fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MET) 2021 |
1. | การหาสภาวะเหมาะที่สุดที่มีหลายวัตถุประสงค์ของกระบวนการยิงอนุภาคแข็งบนวัสดุแม่พิมพ์หุบขึ้นรูปร้อนโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทากูชิ-เกรย์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จตุรงค์ อุบล | ||
การยิงอนุภาคแข็งเป็นวิธีการแบบเย็นที่ใช้ปรับปรุงโครงสร้างของชิ้นงานสาเร็จประเภทเหล็กเพื่อป้องกันการล้าและการสึกหรอจากความเค้น จุดประสงค์เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของชิ้นงาน งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาปัจจัยและหาสภาวะเหมาะที่สุดของกระบวนการยิงอนุภาคแข็งบนแม่พิมพ์ทุบขึ้นรูปร้อนเกรด JIS-SKD61 โดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบทากูชิและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเกรย์ ในการศึกษาครั้งนี้ การคลุมผิว,ขนาดเม็ดโลหะและแรงดันลม คือปัจจัยในกระบวนการยิงอนุภาคแข็ง ซึ่งเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุดในกระบวนการยิงอนุภาคแข็ง ได้มาจากการกาหนดจากค่าเฉลี่ยเกรดความสัมพันธ์แบบเกรย์ ผลลัพธ์ที่ได้สาหรับเงื่อนไขที่เหมาะที่สุดในกระบวนการยิงอนุภาคแข็งมีค่าการคลุมผิวที่ 200 เปอร์เซ็นต์ ขนาดเม็ดโลหะ 0.1 มิลลิเมตร และแรงดันลม 0.2 เมกะปาสคาล ผลจากการทดลองค่าเฉลี่ยความเค้นอัดตกค้าง 1638 เมกะปาสคาลและความหยาบผิว (Ra) 0.41 ไมโครเมตรและมีค่าความผิดพลาดของการทดลองจากสมการพยากรณ์อยู่ที่ 8.7 เปอร์เซ็นต์ จากผลลัพธ์ของวิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเกรย์เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาในกรณีที่มีผลตอบสนองหลายวัตถุประสงค์
Full Text : Download! |
||
2. | การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม เพื่อตรวจจับความเสียหายของแบริ่งแบบลูกกลิ้ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐนรี อภินันทนพงศ์ | ||
การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวการตรวจสอบสภาวะความเสียหายของแบริ่งแบบลูกกลิ้งเม็ดกลมจากสัญญาณการสั่นสะเทือนด้วยเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม (ANN) ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน (SVM) และเคเนียร์เรสเนเบอร์ (KNN) โดยทำการจำลองแบริ่ง 2 เบอร์ คือ แบริ่งเบอร์ 6006Z และเบอร์ 6001Z ที่สภาวะการทำงานต่าง ๆ ดังนี้ สภาวะการทำงานปกติ สภาวะความเสียหายที่รางนอก รางใน และสภาวะความเสียหายที่เกิดจากจาระบีผสมกากเพชรเกรด 100, 280 และ 400 ตามลำดับ สัญญาณการสั่นสะเทือนในขณะที่ชุดทดสอบทำงานที่ 1200 rpm จะถูกบันทึกด้วยหัววัดการสั่นสะเทือน และนำไปใช้วิเคราะห์สัญญาณบนโดเมนเวลาและโดเมนความถี่
