว
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการขนส่งแบบสีเขียว [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อนุวัต เจริญสุข | ||
จุดประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาอุปสรรคในการบริหารจัดการการขนส่งแบบสีเขียว ของบริษัทขนส่งที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ตัวแทนบริษัทที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการด้านการขนส่ง จำนวน 400 บริษัท โดยการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์สมการโครงสร้างโดยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้ อุปสรรคในการบริหารจัดการการขนส่งแบบสีเขียวมี 2 ส่วนคือ อุปสรรคภายนอกและอุปสรรคภายใน ผลที่ได้คือ อุปสรรคภายในส่งผลต่อการบริหารจัดการขนส่งสีเขียวมากกว่าอุปสรรคภายนอก โดยที่อุปสรรคภายในมีน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.75 อุปสรรคภายนอกมีน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.358 องค์ประกอบของอุปสรรคภายในที่ส่งผลมากที่สุด คือ นโยบายของบริษัทที่จะมุ่งเน้นการขนส่งแบบสีเขียว (β=0.867) และสถานที่ตั้งของบริษัทที่ตอบสนองต่อการขนส่งแบบสีเขียว (β =0.783) องค์ประกอบของอุปสรรคภายนอกที่ส่งผลมากที่สุด คือ การจราจร และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการขนส่งแบบสีเขียว คาสาคัญ : ขนส่งสีเขียว, SEM , การจัดการการขนส่ง, อุปสรรค
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานวิจัย การศึกษาการจัดการการเงินภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงของสหกรณ์ออมทรัพย์ : กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์ | ||
การวิจัยเรื่อง การศึกษาการจัดการการเงินภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงของสหกรณ์ออมทรัพย์ กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบ โครงสร้าง การจัดการการเงินชุมชนภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาศักยภาพการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจชุมชน และ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มประชากรเป้าหมายประกอบด้วยกลุ่มการจัดการการเงินของวิสาหกิจชุมขน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 15 อำเภอ ประกอบด้วยสหกรณ์ออมทรัพย์ 12 แห่ง กลุ่มตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพคือสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีแหล่งที่ตั้งศูนย์กลาง รอบในและรอบนอก ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูพระนครศรีอยุธยา จำกัด(ศูนย์กลาง) สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัทแคนนอน(ประเทศไทย) จำกัด (รอบใน) และ สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัทเอ็ม.พี.ที จำกัด (รอบนอก ) กรอบแนวคิดคือการบริหารจัดการด้านการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพและยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะส่งผลให้สมาชิกมีการทางานร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผลการวิจัยพบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ทุกแห่งมีกระบวนการบริหารจัดการที่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ของการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ ปี 2542 และยึดหลักการบริหารจัดการการเงินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านศักยภาพในการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าปี 2557 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่าปี 2557 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 เช่นเดียวกัน ข้อเสนอแนะควรทำการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างฐานองค์ความรู้เพื่อให้สมาชิกของแต่ละกลุ่มได้แสดงความเห็นร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบมิติทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-ญี่ปุ่น กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอกสิทธิ์ เข้มงวด | ||
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของมิติทางวัฒนธรรมระหว่างคนไทยและคนญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ในบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย รวม 60 คน แบ่งเป็นคนไทย 30 คน และญี่ปุ่น 30 คน โดยจะกระจายกลุ่มสำรวจไปในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหรรมการเงินการธนาคาร อุตสาหกรรมการขนส่ง อุตสาหกรรมพาณิชย์ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 20 บริษัท กำหนดให้ตัวแปรอิสระได้แก่ เชื้อชาติของพนักงานบริษัทญี่ปุ่น ได้แก่ คนไทย และคนญี่ปุ่น และตัวแปรตาม ได้แก่ มิติวัฒนธรรมของฮอฟสตีด 5 ด้านคือ ด้านความเหลื่อมล้าทางอำนาจ ด้านความเป็นปัจเจกนิยม ด้านลักษณะความเป็นเพศชาย ด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน และด้านการมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาว
ผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมการทำงานของคนไทย และคนญี่ปุ่นมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องการให้ความสำคัญด้านเวลา การทำงานหนัก ความจริงจังในการทำงาน การเคารพระเบียบวินัย และการจำกัดความของคำว่า “คุณภาพ” ระดับคุณภาพที่คนญี่ปุ่นมองและคาดไว้นั้นสูงกว่าระดับคุณภาพที่คนไทยมอง ซึ่งมุมมองด้านคุณภาพที่แตกต่างนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในการทำงานขึ้นได้ แม้จะไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการทะเลาะกันในการทำงานก็ตาม ซึ่งแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการทำงานร่วมกันอาจทำได้หลายหลายวิธี อาทิ ส่งเสริมการพัฒนาด้านภาษาทั้งการพูด และการเขียนจะช่วยให้สื่อสารเข้าใจกันดีขึ้น ในด้านการปรับตัว คนไทยกลับไม่ค่อยได้มีการพร้อมในการทำงานกับคนญี่ปุ่น คนไทยเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน ต่างกับคนญี่ปุ่นที่มีทั้งการพูดคุย เรียนรู้ จากการอบรม จากการอ่าน และจากการคุยกับคนญี่ปุ่นที่เคยทำงานแล้วในเมืองไทย ดังนั้นคนไทยควรควรศึกษาเพ
Full Text : Download! |
||
5. | รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสอนของอาจารย์กับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรภา คำทา | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสอนของอาจารย์กับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการเตรียมการสอน ด้านบรรยากาศในห้องเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผลและการประเมินผล
2. พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านพฤติกรรมการเรียนภายนอก และด้านพฤติกรรมการเรียนภายใน
3. พฤติกรรมการสอนของอาจารย์กับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Full Text : Download! |
||
6. | การกำหนดขนาดการสั่งซื้อโดยพิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สำหรับธุรกิจค้าส่งขนาดเล็กโดยการจำลองสถานการณ์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ก้องเกียรติ วีระอาชากุล | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์พัฒนาเครื่องมือสำหรับควบคุมการกำหนดขนาดการสั่งซื้อสินค้า เพื่อให้พนักงานนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการสั่งซื้อสินค้า จากที่มีระดับการให้บริการอยู่ที่ 70%-80% ให้ใกล้เคียงระดับ 99% และอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังที่ 2-3 รอบต่อเดือน ให้เพิ่มมากกว่า 5 รอบต่อเดือน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงของธุรกิจค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดเล็ก 4 ราย ในเขตอำเภอเมืองชลบุรี ที่มียอดขายไม่ต่ำกว่า 70 ล้านบาทต่อปี ในการศึกษาใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจกำหนดขนาดการสั่งซื้อสินค้าของผู้ประกอบการ โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซลในการสร้างเครื่องมือกำหนดขนาดการสั่งซื้อ และเครื่องมือเพื่อการจำลองสถานการณ์ ผลการวิจัยพบว่า สามารถเพิ่มระดับการให้บริการจากเดิมอยู่ที่ 70%-80% เป็น 97.28 % และเพิ่มอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังจากเดิมอยู่ที่ 2-3 รอบต่อเดือน เป็น 6.27 รอบต่อเดือน
Full Text : Download! |
||
7. | รายงานการวิจัย การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ และการประยุกต์เรื่อง ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขโดยใช้วิธีการสอบแบบกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) กับการสอนแบบปกติ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รวิช วงศ์สวัสดิ์ | ||
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์และการประยุกต์ เรื่อง ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ที่ได้รับการการเรียนการสอนแบบกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning ) กับการสอนแบบปกติ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ และการประยุกต์รหัสวิชา MSC-111 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยพิจารณาเลือกกลุ่มเรียนที่นักศึกษามีลักษณะเท่าเทียมกันมากที่สุด ได้แก่ มีขนาดตัวอย่างที่ใกล้เคียงกัน และมีคะแนนกลางภาคเฉลี่ยของห้องใกล้เคียงกันจำนวน 2 กลุ่มเรียน กลุ่มเรียนที่ 1 จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเรียนที่ 2 จำนวน 47 คนเป็นกลุ่มควบคุม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์และการประยุกต์ และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเรื่อง ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข โดยมีแผนแบบการทดลองแบบ Randomized Control Group Pretest-Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติ t-test for Independent Sample ในรูป Difference Score และ Dependent sample
ผลการวิจัยพบว่า
1.1 นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการจัดการเรียนรู้แบบปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา คณิตศาสตร์และการประยุกต์แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
1.2 นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา คณิตศาสตร์และการประยุกต์แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Full Text : Download! |
||
8. | รายงานการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รังสรรค์ เลิศในสัตย์, อนุวัต เจริญสุข | ||