ผลการทดลอง พบว่า การนำพารามิเตอร์ทางสถิติและค่ากำลังของช่วงความถี่ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของแบริ่งมาใช้ทำนายสภาวะความเสียหายร่วมกัน สามารถแยกสภาวะการทำงานของแบริ่งได้ดีกว่าการใช้พารามิเตอร์ทางสถิติ หรือค่ากำลังของช่วงความถี่เพียงอย่างเดียว การเลือกพารามิเตอร์ที่ใช้เป็นข้อมูลอินพุต และสัดส่วนของข้อมูลอินพุตให้เหมาะสมกับข้อมูลแบริ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลถึงความสามารถในการจำแนกสภาวะความเสียหายของแบริ่งด้วย ผลการทดลองได้วิเคราะห์พารามิเตอร์จากสัญญาณการสั่นสะเทือน คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่ากำลังของช่วงความถี่รางนอก และค่ากำลังของช่วงความถี่รางใน เพื่อใช้เป็นข้อมูลอินพุตสำหรับเปรียบเทียบผลการทำนายด้วยวิธี ANN, SVM และ KNN สัดส่วนของข้อมูลที่ใช้คือ 20 (70-30) หมายถึง ข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ 50% การยืนยันความถูกต้อง 20% และการทดสอบ 30% ผลการเปรียบเทียบการทำนายทั้ง 3 วิธี พบว่า การทำนายความเสียหายของแบริ่ง 6006Z และ 6001Z ด้วยวิธี ANN จะให้ผลการทำนายสูงกว่าวิธีอื่น ๆ โดยเลือกใช้ ANN แบบ Feedforward ne
Full Text : Download! |
||
3. | ผลกระทบของสภาวะการขึ้นรูปต่อสมบัติของถ่านชีวภาพจากเปลือกข้าวโพด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชุติญา โอปมาวุฒิกุล | ||
งานวิจัยนี้ทาการผลิตถ่านชีวภาพจากเปลือกข้าวโพด โดยศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปและขนาดของเปลือกข้าวโพดต่อสมบัติของถ่านชีวภาพ อุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูป คือ 150 160 170 180 190 °C ขนาดของเปลือกข้าวโพด 0.5 1 2 เซนติเมตร กำหนดเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป 15 นาที ความดันคงที่ 16MPa โดยทำการศึกษาของสภาวะในการขึ้นรูปต่อสมบัติของถ่านชีวภาพ ได้แก่ สมบัติทางกายภาพ (ความหนาแน่น) สมบัติทางความร้อน (ค่าความร้อน) และสมบัติทางกล (ความต้านทานแรงอัดสูงสุด) นอกจากนี้ได้ทำการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคของถ่ายชีวภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกวาด จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิในการขึ้นรูป และขนาดของชิ้นงาน ส่งผลต่อสมบัติของถ่านชีวภาพ โดยค่าความขนาแน่นของถ่านชีวภาพที่ผลิตจากเปลือกข้าวโพดที่ขนาด 0.5 และ 1 เซนติเมตร จะให้ค่าความหนาแน่นของชิ้นงานที่มากกว่า ถ่านชีวภาพจากเปลือกข้าวโพดขนาด 2 เซนติเมตร ทั้งนี้ค่าความร้อนของถ่านชีวภาพจะมีค่าสูงสุดจากถ่านชีวภาพที่ผลิตจากเปลือกข้าวโพดขนาด 0.5 เซนติเมตร ที่อุณหภูมิในการขึ้นรูป 160-180°C
Full Text : Download! |
||
4. | การรับรู้การแสดงความรู้สึกผ่านใบหน้าด้วยอัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึกแบบผสมผสาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พาสุข ภัทรสุขสิโรตม์ | ||
การแสดงออกทางใบหน้าเป็นวิธีการแสดงออกทางอารมณ์ของบุคคลที่พบเห็นได้มากที่สุด
มนุษย์จึงพยายามที่จะทำความเข้าใจสถานภาพทางอารมณ์ของบุคคลอื่นด้วยการสังเกตพฤติกรรม
การแสดงออกทางสีหน้าของพวกเขา แต่ทว่า วิธีการดังกล่าวนั้นมีข้อจำกัดอยู่ที่ขีดความสามารถใน
การสังเกตของบุคคล และรวมถึงความเป็นส่วนตัวของคู่สนทนาของบุคคลดังกล่าวด้วย ดังนั้นแล้ว
ระบบการู้จำการแสดงออกทางใบหน้าจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการของโครงข่ายประสาทเทียม
แบบ Convolution (Convolutional Neural Network; CNN) โดยที่แนวทางที่มีแนวโน้มความ
เป็นไปได้ในการนำมาใช้งานจริงมากที่สุด ก็คือการนำแบบจำลองมาตรฐานที่ได้รับยอมรับในระดับ
สากล เช่น โครงข่าย Inception Net, ResNet และ VGG มาใช้งานในแต่ละปัญหาที่เหมาะสมกับรูปแบบ
โครงสร้างของแบบจำลองแต่ละชนิด และนอกจากแบบจำลองเหล่านี้แล้ว ก็ยังมีอีกแบบจำลองอีก
หนึ่งชนิด ที่มีโครงสร้างที่เรียบง่ายกว่าแบบจำลองมาตรฐานที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น ซึ่งก็คือแบบจำลอง
Autoencoder รูปแบบ Convolution (Convolutional Autoencoder; CAE) ที่มีความสามารถใน
การกำจัดสัญญาณรบกวนออกไปจากข้อมูลนำเข้า (Input Data) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดของ
แบบจำลอง Autoencoder นี้ก็ได้ถูกนำไปพัฒนาต่อให้กลายเป็นแบบจำลองที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
นั่นก็คือ แบบจำลอง U-Net เพื่อนำมาใช้งานในปัญหาการแบ่งส่วนของรูปภาพ (Image Segmentation)
ได้อย่างมี ในรายงานการวิจัยฉบับนี้ แบบจำลองการเรียบรู้เชิงลึกแบบผสมผสานได้ถูกพัฒนาขึ้น จาก
การผสมกันระหว่าง CNN และ CAE โดยใช้คุณสมบัติเด่น จากแบบจำลองมาตรฐานที่ได้กล่าวมาทั้งหมด
แบจำลองผสมที่ได้จากการรวมกันของ 2 แบบจำลองนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการพยากรณ์สถานภาพทางอารมณ์
ของมนุษย์ ซึ่งให้ผลลัพ
Full Text : Download! |
||
5. | การปรับปรุงผลิตภาพของสายการประกอบโดยใช้แนวคิดลีน : กรณีศึกษา โรงงานผู้ประกอบเลนส์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เปรมพันธ์ ดำนุ้ย | ||
ปัจจุบันเทคโนโลยีการถ่ายภาพได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอุตสาหกรรมการผลิตกล้องและเลนส์
มีการขยายตัวและการแข่งขันสูงผู้ผลิตต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ตรงต่อความต้องการ
และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เพื่อให้มีโอกาสด้านการตลาดมากขึ้นการปรับปรุงผลิตภาพการผลิต
และพัฒนาระบบการทำงานให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน ธุรกิจทั้งหลายมีคู่แข่งจำนวนมากการปรับปรุง
กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องพัฒนาวิธีการทำงานเพื่อนำมาสู่ต้นทุนการผลิตต่ำงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตโดยวิเคราะห์สายธารคุณค่าและทำการปรับปรุงด้วย
การไคเซนโดย ECRS บนพื้นฐานระบบลีน
สามารถลดพนักงานได้จากเดิม 26 คน เหลือ 24 คน ลดลงร้อยละ 7.69 ผลิตภาพสายการ
ประกอบเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 87.42 เป็นร้อยละ 89.63 คิดเป็นผลิตภาพเพิ่มร้อยละ 2.21 จากการ
ไคเซนบนพื้นฐานระบบการผลิตแบบลีน
Full Text : Download! |
||
6. | การออกแบบและพัฒนามิเตอร์อัจฉริยะแบบสามารถแยกโหลดในขณะใช้งานสำหรับที่อยู่อาศัย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รัฐกรณ์ ประเสริฐลักษณ์ | ||
ความต้องการพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มที่สูงขึ้นในทุกปี จากทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
และแนวโน้มที่อุปกรณ์สมัยใหม่จะหันมาใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้มีพลังงาน
ไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ การอนุรักษ์พลังงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ แนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพก็คือ การ
ตรวจวัดพลังงานในระดับเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละเครื่องเพราะข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปบริหารการใช้
พลังงานทั้งในมุมของผู้ผลิตและผู้ใช้ วิธีการที่นิยมวิธีหนึ่งในการได้มาซึ่งขอมูลนี้คือการติดตั้งมิเตอร์
อัจฉริยะแบบสามารถแยกโหลดในขณะใช้งานสำหรับที่อยู่อาศัย ในงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นพัฒนามิเตอร์
อัจฉริยะโดยอาศัยพื้นฐานจากระบบตรวจรู้สภาวะโหลดทางไฟฟ้าแบบไม่ล่วงล้าชนิดมีผู้สอน โดยทำ
การพัฒนาระบบและทดสอบด้วยข้อมูลที่เก็บจากเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวน 10 เครื่อง ซึ่งมีบางเครื่องที่มี
ขนาดกาลังไฟฟ้าเท่ากัน เวลาที่ใช้ในการสอนอัลกอริทึ่มตรวจรู้สภาวะโหลดทางไฟฟ้าแบบไม่ล่วงล้ำใน
งานวิจัยนี้จะน้อยกว่าเวลาที่ใช้สอนอัลกอริทึ่มตรวจรู้สภาวะโหลดทางไฟฟ้าแบบการเรียนรู้เชิงลึก
มิเตอร์อัจฉริยะแบบสามารถแยกโหลดในขณะใช้งานสำหรับที่อยู่อาศัยได้ถูกทดสอบค่าความเที่ยงตรง
ได้ผล 1.0 สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวน 10 เครื่อง ซึ่งมีบางเครื่องที่มีขนาดกำลังไฟฟ้าเท่ากัน โดย
ประสิทธิภาพของมิเตอร์อัจฉริยะแบบสามารถแยกโหลดในขณะใช้งานสำหรับที่อยู่อาศัยในงานวิจัยนี้
ได้ถูกทดสอบบนสมมุติฐานที่ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวต้องไม่ถูกเปิดขึ้นในเวลาเดียวกัน จึงคาดหวังว่า
ผลลัพธ์ในงานวิจัยงานนี้จะสามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อให้เกิด
การใช้พลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต
Full Text : Download! |
||
7. | การศึกษาอิทธิพลของสารเคลือบผิมคมชัดที่มีผลต่อการสึกหรอและค่าความเรียบผิวชิ้นงาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สามารถ มาลานิยม | ||
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาอิทธิพลของวัสดุเคลือบผิวคมตัดที่มีผลต่อการสึกหรอและระดับความเรียบผิวชิ้นงานหลังการตัดเฉือนบนวัสดุอินโคเนล เกรด 718 ซึ่งมีคุณสมบัติการกระจายความร้อนต่า มีความแข็งสูงยากต่อการตัดเฉือนส่งผลให้คมตัดเกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว การเคลือบผิวคมตัดเพื่อต้านทานการสึกหรอที่อุณหภูมิสูงและเพิ่มความแข็งพื้นผิวถูกนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ การทดลองแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วยสารเคลือบ AlTiZrSiN, AlTiSiN, AlTiN/TiSiXN และแบบไม่เคลือบผิว ทำการตัดเฉือนบนเครื่องกัด ซี เอ็น ซี ยี่ห้อ Makino รุ่น S33 ด้วยคมตัดแบบเอ็นมิลหัวตรงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร แบบ 4 ฟัน ชิ้นงานทดลองเป็นวัสดุอินโคเนล เกรด 718 มีขนาดด้านกว้าง 150 มิลลิเมตร ยาว 200 มิลลิเมตร หนา 25 มิลลิเมตร ทำการตัดเฉือนแบบกัดตามในทิศทางเป็นเส้นตรง ประเมินการสึกหรอตามมาตรฐาน ISO 3685:1993 และความเรียบผิวตามมาตรฐาน ISO 4287:1997 ปัจจัยหลักการตัดเฉือนประกอบด้วย ความเร็วตัด อัตราป้อน และความลึก ออกแบบการทดลองด้วยพื้นผิวผลตอบแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน นำค่าที่ได้มาทำการทดลองตัดเฉือนเพื่อหาขีดจำกัดการสึกหรอของคมตัดและความเรียบผิวงาน ผลการทดลองพบว่าคมตัดที่เคลือบด้วยสาร AlTiZrSiN ให้ระยะทางการตัดเฉือนสูงสุด 20 เมตร คิดเป็น 4 เท่าของอายุคมตัดแบบไม่เคลือบผิวและมีค่าความเรียบผิวเฉลี่ย 0.2 ไมโครเมตร มีค่าต้นทุนดำเนินการเพิ่มขึ้น 17.5% จากราคาคมตัด ภายใต้สภาวะการตัดเฉือนแบบแห้ง ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อเพิ่มผลิตภาพการใช้งานคมตัดในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
Full Text : Download! |
||
8. | การพัฒนาระบบอัตโนมัติแบบลีนเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตท่อเหล็กแบบมีตะเข็บ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศณพล วงศ์รัตนโชคชัย | ||
งานวิจัยนี้ศึกษาแนวคิดการผลิตแบบลีนและนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มผลิตภาพกระบวนการผลิตท่อเหล็กแบบมีตะเข็บ โดยใช้แผนผังสายธารคุณค่าและเทคนิค ECRS เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต
จากการดำเนินงานวิจัย มีการปรับปรุงกระบวนการผลิต ลดการรอคอยในกระบวนการโดยการปรับไลน์การผลิตให้สมดุล (Line balancing) กำจัดความสูญเปล่าจากกิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม สามารถลดเวลานำของกระบวนการผลิต จาก 9.5 วัน เหลือ 8.5 วัน คิดเป็นร้อยละ 10.5 และเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต (Overall Equipment Effectiveness: OEE) ร้อยละ 2 ผลลัพธ์โดยรวมจากการปรับปรุงกระบวนผลิตในการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปวางแผนอัตรากำลังคน ลดแรงงานในแต่ละสายการผลิตจาก 13 คน เหลือ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08
บั
Full Text : Download! |
||
9. | การประยุกต์ใช้การสั่งซื้อร่วมสำหรับระบบการกระจายสินค้าสองคลังสินค้าและหลายร้านค้าปลีก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สุภาพร หาญสกุล | ||
การจัดเส้นทางเดินรถขนส่ง (Vehicle Routing Problem) เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ
ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ในการจัดเส้นทางเดินรถขนส่งจากคลังสินค้า ไปยังลูกค้าที่กระจายอยู่
ตามจุดต่างๆ โดยมีเป้าหมายคือ เส้นทางที่สั้นที่สุด รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าจัดเก็บสินค้า และ
ต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการขาดสินค้า งานวิจัยนี้ได้นำเสนอขั้นตอนวิธีการสำหรับจัดเส้นทางการเดินรถ
โดยการประยุกต์ใช้การสั่งซื้อร่วม (Joint Ordering) สำหรับงานที่มีสองศูนย์กระจายสินค้าหลักในการ
กระจายสินค้าไปยังรานค้าปลีก โดยความต้องของลูกค้าหรืออุปสงค์ไม่คงที่ ความสามารถในการบรรทุก
สินค้าของรถขนส่งมีขนาดไม่จำกัด โดยคิดรวมถึงต้นทุนการจัดเก็บ (Inventory Holding) และต้นทุน
เสียโอกาสจากการขาดสินค้า (Stock out Cost) ต้นทุนการถือครองสินค้าเพื่อความปลอดภัย (Safety
Stock) เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในภาคอุตสาหกรรม โดยพิจารณารวมถึงต้นทุนของ
การจัดเก็บและต้นทุนการเสียโอกาสจากการขาดสินค้า ซึ่งการหาผลเฉลยนี้มีโอกาสต่อยอด ในเชิงพาณิชย์