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไทย กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ผู้วิจัยกำหนดวิธีการศึกษาการสุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ(Systematic Random Sampling) และได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าสถิติได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปสาหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
จากผลการศึกษารายด้านพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไทย จำแนกรายด้าน พบว่า ด้านที่ส่งผลมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต รองมาคือ ด้านการตลาด โดยที่ปัจจัยทุกด้านส่งผลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทั้งหมดพบว่าส่งผลอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย
จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไทย ภาพรวม มีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 ด้านการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้ามี 11 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 ด้านนโยบายการสนับสนุนของบริษัทมี 11 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 ด้านนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐมี 8 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 ด้านการฝึกอบรมพัฒนาทักษะบุคลากรมี 11 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 5 ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี มี 6 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 6
Full Text : Download! |
||
9. | รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สมบัติ วรินทรนุวัตร | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอทิธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 2) เพื่อสร้าวสมการและใช้สมการที่สร้างขึ้นพยากรณ์ผลการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ตลอดจนเพื่อทราบปัจจัยที่มีอทิธิพลต่อผลการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ 3) เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงในการเรียนการสอนเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Fundamental Economics) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่่น โดยมีจำนวนประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ ของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยการใช้การเปิดตาราง เครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดตัวออย่าง 152 คน จากจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพล คือปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไป คือ การที่ผู้เรียนสนใจในเอกสารที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และคะแนนสอบกลางภาควิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ส่วนปัจจัยด้านความพึงพอใจการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่ การสอนโดยใช้สไลด์และเอกสารการสอนทั้งรูปแบบ Microsoft word และ Power Point สอนโดยใช้คลิปวิดีโอมาให้ดูเพื่อเปิดประสบการณ์ และการเปิดใช้เฟซบุ๊ก ไลน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการติดต่อกับนักศึกษา ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาควรเริ่มตั้งแต่การให้ผู้เรียนสนใจในเอกสารที่เกี่ยวกับเศรษฐศาส
Full Text : Download! |
||
10. | A Study of Multinational Companies: The Use of Mediation Paradigm on CSR [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Tiwa Park, Rungsun Lertnaisat, Vithinut Pakpromin | ||
In this study, the researchers had analyzed how input factors relate to CSR patterns. The finding found that there was no relationship established between input factors and CSR patterns (benefitting community) because responses are constant. CSR Budget and number of years performing CSR relates to the CSR findings (benefitting environment). In addition, when analyzing how the CSR patterns accounted for the effect of input factors to the CSR finding. There was no relationship and mediation established as far as CSR findings (benefitting community) is concern because responses on CSR Patterns (benefitting community) are constant. Number of years rating in Thailand and CSR patterns (benefitting environment)relates significantly to the CSR findings (benefitting environment). Therefore, mediation is tested. CSR patterns (benefitting environment) is a mediator variable as far CSR findings (benefitting community) is concern. Finally, identifying which among the input factors relates to the CSR findings. The research found that number of years performing CSR and CSR budget are the significant factors that relates to CSR findings both benefitting community and environment.
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250