ซึ่งจะเป็นกลไกที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจการวางแผนจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผลการเปรียบเทียบการจัดเส้นทางและต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าโดยประยุกต์ใช้การสั่งซื้อ
ร่วม (Joint Ordering) ระหว่างการจัดเส้นทางการขนส่งแบบปิด (Vehicle Routing Problem : VRP) มี
ต้นทุนรวม (ต้นทุนการสั่งซื้อ ต้นทุนการขนส่งและ ต้นทุนในการถือครองสินค้า) ที่น้อยกว่าการจัดเส้นทาง
การขนส่งแบบเปิด (Open Vehicle Routing Problem: OVRP) แต่การจัดเส้นทางแบบเปิด OVRP
จะมีระยะทางรวมที่สั้นกว่า และเมื่อศึกษาความไวของคำตอบต่อค่าปริมาณอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25
และร้อยละ 50% กา
Full Text : Download! |
||
10. | การตรวจจับการโจมตีแบบ DDoS Attack โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องแบบผสมร่วมกับ RFE Algorithm [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธนัช วิเศษบัณฑิตกุล | ||
ในยุคปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิตทั่วไป การทำงาน การพักผ่อน ล้วนแล้วแต่มีอินเทอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น แต่เมื่อมีอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นก็ย่อมมีภัยคุกคามต่าง ๆ เกิดขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ DDoS Attack ดังนั้นเราจึงตระหนักถึงการตรวจจับและการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นด้วยการสร้างระบบการป้องกันที่มีประสิทธิภาพขึ้นมา แต่ทว่าเนื่องจากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปไกลเกินกว่าที่การป้องกันแบบเดิมๆจะสามารถนำมาป้องกันการ DDoS Attack ได้แล้ว ดังนั้นแล้วจึงควรนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาเกี่ยวข้องในด้านของการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้รักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์นั้น เป็นการเราสามารถสอนคอมพิวเตอร์ให้รับรู้ถึงภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง โดยที่ชุดข้อมูลที่ใช้ฝึกสอนนั้นจะอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ต้องรับรู้โดยที่ทางมนุษย์นั้นจะต้องกำหนดสิ่งที่เรียกว่า label เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้รับรู้ถึงจุดประสงค์ของการเรียนรู้ โดยเฉพาะงานวิจัยชิ้นนี้ที่ได้นำอัลกอริทึมแบบผสมผสานเข้ามาใช้งานในการดักจับ DDoS Attack ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอิงจากชุดข้อมูลของ CIC-IDS2017 ที่ได้ทำการรวบรวมการโจมตีแบบ DDoS Attack ผ่าน HTTP SERVER ไว้กว่าหนึ่งแสนรูปแบบ ดังนั้นจุดมุ่งหมายในการวิจัยชิ้นนี้คือการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แบบผสมเพื่อใช้ในการตรวจจับ DDoS Attack และปัญญาประดิษฐ์แบบผสมนั้นก็จะต้องไม่กินทรัพยากรของเซิฟเวอร์มากจนเกินไป ซึ่งขั้นตอนการพัฒนานั้นจะต้องศึกษาถึงโมเดลต่างๆจากนั้นพัฒนาทีละโมเดล ทดสอบโมเดลแต่ละโมเดลที่พัฒนามาและจากนั้นจึงนำโมเดลทั้งสองโมเดลมาผสมกันจนเกิดเป็นโมเดลใหม่ขึ้นมา
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250